การค้นหาขั้นสูง

คลังคำตอบ(หมวดหมู่:دعا)

  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ จึงไม่ตอบรับดุอาอฺขอฉัน?
    16603 2555/06/30 จริยธรรมปฏิบัติ
    ดุอาอฺ คือหัวใจของอิบาดะฮฺ, ดุอาอฺคือการเชื่อมน้ำหยดหนึ่งกับทะเล และด้วยการเชื่อมต่อนั่นเองคือ การตอบรับ.ความสัมฤทธิ์ผลจากอัลลอฮฺต่างหาก ที่มนุษย์ได้มีโอกาสดุอาอฺต่อพระองค์, การตอบรับดุอาอฺนั้นมีมารยา

คำถามสุ่ม

  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    6911 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
    6759 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดาการได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง
  • ถ้าหากมุอาวิยะฮฺเป็นกาเฟร แล้วทำไมท่านอิมามฮะซัน (อ.) ต้องทำสนธิสัญญาสันติภาพกับเขาด้วย แล้วยังยกตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺให้เขา?
    7408 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    มุอาวิยะฮฺ ตามคำยืนยันของตำราฝ่ายซุนนียฺ เขาได้ประพฤติสิ่งที่ขัดแย้งกับชัรอียฺมากมาย อีกทั้งได้สร้างบิดอะฮฺให้เกิดในสังคมอีกด้วย เช่น ดื่มสุรา สร้างบิดอะฮฺโดยให้มีอะซานในนะมาซอีดทั้งสอง ทำนะมาซญุมุอะฮฺในวันพุธ และ ...ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มีช่องว่างที่จะมีความอดทนและอะลุ่มอล่วยกับเขาได้อีกต่อไป อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ได้ยืนยันไว้อย่างชัดเจน การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างท่านอิมามฮะซัน (อ.) กับมุอาวิยะฮฺ มิได้เกิดขึ้นบนความยินยอม ทว่าได้เกิดขึ้นหลังจากมุอาวิยะฮฺได้สร้างความเสื่อมเสีย และความแตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างมากมาย จนกระทั่งว่ามุอาวิยะฮฺได้วางแผนฆ่าบรรดาชีอะฮฺ และเหล่าสหายจำนวนน้อยนิดของท่านอิมามฮะซัน (อ.) (ซึ่งเป็นการฆ่าให้ตายอย่างไร้ประโยชน์) ท่านอิมาม (อ.) ได้ยอมรับสัญญาสันติภาพก็เพื่อปกปักรักษาชีวิตของผู้ศรัทธา และศาสนาเอาไว้ ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รักษาศาสนาและชีวิตของบรรดามุสลิมเอาไว้ ด้วยการทำสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ กับบรรดามุชริกทั้งหลายในสมัยนั้น ซึ่งมิได้ขัดแย้งกับการเป็นผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดาแต่อย่างใด ดังนั้น การทำสนธิสัญญาสันติภาพลักษณะนี้ (บังคับให้ต้องทำ) เพื่อรักษาศาสนาและชีวิตของมุสลิม ย่อมไม่ขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของอิมามแต่อย่างใด ...
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11016 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7282 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ถ้าหากศาสนาถูกส่งมาเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของโลก และปรโลกของมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุใดโลกบางส่วนที่มิใช่สังคมศาสนาจึงมีความก้าวหน้ามากกว่าสังคมศาสนา?
    5776 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ศาสนาอิสลามมาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ทั้งหลายและเป็นกฎเกณฑ์สำหรับมนุษยชาติ.ดังที่เราจะเห็นว่ามะดีนะตุลนบี (ซ็อลฯ) คือตัวอย่างสังคมแห่งกฎเกณฑ์หมายถึงมนุษย์ทุกคนได้สร้างความสัมพันธ์ต่อกันภายใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกันท่านชะฮีดซ็อดร์
  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    9953 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    6882 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้
  • จะมีวิธีการอะไรสามารถพิสูจน์ได้ว่าอัล-กุรอาน ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า
    9091 วิทยาการกุรอาน 2553/10/11
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆ จำนวนมากมาย และประตูแต่ละที่มีชื่อกำกับเฉพาะด้วย
    17323 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆจำนวนมากมายซึ่งมีถึง 8 ประตูด้วยกัน, ส่วนนามชื่อเฉพาะของประตูเหล่านั้นหรือประตูบานนั้นจะกลุ่มชนใดได้ผ่านเข้าไปบ้างรายงานฮะดีซมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างและชื่อเฉพาะประตูมีรายงานที่กระจัดกระจายแจ้งเอาไว้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59414 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56856 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41690 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38449 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38445 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33470 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27555 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27261 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27167 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25236 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...