การค้นหาขั้นสูง

คลังคำตอบ(คำสำคัญ:สาว, สามี, พฤติกรรม, น่ารังเกียจ, ตักเตือน)

คำถามสุ่ม

  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    7723 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20798 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    8679 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    6931 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • สาเหตุของการตั้งฉายานามท่านอิมามริฎอ (อ.) ว่าผู้ค้ำประกันกวางคืออะไร?
    8005 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    หนึ่งในฉายานามที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามริฎอ (อ.) คือ..”ผู้ค้ำประกันกวาง” เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในหมู่ประชาชน,แต่ไม่ได้ถูกบันทึกอยู่ในตำราอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺแต่อย่างใด, แต่มีเรื่องเล่าที่คล้ายคลึงกับเรื่องนี้อย่ซึ่งมีได้รับการโจษขานกันภายในหมู่ซุนนีย, ถึงปาฏิหาริย์ที่พาดพิงไปยังเราะซูล
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    9394 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • กรุณาแจกแจงแนวความคิดของเชคฏูซีในประเด็นการเมือง
    5737 ระบบต่างๆ 2554/10/02
    ทุกยุคสมัยมักมีประเด็นปัญหาใหม่ๆให้นักวิชาการได้ขบคิดและตอบคำถามเรื่อยมาเชคฏูซีก็ถือเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ที่รับผิดชอบภารกิจนี้อย่างดีเยี่ยมแนวคิดทางการเมืองการปกครองของเชคฏูซีสรุปได้ดังนี้ท่านไม่เห็นด้วยกับการจำแนกศาสนาจากการเมืองท่านใช้ข้อพิสูจน์ทางสติปัญญาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีรัฐบาลและระบอบการปกครองตลอดจนต้องมีผู้นำสูงสุด ท่านวิเคราะห์ประเด็นการเมืองด้วยหลักแห่ง"การุณยตา"(ลุฏฟ์)ของอัลลอฮ์กล่าวคืออัลลอฮ์จะแผ่ความการุณย์ด้วยการตั้งให้มีผู้นำสำหรับมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นนบีหรืออิมามหรือตัวแทนอิมามซึ่งภาวะผู้นำทางการเมืองคือหนึ่งในภารกิจของบุคคลเหล่านี้ในบริบททางวิชาการท่านให้ความสำคัญกับประเด็นภาวะผู้นำทางการเมืองของบรรดาฟะกีฮ์ความสำคัญของประเด็นดังกล่าวในสายตาประชาชนความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดังกล่าวกับภาวะผู้นำของอิมามมะอ์ศูมตลอดจนอำนาจหน้าที่ของผู้ปกครองวิถีอิสลามเป็นพิเศษนอกจากนี้การที่ท่านรับเป็นอาจารย์สอนด้านเทววิทยาอิสลามในเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาสิด
  • ท่านสุลัยมาน (อ.) หลังจากได้สูญเสียบุตรชายไป จึงได้วอนขออำนาจการปกครอง แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กล่าว่า โอ้ อะลีหลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับความหายนะ?
    10005 การตีความ (ตัฟซีร) 2556/08/19
    เหตุการณ์แห่งกัรบะลาอฺ เราได้เห็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือแบบอย่างของความอดทน และการยืนหยัด ขณะที่ท่านมีความประเสริฐและฐานันดรที่สูงส่ง เมื่อเทียบกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) หรือแม้แต่ศาสดาที่เป็นเจ้าบทบัญญัติก็ตาม แต่ท่านได้กล่าวขณะท่านอิมามอะลี (อ.) ชะฮาดัตว่า “โอ้ อะลีเอ๋ย หลังจากเจ้าแล้วโลกจะพบกับหายนะ” ถ้าพิจารณาตามอัลกุรอาน โองการที่กล่าวถึงสอนให้รู้ว่า ทั้งคำพูดและความประพฤติของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) เป็นความประเสริฐหนึ่ง ดังนั้น เรามีคำอธิบายอย่างไรกับคำกล่าวอย่างสิ้นหวังของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) กรุณาหักล้างคำพูดดังกล่าวด้วยเหตุผลเชิงสติปัญญา แม้ว่าคำพูดของท่านศาสดาสุลัยมาน (อ.) จะชี้ให้เห็นถึง ฐานะภาพความยิ่งใหญ่ของท่านก็ตาม และความโปรดปรานอันอเนกอนันต์จากอัลลอฮฺ ซึ่งเมือเทียบกับสามัญชนทั่วไปแล้ว ดีกว่ามากยิ่งนัก แต่เมื่อเทียบกับฐานะภาพเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ไม่อาจเทียบเทียมกันได้ เนื่องจากโองการเหล่านี้ หนึ่ง,แสดงให้เห็นว่าท่านศาสดาสุลัยมาน ในชั่วขณะหนึ่งเกิดความลังเล แต่มิได้ละทิ้งสิ่งที่ดีกว่า และการที่ท่านได้สูญเสียบุตรชายไปนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในชะตากรรม สอง, บุตรชายที่ท่านได้สูญเสียไปนั้นเป็นเด็กที่ไม่สมบูรณ์ และคลอดเร็วเกินกว่ากำหนด ดังนั้น โดยปรกติการสูญเสียบุตรลักษณะนี้ จะไม่เป็นสาเหตุทำให้ผู้เป็นบิดามารดาต้องเสียใจหรือระทมทุกข์อย่างหนัก แต่ท่านอิมามฮุซัยนฺ ...
  • การพิสูจน์การเป็นวะฮฺยูของคำและรวบรวมอัลกุรอาน หรือการเป็นวะฮฺยูของการเรียบเรียงตามลำดับของบทและโองการต่างๆ นั้น มีมาตรฐานในการยึดมั่นอัลกุรอานอย่างไร จึงจะมีบทบาทต่อการให้ได้มาซึ่งศาสนบัญญัติ ?
    18516 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7149 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59412 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56856 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41689 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38446 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38444 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33469 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27554 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27260 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27165 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25235 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...