การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9679
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa860 รหัสสำเนา 14617
คำถามอย่างย่อ
มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
คำถาม
มนุษย์สามารถชำระบาปได้หรือไม่? ด้วยวิธีใดบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป

วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกัน อาทิเช่น
1. เตาบะฮ์ หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)
2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่ อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้
3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก
4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้ รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัค และทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก เหล่านี้จะเจียระไนผู้ศรัทธาที่เคยทำบาปให้สะอาดปราศจากมลทิน
5. ชะฟาอัต.(ดังจะกล่าวต่อไป) อย่างไรก็ดี ผู้ที่จะได้รับชะฟาอัตจะต้องสำนึกผิดและเปลี่ยนแปลงตนให้เหมาะแก่การนี้เสียก่อน
6. อภัยทานจากพระองค์. ผู้ประสงค์จะได้รับอภัยทานต้องไม่ขาดคุณสมบัติอันเหมาะสมตามเงื่อนไข อย่างกรณีผู้ศรัทธาที่เปรอะเปื้อนบาปหรือหย่อนยานเกี่ยวกับศาสนกิจบางประการ.

คำตอบเชิงรายละเอียด

หากพิจารณาโองการต่างๆในกุรอานจะพบว่า วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากพระองค์มีหลายวิธีด้วยกัน  ที่นี้ขอนำเสนอโดยสังเขปดังต่อไปนี้
1. เตาบะฮ์หรือการกลับใจ อันจะต้องควบคู่กับความสลดใจต่อบาปที่ทำไป พร้อมกับตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะไม่ย้อนทำซ้ำอีก และหมั่นชดเชยด้วยการประกอบความดี
อายะฮ์ที่กล่าวถึงประเด็นนี้มีมากมาย แต่เราขอหยิบยกมาเพียงโองการเดียว
[1]
هُوَ الَّذِی یَقْبَلُ التَّوْبَةَ عَنْ عِبادِهِ وَ یَعْفُوا عَنِ السَّیِّئاتِ” (พระองค์คือผู้รับมอบเตาบะฮ์จากปวงบ่าว และทรงประทานอภัยบาปต่างๆ)
แก่นแท้ของการเตาบะฮ์คือ การสลดใจและสำนึกผิดต่อบาป อันจะส่งผลให้เกิดปณิธานแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปซ้ำอีก รวมทั้งชดเชยส่วนที่ขาดหายไปด้วยการทำความดี(ในกรณีศาสนกิจที่ทดแทนกันได้) ทั้งนี้ ประโยคอัสตัฆฟิรุลลอฮ์เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหมายดังกล่าว สรุปคือ เตาบะฮ์มีองค์ประกอบหลัก 5 ประการ 1. ละทิ้งบาป 2. สำนึกผิด 3. ตั้งมั่นว่าจะไม่ทำบาปซ้ำ 4. ทำกุศลกรรมทดแทน 5. กล่าวอิสติฆฟาร.[2]

2. กุศลกรรมพิเศษที่จะลบเลือนบาป. ดังที่พระองค์ตรัสว่าإِنَّ الْحَسَناتِ یُذْهِبْنَ السَّیِّئاتِ[3](ความดีย่อมจะลบเลือนความผิดบาป)
3. หลีกเลี่ยงการทำบาปใหญ่ อันจะทำให้บาปเล็กบาปน้อยที่มีอยู่ได้รับการอภัย ดังที่กุรอานกล่าวว่า
 
إِنْ تَجْتَنِبُوا کَبائِرَ ما تُنْهَوْنَ عَنْهُ نُکَفِّرْ عَنْکُمْ سَیِّئاتِکُمْ وَ نُدْخِلْکُمْ مُدْخَلاً کَریماً[4]
หากสูเจ้างดเว้นบาปใหญ่ที่เคยได้รับคำเตือนแล้ว พระองค์จะทรงปกปิดบาปอื่นๆของสูเจ้า และจะนำพาสูเจ้าเข้าสู่ฐานะอันทรงเกียรติ[5]
4. การอดทนต่อความทุกข์ยาก อันจะลดการสะสมของบาป นอกจากนี้ การลงโทษในโลกแห่งบัรซัคและด่านเบื้องต้นของปรโลกก็จะทำให้ผู้ศรัทธาสะอาดจากมลทินบาป.[6]
5. ชะฟาอัต. ความหมายทั่วไปของชะฟาอัตคือ การที่ผู้แข็งแรงกว่าเคียงข้างและให้การอุปถัมภ์ผู้ที่ด้อยกว่า การช่วยเหลือในที่นี่อาจหมายถึงการช่วยเพิ่มพูนคุณความดี หรืออาจหมายถึงการช่วยขจัดข้อบกพร่อง[7]
ส่วนชะฟาอัตในมุมมองอิสลามและโองการต่างๆในกุรอาน[8]นั้น เน้นย้ำถึงการปรับปรุงตนเองของผู้ประสงค์จะรับชะฟาอัตเป็นหลัก กล่าวคือ อันดับแรก ผู้ประสงค์จะได้รับชะฟาอัตจะต้องปรับปรุงแก้ไขตนเองให้หลุดพ้นจากสถานะที่ล่อแหลมต่อการถูกลงโทษเสียก่อน แล้วจึงสานสัมพันธ์กับผู้อำนวยชะฟาอัต เพื่อที่จะนำพาตนสู่สถานะที่เหมาะแก่การได้รับอภัยโทษจากอัลลอฮ์
ความเชื่อในเรื่องชะฟาอัตตามความหมายข้างต้น ถือเป็นแนวการอบรมศีลธรรมชั้นยอดเพื่อบำบัดเยียวยาผู้เสพบาปกรรม เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดการตื่นตัวและฉุกคิดถึงผลแห่งกรรมมากยิ่งขึ้น[9]

ฮะดีษต่างๆมากมายให้การยืนยันเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยได้อธิบายฐานะแห่งมะฮ์มูด”(ผู้ได้รับการยกย่อง)ที่กุรอานสัญญาว่าจะมอบแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดว่า หมายถึงฐานันดรแห่งการให้ชะฟาอัต
นอกจากนี้ โองการو لسوف یعطیک ربک فترضی (และพระผู้อภิบาลของเจ้าจะประทานแก่เจ้าจนกว่าเจ้าจะพอใจ) ยังหมายถึงการที่พระองค์จะอภัยโทษตามที่ท่านศาสดาร้องขอไว้สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การได้รับชะฟาอัต

ด้วยเหตุนี้ ชะฟาอัตจึงเป็นความหวังอันยิ่งใหญ่สูงสุดของผู้ศรัทธาที่มีบาปติดตัว อิสลามถือว่าชะฟาอัต(ที่เป็นไปตามเงื่อนไข)นั้น เป็นหนทางที่ดีที่สุดหนทางหนึ่งสำหรับการอบรมบ่มเพาะ และสร้างแรงบันดาลใจที่จะทดแทนข้อบกพร่อง ทั้งนี้ก็เพื่อชำระตนให้สะอาดปราศจากบาป และพร้อมจะคืนสู่หนทางที่ทอดยาวสู่คุณค่าแห่งศีลธรรม.

6. อภัยทานจากพระองค์[10]. สิทธิพิเศษนี้จะประทานแก่ผู้ที่เหมาะสมเท่านั้น นั่นก็คือ ผู้ศรัทธาที่อาจพลาดพลั้งทำบาปในโลกนี้ คนกลุ่มนี้หากได้รับอภัยทานจากพระองค์ก็จะพ้นโทษ และจะเข้าสมทบกับผู้ศรัทธาที่มีระดับสูงกว่าในสวรรค์ แต่หากไม่ได้รับอภัยทานก็ต้องทนทุกข์ทรมานในนรกเสียก่อน แต่ถึงอย่างไรเสีย เขาก็จะได้รับการปล่อยตัวจากนรกหลังจากชำระโทษเสร็จสิ้น.[11]
ขอเน้นย้ำว่าอภัยทานขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของพระองค์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าทุกคนสามารถจะได้รับสิทธิพิเศษนี้ได้ เนื่องจากพระองค์จะทรงพิจารณาอนุมัติให้เพียงผู้ที่เคยพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพพอที่จะได้รับอภัยทาน ด้วยการประกอบกุศลกรรมบางประเภทในโลกนี้

ในฐานะที่ทรงสร้างและทรงรอบรู้ทุกมิติของมนุษย์ อัลลอฮ์ทรงประทานศักยภาพแก่มนุษย์ให้สามารถชำระตนให้ปราศจากบาปได้ โดยพระองค์ทรงเชิญชวนและให้สัญญาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถึงขั้นที่ทรงประกาศว่าการสิ้นหวังในพระเมตตาของพระองค์นั่นแหล่ะคือบาปที่ใหญ่ที่สุด.

ยิ่งไปกว่านั้น ทรงแต่งตั้งบรรดาศาสดาเพื่อนำพามนุษย์สู่ความเมตตาอันไร้ขอบเขตของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านศาสดามุฮัมมัดที่ได้รับฉายานามว่าศาสดาผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม

อีกประเด็นที่ไคร่ขอเน้นย้ำอีกครั้งก็คือ หากผู้ศรัทธาคนใดสามารถประคองความศรัทธาไว้จนสิ้นลมหายใจ โดยไม่เคยทำบาปใหญ่ประเภทที่สามารถสั่นคลอนฐานรากแห่งศรัทธา (อันจะส่งผลให้เคลือบแคลงในศาสนาและปฏิเสธหลักศรัทธาในบั้นปลาย)
หรืออาจกล่าวสั้นๆได้ว่าเขาสิ้นลมขณะมีศรัทธาในกรณีเช่นนี้เขาจะไม่ถูกจองจำในนรกอเวจีชั่วกัปชั่วกัลป์ ทั้งนี้เนื่องจากบาปเล็กบาปน้อยของเขาจะถูกขีดฆ่าเนื่องจากเขาไม่เคยแตะต้องบาปใหญ่ ส่วนกรณีที่มีบาปใหญ่ ก็มีโอกาสจะได้รับการอภัยด้วยการเตาบะฮ์ที่ตรงตามเงื่อนไข แต่หากเขามิได้เตาบะฮ์อย่างถูกต้อง เขาก็อาจได้รับการผ่อนปรนในกรณีที่เคยเผชิญความทุกข์ยากในโลกนี้ และได้รับโทษเบื้องต้นในอาคิเราะฮ์ อย่างไรก็ตาม หากยังไม่บริสุทธิจากรอยบาปด้วยมาตรการดังที่กล่าวมา เขาก็มีโอกาสจะรอดพ้นการถูกจองจำอันนิรันดร์ในขุมนรกด้วยหลักชะฟาอัต (ซึ่งนับเป็นกรุณาธิคุณของพระองค์ผ่านทางท่านศาสดาและวงศ์วานในฐานะสัญลักษณ์แห่งเมตตาธรรมของอัลลอฮ์)

แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรประมาทเลินเล่อในการทดสอบของพระองค์ พึงระมัดระวังสิ่งที่จะสั่นคลอนศรัทธาในบั้นปลายชีวิต และต้องระวังอย่าปล่อยใจให้ระเริงดุนยา กระทั่งสิ้นลมหายใจในสถานะของผู้เป็นที่กริ้วของพระองค์.[12]



[1] ซูเราะฮ์ ชูรอ, 25.

[2] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 24, หน้า 290.

[3] ฮู้ด,114 .

[4] นิซาอ์, 31.

[5] มิศบาฮ์ ยัซดี, บทเรียนอะกีดะฮ์, หน้า 477.

[6] บทเรียนอะกีดะฮ์, หน้า 481.

[7] เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม. ดู,หมวด: นัยยะของชะฟาอัตในอิสลาม, คำถาม 350, หมวด: ชะฟาอัตและความพึงพอใจของพระองค์, คำถาม 124.

[8] ซูเราะฮ์ สะญะดะฮ์ 4, ซุมัร 44, บะเกาะเราะฮ์ 255, สะบะอ์, 23 ฯลฯ

[9] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 1, หน้า 233.

[10] ชูรอ, 25.

[11] ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 26, หน้า 111.

[12] บทเรียนอะกีดะฮ์, หน้า 481 และ 482.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...