การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7421
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/22
คำถามอย่างย่อ
ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
คำถาม
ท่านนบีกล่าวอะซานอย่างไร? ท่านกล่าวปฎิญาณถึงตำแหน่งนบีของตน และตำแหน่งผู้นำของท่านอลีหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็น เราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้
1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?
จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่า ท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆ นอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซาน ในทางตรงกันข้าม มีหลักฐานยืนยันมากมายว่า ท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์ และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.
2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?
ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าว นอกจากนี้ ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซาน ก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี เรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี()ต่อจากนามของท่านนบี(.)(โดยทั่วไป ไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่า สามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญ มิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซาน ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่า ประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง.

คำตอบเชิงรายละเอียด

จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็น เราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้
1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?
จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่า ท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆ นอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซาน ในทางตรงกันข้าม มีหลักฐานยืนยันมากมายว่า ท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์ และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.
อิมามบากิรกล่าวว่าค่ำคืนเมี้ยะรอญ ท่านนบีเข้าสู่บัยตุลมะอ์มูรตรงกับช่วงเวลานมาซพอดี ญิบรออีลจึงกล่าวอะซานและอิกอมะฮ์ ท่านนบียืนนำนมาซ โดยที่แถวมลาอิกะฮ์มากมายนมาซตามท่านโดยพร้อมเพรียง ภายหลังมีผู้ถามท่านว่าญิบรออีลอะซานอย่างไร? ท่านตอบว่าอัลลอฮุอักบัร อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ อัชฮะดุอันนะมุฮัมมะดัรร่อซูลุลลอฮ์ ...ฯลฯ[1]
นอกจากนี้ยังมีฮะดีษที่ระบุชัดเจนกว่า โดยท่านอิมามฮุเซน()รายงานจากท่านอิมามอลี()ว่าอัลลอฮ์ได้ส่งมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งลงมาเพื่อพาท่านนบีขึ้นสู่เมี้ยะรอจ  ที่นั่น มะลาอิกะฮ์อีกองค์หนึ่งกำลังกล่าวอะซาน ซึ่งมะลาอิกะฮ์องค์นี้ปรากฏกายเฉพาะเหตุการณ์เมี้ยะรอจเท่านั้น ญิบรออีลกล่าวแก่ท่านนบีว่าขอให้ท่านจงกล่าวอะซานเช่นนี้ก่อนนมาซเถิด[2] ประโยคดังกล่าวระบุชัดเจนว่าท่านนบีเองก็ต้องกล่าวอะซานในลักษณะที่ไม่ต่างจากคนอื่นๆ

2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?
เราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าว แม้ว่าในหนังสือ...จะรายงานเหตุการณ์ที่ท่านซัลมาน ฟารซี ได้เพิ่มคำปฏิญาณถึงตำแหน่งวลียุลลอฮ์ของอิมามอลีในอะซาน ซึ่งเป็นเหตุให้ศ่อฮาบะฮ์บางส่วนไม่พอใจและฟ้องต่อท่านนบี(.) ทว่าท่านกลับเมินเฉยต่อคำทักท้วงดังกล่าว อันถือเป็นการอนุมัติให้สามารถกระทำได้ตามนั้น.
นอกจากนี้ยังมีอีกฮะดีษหนึ่งที่เล่าว่า หลังเหตุการณ์เฆาะดีร คุม ท่านอบูซัรได้อะซานโดยเปล่งคำปฏิญาณถึงฐานะภาพผู้นำของท่านอิมามอลี บุคคลกลุ่มหนึ่งได้นำฟ้องท่านนบี ทว่าท่านนบีกล่าวว่าพวกท่านไม่ได้ยินคุฏบะฮ์(เทศนา)ของฉันในวันเฆาะดีร คุม ที่ได้มีการประกาศสถานะผู้นำของอลี()กระนั้นหรือ?” ท่านกล่าวเสริมว่าพวกท่านไม่เคยได้ยินคำพูดของฉันหรือ ที่ว่าใต้ผืนฟ้าและบนแผ่นดินไม่อาจพบผู้ใดที่มีสัจจะยิ่งไปกว่าอบูซัรหลังจากนั้น ท่านนบีจึงเปิดโปงโฉมหน้าของผู้ทักท้วงเหล่านั้นว่าพวกเจ้านี่แหล่ะ ที่จะผินหลังภายหลังจากฉัน![3]

อย่างไรก็ตาม ฮะดีษเหล่านี้ไม่ระบุสายรายงาน และไม่ปรากฏในตำราฮะดีษก่อนศตวรรษที่ 7 (.) จึงไม่สามารถจะนำมาพิจารณาสายรายงานได้
นอกจากนี้ ฮะดีษจากบรรดาอะฮ์ลุลบัยตี่แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับท่อนต่างๆในอะซาน ก็มิได้เอ่ยถึงคำปฏิญาณที่สามนี้แต่อย่างใด ซึ่งก็ทำให้ทราบถึงอะซานในยุคของท่านนบี(.)ได้เป็นอย่างดี.

อย่างไรก็ดี ยังมีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลสำหรับการกล่าวปฏิญาณที่สามاشهد ان علی ولی اللهต่อจากปฏิญาณต่อเอกานุภาพของอัลลอฮ์ และต่อตำแหน่งศาสนทูตของท่านนบี(.) ซึ่งเราจะขอหยิบยกมาโดยสังเขปดังนี้
มีฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก()กล่าวว่า หลังจากสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินแล้ว อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้มีสุรเสียงปฏิญาณสามประการดังกล่าว[4]
อีกฮะดีษหนึ่งจากท่านอิมามศอดิกเช่นกันอัลลอฮ์ทรงสร้างบัลลังก์อะร็อชและ.... แล้วจึงทรงจารึกไว้ว่า
لا اله الا الله محمد رسول الله علی امیرالمؤمنین
แล้วท่านอิมามศอดิกก็กล่าวต่อไปว่าเมื่อพวกท่านกล่าว  لا اله الا الله محمد رسول اللهจึงควรกล่าว علی امیرالمؤمنین ولی الله ด้วย[5]

เนื้อหาของบางฮะดีษระบุว่า การเอ่ยถึงท่านอิมามอลีต่อจากอัลลอฮ์และท่านเราะซูล ไม่ว่าจะในหรือนอกอะซาน ล้วนเป็นที่อนุมัติและเป็นที่โปรดปรานของพระองค์[6]

แต่อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่การปฏิญาณที่สามมีข้อสันนิษฐานว่าอาจไม่ไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน เมื่อพิจารณาประกอบกับการที่อะซานถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง จึงทำให้ผู้รู้ทางฝ่ายชีอะฮ์เห็นพ้องกันว่า วลีดังกล่าวมิไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน แต่อนุญาตให้กล่าวด้วยเหนียตแสวงผลบุญ มิไช่เหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานที่ต้องกล่าว.[7]



[1] เชคฏูซี,ตะฮ์ซีบุล อะห์กาม,ดารุล อัฎวาอ์,เบรุต, เล่ม 2, หน้า 60, ฮะดีษ 3.

[2] กอฎี นุอ์มาน ตะมีมี, ดะอาอิมุลอิสลาม, ดารุลมะอาริฟ, เล่ม 1, หน้า 142.

[3] ดู: เชคอับดุลลอฮ์ มะรอฆี,อัสสะลาฟะฮ์ ฟี อัมริลคิลาฟะฮ์,(ท่านเป็นผู้รู้ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ศตวรรษที่เจ็ด หนังสือของท่านเป็นหนังสือเขียนมือที่ยังอยู่ในห้องสมุอซอฮิรียะฮ์ ดามัสกัส.)

[4] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 37,หน้า.ฮะดีษ 295. บท 54./ เชคศ่อดู้ก,อะมาลี,มัจลิสที่ 88. (ดูเหมือนว่าสุรเสียงนี้จะเป็นการขานตอบผู้ที่อยู่ในยุคแห่งอาลัม ซัร. ท่านอิมามบากิร()กล่าวว่า
: ان الله اخذ من بنی آدم من ظهورهم ذریتهم فقال الست ربکم و محمد رسولی و علی امیرالمؤمنین قالو بلی”) อิบนุฏอวู้ส,อัลยะกีน, หน้า 50,55,88.

[5] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 27, หน้า 1, บท 1.

[6] อ้างแล้ว, เล่ม 38, หน้า 318-319 ฮะดีษ 27 บทที่ 67 และเล่ม 27, หน้า 8, และเล่ม 16, บทที่ 10, 1.

[7] ประมวลฟัตวา(รวมภาคผนวก) เล่ม 1, ปัญหาที่ 919 หน้า 519 ระบุว่า اشْهَدُ انَّ عَلِیّاً وَلِیُّ اللَّهِมิไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน แต่เหมาะที่จะกล่าวหลัง  اشْهَدُ انَّ مُحَمَّداً رَسُولُ اللَّهِด้วยเหนียตแสวงผลบุญ
อายะตุลลอฮ์ ซันญอนี: แน่นอนว่าวิลายะฮ์ของอมีรุ้ลมุอ์มินีนและวงศ์วานถือเป็นส่วนสำคัญของอีหม่าน และอิสลามที่ปราศจากสิ่งดังกล่าวย่อมไม่ต่างจากเปลือกที่ไร้เนื้อหา จึงเป็นการดีที่จะเอ่ยถึงวิลายะฮ์ของท่านและตำแหน่งอิมามที่เชื่อมต่อยังนบีของท่าน และวิลายะฮ์ของบรรดามะอ์ศูมีน ด้วยเจตนาแสวงบาเราะกัตและผลบุญจากพระองค์ โดยพยายามเลี่ยงอย่าให้คล้ายกับประโยคหลักของอะซาน.
อายะฯ มะการิมฯ ให้กล่าวด้วยเหนียตแสวงบาเราะกัตจากอัลลอฮ์ แต่ควรเป็นลักษณะที่ฟังแล้วทราบว่าไม่ไช่ส่วนหนึ่งของอะซาน.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6205 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    6876 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5288 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • ฮะดีษที่ว่า “ผู้ใดสิ้นลมโดยปราศจากสัตยาบัน ถือว่าเขาตายในสภาพญาฮิลียะฮ์” รวมถึงตัวท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยหรือไม่?
    7945 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/19
    สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้านด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตามในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำจึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบันมิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบันแน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่าลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอแต่จะต้องเจริญรอยตามด้วยอย่างไรก็ดีฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้นเรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่านรายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • ฮะดีซต่างๆ ในหนังสือกาฟียฺ สามารถอธิบายความอัลกุรอานได้หรือไม่?
    7630 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/07/16
    นักรายงานฮะดีซผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ มุฮัมมัด บิน ยะอฺกูบ กุลัยนียฺ (รฮ.) เป็นหนึ่งในปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายชีอะฮฺ และเป็นหนึ่งในนักรายงานฮะดีซที่เชื่อถือได้มากที่สุดของฝ่ายอิมามียะฮฺ ท่านอยู่ในยุคสมัยการเร้นกายระยะสั้นของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และยังเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ อุซูลกาฟียฺ อันเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานส่วนใหญ่ในหนังสือกาฟียฺล้วนเป็นที่เชื่อถือ แต่หนังสือกาฟียฺก็เหมือนกับหนังสือฮะดีซทั่วไปที่มีรายงานอ่อนแอ และไม่น่าเชื่อถืออยู่บ้าง ตามทัศนะของชีอะฮฺและอะฮฺลุซซุนนะฮฺ มีฮะดีซที่ถูกต้องจำนวนมากมายจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ บันทึกอยู่ในหนังสือญะวามิอฺริวายะฮฺ ซึ่งฮะดีซจำนวนมากเหล่านั้นได้ตัฟซีรโองการอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในฮะดีซทรงคุณค่าเหล่านั้นคือ หนังสือกาฟียฺ ...
  • สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
    7342 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลามหลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลามปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้วได้แบ่งออกเป็น
  • อัลกุรอาน โองการสุดท้ายคืออะไร และเป็นไปได้ไหมที่จะเพิ่มเติมโองการอัลกุรอาน?
    19797 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    เกี่ยวกับอัลกุรอาน โองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีรายงานจำนวนมากและแตกต่างกัน แต่รายงานโดยรวมเหล่านั้นสามารถกล่าวได้ว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺสุดท้ายสมบูรณ์ที่ได้ประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ซูเราะฮฺ “นัซรฺ” ซึ่งได้ถูกประทานลงมาก่อนที่จะพิชิตมักกะฮฺ หรือในปีที่พิชิตมักกะฮฺนั่นเอง ส่วนซูเราะฮฺสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่ถ้านับโองการถือเป็นโองการเริ่มต้น ของบทบะรออะฮฺ ซึ่งไประทานลงมาในปีที่ 9 ของการอพยพ หลังจากการพิชิตมักกะฮฺ หลังจากกลับจากสงครามตะบูก แต่ในแง่ของโองการ เมื่อถามถึงโองการสุดท้ายที่ประทานแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้แก่โองการอิกมาลุดดีน (มาอิดะฮฺ, 3) เนื่องจากโองการดังกล่าวได้ประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนา และเป็นการเตือนสำทับให้เห็นว่า การประทานวะฮฺยูได้สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาเมื่อวันที่ 18 ซุลฮิจญฺ ปี ฮ.ศ. ที่ 10 ขณะเดินทางกลับจากการประกอบพิธีฮัจญฺ อัลวะดา บางที่สามารถกล่าวได้ว่าโองการ อิกมาลุดดีน เป็นโองการสุดท้ายเกี่ยวกับ โองการอายะตุลอะฮฺกาม ส่วนโองการที่ 281 บทบะเกาะเราะฮฺ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38414 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์คนหนึ่งซึ่งตลอดอายุขัยเขาอยู่ท่ามกลางการหลงทาง และประพฤติผิด และ..? แล้วในปรโลกชะตาชีวิตของเขาได้เปลี่ยนแปลงไปได้ไหม เนื่องจากการทำดี ดุอาอฺ และการวิงวอนขออภัยของคนอื่น ทั้งที่เขาไม่มีบทบาทอันใด?
    7921 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    ประเด็นที่คำถามได้กล่าวถึงมิใช่ว่าจะสามารถรับได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม, หรือปฏิเสธโดยสิ้นเชิงร้อยทั้งร้อย, ทว่าขึ้นอยู่กับความผิดที่ได้กระทำลงไปโดยผู้กระทำผิด, เนื่องจากความผิดบางอย่างเช่น “การตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า”

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56836 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38414 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27126 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...