การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7988
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17258 รหัสสำเนา 21777
คำถามอย่างย่อ
มีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่ ซูเราะฮ์เราะอ์ด وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا
คำถาม
อัสลามุอลัยกุม โองการต่อไปนี้หมายความว่าอย่างไร وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا กุรอานที่อยู่ในมือเรานี่น่ะหรือ ที่จะเคลื่อนย้ายภูเขา ...ฯลฯ นักแปลกุรอานมีความเห็นแตกต่างกัน บ้างแปลว่าหมายถึงกุรอานเล่มนี้ แต่บางคนเชื่อว่าเรื่องพวกนี้ไม่ไช่เป้าหมายของกุรอาน กรุณาอธิบายด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป

ในประเด็นที่ว่าโองการ وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... หมายความว่าอย่างไรนั้น นักอรรถาธิบายกุรอานได้นำเสนอไว้สองทัศนะด้วยกัน
1. โองการต้องการจะสื่อว่า หากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขา หรือแยกแผ่นดิน หรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอาน ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือทุกคัมภีร์
2. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหาร โดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้น แม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการ หรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำ หรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตาม แต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ.

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนที่จะชี้แจงถึงความหมายของโองการ وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... [1]ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุแห่งการประทาน (ชะอ์นุนนุซู้ล) เสียก่อน อันจะช่วยให้เข้าใจความหมายของโองการมากยิ่งขึ้น

นักอรรถาธิบายกุรอานบางท่านเล่าว่า โองการนี้ประทานลงมาเพื่อเป็นคำตอบสำหรับพวกมุชริกีนมักกะฮ์อย่างเช่น อบูญะฮั้ล, อับดุลลอฮ์ บิน อบีอุมัยยะฮ์ และพรรคพวกซึ่งนั่งอยู่หลังกะอ์บะฮ์ พวกเขาได้เรียกให้ท่านนบีไปพบพร้อมกับกล่าวแก่ท่านว่า เจ้าอ้างว่าตนเองเป็นศาสดาของพระเจ้า แล้วที่อ่านอยู่ก็คือคัมภีร์ที่พระองค์ทรงประทานให้ ถ้าเจ้าต้องการให้พวกเราคล้อยตามก็จงใช้กุรอานของเจ้าเคลื่อนย้ายภูเขามักกะฮ์ดูซิ เพื่อให้มีที่โล่งสำหรับพวกเรามากยิ่งขึ้น จงแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำดูซิ เราจะได้ใช้ปลูกต้นไม้และรดน้ำทำสวน เพราะเจ้าอ้างว่ามีดีไม่แพ้ดาวู้ดที่พระองค์ทรงบันดาลให้ยอมสยบและรำลึกถึงพระองค์ไปพร้อมกับเขา
หรือไม่ก็จงสยบลมให้พัดพาพวกเราไปยังเมืองชามเพื่อเจรจาธุรกิจและซื้อหาของจำเป็นโดยกลับสู่มักกะฮ์ในวันเดียว ดังที่สุลัยมานเคยควบคุมลมได้ เจ้าอ้างมิไช่หรือว่าเจ้ามิได้ด้อยไปกว่าสุลัยมาน
หรือไม่ก็จงชุบชีวิตปู่ทวดของเจ้านาม กุศ็อย บิน กิล้าบ หรือศพอื่นๆที่เจ้าต้องการ เพื่อให้เราสอบถามว่าเจ้าเป็นผู้สัจจริงหรือพูดปด เนื่องจากอีซาก็เคยชุบชีวิตคนตายมาแล้ว และเจ้าก็มิได้มีสถานะด้อยค่าไปกว่าอีซา เจ้าจงทำตามที่เราร้องขอทั้งหมดนี้ แล้วเราจะยอมศรัทธาในตัวเจ้า
หลังจากนั้น โองการดังกล่าว (وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً...) ก็ประทานลงมา[2]

ด้วยเหตุนี้ โองการข้างต้นสื่อถึงเรื่องราวของมุชริกีนที่ดื้อรั้นต่อท่านนบีและมุอ์ญิซาตของท่าน โดยนำข้ออ้างของบนีอิสรออีลมาบังหน้า จึงทำให้พระองค์ประทานโองการดังกล่าวลงมา

หลังจากที่ทราบถึงเหตุแห่งการประทานโองการไปแล้ว เราจะมาวิเคราะห์ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อถึงประเด็นใด ซึ่งนักอรรถาธิบายให้ทัศนะไว้สองประเภทด้วยกันดังนี้

หนึ่ง. โองการต้องการจะสื่อว่า หากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขา หรือแยกแผ่นดิน หรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอานเป็นแน่ ทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือกว่าทุกคัมภีร์
สอง. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหาร โดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้น แม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการ หรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำ หรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตาม แต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ[3]

เฏาะบัรซีรายงานจากซุญ้าจว่า ตามความเข้าใจของฉัน ซึ่งได้รับการยืนยันจากนักวิชาการบางท่าน โองการนี้หมายความว่า หากอัลลอฮ์ประทานมาซึ่งกุรอานที่มีอิทธิฤทธิ์ถึงเพียงนี้ ( เคลื่อนย้ายภูเขา ...ฯลฯ) พวกเขาก็ยังจะดื้อแพ่งไม่ยอมรับอยู่วันยังค่ำ ตามที่กุรอานกล่าวว่า وَ لَوْ أَنَّنا نَزَّلْنا إِلَیهِمُ الْمَلائِکَةَ وَ کَلَّمَهُمُ الْمَوْتى‏ وَ حَشَرْنا عَلَیهِمْ کُلَّ شَی‏ءٍ قُبُلًا ما کانُوا لِیؤْمِنُوا [4](มาตรว่าเราส่งมวลมลาอิกะฮ์สู่พวกเขา และบันดาลให้คนตายฟื้นขึ้นมาสนทนากับพวกเขา และปลุกทุกสิ่งเป็นกลุ่มๆให้พวกเขาประจักษ์ พวกเขาก็ไม่มีวันศรัทธา)[5]

ดังนั้น โองการข้างต้นต้องการสื่อว่าพวกเจ้า (กาฟิรมักกะฮ์) มิได้แสวงหาสัจธรรม เพราะมิเช่นนั้นก็ย่อมจะยอมสยบและศรัทธาต่ออภินิหารบางประการที่ศาสนทูตได้แสดงไปบ้างแล้ว คำพูดเหล่านี้ล้วนเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

จุดประสงค์ของท่อนสุดท้ายที่ว่า بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمِیعاً นั้น (بَلْ) เป็นการอิฎร้อบ[6] คำว่า (وَ لَوْ أَنَّ) ซึ่งหมายความว่า มิไช่ว่าพระองค์จะไม่สามารถแสดงอภินิหารอื่นนอกเหนืออัลกุรอานได้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีที่มาจากพระองค์ทั้งสิ้น โองการนี้อาจต้องการสื่อว่า พระองค์ทราบดีว่าคนเหล่านี้ไม่ยอมศรัทธาเป็นแน่ จึงไม่แสดงอภินิหาร(มุอ์ญิซาต) อื่นๆให้ได้เห็น เพื่อมิให้ต้องถูกอะซาบในโลกนี้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า หากท่านนบีแสดงอภินิหารตามคำขอแต่พวกเขาดื้อแพ่งไม่ยอมศรัทธา ก็ย่อมจะถูกอะซาบในโลกนี้อย่างแน่นอน[7]

เจ้าของตำรามัจมะอุ้ลบะยาน ได้อธิบาย بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمِیعا ว่า: ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะการเคลื่อนย้ายภูเขา หรือแยกแผ่นดิน หรือการฟื้นคืนชีพผู้ตาย ฯลฯ ล้วนอยู่ในข่ายอำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น เนื่องจากพระองค์เท่านั้นที่ทรงอำนาจยิ่ง อย่างไรก็ดี พระองค์ไม่แสดงอภินิหารเหล่านี้ตามคำขอ เนื่องจากสัญลักษณ์ที่พระองค์สำแดงไว้แล้วนั้น เพียงพอสำหรับผู้มีใจเป็นกลาง[8]



[1] อัรเราะอ์ด, 31หากกุรอานสามารถจะเคลื่อนย้ายภูเขา หรือแยกแผ่นดินเป็นเสี่ยงๆ หรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ ก็ย่อมเป็นกุรอานนี้ และทุกสิ่งล้วนเป็นกรรมสิทธิของพระองค์

[2] ดู: อมีน,ซัยยิดะฮ์ นุศรัต, มัคซะนุ้ลอิรฟาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 7,หน้า 42-43,ขบวนการสตรีมุสลิม,เตหราน,ปี 1361 และ ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 10,หน้า 230-231,ดารุ้ลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1374

[3] لَوْ أَنْزَلْنا هذَا الْقُرْآنَ عَلى‏ جَبَلٍ لَرَأَیْتَهُ خاشِعاً مُتَصَدِّعاً مِنْ خَشْیَةِ اللَّهِ มาตรแม้นว่าเราประทานกุรอานนี้ยังภูผา เจ้าก็ย่อมจะเห็นมันแตกสลายด้วยความหวาดเกรงพระองค์, อัลฮัชร์,21

[4] อัลอันอาม,111

[5] มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 6,หน้า 451,นาศิร โคสโร,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สาม,ปี1372

[6] อิฎร้อบใช้ในการปฏิเสธความหมายก่อนหน้า แต่บางครั้งก็ใช้สื่อถึงการเปลี่ยนจุดประสงค์ ซึ่งในโองการนี้สื่อถึงความหมายแรก

[7] มัคซะนุ้ลอิรฟาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 7,หน้า 43-44

[8] เฏาะบัรซี,มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน,เล่ม 6,หน้า 451

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ท่านอิมามอลี (อ.) ทราบถึงเจตนาชั่วของอิบนิ มุลญัม เหตุใดท่านจึงไม่ปกป้องชีวิตตนเอง?
    6208 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/29
    เหตุผลที่ท่านอิมามอลีไม่แก้ไขเหตุที่จะเกิดในอนาคตก็คือ:1.ความรู้ระดับทั่วไปคือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติภารกิจ:เพื่อเป็นการเคารพกฏเกณฑ์ของอัลลอฮ์ท่านอิมามจึงเลือกที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนบุคคลทั่วไปโดยจะไม่ปฏิบัติตามความรู้แจ้งเห็นจริงเนื่องจากว่าหากท่านจะปฏิบัติตามญาณวิเศษย่อมจะไม่สามารถเป็นแบบฉบับแก่บุคคลทั่วไปได้เพราะบุคคลทั่วไปไม่มีญาณวิเศษ2. กลไกของโลกดุนยาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบซึ่งหากจะปฏิบัติตามญาณวิเศษก็ย่อมจะทำให้กลไกดังกล่าวเสียหายเนื่องจากจะทำลายชีวิตประจำวันของผู้คนสรุปคือแม้ว่าอิมามอลีมีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตเสมือนบุคคลทั่วไปแต่ทว่าประการแรก: หน้าที่ดังกล่าวอยู่ในขอบเขตความรู้ทั่วไปมิไช่ญาณวิเศษประการที่สอง: คู่กรณีของท่าน(อิบนิมุลญัม)
  • มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
    8795 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(อ.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้วเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคตตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(ซ.ล.) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมามและเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมามปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(ซ.
  • เด็กผู้ชายที่มีอายุ 12 ปีสามารถเข้าร่วมในการนมาซญะมาอัตแถวเดียวกับผู้ชายคนอื่นๆได้หรือไม่?
    5953 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/08
    การที่ลูกหลานและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมัสยิดและร่วมนมาซญะมาอัตจะทำให้พวกเขาผูกพันกับการนมาซ ซึ่งไม่เพียงแต่ไม่เป็นที่ต้องห้าม ทว่าถือเป็นมุสตะฮับอย่างยิ่ง[1] แต่ประเด็นที่ว่า การที่เด็กที่ยังไม่สามารถแยกแยะถูกผิดได้และยังไม่บรรลุนิติภาวะจะเข้าร่วมในนมาซญะมาอัต และจะทำให้การนมาซของผู้อื่นมีปัญหาหรือไม่นั้น มีสองประเด็นดังต่อไปนี้ ผู้นมาซคนอื่นๆสามารถที่จะเชื่อมต่อกับอิมามญะมาอัตได้โดยวิธีอื่น ในกรณีนี้การนมาซญะมาอัตของผู้อื่นถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด[2] การที่ผู้อื่นจะต้องเชื่อมต่อกับอิมามญะมาอัตโดยผ่านผู้ที่ยังไม่บรรลุนิตะภาวะเท่านั้น (เช่นมีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยื่นอยู่ที่แถวหน้าหลายคน ในกรณีนี้คำวินิจฉัยของอุลามามีดังนี้ “หากในระหว่างแถวที่มีการนมาซญะมาอัตมีเด็กที่สามารถแยกแยะถูกผิดได้ยืนอยู่ หากเรามิได้แน่ใจว่านมาซของเขาไม่ถูกต้อง ก็สามารถยืนแถวต่อจากเขาได้”[3] อนึ่ง กฏดังกล่าวมีไว้สำหรับกรณีที่มีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยืนอยู่หลายๆคนในแถวเดียวกัน แต่ถ้าหากเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะยืนอยู่ในแถวนมาซญะมาอัตหลายคน ทว่าไม่ได้ยืนอยู่ติดๆกัน โดยยืนในลักษณะกั้นกลางผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วสองคน (ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่านมาซของพวกเขาไม่ถูกต้องก็ตาม) ก็ไม่ทำให้นมาซของผู้อื่นมีปัญหาแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “การจัดแถวในการนมาซญะมาอัตและฮุกุมของการเคลื่อนไหวในการนมาซ”, ...
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6547 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]
  • ภาพรวม, คำสอนหลักของอัลกุรอาน บทบนีอิสราเอลคืออะไร?
    8508 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    ตามทัศนะของนักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่,กล่าวว่า บทบนีอิสราเอล (อิสรออฺ)[1] ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ และถือว่า[2]เป็นหนึ่งในบทมักกียฺ โดยสรุปทั่วไปแล้ว, บทเรียนอันเป็นคำสอนหลักของอัลกุรอาน บทนบีอิสราเอล วางอยู่บนประเด็นดังต่อไปนี้ : 1.เหตุผลของนบูวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) 2.ปัญหาเกี่ยวกับ มะอาด, การลงโทษ, ผลรางวัล, บัญชีการงาน และ .. 3.บางส่วนจากประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องราวของหมู่ชนบนีอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่บทจนกระทั่งจบบท 4.ปัญหาเรื่องความอิสระทางความคิด ความประสงค์ และเจตนารมณ์เสรี และทุกภารกิจที่เป็นการกระทำดีและไม่ดี ซึ่งทั้งหมดย้อนกลับไปสู่มนุษย์ทั้งสิ้น
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    6535 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
    22979 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์ ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8123 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    6663 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33447 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...