การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7263
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/02
คำถามอย่างย่อ
โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
คำถาม
โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ

อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา

จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน เคยเกิดขึ้นแล้วครั้งหนึ่งในบทมาอิดะฮฺ โองการที่ 3 อันเป็นที่ยอมรับของนักตัฟซีรทั้งหลาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอาน บางโองการเนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษอันเฉพาะจะได้รับการตั้งชื่อไว้พิเศษ เช่น โองการตัฏฮีรเป็นต้น อัลกุรอาน โองการนี้อยู่ในบทอัลอะฮฺซาบ โองการที่ 33 สาเหตุที่ได้รับนามอันเป็นที่รู้จักกันดีนี้ เนื่องจากโองการดังกล่าวอัลลอฮฺ ทรงอธิบายถึงพระประสงค์อันเป็นตักวีนีของพระองค์ เกี่ยวกับอะฮฺลุลบัยตฺ เอาไว้นั่นเอง

ส่วนสาเหตุของการประทานโองการนี้ มีรายงานทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺจำนวนมากกล่าวว่า, ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ ภรรยาคนหนึ่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : โองการข้างต้นได้ถูกประทานลงมาที่บ้านของฉัน ซึ่งในวันนั้นที่บ้านของฉันมีฟาฏิมะฮฺ อะลี ฮะซัน และฮุซัยนฺ (อ.) อยู่กันอย่างพร้อมหน้า ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้เรียกพวกเขาให้เข้ามาอยู่ภายใต้ผ้าคุม, และเวลานั้นท่านกล่าวว่า : โอ้ อัลลอฮฺ พวกเขาคืออะฮฺลุลบัยตฺของฉัน โปรดขจัดความโสมมและความโสโครกทั้งหลายให้ห่างไกลจากพวกเขา[1]

ตรงนี้จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่โองการได้ไว้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ :

1.เมื่อสังเกตคำภาษาอรับที่อธิบายคำพูดตรงนี้, จะเห็นว่ามีคุณลักษณะอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ 2 ประการ กล่าวคือ หนึ่งความเฉพาะพิเศษด้านประสงค์ของอัลลอฮฺ ที่ปรารถนาขจัดความโสมมและมลทินทั้งหลาย สองความเฉพาะพิเศษด้านความบริสุทธิ์ และการทำให้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ห่างไกลจากมลทินและความโสมมทั้งหลาย[2]

2.จุดหมายของวัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺจากโองการนี้คือ พระประสงค์ที่เป็นตักวีนี ซึ่งทรงประสงค์ให้อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) สะอาดบริสุทธิ์ เนื่องจากพระประสงค์ที่เป็นตัชรีอียะฮฺ ของพระองค์นั้น ทรงประสงค์กับมนุษย์ทุกคนให้เป็นเช่นนั้น มิได้จำกัดเฉพาะคนใดคนหนึ่ง พระองค์จึงทรงประทานบรรดาศาสนทูต ศาสดา และคัมภีร์จากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเขา เพื่อชี้นำทาง ขัดเกลา และสั่งสอนมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง พระประสงค์ที่เป็นตัชรีอียฺ จึงครอลคุมทั่วไปมิได้ระบุเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด

3.วัตถุประสงค์ของ อะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการที่กำลังกล่าวถึง หมายถึงใคร? บางคนกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวถึง อะฮฺลุลบัยตฺนั้นหมายถึงเหล่าภิริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ด้วย พวกเขากล่าวว่าสามารถเข้าใจได้จากบริบทของโองการข้างเคียง เนื่องจากโองการทั้งก่อนและหลังจากโองการนี้ กล่าวถึงเหล่าภรรยาของท่านศาสดา ซึ่งไม่มีความหมายแต่อย่างใดที่ระหว่างโองการเหล่านั้น จะมีโองการเฉพาะประทานลงมา และมีวัตถุประสงค์ที่นอกเหนือไปจากบุคคลเหล่านั้น? บรรดานักตัฟซีรทั้งฝ่ายซุนนียฺและชีอะฮฺ ได้ตอบทัศนะดังกล่าวไว้โดยละเอียดในหนังสือตัฟซีรต่างๆ ซึ่งจะขอกล่าวคำตอบเหล่านั้นโดยสังเขปดังนี้ :

หนึ่ง โองการที่กำลังกล่าวถึงได้กล่าวถึงคำสรรพนามบุรุษที่สอง (อันกุม) หมายถึงท่านผู้เป็นผู้ชาย ขณะที่ภริยาของท่านศาสดาเป็นหญิง ดังนั้น การนำคำสรรพนามที่บ่งบอกถึงเพศชาย (อันกุม) มาใช้แทนคำสรรพนาม (อันกุนนะ) ซึ่งบ่งบอกถึงเพศหญิง ถือว่าไม่ถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องกล่าวว่า คำสรรพนามที่บ่งบอกถึงเพศชาย ในที่นี้กล่าวถึงกลุ่มชนเฉพาะ และเนื่องจากเพศชายมีจำนวนมากกว่า จึงได้นำเอาคำสรรพนามที่เป็นชายมากล่าว

สอง การเรียงลำดับและการใช้โองการลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในอัลกุรอาน, เช่น ในช่วงท้ายโองการที่ 3 บทอัลมาอิดะฮฺ ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่าตอนช่วงตรงกลางของโองการ กล่าวถึงเรื่อง อาหารและการบริโภคที่ฮะรอม ทั้งที่โองการส่วนที่กล่าวถึงนั้นเป็นการประกาศความสมบูรณ์ของศาสนา อันเป็นสาเหตุทำให้เหล่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาต่างสิ้นหวังจากศาสนาของพระเจ้าไปตามๆ กัน

ท่านเฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า : มิใช่เพียงแค่กรณีนี้กรณีเดียวเท่านั้น ที่โองการอัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเคียงข้างกัน แต่กล่าวถึงหัวข้อแตกต่างกัน, ซึ่งอัลกุรอานนั้นเต็มไปด้วยลักษณะเช่นนี้ ทำนองเดียวกันในคำพูดที่เป็นสำนวน และบทกวีอรับของพวกเขาก็เช่นเดียวกัน มีตัวอย่างทำนองนี้ให้เห็นอย่างมากมาย[3]

อีกด้านหนึ่งระหว่าง 70 รายงานที่อธิบายโองการนี้ ซึ่งรายงานโดยฝ่ายซุนนียฺ (จากสายรายงานของอุมมุซัลมะฮฺ,อาอิชะฮฺ, อบูสะอีด คุดรีย์, อิบนุอับบาส, เษาบาน, วาอิละฮฺ บิน อัสเกาะอฺ, อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร, อะลี (อ.), ฮะซัน บิน อะลี (อ.), และจากฝ่ายชีอะฮฺ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิมามอะลี (อ.) และอิมามซัจญาด (อ.) อิมามบากิร (อ.) อิมามซอดิก (อ.) อิมามริฎอ (อ.), ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ. อบูซัร, อบูลัยลา, อบุลอัซวัด ดูอีลี, อุมัร บิน มัยมูน เอาดียฺ, สะอฺ บิน อบี วะกอซ, ซึ่งไม่มีแม้แต่รายงานเดียวที่กล่าวว่า โองการข้างต้นได้ลงมาโองการที่กล่าวถึงเรื่องภรรยาของท่านศาสดา, นอกจากนั้นไม่มีนักตัฟซีรคนใดอีกเช่นกันที่กล่าวทำนองนี้ แม้แต่บุคคลเฉกเช่น อุรวะฮฺ หรืออิกเราะมะฮฺ ก็มิได้กล่าวว่า โองการตัฏฮีรนั้นลงให้แก่บรรดาภริยาของท่านศาสดา หรือโองการดังกล่าวลงมาในเรื่องเดียวกันกับโองการก่อนหน้า[4]

รายงานจำนวนมากที่กล่าวไว้นั้น ทำให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีว่าจุดประสงค์คือ บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ ดังรายงานที่กล่าวว่า :

ฮากิม เนชาบูรี (อิมามนักรายงานฮะดีซฝ่ายซุนนี) กล่าวไว้ในมุสตัดร็อก เซาะฮียฺฮัยนฺ โดยรายงานมาจาก อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัร หลังจากกล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการนี้แล้ว กล่าวว่า สายรายงานฮะดีซเหล่านี้ถูกต้อง, ท่านมุสลิมกล่าวไว้ในหนังสือเซาะฮียฺ, บัยฮะกียฺ กล่าวไว้ในซุนันกุบรอ, ฏ็อบรียฺ และอิบนุกะษีร และซุยูฎียฺ กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่าน, ติรมิซียฺ กล่าวไว้ในเซาะฮียฺ, เฏาะฮาวียฺ กล่าวไว้ในมัชกะลิลอาษาร, ฮัยษัมมี กล่าวไว้ในมัจญฺมะอุซซะวาอิด, อะฮฺมัด บิน ฮันบัล กล่าวไว้ในมุสนัด ซึ่งทั้งหมดกล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการโดยรายงานมาจากสายรายงานที่แตกต่างกัน เช่น อุมมุซัลมะฮฺ, วาษิละฮฺ, อุมัร บิน อบีซัลมะฮฺ, และอาอิชะฮฺ, ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ระบุถึงอะฮฺลุบัยตฺของท่านซึ่งประกอบด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) โดยให้บุคคลเหล่านั้นเข้าไปอย่ภายใต้เสื้อคุมของท่าน[5] แม้แต่ในหนังสือติรมิซียฺ ในหมวดความประเสริฐของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.), หนังสือตัฟซีรซุยูฎียฺ รายงานจากอบูสะอีด คุดรียฺ และหนังสือมัชกะลิลอาษาร ของเฏาะฮาวียฺ กล่าวว่า ท่านหญิงอุมมุซัลมะฮฺ หลังจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้เข้าไปภายใต้เสื้อคุมของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แล้ว เธอได้ขอเข้าไปอยู่ภายใต้เสื้อคุมนั้นด้วย โดยกล่าวว่า : โอ้ ท่านเราะซูลขอให้ฉันเข้าไปอยู่ในนั้นด้วยได้หรือไม่? ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตอบว่า เธอจงอยู่ในที่ของเธอนั่นดีแล้ว (หมายถึงอย่าได้เข้ามาภายใต้เสื้อคุมนี้เลย)

สาม เมื่อพิจารณาคำว่า » ริจญฺซุน« ในโองการที่กำลังกล่าวถึง จะเห็นว่ามี อลีฟกับลามอยู่ด้วย ซึ่งตามหลักภาษาอรับถือว่าเป็น อลีฟลามญินซ์ หมายถึงบ่งบอกให้เห็นถึงประเภทของๆ สิ่งนั้น, ฉะนั้น ความหมายของโองการจึงหมายถึงว่า อัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดสิ่งโสโครกทุกประเภท ความต่ำทราม และความชั่วร้ายให้พ้นไปจากพวกเขา, ดังนั้น การขจัดอย่างสมบูรณ์เช่นนี้ถือว่าตรงกับความบริสุทธิ์ที่พระเจ้าทรงกล่าวถึง[6] ขณะที่ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้างถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) แม้แต่คนเดียว, กล่าวคือมิมีผู้ใดกล่าวว่า เหล่าภริยาของท่านศาสดามีความบริสุทธิ์จากความผิดทั้งปวง หรือได้รับการยกเว้นจากความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้เอง โองการข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาอิมาม (อ.)[7]

ด้วยเหตุนี้ จุดประสงค์ของอะฮฺลุลบัยตฺ ในโองการข้างต้นจึงหมายถึงบุคคลทั้งห้าท่าน หรือที่รู้จักกันในนามของ อาลิกีซา และกฎเกณฑ์ของโองการก็ระบุเฉพาะเจาะจงสำหรับพวกเขาเท่านั้น

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำถามที่ 898, หัวข้อ : อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)

 


[1] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 16, หน้า 457.

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 462.

[3] เฏาะบัรซียฺ, มัจญฺมะอุลบะยาน, เล่ม 7, หน้า 560.

[4] อ้างแล้ว, หน้า 466

[5] โองการตัฏฮีร ดัรกุตุบ โด มักตับ, อัลลามะฮฺ ซัยยิด มุรตะฎอ อัซการียฺ, หน้า 12-20.

[6] ตัฟซีรอัลมีซาน ฉบับแปล, เล่ม 16, หน้า 467.

[7]  อ้างแล้วเล่มเดิม

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    7692 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • มีหลักฐานอนุญาตให้มะตั่มให้แก่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือทำร้ายตัวเองของมุสลิมในช่วงเดือนมุฮัรรอม หรือเดือนอื่นหรือไม่?
    7665 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/12/21
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นับได้ว่าเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ดีที่สุดและการกระทำทุกสิ่งที่สังคมยอมรับว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการจัดพิธีกรรมถือว่าอนุญาต, เว้นเสียแต่ว่าสิ่งนั้นได้สร้างเสื่อมเสียหรือมีอันตรายจริง, หรือเป็นสาเหตุทำให้แนวทางชีอะฮฺต้องได้รับการดูถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรงซึ่งการทุบอก
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    7953 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงทรงสร้างภูตผีปีศาจ ขณะเดียวกันก็ทรงตรัสว่าภูตผีเหล่านี้จะทำอันตรายได้ก็ต่อเมื่อทรงอนุมัติเท่านั้น?
    8778 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/11
    ญิน คือสิ่งมีชีวิตที่กุรอานกล่าวว่า “และเราได้สร้างญินจากไฟอันร้อนระอุก่อนการสรรสร้าง(อาดัม)” ญินจึงถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ซึ่งต้องได้รับการชี้นำโดยบรรดาศาสดาเช่นกัน อีกทั้งมีหน้าที่ต้องบูชาพระองค์เสมือนมนุษย์ ญินจำแนกออกเป็นกลุ่มกาฟิรและกลุ่มมุสลิมตามระดับการเชื่อฟังพระบัญชาของอัลลอฮ์ ซึ่งอิบลีสที่ไม่ยอมศิโรราบแก่นบีอาดัมในยุคแรกก็เป็นญินตนหนึ่ง การทำอันตรายโดยการอนุมัติของพระองค์ในที่นี้ หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าทุกๆพลังอำนาจที่มีอยู่ในโลกล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น แม้แต่อานุภาพความร้อนและคมมีดก็ไม่อาจทำอะไรได้หากพระองค์มิทรงยินยอม เป็นความคิดที่ผิดมหันต์หากจะเชื่อว่าจอมขมังเวทย์ทั้งหลายสามารถจะคานอำนาจของพระองค์ เนื่องจากไม่มีสิ่งใดจะสามารถกำหนดขอบเขตอำนาจของพระองค์ได้ กฏเกณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นคุณสมบัติและผลลัพท์ที่ทรงกำหนดแก่ทุกสรรพสิ่ง โดยมนุษย์บางคนใช้ประโยชน์ในทางที่ดี แต่ก็มีบางคนใช้ประโยชน์ในทางเสื่อมเสีย ...
  • การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
    12519 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้วยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมายและยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้นในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้าจงเตือนตัวเองว่าโปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี
  • การลงโทษชาวบนีอิสรออีลข้อหาบูชาลูกวัวเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ความผิดหรือไม่?
    7665 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/23
    นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ “1. สิ่งนี้เป็นบททดสอบ และเมื่อพวกเขาได้เตาบะฮ์และสำนึกผิดแล้ว สิ่งนี้ก็ได้ถูกยกเลิก 2. ความหมายของการฆ่าในที่นี้คือการตัดกิเลศและแรงยั่วยุของชัยตอน 3. ความหมายของการฆ่าในโองการนี้ คือการฆ่าจริง ๆ กล่าวคือจะต้องฆ่ากันเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือทั้งหมดของประเด็นต่อไปนี้ก็เป็นได้: ก. ชำระจิตใจชาวบนีอิสรออีลให้ผ่องแผ้วจากการตั้งภาคี ข. ยับยั้งไม่ให้บาปใหญ่หลวงเช่นนี้อีก ค. ต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการหันเหจากหลักเตาฮีด และการหันไปสู่การกราบไหว้เจว็ด อย่างใดก็ตาม การรับการลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดก็ถือว่าคุ้มค่าหากแลกกับการหลุดพ้นจากไฟนรก ...
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    5738 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การเล่นนกพิราบในอิสลามมีกฎอย่างไรบ้าง, เพราะเหตุใด?
    7769 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    การกระทำดังกล่าวโดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหาทางชัรอียฺแต่อย่างใดแต่โดยปกติแล้วถ้าเป็นการกลั่นแกล้งคนอื่นหรือเพื่อนบ้านซึ่งในบางพื้นที่ประชาชนจะมองว่าเขาเป็นคนมักง่ายเห็นแก่ตัวดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการกระทำเช่นนั้นมีปัญหา, ด้วยเหตุนี้มัรญิอฺตักลีดจึงได้มีทัศนะเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากกระทำนั้นไว้ดังนี้:สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอียฺ (
  • มีคำอธิบายอย่างไรเกี่ยวกับโองการที่ ซูเราะฮ์เราะอ์ด وَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ أَوْ کُلِّمَ بِهِ الْمَوْتى‏ بَلْ لِلَّهِ الْأَمْرُ جَمیعا
    7992 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ในประเด็นที่ว่าโองการوَ لَوْ أَنَّ قُرْآناً سُیِّرَتْ بِهِ الْجِبالُ أَوْ قُطِّعَتْ بِهِ الْأَرْضُ... หมายความว่าอย่างไรนั้นนักอรรถาธิบายกุรอานได้นำเสนอไว้สองทัศนะด้วยกัน1. โองการต้องการจะสื่อว่าหากจะมีตำราใดที่จะสามารถเคลื่อนย้ายภูเขาหรือแยกแผ่นดินหรือทำให้ผู้ตายสนทนาได้ตำรานั้นย่อมมิไช่อื่นใดนอกจากกุรอานทั้งนี้ก็เพราะกุรอานประเสริฐเหนือทุกคัมภีร์2. โองการข้างต้นเป็นคำตอบโต้ข้อเรียกร้องของบรรดากาเฟรแห่งมักกะฮ์ที่เรียกร้องให้ท่านนบีแสดงอภินิหารโดยโองการนี้สื่อว่าคนพวกนี้มีนิสัยดื้อรั้นแม้หากกุรอานแสดงอภินิหารเคลื่อนย้ายภูเขาตามที่พวกเขาต้องการหรือแม้จะแยกแผ่นดินและผุดตาน้ำหรือแม้จะชุบชีวิตผู้ตายให้ปฏิญาณถึงความเป็นศาสดาของเจ้า (โอ้มุฮัมมัด)ให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขาก็ตามแต่คนเหล่านี้ก็จะยังดื้อแพ่งไม่ศรัทธาอยู่วันยังค่ำ. ...
  • การตัดขาดการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม โดยปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษ มีกฎเกณฑ์เป็นเช่นไร
    12627 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิดการถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59394 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41675 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38427 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33450 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27237 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27135 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25211 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...