การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7254
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/01
คำถามอย่างย่อ
ควรจะตอบคำถามเด็กๆ อย่างไร เมื่อถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ?
คำถาม
ก่อนหน้านี้สองสามวัน บุตรสาวของกระผมได้ถามผมว่า พระเจ้าคืออะไร เราสามารถเห็นพระองค์ได้ไหม? ซึ่งการตอบคำถามเหล่านี้แก่เด็กๆ เป็นสิ่งอ่อนไหวมาก, โปรดแนะนำด้วย.
คำตอบโดยสังเขป

ไม่สมควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ที่เด็กๆ ได้ถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านั้นด้วยความถูกต้อง เข้าใจง่าย และมั่นคง,โดยอาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก พร้อมคำอธิบายง่ายๆ ขณะเดียวกันด้วยคำอธิบายที่ง่ายนั้นต้องกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้าชนิดคำนวณนับมิได้ ซึ่งอยู่ร่ายรอบตัวเอรา นอกจากนั้นยังสามารถพิสูจน์คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความปรีชาญาณ, พลานุภาพ, และความเมตตาแก่เด็กๆ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามได้ให้ความสำคัญด้านการอบรมสั่งสอนแก่เด็กและเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง, ซึ่งเรามีรายงานเกินกว่า 1000 รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่กล่าวเกี่ยวกับการอบรมสั่งสอน[1] เกี่ยวกับโปรแกรมอบรมสั่งสอนอิสลามแก่บรรดาลูกๆ ในครอบครัวนั้น ได้มีคำแนะนำเอาไว้เป็นขั้นตอนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์ และหลังคลอด

ซึ่งแน่นอนว่าความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆ โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับพระเจ้าและความเป็นเอกะของพระองค์ ได้ฝังอยู่ในสายเลือดนับตั้งแต่วันที่พวกเขาได้ลืมตาดูโลกแล้ว, ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า:  »เด็กทุกคนย่อมเกิดขึ้นมาบนธรรมชาติของอิสลาม, เว้นเสียแต่ว่าบิดามารดาของเขาจะทำให้เขาเป็นคริสต์หรือยะฮูดียฺ«[2] บิดามารดาของเด็กจะต้องมีศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง และจะต้องล่วงรู้ถึงความคิดและความต้องการของเด็ก ๆ เพื่อจะได้สามารถตอบข้อซักถาม หรือข้อสงสัยของพวกเขาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเท่ากับว่าเราได้ก้าวสู่การอบรมสั่งสอนด้วยวิธีการที่ถูกด้วยเช่นกัน

แนวทางการอบรมสั่งสอนศาสนา:

1.การอบรมด้านความรู้ : บุคลิกภาพของบิดามารดาโดยตัวแล้วมีอิทธิพลต่ออุปนิสัยของเด็กๆ อย่างยิ่ง, ขณะที่อยู่ในบ้านหากผู้ปกครองเอาใจใส่ต่อหลักคำสอนของอิสลาม, เช่น นมาซตรงเวลาเสมอ, ให้ความสำคัญต่อศีลอด และวาญิบข้ออื่นๆ มุ่งมั่นปฏิบัติข้อบังคับเหล่านั้น, รำลึกถึงพระเจ้าเสมอ, เมื่อเริ่มรับประทานอาหารกล่าวบิสมิลลาฮฺ ก่อนเสมอ และเมื่อรับประทานเสร็จแล้ว กล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระเจ้า จำนวนมากมายที่มิอาจคำนวณนับได้อยู่เป็นเนืองนิจ และ...ทั้งหมดเหล่านี้จะกลายเป็นบทเรียนด้านการรู้จักพระเจ้าแก่เด็กๆ โดยอัตโนมัติ สมองของเด็กเปรียบเสมือนกล้องถ่ายรูป ซึ่งจะคอยบันทึกภาพทุกชนิดที่มองเห็น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นมุสตะฮับเมื่อเด็กๆ คลอดออกมาอันดับแรกให้กล่าว อะซาน ทางหูข้างขวา และกล่าวอิกอมะฮฺทางหูข้างซ้าย เพื่อให้เสียงพร่ำเรียก อัลลอฮุอักบัร บังเกิดผลสะท้อนกับเขานับตั้งแต่วัยทารกเป็นต้นไป และจะทำให้เขามักคุ้นกับคำว่าพระเจ้าผู้ทรงเอกะมากขึ้น

เด็กๆ ก่อนที่จะได้ยินและจดจำนั้น เขาจะเรียนรู้พฤติกรรมของมารดาด้วยการมองดูก่อน ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่ามาตรฐานการจดจำของเด็กจะอยู่ในช่วงที่เขามองเห็นก่อน มารดาจึงอยู่ในเงื่อนไขที่ค่อนข้างลำบากสำหรับการกล่าวประโยคบางประโยค เช่น ตะวักกัลป์ต่ออัลลอฮฺ ซึ่งคงต้องใช้ความพยายามพอสมควรมากกว่าปกติ ที่จะอธิบายให้เด็กๆ ได้เข้าใจความหมายของการมอบหมายความไว้วางใจต่ออัลลอฮฺ ด้วยคำพูด

2. สั่งสอนอัลกุรอาน: บรรดาผู้นำผู้บริสุทธิ์ได้แนะนำประชาชาติไว้ว่า จงสอนอัลกุรอานแก่บรรดาบุตรของตน, ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : »จงสอนบุตรของตนให้อ่านอัลกุรอานบทยาซีนเถิด, เนื่องจากอัลกุรอานบทนี้คือ ดอกไม้แห่งสวรรค์«[3] แน่นอนว่า จุดประสงค์ของการสอนมิได้จำกัดอยู่แค่การท่องจำหรือการอ่านเพียงอย่างเดียว, ทว่าครอบคลุมถึงการสอนความเข้าใจความหมายด้วย. ซึ่งตรงนี้เราสามารถสอนหลักความศรัทธาอีกมากมายให้แก่เด็กๆ ได้ในเวลาเดียวกัน

3.การนำเด็กๆ เข้าร่วมในงานส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ, เช่น พาไปมัสญิด, พิธีอ่านดุอาอฺ, เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มศาสนาที่หน้าเชื่อถือ และ ...เพื่อเขาจะได้เห็นสิ่งเหล่านั้นใกล้ๆ ด้วยตาตนเอง และจะได้รับคำตอบอันเกิดจากคำถามจำนวนมากมาย จากบุคคลที่รอบรู้และเชื่อมั่นได้

4. คำตอบต่างๆ ที่ถูกต้องง่ายต่อคำถามของเด็กๆ : เนื่องจากเด็กๆ เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น เมื่อเขาได้เห็นหรือได้ยินบางสิ่งบางอย่างก็จะเกิดข้อซักถามขึ้นมากมาย, คำถามด้านศาสนาของเด็กๆ ถือว่าเป็นก้าวเริ่มแรกของพวกเขาที่ก้าวไปสู่ความศรัทธาสมบูรณ์ ซึ่งผู้ปกครองจะต้องไม่มองข้ามคำถามเหล่านี้เด็ดขาด

พฤติกรรมของมารดาเมื่อเผชิญหน้ากับคำถามเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า:

ก. จำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านี้อย่างถูกต้อง ง่ายดาย และชัดเจน, ซึ่งตรงนี้มารดาสามารถอธิบายง่ายๆ โดยอาศัยความโปรดปรานต่างๆ ของอัลลอฮฺที่อยู่รายรอบตัวเราเป็นบรรทัดฐานในการตอบ, สามารถพิสูจน์อัลลอฮฺด้วยวิธีการที่ดีและง่ายที่สุด ด้วยคุณลักษณะบางประการของพระองค์ หรือด้วยกฎระเบียบของโลกที่มีอยู่และมองเห็นได้, ซึ่งทฤษฎีว่าด้วยความเป็นระเบียบของโลก เป็นทฤษฎีที่ง่ายที่สุดสำหรับการพิสูจน์พระเจ้า, ซึ่งทั้งอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจำนวนมากมายได้ให้ความสำคัญต่อทฤษฎีดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทฤษฎีดังกล่าวเป็นความรู้ประจักษ์ ปราศจากข้อพิสูจน์เชิงปรัชญาอันสลับซับซ้อน, ด้วยเหตุนี้เอง ทุกคนจึงสามารถใช้ทฤษฎีนี้พิสูจน์ความจริงได้

ข.การพึ่งพาธรรมชาติ : โดยบ่งชี้ให้เห็นถึงการสร้างสรรค์ต่างๆ ของพระเจ้า ทำให้พวกเขาได้คุ้นเคยกับปาฏิหาริย์ต่างๆ ของพระองค์, แสดงให้เขาเห็นพลานุภาพของอัลลอฮฺในการสร้างสรรค์สรรพสิ่งทั้งในฟากฟ้า แผ่นดิน และน่านน้ำ

โองการอัลกุรอาน จำนวนมากมาย เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญในธรรมชาติ, เช่น อัลกุรอานบางโองการกล่าวว่า : »และพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงดลใจแก่ผึ้งว่า เจ้าจงทำรังตามภูเขาและตามต้นไม้ และตามที่พวกเขาทำร้านขึ้น แล้วเจ้าจงกินจากผลไม้ทั้งหลาย แล้วจงดำเนินตามทางของพระผู้อภิบาลของเจ้า โดยถ่อมตัว มีเครื่องดื่ม (น้ำผึ้ง) หลากสีออกมาจากท้องของผึ้ง ในนั้นมีสิ่งบำบัดแก่ปวงมนุษย์«[4] ทำนองเดียวกันอัลกุรอานเชิญชวนมนุษย์ให้พิจารณาการสร้างอูฐ ท้องฟ้าต่างๆ ภูเขาทั้งหลาย และแผ่นดิน และ ..โองการกล่าวว่า : »พวกเขาไม่พิจารณาดูอูฐดอกหรือว่า มันถูกบังเกิดมาอย่างไร ท้องฟ้ามันถูกยกให้สูงขึ้นอย่างไร ภูเขามันถูกปักตั้งไว้อย่างไร และแผ่นดินมันถูกแผ่ราบเรียบไว้อย่างไร«[5] ดังนั้น ความมหัศจรรย์ของสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า ถ้าหากได้อธิบายด้วยคำพูดง่ายๆ จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จักพระเจ้าได้ในระดับหนึ่ง

ค. คำตอบจำนวนมากมายต่อคำถามทั้งหลายของเด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้จากอัลกุรอาน เช่น ถ้าหากลูกของท่านถามว่า พระเจ้าเป็นใคร ท่านสามารถตอบข้อสงสัยของเขาได้ด้วยโองการนี้ว่า : »อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และทรงให้น้ำลงมาจากชั้นฟ้า และทรงให้พืชผลงอกเงยออกมาโดยนัยนั้น[6]« จงกล่าวแก่พวกเขาว่า »พระองค์ทรงเมตตายิ่งในหมู่ผู้เมตตาทั้งหลาย«[7] และพยายามอธิบายให้มองเห็นภาพความเมตตาปรานีของพระเจ้า

ง.จงอธิบายแก่พวกเขาให้รู้ว่า ยังมีสรรพสิ่งอีกจำนวนมากมายที่มีอยู่บนโลกนี้ แต่ตาเรามองไม่เห็น, เช่น อากาศ สติปัญญา, ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นได้, แน่นอน อัลลอฮฺ ทรงมีอยู่, แต่สายตามนุษย์ไม่อาจมองเห็นพระองค์ได้ : »สายตาทั้งหลายมองไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นสายตาเหล่านั้น«[8]

จ. อธิบายเรื่องเล่าต่างๆ ที่เหมาะสมในศาสนา : เนื่องจากเด็กๆ นั้นชอบเรื่องเล่าต่างๆ เป็นชีวิตจิตใจ ซึ่งผู้ปกครองสามารถนำเรื่องเล่าในอัลกุรอาน และสาส์นต่างๆ ของศาสนา ถ่ายทอดแก่พวกเขาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น เรื่องราวของศาสดาอิบรอฮีม ช่วงที่ท่านวิภาษกับบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเทียม ซึ่งท่านศาสดาได้ใช้เหตุผลง่ายๆ ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าและความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ฉ. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็กๆ เอง : สำหรับการกำหนดความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา และความต้องการของเราที่มีต่อสิ่งเหล่านั้น สามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็กๆ ได้ เช่น ตั้งคำถามจากโปรแกรมประจำสัปดาห์ เพื่อสร้างให้เด็กๆ เข้าใกล้จุดประสงค์มากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นค่อยหาบทสรุป แล้วนำเสนอโปรแกรมที่อัลลอฮฺทรงประทานผ่านบรรดาศาสดา ในนามของศาสนาแก่พวกเขา

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือดังต่อไปนี้ :

1.โคดาเชนอซี กุรอานนี กูเดกอน, ฆุล่ามเรซอ ฮัยดะรียฺ อับฮะรียฺ.

2. คอนนะวอเดะฮฺ ดัร อิสลาม, ฮุซัยนฺ มะซอเฮรียฺ

3. ดะฮ์ ดัรซ์ โคดาเชนอซี บะรอเยะ ญะวอนอน, นอซิร มะการิม ชีรอซี

 


[1] ครอบครัวในอิสลาม, ฮุซัยนฺ มะซอเฮรี, หน้า 121.

[2] สะฟีนะตุลบิฮาร, เล่ม 2, หน้า 372.

[3] มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล, เล่ม 4, หน้า 325.

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ, 68,69.

[5] فَلَا يَنظُرُونَ إِلىَ الْابِلِ كَيْفَ خُلِقَتْ* وَ إِلىَ السَّمَاءِ كَيْفَ رُفِعَتْ* وَ إِلىَ الجِْبَالِ كَيْفَ نُصِبَتْ* وَ إِلىَ الْأَرْضِ كَيْفَ سُطِحَتْอัลกุรอาน บทฆอชิยะฮฺ, 17-20.

[6] อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม, 32.

[7] อัลกุรอาน บทยุซุฟ, 64.

[8] อัลกุรอาน บทอันอาม, 103.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5609 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9060 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8381 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7393 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    8908 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    9917 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    10458 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    6886 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • การพูดคุยกับผู้หญิงที่ไม่เคยเห็น จะเป็นอะไรหรือไม่?
    8389 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ถือว่ไม่อนุญาตและมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8356 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59353 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56811 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41633 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38382 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38376 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33420 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27207 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27102 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25170 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...