การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8134
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1078 รหัสสำเนา 16990
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดจึงวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ ?
คำถาม
จะพิสูจน์ได้อย่างไรว่า เพราะเหตุใดวาญิบต้องตักลีดกับมัรญิอฺ?
คำตอบโดยสังเขป

จุดประสงค์ของการตักลีดคือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ ในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือ เหตุผลทางสติปัญญา ที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหา ต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้น แน่นอนทั้งอัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้เน้นย้ำถึงเรื่องการตักลีดเอาไว้ โดยเฉพาะอัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า :

"فاسئلوا أهل الذکر إن کنتم لا تعلمون"

ดังนั้น จงถามผู้รู้ถ้าหากสูเจ้าไม่รู้

สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเหตุผลทั้งหมดทางคำพูดเกี่ยวกับการตักลีด ก็คือสิ่งอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มัรญิอฺตักลีดคือ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟิกฮฺ มีความสามารถในการพิสูจน์บทบัญญัติของพระเจ้าจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติ ฉะนั้น จำเป็นสำหรับบุคคลอื่นเกี่ยวกับปัญหาศาสนาต้องปฏิบัติตามพวกเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

ศาสนาอิสลามได้วางกฎเกณฑ์เอาไว้แก่มนุษย์ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของพวกเขาทั้งในแง่ของวัตถุ ศีลธรรมจรรยา เรื่องส่วนตัว สังคมส่วนรวม ตลดจนการเมืองการปกครอง และเศรษฐศาสตร์ อิสลามได้วางกฎเกณฑ์เหล่านั้นไว้ในรูปแบบของบทบัญญัติทางฟิกฮฺที่แตกต่างกัน มีการแต่งและประพันธ์เอาไว้อันก่อให้เกิดวิชาการด้านฟิกฮฺ ซึ่งความรู้ด้านฟิกฮฺตามความเป็นจริงแล้วก็คือ แบบอย่างหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วิธีการอันถูกต้องของความเป็นมนุษย์ ความสัมพันธ์ทางสังคม และเป็นระบบอันสูงส่งสำหรับชีวิต เนื่องจากได้ครอบคลุมทุกแง่มุมในชีวิตมนุษย์ ดังคำกล่าวของอิมามโคมัยนีที่ว่า ฟิกฮฺ คือทฤษฎีที่แท้จริง มีความสมบูรณ์เพื่อควบคลุมวิถึชีวิตมุสลิม และสังคมนับตั้งแต่เปลจนถึงหลุมฝังศพ[1]

เนื่องจากการให้ความสำคัญเป็นพิเศษด้านฟิกฮฺและบทบัญญัติทางศาสนา หมู่มวลมิตรแห่งอัลลอฮฺได้เชิญชวนเหล่าผู้ปฏิบัติตามตนไปสู่การเชื่อฟังปฏิบัติตาม และจงอย่าเพิกเฉยหรือไม่ใส่ใจต่อการเรียนรู้หลักบัญญัติของอิสลาม เพราะจะเป็นสาเหตุนำไปสู่การลงโทษ

อิมามบากิร (.) กล่าวว่าถ้าหากมีชายหนุ่มจากชีอะฮฺมาหาฉัน แต่ไม่ใคร่ครวญเรื่องฟิกฮฺ ฉันจะลงโทษเขา[2]

บทบัญญัติของอิสลามนั้นมีทั้งสิ่งที่เป็นข้อบังคับ และสิ่งต้องห้ามเนื่องจากอัลลอฮ่ทรงวางกำหนดสิ่งเหล่านี้เอาไว้ เพื่อความจำเริญผาสุกของประชาชนทั้งโลกนี้และโลกหน้า ถ้าหากมนุษย์ไม่เชื่อฟังปฏิบัติตาม เขาจะไม่ไปถึงยังความผาสุกอันเป็นเป้าหมาย และจะไม่รอดพ้นการลงโทษของอัลลอฮฺ สำหรับการรู้จักบทบัญญัติอิสลามจำเป็นต้องรอบรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับโองการอัลกุรอาน รายงาน การรู้จักฮะดีซเชื่อถือได้ และเชื่อถือไม่ได้ วิธีการรวมฮะดีซหรือโองการเข้าด้วยกัน หรือการแยกแยะฮะดีซฮะดีซเหล่านั้น และหลีกหลายปัญหาที่จำเป็น ซึ่งการเรียนรู้จกปัญหาเหล่านั้น ต้องใช้เวลาร่ำเรียนและความพยายามอย่างสูงหลายปีด้วยกัน

ดังนั้น บนปัญหาดังกล่าวนี้ผู้ปฏิบัติตามจึงมีหน้าที่ 3 ประการด้วยกัน

ประการแรก เข้าสู่แนวทางศึกษาหาความรู้จนถึงระดับการอิจญฺติฮาด

ประการที่สอง ศึกษาค้นคว้าทัศนะต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว และถือปฏิบัติในลักษณะที่ว่าตรงหรือไม่ขัดแย้งกับคำฟัตวาเหล่านั้น ถือว่าการปฏิบัติของเขาถูกต้อง (อิฮฺติยาฏ)

ประการที่สาม ทัศนะของบุคคลที่ได้ศึกษาค้นคว้าวิชาการด้านนี้โดยสมบูรณ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญบทบัญญัติ สามารถออกทัศนะได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าเขาอยู่ในวิถีทางที่หนึ่งเขาต้องไปถึงระดับของการวินิจฉัยแน่นอน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบทบัญญัติ ดังนั้น สองทางที่เหลื่อไม่จำเป็นสำหรับเขาอีกต่อไป แต่จนกว่าจะไปถึงระดับดังกล่าว เขาจำเป็นต้องท่องไปตามวิถีทางทั้งสองด้วย

แนวทางที่สองต้องอาศัยข้อมูลที่เพียงพอต่อการศึกษาทัศนะต่างๆ ในทุกปัญหาโดยต้องยึดแนวทางอิฮฺติยาฏเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน ซึ่งการอิฮฺติยาฏนั้นจะทำให้การดำเนินชีวิตของเขาล่าช้า ดังนั้น การเลือกแนวทางตักลีดเป็นวิธีการที่ง่ายดายที่สุด สะดวกสบายต่อการปฏิบัติอันเป็นหน้าที่ของประชาชนโดยทั่วไปที่จะต้องกระทำเช่นนั้น และนี่คือแนวทางทั้งสามแต่มิได้เป็นแนวทางอันจำกัดในการปฏิบัติตัวตามบทบัญญัติ เนื่องจากทุกสาขานั้นย่อมต้องการผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำสาขานั้น เช่น วิศวกรคนหนึ่งเขามีความชำนาญด้านหนึ่งแต่เมื่อเขาป่วยไม่สบาย เขาจึงมีทางเลือกอยู่สองทางคือ ศึกษาค้นคว้าหาอาการใข้ด้วยตัวเอง โดยนำเอาทัศนะแพทย์ที่มีอยู่อยู่แล้วมาศึกษาวิจัยต่อ แล้วปฏิบัติตัวด้วยความระมัดระวัง เพื่อว่าภายหลังจะได้ไม่ต้องเสียใจ หรือไปพบแพทย์ด้วยตัวเองเพื่อการเยี่ยวยารักษา.

แน่นอน วิธีการแรกนั้นผู้ป่วยไม่อาจเยี่ยวยารักษาให้หายตามปกติได้โดยด่วน ส่วนแนวทางที่สองก็ยากลำบากกับตัวเองเป็นอย่างยิ่งมิหนำซ้ำยังทำให้เขาต้องออกหลุดพ้นความเชี่ยวชาญของตน ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและปฏิบัติไปตามสั่งของแพทย์

การปฏิบัติไปตามทัศนะของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้น นอกจากจะไม่ทำให้เขาต้องเสียใจ และไม่เสียเวลาแล้วยังทำให้เขารอดปลอดภัยและพบกับความสุขในชีวิตอีกต่างหาก บรรดาผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามทัศนะของมุจญฺตะฮิดผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษ นอกจากจะทำให้ท่านไม่ต้องเสียใจกับการถูกลงโทษในโลกหน้าแล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติศาสนบัญญัติได้อย่างถูกต้องอีกต่างหาก[3]

จุดประสงค์ของการตักลีดคือการย้อนไปสู่ภารกิจที่ตนไม่มีความเชี่ยวชาญ ในคำสั่งอันเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความความเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งเหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องการตักลีดเกี่ยวกับปัญหาศาสนาคือ เหตุผลทางสติปัญญา ที่ว่าผู้ไม่มีความรู้และไม่มีความเชี่ยวชาญปัญหา ต้องปฏิบัติตามผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในปัญหานั้น แน่นอนทั้งอัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้เน้นย้ำถึงเรื่องการตักลีดเอาไว้ โดยเฉพาะอัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า :

"فاسئلوا أهل الذکر إن کنتم لا تعلمون"

ดังนั้น จงถามผู้รู้ถ้าหากสูเจ้าไม่รู้[4]

หรือรายงานกล่าวว่าสำหรับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเจ้าจงย้อนไปหานักรายงานฮะดีซของเรา เพราะพวกเขาคือข้อพิสูจน์ของเราสำหรับพวกท่าน ส่วนพวกเราคือข้อพิสูจน์ของอัลลอฮฺ[5]

ท่านมุฮักกิก กะรักกียฺ กล่าวว่าบรรดาชีอะฮฺทั้งหลายต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า ฟะกะฮฺที่ยุติธรรม อะมีน มีเงื่อนไขสมบูรณ์ในการออกคำวินิจฉัย ซึ่งตามหลักศาสนบัญญัติเรียกเขาว่า มุจญฺตะฮิด ซึ่งในยุคของการเร้นกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ ถือว่าพวกเขาคือตัวแทนของท่านอิมาม

สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเหตุผลทั้งหมดทางคำพูดเกี่ยวกับการตักลีด ก็คือสิ่งอันเป็นที่ยอมรับของบรรดานักปราชญ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ มัรญิอฺตักลีดคือ ผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านฟิกฮฺ มีความสามารถในการพิสูจน์บทบัญญัติของพระเจ้าจากแหล่งที่มาของบทบัญญัติ ฉะนั้น จำเป็นสำหรับบุคคลอื่นเกี่ยวกับปัญหาศาสนาต้องปฏิบัติตามพวกเขา

ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหัวข้อต่อไปนี้

1) มัรญิอ์ และตักลีด, คำถามที่ 276

2) วิลายะตุลฟะกีฮฺ และมัรญิอฺ, คำถามที่ 272

3) อะดิลละฮฺ วิลายะตุลฟะกีฮฺ, คำถามที่ 235



[1] เซาะฮีฟะฮฺนูร เล่ม 21 หน้า 98

[2] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 1 หน้า 241

[3] ริซาละฮฺ ดดนิชญู พิมพ์ครั้งที่ 5 ซัยยิดมุจญฺตะบา หน้า 45-46

[4] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลุ 43

[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 27 หน้า 140

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    6380 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • เพราะเหตุใดกอบีลจึงสังหารฮาบีล?
    10945 วิทยาการกุรอาน 2554/06/22
    จากโองการอัลกุรอานเข้าใจได้ว่าสาเหตุที่กอบีลได้สังหารฮาบีลเนื่องจากมีความอิจฉาริษยาหรือไฟแห่งความอิจฉาได้ลุกโชติช่วงภายในจิตใจของกอบีลและในที่สุดเขาได้สังหารฮาบีลอย่างอธรรม ...
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    7643 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    11113 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • การบนบานแบบใหนสัมฤทธิ์ผลตามต้องการมากที่สุด?
    13916 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    นะซัร(บนบานต่ออัลลอฮ์) คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ได้รับในสิ่งที่ต้องการซึ่งมีพิธีกรรมเฉพาะตัวอาทิเช่นจะต้องเปล่งประโยคเฉพาะซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาอรับตัวอย่างเช่นการเปล่งประโยคที่ว่า“ฉันขอนะซัรว่าเมื่อหายไข้แล้ว
  • ผมเป็นชาวฟิลิปินส์ ในสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถไปหามุจตะฮิดคนใดคนหนึ่งได้ และในกรณีที่ผมไม่มั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นซัยยิด (เป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ซ.ล.) ที่เป็นผู้ยากไร้อาศัยอยู่ในประเทศของผมหรือไม่นั้น ผมจะต้องจ่ายคุมุสแก่ผู้ใด?
    6884 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบที่ได้รับมาจากสำนักงานต่างๆของบรรดามัรยิอ์มีดังนี้สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์ซิซตานี–คุณสามารถที่จะแยกเงินคุมุสของท่านไว้และเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะมีโอกาสที่จะนำเงินดังกล่าวไปมอบให้กับตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี–สามารถจ่ายทางเว็บไซต์ของมัรญะอ์ดังกล่าวได้คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ฮาดาวีย์เตหะรานีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคือคุณสามารถจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้โดยโอนเงินให้กับมุจตะฮิดหรือตัวแทนของท่านและทางที่ดีควรจ่ายให้กับผู้นำรัฐหรือตัวแทนของท่านในทุกกรณีไม่สามารถจ่ายเงินคุมุสให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือตัวแทนของท่านเสียก่อน ...
  • อาริสโตเติลเป็นศาสดาแห่งพระเจ้าหรือไม่?
    9683 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    อาริสโตเติล, เป็นนักฟิสิกส์ปราชญ์และนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโตและเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7908 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10904 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    21184 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60564 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58151 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42678 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40077 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39304 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34420 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28482 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28403 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28331 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26254 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...