การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11496
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/20
คำถามอย่างย่อ
กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
คำถาม
สลามุอะลัยกุม การสาปแช่ง และการปฏิเสธคนอื่น ถ้าหากไม่ถูกต้องจะมีสะท้อนอย่างไรกับมนุษย์ และกฎเกณฑ์ทางชัรอียฺว่าอย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นของคำถามสามารถพิจารณาได้หลายกรณีดังนี้

1.การสาปแช่ง,การปฏิเสธ,การประณาม, อย่างไม่ถูกต้องเหมาะแก่คนอื่น ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สมควรได้รับความสาปแช่งแม้แต่น้อย แน่นอน เป็นเรื่องธรรมดาที่การกระทำเหล่านี้ ตามคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า และตามหลักการของศาสนาอิสลาม ย่อมได้รับการห้ามปราม และมีบทลงโทษสำหรับปรโลกไว้ด้วย ปัญหาดังกล่าวนี้มิใช่เพียงแค่คำสอน และหลักการของศาสนาจะห้ามไว้เท่านั้น ทว่ายังไม่เป็นที่ยอมรับของวิทยปัญญา ซึ่งกฎทั่วไปของสังคมมนุษย์ ที่มิได้มาจากพระเจ้าก็ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น โดยไม่อนุญาตให้มนุษย์ล่วงละเมิดสิทธิของปัจเจกชน หรือล่วงละเมิดสิทธิทางสังคม แน่นอน ผู้ฝ่าฝืนกระทำเช่นนั้น จะต้องได้รับการลงโทษด้านกฎหมาย

2. หลักคำสอนของศาสนาอิสลามสอนเราว่า มนุษย์ที่มีศรัทธาทั้งหลาย, เขาจะไม่พูดจากไร้สาระ หรือพูดตามใจปากอันก่อให้เกิดความผิด และบาปกรรม และเขาจะไม่ทำลายสิทธิของผู้อื่น หรือแม้แต่คำพูด หรือคำปราศรัยที่นอกจากจะไม่เป็นบาป หรือไม่มีผลเสียในเชิงลบ หรือที่กล่าวด้วยสำนวนว่าคำพูดไร้สาระ เขาก็จะไม่พูด อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : แน่นอน ผู้ศรัทธาที่แท้จริง เขาจะไม่กระทำสิ่งไร้สาระเด็ดขาด[1]โองการนี้สาธยายว่า, ตามความเป็นจริงแล้วมุอฺมิน ได้ถูกฟูมฟักขึ้นมาในลักษณะที่ว่า นอกจากจะไม่คิดสิ่งที่เป็นโมฆะ ไม่พูดสิ่งไร้สาระ ไม่กระทำงานที่ไม่มีประโยชน์แล้ว, ทว่าตามนิยามของอัลกุรอาน เขาจะออกห่างจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด, แล้วจะนับประสาอะไรกับการที่เขาจะสาปแช่งคนอื่นอย่างไม่ถูกต้อง หรือปฏิเสธ หรือประณามคนอื่น

3. ตามคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามการกระทำต่างๆ เหล่านี้แล้ว, ยังมีรายงานจากบรรดาอิมามผู้นำอีกด้วย โดยกล่าวว่า : ถ้าหากผู้ใดได้สาปแช่งคนอื่น ทั้งที่ผู้นั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะกลับไปหาตนเอง :

"وَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ لَعَنَ رَجُلٌ الرِّيحَ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ (ص) فَقَالَ لَا تَلْعَنِ الرِّيحَ فَإِنَّهَا مَأْمُورَةٌ وَ إِنَّهُ مَنْ لَعَنَ شَيْئاً لَيْسَ لَهُ بِأَهْلٍ رَجَعَتِ اللَّعْنَةُ عَلَيْهِ"؛

“ชายคนหนึ่งอยู่กับเราะซูล (ซ็อล ฯ) เขาได้สาปแช่งลม, ท่านเราะซูลกล่าวว่า จงอย่าสาปแช่งลม, เนื่องจากลมนั้นได้รับมอบหมายหน้าที่มาจากอัลลอฮฺ เหมือนกับบุคคลที่ได้สาปแช่งคนอื่น ทั้งที่เขาไม่สมควรได้รับคำสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง”[2]

รายงานดังกล่าวพบว่า, ลมได้รับการสาปแช่งทั้งที่ไม่สมควรถูกสาปแช่ง, มิใช่ว่ามนุษย์นั้นจะมีเกียรติและได้รับการเคารพ เหมือนเกียรติยศของกะอฺบะฮฺ สิ่งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ต้องระมัดระวังความประพฤติและคำพูดของตน จงอย่ากระทำสิ่งใดโดยปราศจากเหตุผลทางชัรอียฺ หรือตัดสินผู้โดยปราศจากเหตุผลเช่นกัน

4. ประเด็นที่จำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ การสาปแช่งบุคคลที่กลั่นแกล้งบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ, ถือว่าอนุญาตและเป็นความดีงามด้วยซ้ำไป, แต่สิ่งที่กล่าวมานั้น, กับคำถามที่ได้ถามมาเกี่ยวกับบุคคลที่ได้สาปแช่งคนอื่น อย่างไม่ถูกต้อง หรือปฏิเสธคนอื่น หรือนำเอาบุคลิกภาพ หรือสิทธิส่วนตัวของบุคคลมาทำลาย, มิใช่บุคคลที่กลั่นแกล้งเราะซูล หรือหมู่มิตรของพระเจ้า ซึ่งบุคคลเหล่านั้นย่อมได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ และผู้สาปแช่งทั้งหลาย : “แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังหลักฐานอันชัดเจน และการชี้นำอันถูกต้องที่เราได้ให้ลงมา หลังจากที่เราได้ชี้แจงไว้แล้วในคัมภีร์สำหรับปวงมนุษย์ ชนเหล่านี้แหละ อัลลอฮฺ จะทรงสาปแช่งพวกเขาและผู้สาปแช่งทั้งหลายก็จะสาปแช่งพวกเขาด้วย”[3]

 

 


[1] มุอฺมิน, 3. “ตามความเป็นจริงแล้ว คำว่าไร้สาระ ดังที่นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบายว่า : ทุกคำพูด และทุกการกระทำ ที่ไม่มีประโยชน์, มะการิม,นาซิร,ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 14, หน้า 195, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1372 (ค.ศ.1993)

[2] กุลัยนี, กาฟียฺ, เล่ม 8, หน้า 69, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 18420 (ค.ศ.th18021)

[3] บะเกาะเราะฮฺ, 159.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    7988 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    6551 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8372 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7098 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8831 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • จงอธิบายทฤษฎีของพหุนิยมทางศาสนาและการตีความที่แตกต่างกันของศาสนา และระบุความแตกต่างของพวกเขา?
    17871 เทววิทยาใหม่ 2555/04/07
    1.พหุนิยมหมายถึง ความมากมายในหลายชนิด ทั้งในทางปรัชญาของศาสนา, ปรัชญาจริยธรรม, กฎหมาย และการเมืองและว่า ... ซึ่งทั้งหมดมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งการรับรู้ทั้งหมดเหล่านี้อย่างเป็นทางการในนามของการรู้จักในความหลากหลาย ในทางตรงกันข้ามกับความเป็นหนึ่งเดียว หรือความจำกัดในความเป็นหนึ่งเดียว พหุนิยมทางศาสนา หมายถึงการไม่ผูกขาดความถูกต้องไว้ในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเฉพาะพิเศษ การได้รับผลประโยชน์ของทุกศาสนาจากความจริงและการช่วยเหลือให้รอด 2. พหุนิยม อาจได้รับการพิจารณาในหมู่ศาสนาต่างๆ หรือระหว่างนิกายต่างๆ ในศาสนาที่มีอยู่ก็ได้ 3. ในความคิดของเราชาวมุสลิมทั้งหลาย พหุนิยมถูกปฏิเสธก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ในศาสนาอิสลามมีเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุความถูกต้องของศาสนาอิสลาม ในลักษณะที่ว่าในศาสนาอื่น ๆ ไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องพอเหมือนกับศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ คัมภีร์แห่งฟากฟ้า (อัลกุรอาน) ยังไม่มีการบิดเบือนหรือสังคายนาใดๆ ทั้งสิ้น และความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามก็เท่ากับว่าได้ยกเลิกคำสอนของศาสนาอื่นไปโดยปริยาย 4. การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา ซึ่งหนึ่งในหลักการพื้นฐานของสิ่งนั้นคือ อรรถปริวรรตศาสตร์ และอีกประการหนึ่งคือการรู้จักต่างๆ ในศาสนาและการวิจัย ...
  • ผู้มีญุนุบที่ได้ทำตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ สามารถเข้ามัสยิดได้หรือไม่?
    6633 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    ผู้ที่มีญุนุบที่อยู่ในเงื่อนไขที่สามารถทำตะญัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นหลังจากที่ได้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่แล้วก็สามารถเข้าไปในมัสยิดเพื่อร่วมทำนมาซญะมาอัตหรือฟังบรรยายธรรมได้ท่านอิมามโคมัยนีได้ให้คำตอบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า: “ผลพวงทางด้านชาริอะฮ์ที่เกิดขึ้นจากการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่จะมีในกรณีการทำการตะยัมมุมทดแทนเช่นกันนอกจากกรณีการตะยัมมุมทดแทนด้วยเหตุผลที่จะหมดเวลานมาซมัรญะอ์ท่านอื่นๆก็มีทัศนะนี้เช่นเดียวกัน
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    8665 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7160 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • เหตุใดจึงไม่ควรครุ่นคิดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของการสรรสร้าง?
    6123 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/19
    ประเด็นหนึ่งที่กุรอานและฮะดีษเน้นย้ำไว้เป็นพิเศษก็คือ การครุ่นคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรพสิ่งต่างๆ[1] ทว่าควรหลีกเลี่ยงการไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอ์ ดังฮะดีษนบี(ซ.ล.)ที่ว่า จงครุ่นคิดเกี่ยวกับสรรพสิ่งที่อัลลอฮ์สร้างเถิด แต่ในกรณีของอาตมันของพระองค์นั้น ไม่บังควรอย่างยิ่ง”[2] อีกฮะดีษหนึ่ง ท่านนบีระบุถึงสาเหตุที่ห้ามมิให้ไตร่ตรองเกี่ยวกับอาตมันของอัลลอฮ์ว่า “เนื่องจากพวกท่านไม่อาจจะเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์เด็ดขาด”[3] ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะไม่มีการห้ามครุ่นคิดเกี่ยวกับการสรรสร้างของพระองค์แล้ว ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...