การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12496
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/06
 
รหัสในเว็บไซต์ fa16884 รหัสสำเนา 21438
คำถามอย่างย่อ
มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
คำถาม
มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
คำตอบโดยสังเขป

ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือ มีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(.) ในเหตุการณ์อาชูรอ โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้ อนัส บิร ฮัรซ์, ฮานี บิน อุรวะฮ์, มุสลิม บิน เอาสะญะฮ์, ฮะบีบ บิน มะซอฮิร, อับดุลลอฮ์ บิน ยักฏิร

คำตอบเชิงรายละเอียด

การต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)ปะทุขึ้นในปีฮ..ที่ 61 การที่จะมีเศาะฮาบะฮ์ของท่านนบี(..)ร่วมอยู่ด้วยนั้นมิไช่เรื่องเกินจริงแต่อย่างใด เนื่องจากผู้ที่มีอายุขัยมากกว่า หรือไล่เลี่ยกับอิมามฮุเซน ย่อมเคยอยู่ร่วมสมัยกับท่านนบี(..)และมีอายุเฉลี่ยหกสิบปีขึ้นไปในช่วงเหตุการณ์กัรบะลา ทั้งนี้ แม้สมมุติว่าไม่มีเศาะฮาบะฮ์ร่วมอยู่ในกัรบะลาเลยแม้แต่คนเดียว ก็มิได้ลดทอนสัจธรรมของเหตุการณ์กัรบะลาลงแต่อย่างใด เพราะเศาะฮาบะฮ์ส่วนหนึ่งเสียชีวิตไปแล้วเนื่องจากระยะห่างระหว่างเหตุการณ์กัรบะลาและยุคนบี(..) ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็ชราภาพจนไม่สามารถจะเดินทางมาร่วมต่อสู้ได้  อย่างไรก็ดี กล่าวกันว่ามีเศาะฮาบะฮ์ท่านนบี(..)ร่วมอยู่ในเหล่าวีรชนกัรบะลาด้วย โดยมีรายชื่อดังนี้

อนัส บิร ฮัรซ์ กาฮิลี: สะมาวีกล่าวไว้ในหนังสืออับศอรุ้ลอัยน์ ฟี อันศอริลฮุเซนว่าเขาคือหนึ่งในเหล่าวีรชนกัรบะลา[1]
เชคฏูซีถือว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮ์นบี(..)[2] ที่ได้พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซน(.)[3] เขาเป็นเศาะฮาบะฮ์ที่มีชื่อเสียงถึงขั้นที่อัลลามะฮ์ มุฮ์ซิน อามิลี เล่าไว้ในหนังสืออะอ์ยานุชชีอะฮ์[4]ว่า กุมัยต์ นักกวีนามอุโฆษแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ได้กล่าวถึงอนัสในบทกวีที่ว่า

سوى عصبة فیهم حبیب معفر            قضى نحبه و الکاهلی مرمل‏

ฮะบีบ บิน มุเซาะฮ์ฮัร[5]: เศาะฮาบะฮ์คนหนึ่งของท่านนบี(..) และเป็นสาวกที่มีชื่อเสียงของท่านอิมามอลี(.) ซึ่งได้เข้าร่วมทั้งสามสมรภูมิ ญะมัล, ศิฟฟีน, นะฮ์เราะวาน[6] ทั้งนี้เชคฏูซีมิได้ถือว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮ์นบี(..) แต่ถือว่าเป็นสาวกของท่านอิมามอลี(.) ท่านอิมามฮะซัน(.) และอิมามฮุเซน(.)[7] ทว่าผู้รู้บางท่าน อาทิเช่น ผู้ประพันธ์หนังสืออับศอรุลอัยน์ฯ ถือว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮ์ท่านนบี(..)ที่เป็นชะฮีด  กัรบะลา[8]

มุสลิม บิน เอาสะญะฮ์: หนังสืออับศอรุลอัยน์ระบุว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮ์ของท่านนบี(..)และสาวกคนหนึ่งของอิมามอลี(.)[9] อัลลามะฮ์ มุฮ์ซิน อามิลีได้กล่าวถึงเขาไว้ในหมวดสาวกอิมามฮะซัน(.) ในหนังสืออะอ์ยานุชชีอะฮ์ โดยถือว่าเป็นเศาะฮาบะฮ์คนหนึ่ง[10]

ฮานี บิน อุรวะฮ์: เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นเศาะฮาบะฮ์ของท่านนบี(..) เขาเป็นแกนนำของเผ่ามุรอดี และเคยร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงใหล่ท่านอิมามอลี(.)ในสามสงครามที่กล่าวไปแล้ว[11]

อับดุลลอฮ์ บิน บักฏิร (หรือยักฏิร) อุมัยรี: เขาเป็นบุตรแม่นมของท่านอิมามฮุเซน(.)[12] บิดาของเขามีนามว่าบักฏิร (หรือยักฏิร) เคยเป็นคนรับใช้ของท่านนบี(..) เขาอาสานำสาส์นของท่านอิมามฮุเซน(.)ไปส่งให้มุสลิม อิบนิ อะกีล แต่ถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยอิบนิ ซิยาด.[13]

 



[1] สะมาวี, มุฮัมมัด บิน ฏอฮิร, อับศอรุลอัยน์ ฟี อันศอริลฮุเซน, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย มุฮัมมัด ญะฟัร เฏาะบะซี, หน้า192 ,ศูนย์วิจัยตะห์กีก้อต อิสลามี, กุม,1384

[2] ฏูซี, มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, อัรริญ้าล, หน้า 21, สำนักพิมพ์ฮัยดะรียะฮ์,นะญัฟ, ..1381

[3] เพิ่งอ้าง,หน้า 99

[4] อามิลี, มุฮ์ซิน อะมีน, อะอ์ยานุชชีอะฮ์,เล่ม 3,หน้า 500,ดารุตตะอารุฟ,เบรุต, ..1406

[5] ผู้ประพันธ์หนังสือ อะอ์ยานุชชีอะฮ์ เชื่อว่าควรจะเขียนชื่อบิดาของฮะบีบ บิน มะซอฮิร ว่า มุเซาะฮ์ฮัร จะถูกต้องกว่า ดู: อะอ์ยานุชชีอะฮ์,เล่ม 4,หน้า 552

[6] มุฮัดดิซี, ญะว้าด, พจนานุกรมอาชูรอ, หน้า 151,สำนักพิมพ์มะอ์รู้ฟ,กุม,1381

[7] อะอ์ยานุชชีอะฮ์,เล่ม 4,หน้า 553

[8] อับศอรุลอัยน์,หน้า 193

[9] เพิ่งอ้าง

[10] อะอ์ยานุชชีอะฮ์,เล่ม 1,หน้า 612

[11] มัรฮูมสะมาวีนับว่าเขาคือเศาะฮาบะฮ์นบี(..) ซึ่งหากพิจารณาในแง่ที่ว่าฮานีเป็นแกนนำของเผ่า และมีอายุมากกว่าท่านอิมามฮุเซน() จึงเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะเป็นเศาะฮาบะฮ์นบีด้วยเช่นกัน ดู: อับศอรุลอัยน์,หน้า 192

[12] ริญ้าลฏูซี,หน้า 103

[13] พจนานุกรมอาชูรอ, หน้า 322 แม้ว่าตำราริญ้าลจะไม่มีชื่อของเขาในฐานะเศาะฮาบะฮ์นบี(..) ทว่าเมื่อคำนึงว่าเขาเป็นพี่น้องร่วมน้ำนมของท่านอิมามฮุเซน(.) และมีบิดาเป็นผู้รับใช้ท่านนบี(..) จึงเป็นไปได้ว่าเขาอาจเป็นเศาะฮาบะฮ์นบี เพราะเหตุนี้หนังสืออับศอรุลอัยน์จึงถือว่าเขาเป็นเศาะฮาบะฮ์คนหนึ่ง

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59390 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56841 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41672 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38421 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38417 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33449 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27539 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27235 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27133 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25207 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...