การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9259
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1795 รหัสสำเนา 17842
คำถามอย่างย่อ
ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
คำถาม
ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.

2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง

3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน

4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้

5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้บทสรุปว่า โองการที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ : กลุ่มแรกของโองการได้สรรเสริญและยกย่องความยิ่งใหญ่ของมนุษย์, ดังเช่นโองการต่อไปนี้ :

1. “แน่นอน เราได้ให้เกียรติแก่ลูกหลานของอาดัม เราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางทะเล เราได้ให้ปัจจัยยังชีพทั้งหลายที่ดีแก่พวกเขา และเราได้ให้พวกเขามีเกียรติเหนือกว่าส่วนมากของผู้ที่เราได้สร้างโดยแท้”[1]

2. “จงรำลึกเมื่อพระผู้อภิบาลของเจ้าตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะตั้งผู้ปกครองคนหนึ่ง ณ แผ่นดิน มะลาอิกะฮฺได้ทูลว่า พระองค์จะทรงตั้งผู้ก่อการเสียหายขึ้นและหลั่งเลือด ณ แผ่นดิน กระนั้นหรือ ทั้งๆ ที่พวกเราถวายสดุดี ด้วยการสรรเสริญพระองค์ และเทิดทูนความบริสุทธิ์แด่พระองค์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้ารู้ดีในสิ่งที่สูเจ้าไม่รู้”[2]

3. “แท้จริงเราได้เสนอการรับผิดชอบแก่ชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและขุนเขาทั้ง หลาย แต่พวกมันปฏิเสธจะแบกรับมันและกลัวต่อมัน และมนุษย์ได้แบกรับมัน แท้จริงเขาเป็นผู้อธรรมผู้โฉดเขลายิ่ง"[3] และ ...

ส่วนอัลกุรอานอีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวประณามและวิจารณ์มนุษย์ไว้, ซึ่งบางครั้งได้ใช้คำพูดรุนแรงและดูถูก เช่น กล่าวว่า “มนุษย์คือผู้ไร้ศักยภาพ”[4] “มนุษย์คือผู้หยิ่งผยองและละเมิด”[5]

ส่วนโองการอีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวประณามมนุษย์ไว้, ด้วยคำพูดที่รุนแรงประหนึ่งเป็นการดูถูกมนุษย์ด้วยคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์จะไม่เบื่อหน่ายต่อการวิงวอนขอความดี แต่เมื่อความทุกข์ยากประสบแก่พวกเขาเข้าเขาก็จะท้อถอยหมดอาลัย และเมื่อเราได้ให้เขาลิ้มรสความเมตตาจากเรา หลังจากความทุกข์ยากได้ประสบแก่เขา แน่นอนเขาก็จะกล่าวว่า "นี่คือความสามารถของฉัน และฉันไม่คิดว่าวันโลกาวินาศนั้นจะเกิดขึ้น แต่ถ้าฉันถูกส่งกลับไปยังพระผู้อภิบาลของฉัน แน่นอนฉันจะมีคุณความดี ณ ที่พระองค์" ดังนั้นเราจะให้บรรดาผู้ปฏิเสธได้รู้เห็นในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ และแน่นอนเราจะให้พวกเขาได้ลิ้มรสการลงโทษอันรุนแรง และเมื่อเราได้ให้ความโปรดปรานแก่มนุษย์ เขาก็เมินหน้าและปลีกตัวออกห่าง และเมื่อความทุกข์ประสบแก่เขา เขาก็เป็นผู้วิงวอนขออย่างยืดเยื้อ”[6] “มนุษย์คือผู้ละเมิด”[7] “มนุษย์คือผู้อธรรมและเป็นผู้เนรคุณที่สุด”[8] “มนุษย์คือผู้อธรรมที่โง่เขลาที่สุด”[9] “มนุษย์คือคู่ปรปักษ์ตัวฉกาจ”[10] “มนุษย์คือผู้ขาดทุนและเสียหายที่สุด”[11] และ..

ขณะที่โองการต่างๆ ข้างต้น, ที่ได้นำเสนอมาได้ถูกตั้งคำถามว่า หมายความว่าอย่างไร? ความหมายและความเข้าใจของชนสองกลุ่มนี้ พิจารณาจากภายนอกเหมือนว่ามีความขัดแย้งกัน ไม่เหมือนกันและห่างไกลกันมากกระนั้นหรือ?

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ เป็นการดีถ้าจะตอบด้วยอัลกุรอาน, เพราะว่าอัลกุรอานบางโองการนั้นเป็นตัวอธิบายอีกบางโองการ

อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ กล่าวว่า :

“แท้จริง บรรดาผู้ปฏิเสธในหมู่ชาวคัมภีร์และเหล่าผู้ตั้งภาคี จะอยู่ในนรกญะฮันนัม พวกเขาเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล ชนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ชั่วช้ายิ่ง, แต่สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและประกอบความดีทั้งหลาย ชนเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐยิ่ง”[12]

อัลกุรอานทั้งสองโองการนี้ติดกันและอยู่ในบทเดียวกัน, ซึ่งได้กล่าวว่า มนุษย์ คือสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดและเลวที่สุดในขณะเดียวกัน. ประเด็นนี้เป็นตัวอธิบายได้เป็นอย่างดีว่า มนุษย์สามารถขึ้นไปสู่จุดสูงสุด และตกต่ำที่สุดได้โดยไม่มีความจำกัด หมายความว่าถ้ามนุษย์มีศรัทธามั่นคงและประกอบคุณความดี เขาจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ดีที่สุด แต่ถ้าเขาได้ระหนไปสู่การหลงทาง ดื้อรั้น อวดดี และหยิ่งผยองแล้วละก็เขาจะตกต่ำ จนกระทั่งว่าเป็นสิ่งถูกสร้างที่เลวที่สุดของพระองค์

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “อัลลอฮฺ ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้โดยแบ่งการสร้างออกเป็น 3 ประเภท : ทรงสร้างมวลมลาอิกะฮฺ, สร้างสรรพสัตว์, และสร้างมนุษย์, สำหรับมวลมลาอิกะฮฺ พระองค์ทรงมอบสติปัญญาโดยปราศจากกิเลสและโมหะแก่พวกเขา, ส่วนสรรพสัตว์มีแต่กิเลสและโมหะไม่มีสติปัญญา, ส่วนมนุษย์นั้นคือศูนย์รวมของทั้งสอง สุดแต่ว่าอำนาจฝ่ายใดจะมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย, ดังนั้น ถ้าสติปัญญามีอำนาจเหนือกิเลส, บุคคลนั้นก็จะประเสริฐกว่ามลาอิกะฮฺ แต่ถ้ากิเลสมีอำนาจเหนือสติปัญญา บุคคลนั้นก็จะเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน”[13]

จากรายงานดังกล่าวนี้สามารถสรุปได้ว่า มนุษย์นั้นเป็นสิ่งถูกสร้างที่มีสององค์ประกอบสำคัญในตัว (สติปัญญาและอำนาจฝ่ายต่ำ), แน่นอนความพยายามและสัญชาติญาณแห่งกิเลสก็มี 2 ขั้วด้วยเช่นกัน (ความพยายามและความดึงดูดด้านจิตวิญญาณหรือปัญญา และสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานหรืออำนาจฝ่ายต่ำ) ซึ่งมนุษย์สามารถใช้พลังและเจตนารมณ์เสรี ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบแก่มนุษย์ทุกคน เป็นตัวเลือกสรรดังนั้นมนุษย์มนุษย์จึงมีสิทธ์ที่จะเลือกทำให้ตัวเองสูงส่ง ไปสู่ความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ หรือจะเลือกทำให้ตัวเองตกต่ำไปสู่ก้นบึ้งของความเลว ดังที่อัลกุรอานได้ให้นิยามว่า “พวกเขาประหนึ่งปศุสัตว์ ทว่าพวกเขาเลวยิ่งกว่าเสียอีก”[14]

ดังนั้น โองการอัลกุรอานได้ปลดเปลื้องม่านแห่งความสัตย์จริงนี้ให้ปรากฏชัดเจนแล้ว ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายอยู่ในขั้นของความเป็นไปได้โดยศักยภาพ ซึ่งเขามีคุณภาพพอที่จะเป็นคนดี เป็นผู้ทีเกียรติยศที่สุด หรืออาจมีความประเสริฐกว่ามวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายก็ได้ และแน่นอน ท่ามกลางการขวนขวายพยายามด้วยความเป็นไปได้ในศักยภาพ มนุษย์อาจก้าวไปถึงยังตำแหน่ง เคาะลิฟะตุลลอฮฺก็ได้, แต่ถ้ามนุษย์ไม่ยอมใช้ประโยชน์จากความเมตตาและการอนุเคราะห์พิเศษจากอัลลอฮฺ โดยฝ่าฝืนกระทำผิดแล้วละก็, เขาก็จะได้รับการประณามหยามเหยียดจากพระองค์ ดังที่ได้หยิบยกตัวอย่างไปแล้ว

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดค้นคว้าจาก :

อัลมีซาน (ฉบับแปลฟาร์ซียฺ), เล่ม 16, หน้า 524 – 527, ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ, เล่ม 8, หน้า 242, เล่ม 17, หน้า 451 - 457



[1] อัลกุรอานบทอัลอิสรอ, โองการ 70

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, โองการ 30

[3] อัลกุรอาน บทอะฮฺซาบ, โองการ 72

[4] อลกุรอาน บทฟุซซิลัต, โองการ 49-50-51

[5] อัลกุรอาน บทชูรอ, โองการ 27

[6] อัลกุรอาน บทฟุซิลัต, โองการ 49, 50, 51.

[7] อัลกุรอาน บทชูรอ, โองการ  27.

[8] อัลกุรอาน บทอิบรอฮีม, โองการ  34.

[9]  อัลกุรอา บทอะฮฺซาบ, โองการ 72.

[10] อัลกุรอาน บทยาซีน, โองการ 77.

[11] อัลกุรอาน บทอัศรฺ, โองการ 2.

[12] อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ, โองการ 6-7

[13] ตัฟซีรนูรุซซะเกาะลัยนฺ, เล่ม 3, หน้า 188

[14]  "اولئک کالانعام بل هم اضل"อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 179.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จุดประสงค์ของท่านอิมามอะลี (อ.) จากการที่อัลลอฮฺทรงนิ่งเงียบต่อบางบทบัญญัติ? เพราะเหตุใดจึงตรัสว่าเพื่อการได้รับสิ่งนั้นไม่ต้องทำตนให้ลำบากดอก?
    7017 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/07
    ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในคำพูดของท่านว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) มิทรงอธิบายแก่แท้ของทุกสิ่งเกี่ยวบทบัญญัติและวิชาการ, ทว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่พระองค์มิทรงกำหนดให้เป็นหน้าที่แก่มนุษย์ พระองค์ทรงนิ่งเงียบกับสิ่งเหล่านั้น, เช่น หน้าที่ในการรับรู้วิชาการบางอย่างโดยละเอียด ซึ่งไม่มีผลต่อปรโลกแต่อย่างใด, แต่พระองค์ก็มิได้เฉยเมยเนื่องจากการหลงลืมแต่อย่างใด, เนื่องจากอัลลอฮฺทรงห่างไกลจากการหลงลืมทั้งปวง, ทว่าเนื่องจากสิ่งนั้นไม่มีมรรคผลอันใดแก่ปรโลกของมนุษย์ และด้วยเหตุผลที่ว่าการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เป็นสาเหตุทำให้มนุษย์ต้องละทิ้งความรู้อันก่อเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง บางทีจุดประสงค์จาก การนิ่งเฉย เกี่ยวกับบางอย่าง, อาจเป็นเรื่องมุบาฮฺก็ได้ เช่น ความรู้เรื่องดาราศาสตร์, การคำนวณ, เรขาคณิต, บทกวี, หัตถกรรมโดยประณีต และ... การละเลยสิ่งเหล่านี้เนื่องจากไม่ให้ความสำคัญ และเป็นการไม่ใส่ใจของตัวท่านเอง แน่นอน มีวิชาการที่ค่อนข้างยากเช่น เรื่องเทววิทยา ปรัชญา หรือปรัชญาของบทบัญญัติ การจมดิ่งอยู่กับสิ่งเหล่านี้ – สำหรับบุคคลทั่วไปที่มิใช่นักวิชาการ หรือไม่มีความฉลาดเพียงพอ- นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเบี่ยงเบนทางความเชื่อได้อีกต่างหาก ...
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6834 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • โปรดอธิบาย ปรัชญาของการกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ คืออะไร?
    8530 จริยศาสตร์ 2555/06/30
    ตามคำสอนของอิสลามการแต่งงานถือเป็นข้อตกลงที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการจัดตั้งครอบครัวและสิ่งที่ติดตามมาคือ, ระบบสังคม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีผลสะท้อนและบทสรุปอย่างมากมาย เช่น : เพื่อตอบสนองความต้องการทางกามรมย์, ผลิตสายเลือดและรักษาเผ่าพันธุ์, สร้างความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์, สร้างความสงบมั่นแก่จิตใจ, เป็นการรักษาความสะอาดบริสุทธิ์, เป็นการส่งเสริมความผูกพันให้มั่นคง และประเด็นอื่นๆ อีกมากมาย, ดังนั้น การจัดการข้อตกลงศักดิ์สิทธิ์นี้ให้สมประสงค์ได้, มีเพียงการปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์พื้นฐาน และเงื่อนไขอันเฉพาะที่อัลลอฮฺ ทรงกำหนดไว้เท่านั้น จึงจะเป็นไปได้. เช่น เงื่อนที่ว่านั้นได้แก่การกล่าวข้อผูกมัดนิกาห์ ด้วยคำพูดเฉพาะ (ดังกล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺต่างๆ) พระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกรในฐานะของ พระเจ้าผู้ทรงกำหนดกฎระเบียบ พระองค์คือผู้ทรงกำหนดคำพูดอันทรงเกียรติยิ่งนี้ และให้ความน่าเชื่อถือ พร้อมกับการเกิดขึ้นของคำพูดดังกล่าวในฐานะ อักดฺนิกาห์, จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเป็นสามีภรรยา ระหว่างชายกับหญิงขึ้น. การแต่งงานมิได้หมายถึง ความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและการยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งสำหรับการแต่งงาน ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกับการอ่านอักดฺนิกาห์ปัจจุบันนี้ เพื่อให้การแต่งงานนั้นถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักการชัรอียฺ. การแต่งงาน มิได้หมายถึงความพอใจของสองฝ่ายเท่านั้น ทว่าเป็นความพึงพอใจและยินยอมของทั้งสองฝ่าย อันถือว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการแต่งงาน ...
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8912 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    8861 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    7081 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...
  • ท่านอิมามฮุซัยนฺและเหล่าสหายในวันอาชูทั้งที่มีน้ำอยู่เพียงน้อยนิด และฆุซลฺได้อย่างไร?
    5878 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/11/21
    การพิจารณาและวิเคราะห์รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกระหายของเหล่าสหายและบรรดาอธฮฺลุลบัยตฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และรายงานที่กล่าวถึงการฆุซลฺ (อาบน้ำตามหลักการ
  • อัศล์ อะมะลีและดะลี้ล อิจติฮาดีหมายความว่าอย่างไร และมีความเกี่ยวโยงกันหรือไม่?
    7236 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    อัศล์อะมะลีอัศล์อะมะลีในวิชาฟิกเกาะฮ์หมายถึงหลักการที่นำมาใช้เมื่อไม่สามารถพิสูจน์ฮุก่มชัรอีได้โดยตรงโดยจะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในยามที่ไม่พบหลักฐานหรือข้อสันนิษฐานใดๆกล่าวคืออัศล์อะมะลีหรืออุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือหลักที่จะกำหนดหน้าที่ของมุกัลลัฟในกรณีที่เผชิญกับข้อสงสัยฉะนั้นมูลเหตุของอุศู้ลอะมะลียะฮ์ก็คือ “ข้อสงสัย” อีกชื่อหนึ่งของอัศล์อะมะลีก็คือ “ดะลี้ลฟะกอฮะตี” ดะลี้ลฟะกอฮะตีคือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยฮุก่มเฉพาะกาลอันได้แก่บะรออะฮ์เอียะฮ์ติยาฏตัคยี้รและอิสติศฮ้าบดะลี้ลอิจติฮาดีดะลี้ลอิจติฮาดีคือหลักฐานที่บ่งชี้ถึงฮุก่มที่แท้จริงสาเหตุที่ตั้งชื่อไว้เช่นนี้ก็เนื่องจากมีความเกี่ยวโยงกับนิยามของอิจติฮาด (การทุ่มเทความพยายามเพื่อแสวงหาข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริง) และเนื่องจากหลักฐานประเภทนี้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานสู่ฮุกุ่มที่แท้จริงจึงขนานนามว่าดะลี้ลอิจติฮาดีซึ่งในส่วนของอัมมาเราะฮ์ก็ถือเป็นดะลี้ลอิจติฮาดีได้เช่นกันดะลี้ลอิจติฮาดีมีไว้เพื่อวินิจฉัยฮุ่กุ่มที่แท้จริงอันได้แก่กุรอานซุนนะฮ์อิจมาอ์และสติปัญญาความเชื่อมโยงระหว่างดะลี้ลและอัศล์ควรทราบว่าไม่มีความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลและอัศล์แต่สองสิ่งนี้มีสัมพันธ์ในลักษณะลูกโซ่อยู่ทั้งนี้ก็เพราะหากข้อสงสัยใดมีดะลี้ลก็จะไม่เหลือความสงสัยอันเป็นมูลเหตุของอัศล์อะมะลีอีกต่อไปในประเด็นความขัดแย้งระหว่างดะลี้ลกับอัศล์นั้นในกรณีของดะลี้ลที่ชัดเจนแน่นอนว่าไม่มีอัศล์ใดจะสามารถเทียบเคียงได้เนื่องจากมูลเหตุของอัศล์คือความสงสัยเมื่อมีความแน่นอนในแง่มูลเหตุอัศล์ก็ย่อมหายไปแต่ในกรณีดะลี้ลที่ไม่ชัดเจนอย่างเช่นอิมาเราะฮ์ปะทะกับอัศล์ในกรณีเช่นนี้ถือเป็นการหักล้างกันซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศู้ลเชื่อว่าควรถือข้างอิมาเราะฮ์มากกว่าอัศล์ทุกประเภทแม้กระทั่งอิสติศฮ้าบ (ตามหลักเฏาะรีกียะฮ์)[1][1]อ่านเพิ่มเติมได้ตามหนังสือวิชาอุศู้ล อาทิเช่น อุศูลุลฟิกฮ์ ของท่านมุซ็อฟฟัร, กิฟายะตุ้ลอุศู้ล ของออคูนด์โครอซอนี ฯลฯ ...
  • ภารกิจของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) หลังจากปรากฏกายแล้วคืออะไร? แล้วเป็นไปได้ไหมที่ท่านจะถูกทำชะฮาดัตโดยน้ำมือของสตรีชราที่มีนวดเครา?
    6229 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้จัดตั้งทั้งด้านวัตถุปัจจัยและด้านคุณธรรมมโนธรรมเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งความยุติธรรมขึ้นมาปกครองโลกซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดบนโลกนี้ ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมเกียรติและคุณค่าของความเป็นมนุษย์พร้อมกับเรียกร้องไปสู่ความปลอดภัยชีวิตมนุษย์จะกลายเป็นชีวิตแห่งพระเจ้าในเวลานั้นท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • สรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ แตกต่างกันอย่างไร?
    8753 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/18
    ความหมายของสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ ในพจนานุกรมอรับและความหมายเฉพาะทางคือ:1. คำว่า “ฮัมด์” (สรรเสริญ) หมายถึงการสดุดีและสรรเสริญ[1] ส่วนความหมายเฉพาะทางก็คือ การกระทำที่เหมาะสม หรือคุณลักษณะดีเด่นที่กระทำโดยสมัครใจ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60086 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57475 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42167 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39272 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38910 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33970 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27986 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27909 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27733 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25746 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...