Please Wait
17391
สำหรับความมหัศจรรย์ของกุรอาน ถูกอธิบายไว้ 3 ลักษณะ : มหัศจรรย์ด้านวาจา, มหัศจรรย์ในแง่ของเนื้อหา และมหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา
1) มหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอานถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน
ก. มหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ :
วิธีการสาธยายของอัลกุรอาน เป็นไปในลักษณะที่ไม่มีมนุษย์คนใด แม้แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้ ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิชาการจึงกล่าวว่า จากการแสดงความเป็นห่วงเป็นใย ของบางคนที่ห้ามไม่ให้มีการบันทึกฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากเกรงว่าจะสับสนกับอัลกุรอานนั้น เป็นเหตุผลที่ไม่อาจยอมรับได้
ข. มหัศจรรย์ด้านตัวเลข :
ทุกวันนี้, เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับสูง ได้พยายามแสดงความสัมพันธ์กัน ระหว่างาเลขหลักพิเศษกับคำและตัวอักษรของอัลกุรอาน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ในความสัมพันธ์ดังกล่าว ที่จะเกิดขึ้นในคำพูดของมนุษย์
2) มหัศจรรย์ในแง่ของเนื้อหาสามารถอธิบายได้หลายลักษณะกล่าวคือ :
ก. ไม่มีความขัดแย้งกันในอัลกุรอาน
ข. ข่าวลึกลับที่เกี่ยวข้องกับบางคน หรือบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ค. วิทยาการและความรู้ของอัล-กุรอาน ซึ่งอัลกุรอานโอบอุ้มเอาความรู้และวิชาการศาสตร์ต่างๆ เอาไว้ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดผู้คนในสมัยนั้นก็ไร้ความสามารถในการกระทำดังกล่าว ศาสตร์เหล่านั้นครอบคลุมประเด็นที่ลุ่มลึกด้านเอรฟาน ปรัชญา วิทยปัญญา เหตุผลนิยม และอื่นๆ ...
จ. ความไร้สามารถในการสร้างความเสียหายวิชาการในอัลกุรอาน จริงอยู่แม้ว่าวิชาการของอัลกุรอาน จะผ่านมาหลายศตวรรษแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงยืนหยัดอยู่ในที่ของตนอย่างมั่นคง
3) มหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่เป็น ดังนั้น ท่านจะสามารถนำเอาอัลกุรอาน มาสอนคนบนคราบสมุทรอาหรับ ซึ่งไร้วัฒนธรรมและการศึกษาด้วยตัวของท่านเองได้อย่างไร
ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน ด้านต่างๆ ได้ถูกอธิบายไว้แล้ว[1] ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้
1) มหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอาน
2) ความมหัศจรรย์ด้านเนื้อหาของอัลกุรอาน
3) ความมหัศจรรย์ของกุรอาน ด้านผู้นำมาเผยแผ่
1-1 ความมหัศจรรย์ด้านวาจาของอาน :
ความมหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอาน สามารนำเสนอได้ 2 วิธี กล่าวคือ: ความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ และความมหัศจรรย์ด้านตัวเลข
การวิพากษ์เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ของอัลกุรอาน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่อาหรับนับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจและความเห็นพร้องต้องกัน เกือบจะทุกนิกายในอิสลาม แน่นอน บางคนนั้น ถือว่าความมหัศจรรย์ของ อัลกุรอานอยู่ในภารกิจ เช่น ; ความเป็นระเบียบ รูปแบบ และวิธีการสาธยายของอัลกุรอาน พวกเขากล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญของความมหัศจรรย์คือ ความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ ความเป็นระเบียบและรูปแบบในการสาธยายของอัลกุรอาน บางคนกล่าวว่า ความมหัศจรรย์ของกุรอานครอบคลุมทั้งด้านวาทศาสตร์ ความเป็นระเบียบ และรูปแบบของกุรอาน[2] อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าตัวอย่างเหล่านี้ เป็นเพียงการขยายตัวอย่างให้มากขึ้น และทุกกรณีล้วนเกี่ยวข้องและย้อนกลับไปหา วิธีการสาธยายของอัลกุรอานในความมหัศจรรย์ ด้านวาทศาสตร์ทั้งสิ้น
รูปแบบและวิธีสาธยายของอัลกุรอาน, เป็นวิธีการที่ไม่มีมนุษย์ใด แม้แต่บุรุษผู้สูงส่งเฉกเช่นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ไม่สามารถพูดได้ในเช่นนี้
คำอธิบายว่า : เกี่ยวกับประวัติฮะดีซ อะฮฺลิซซุนนะฮฺมักกล่าวอ้างว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ห้ามการเขียนฮะดีซ และคำกล่าวเหล่านั้น ดังนั้น เกี่ยวกับประเด็นนี้จะขอหยิบยกรายงานฮะดีซจากพวกเขา[3] เวลานั้นเราจะประสบกับคำถามหนึ่งว่า ทำไมท่านนบีจึงได้ห้ามการบันทึกฮะดีซ ?
หนึ่งในคำตอบที่ได้ตอบเอาไว้ในหมู่ซุนนี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีกล่าวคือ สาเหตุที่ต้องห้ามไว้ก็คือ เพื่อมิให้อัลกุรอานถูกผสมปนเปกับสิ่งที่ไม่ใช่อัลกุรอาน; หนึ่งในนักวิชาการฝ่ายซุนนีได้หักล้างเหตุผลที่มีชื่อเสียงดังกล่าว โดยกล่าวว่า ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานด้านวาทศาสตร์ คือ ปัจจัยสำคัญที่กีดขวางไม่ให้อัลกุรอานผสมผสานกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลกุรอาน[4] แล้วเกี่ยวกับปัญหาที่กล่าวว่า บางที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อาจมีวาทศาสตร์สูงส่ง พอที่จะกล่าวคำพูดเทียบเคียงอัล-กุรอานได้ เขาตอบว่า : สิ่งสำคัญยิ่งสำหรับคำพูดนี้คือ ต้องปฏิเสธความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ของอัลกุรอาน[5]
แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรืองการห้ามของของนบี (ซ็อล ฯ) ที่มิให้มีการจดบันทึกฮะดีซ – ทั้งที่ฮะดีซของศาสดามิใช่คำพูดธรรมดาทั่วไปเป็นคำพูดที่เป็นนูร (รัศมี) ทว่าเป็นรัศมีและได้รับการชี้นำจากพระเจ้าจากโลกที่เร้นลับ และยังสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประชาชาติอิสลามได้อีกต่างหาก –ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญของฝ่ายซุนนี ด้วยเหตุนี้เอง นักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ถือวาข้อกล่าวอ้างที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ห้ามไม่ให้มีการเขียนหรือจดบันทึกฮะดีซนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นความจริง
อีกมุมมองหนึ่งปาฏิหาริย์ด้านวาจาของอัลกุรอานและตัวเลข ซึ่งมุมมองดังกล่าวเพิ่งจะได้รับการอธิบายเมื่อเร็ว ๆ นี้ ประกอบกับมีการใช้คอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับประเด็นนี้จึงได้รับความสนใจมาก และการพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับสูง ได้พยายามแสดงความสัมพันธ์กัน ระหว่างาเลขหลักพิเศษกับคำและตัวอักษรของอัลกุรอาน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ในความสัมพันธ์ดังกล่าว ที่จะเกิดขึ้นในคำพูดของมนุษย์[6]
1-2 ความมหัศจรรย์ด้านเนื้อหาของอัลกุรอาน :
มีการอธิบายในทิศทางที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ด้านเนื้อหาของอัลกุรอาน ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังต่อไปนี :
ก. ไม่มีความขัดแย้งกันในอัลกุรอาน :
โองการอัลกุรอาน กล่าวว่า
أ فلا یتدبرون القرآن و لو کان من عند غیر الله لوجدوا فیه اختلافاً کثیرا[7]
ซึ่งวัตถุประสงค์ของโองการคือประเด็นของความมหัศจรรย์
ข. ข่าวลึกลับ :
ในอัลกุรอาน มีการกล่าวถึงบางคนหรือบางเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กล่าวคือ ช่วงเวลาหลังจากที่โองการได้ถูกประทานลงมาแล้ว ประหนึ่งว่าเป็นการพยากรณ์เอาไว้ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ได้เกิดขึ้นจริง เช่น โองการที่กล่าวว่า
"ا لم* غلبت الروم فى أدنى الارض و هم من بعد غلبهم سیغلبون[8]
ค.ความรู้และวิทยาการของอัลกุรอาน
เนื้อหาสาระของอัลกุรอาน อย่างน้อยที่สุดในเวลานั้นไม่มีมนุษย์คนใดไม่สามารถกระทำได้ แน่นอน แม้แต่ในตอนนี้ยังมีวิชาการและความรู้อันสูส่งที่บรรจุอยู่ในอัลกุรอานแต่มนุษย์ยังไม่รู้จัก และเป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่มนุษย์ค้นพบนั้นได้ผ่านกระบวนการของท่านนนี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) และการชี้นำอย่างต่อเนื่องของพวกเขา ในลักษณะที่ว่าวันนี้บางส่วนที่น่าทึ่งใจจากรายงานฮะดีซคือ รายงานเกี่ยวกับความเชื่อ การวิพากษ์ทางปัญญา เคล็ดลับด้านปรัชญาและเทววิทยา ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับเอรฟาน (การเดินจิตด้านใน) อย่างไรก็ตามสมมุติว่าวันนี้อาจมีผู้รู้จักความรู้และวิชาการทั้งหมดของอัลกุรอานแล้ว และพร้อมอยู่ในมือของมนุษย์ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถเข้าใจความรู้เหล่านี้ได้ กระนั้นสิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานลดน้อยอะไรลงไปแม้แต่น้อย สำคัญที่สุดคือ การพิสูจน์ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานก็ไม่ได้ใช้วิธีของผู้นำมา ทว่าสามารถกล่าวได้ว่าวิชาการและความรู้อันสูงส่งและลุ่มลึกของอัลกุรอาน มีความยิ่งใหญ่เหนือความคิดของมนุษย์และนักปราชญ์ทุกคนในสมัยนั้น จึงสามารถกล่าวสรุปได้ว่า อัลกุรอาน ไม่ได้มาจากความคิดของมนุษย์อย่างแน่นอน สิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า อัลกุรอาน เป็นวะฮฺยูที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า
จ. ความไร้สามารถในการสร้างความเสียหายด้านวิชาการในกุรอาน :
หลังจากเวลาได้ผ่านไปแล้วหลายศตวรรษ และหลังจากความก้าวหน้าทางวิชาการของมนุษย์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมของมนุษย์ ก็ยังไม่มีวิชาการและเรื่องราวอันใดในอัลกุรอาน ถูกยกเลิกหรือถูกทำให้เสียหายแต่อย่างใด แน่นอนว่าสิ่งนี้คือบทพิสูจน์ความจริงที่ว่าอัลกุรอานคือ คัมภีร์แห่งฟากฟ้าไม่ได้มาจากมนุษย์
ประเด็นสำคัญ อันเป็นประโยชน์ที่ควรทราบ บางทีอาจจะเป็นไปได้ที่ความรู้บางอย่างของมนุษย์ – เช่น ตรรกะและคณิตศาสตร์ – ซึ่งได้รับการเก็บรวบรวมเอาไว้ และมีเก็บรวบรวมมาตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงเรา ก็ยังไม่ได้รับการยกเลิกหรือถูกทำให้เสียหายแต่อย่างใด แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ประการแรก : ความรู้นี้อยู่ในกรอบของความรู้แรก หรือเป็นธรรมชาติที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญาของผู้มีความอัจฉริยะอยู่แล้ว และมีผู้เก็บรวบรวมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน ซึ่งในความเป็นจริงเขาไม่ได้เป็นผู้นำมา ประการที่สอง : หนังสือต่างๆ ที่มนุษย์ได้เขียนขึ้นมาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความรู้อันเฉพาะเจาะจงเพียงด้านเดียว หรือประเด็นพิเศษอันเฉพาะเท่านั้น ขณะที่คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญที่สุดในความบรรเจิดแห่งวิชาการและความรู้ของอัลกุรอานคือ ความกว้างไกลและความหลากหลายของประประเด็นต่างๆ บางครั้งคำพูดเดียวแต่แฝงไว้ด้วยเรื่องราวหลายสิบเรื่องด้วยกัน[9]
โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านั้นอยู่ในสถานภาพของตน มนุษย์คนใดหรือที่นอกจากจะมีความรู้ในศาสตร์ต่างสาขาที่มีความต่างกันโดยสมบูรณ์ ประกอบกับมีความละเอียดอ่อน และมีการพิจารณาพิเศษด้วยความแม่นยำในการสาธยาย และความหลากหลายของประเด็น –และยังสามารถผสมผสานประเด็นเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี และยังได้รับผลที่แตกต่างกันจากความรู้อันหลากหลายนั้น ในลักษณะที่ว่าทั้งเป้าหมายก็ไม่เสียหาย ความต่อเนื่องก็ไม่ได้สูญเสียไป และที่สำคัญไม่มีผิดพลาดซึ่งได้ดำเนินผ่านมาหลายศตวรรษ นอกจากนั้นยังบริสุทธิ์จากการถูกทำลายอีกต่างหาก สิ่งนี้ไม่ได้ยืนยันถึงความมหัศจรรย์ดอกหรือ
3 ความมหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา :
ประเด็นนี้ได้รับการวิพากษ์มาตั้งแต่ในอดีตที่ว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่เป็น ดังนั้น ท่านจะสามารถนำเอาอัลกุรอาน มาสอนคนบนคราบสมุทรอาหรับ ซึ่งไร้วัฒนธรรมและการศึกษาด้วยตัวของท่านเองได้อย่างไร[10]
สิ่งจำเป็นต้องทราบคือ บทวิพากษ์เกี่ยวกับความหัศจรรย์ของอัลกุรอาน แม้ว่าจะเป็นบทวิพากษ์ในวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอานก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงเป็นบทหนึ่งในวิชาเทววิทยาด้วย ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าประเด็นนี้มีวิพากษ์อยู่ในวิชา เทววิทยาด้วย[11]
แหล่ง ศึกษาเพิ่มเติม :
Hadavi เตหะราน Mehdi มะบานีกะลามีอิจญฺติฮาด, มุอัซซะซะฮฺฟังฮังกี คอเนะฮฺ เครัด กุม พิมพ์ครั้งแรก 1377
[1] ศีกษาเพิ่มเติมได้จาก ซามินี ซัยยิดมุซเฏาะฟา วุญูฮ์ อิฮฺญาซกุรอาน (รวมบทความงามสัมมนาครั้งที่ 2 วิจัยความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอัล-กุรอาน, ดารุลกุรอาน กุม หน้า 138-178
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม
[3] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ หน้า 42
[4] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 46
[5] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 47
[6] ,เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ ซีดี ในหัวข้อ “ก็อดร์” ได้ถูกจัดทำขึ้นแล้วโดย ซัยยิดอะลี กอเดรี
[7] “พวกเขาไม่พิจารณาดูอัล-กุรอานบ้างหรือว่า หากอัล-กุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอน พวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความ ขัดแย้งกันมากมาย” (อัลกุรอานบทนิซาอ์ 82)
[8] อะลิฟ ลาม มีม พวกโรมันถูกพิชิตแล้ว ในดินแดนอันใกล้นี้ แต่หลังจากการปราชัยของพวกเขาแล้วพวกเขาจะได้รับชัยชนะ
[9] อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวว่า วิชาการของอัลกุรอานนั้น สามารถนำออกมาได้จากทุกบทของกุรอาน ถ้าเป็นเช่นนั้น นั่นก็หมายความว่าทุกกลุ่มที่อยู่ภายในหนึ่งบท ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของอัลกุรอาน หมายถึงวิชาการทั้งหมดเหล่านั้นได้ถูกอธิบายถึง 114 ครั้งในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน และนี่เป็นความมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของอัลกุรอาน
[10] นักบูรพาคดีบางคนเกี่ยวกับประเด็นนี้กล่าวว่า ท่านศาสดามีความรู้ ท่านไปมาหาสู่ระหว่างนักปราชญ์แห่งศาสนาในอดีต และท่านได้ศึกษากับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งเขาได้เขียนอัลกุรอานขึ้นมาบนพื้นฐานของศักยภาพและภูมิปัญญาดังกล่าว แม้ว่าในอัลกุราอนจะกล่าวเรียกเขาว่า อุมมี หมายถึงอ่านไม่ออกเขียนไม่เป็น เนื่องจากเขาไม่มีความคุ้นเคยกับวิชาการของพระเจ้า ไม่ได้หมายความว่าท่านไร้การศึกษา บนคราบสมุทรอาหรับในสมัยนั้นมีบุคคลที่มีความรู้ และข้อมูลต่างๆอยู่มากมายหลายคน ดังนั้น ถ้าเรียกศาสดาว่า อุมมี จึงไม่ได้หมายความว่าท่านไร้การศึกษา หรือไม่มีความรู้ในวิชาการของพระเจ้า และไม่เคยศึกษากับผู้ใดมาก่อน ทว่าจุดประสงค์คือ ท่านเป็นศาสดาของประชาชาติที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็นต่างหาก หมายถึงไม่มีความรู้ในวิชาการของพระเจ้า อย่างไรก็ตามนักวิชาการทั้งหลายต่างกล่าวว่า นี้เป็นความรู้ที่ไม่มีรากที่มาแต่อย่างใด ทั้งที่กล่าวมา เพื่อต้องการปฏิเสธความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานเท่านั้นเอง (ดร. ซุบฮิซอลิฮฺ, อุลูมฮะดีซ วะมุซฏะละฮะฮฺ หน้า 2-3)
[11] ฮาดะวี เตหรานี มะฮฺดี, มะบานีกะลามี อิจญ์ติฮาด หน้า 47-51