การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8296
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/03
คำถามอย่างย่อ
ประโยค “ทุกวันคือาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” เป็นฮาดีษหรือไม่? มีหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากน้อยเพียงใด
คำถาม
ผมได้ยินมาจากหลายคนว่าฮาดีษดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือนัก หรืออาจไม่ไช่ฮะดีษด้วยซ้ำ“ทุกวันคืออาชูรอ ทุกแผ่นดินคือกัรบะลา” จากการค้นคว้าทางอินเตอร์เนต พบว่ามีการอ้างอิงว่าฮะดีษดังกล่าวจากท่านอิมามศอดิก (อ.) กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว และหากประโยคนี้เป็นฮาดีษจริง กรุณาระบุว่ามีหลักฐานและความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
คำตอบโดยสังเขป

จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีน อย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลาและแนวทางอิมามัตไว้อย่างถูกต้อง อีกทั้งแฝงไว้ด้วยบทเรียนและคำสอนอันทรงคุณค่า เพราะแม้ว่าจะไม่มีวันใดเสมอเหมือนกับวันอาชูรออีกแล้ว แต่การกดขี่ผู้อ่อนแอโดยผู้อธรรมก็ยังคงมีอยู่จวบจนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งจะจัดการถอนรากถอนโคนการกดขี่ให้หมดสิ้น  ทั้งนี้ วัฒนธรรมของอาชูรอจะยังคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์ และกัรบะลาก็ยังคงเป็นเครื่องหมายของการทุ่มเทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และการต่อสู้กับความอยุติธรรมต่อไป ผู้นำทางศาสนาของเราได้สอนเราเช่นนี้ว่า จะต้องต่อสู้กับการกดขี่ของผู้อธรรม และท่านเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์เสมอ ด้วยเหตุนี้ อาชูรอจึงมิได้จำกัดอยู่ในกรอบแห่งกาลเวลาหรือสถานที่

คำตอบเชิงรายละเอียด

จากการศึกษาตำราฮะดีษ  เราไม่พบหลักฐานใดๆ[1]ที่ระบุว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮาดีษบรรดามะศูมีน[2]อย่างไรก็ดี ประโยคนี้ให้นิยามเหตุการณ์กัรบะลาและแนวทางอิมามัตไว้อย่างถูกต้อง อีกทั้งแฝงไว้ด้วยบทเรียนและคำสอนอันทรงคุณค่า เพราะแม้ว่าจะไม่มีวันใดเสมอเหมือนกับวันอาชูรออีกแล้ว แต่การกดขี่ผู้อ่อนแอโดยผู้อธรรมก็ยังคงมีอยู่จวบจนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ซึ่งจะจัดการถอนรากถอนโคนการกดขี่ให้หมดสิ้น  ทั้งนี้ วัฒนธรรมของอาชูรอจะยังคงอยู่ตราบชั่วนิรันดร์ และกัรบะลาก็ยังคงเป็นเครื่องหมายของการทุ่มเทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และการต่อสู้กับความอยุติธรรมต่อไป ผู้นำทางศาสนาของเราได้สอนเราเช่นนี้ว่า จะต้องต่อสู้กับการกดขี่ของผู้อธรรม และท่านเหล่านั้นก็ได้ปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์เสมอ ด้วยเหตุนี้ อาชูรอจึงมิได้จำกัดอยู่ในกรอบแห่งกาลเวลาหรือสถานที่

ประโยค “กุลลุเยาวมินอาชูรอ กุลลุอัรฎินกัรบะลา” แสดงให้เห็นว่าการเผชิญหน้ากันระหว่างสัจธรรมและอธรรมยังคงมีอยู่ในทุกยุคสมัย อาชูรอและกัรบะลาเปรียบเสมือนโซ่ข้อสำคัญในกระบวนการเผชิญหน้าดังกล่าว สัจธรรมและความอธรรมจะเผชิญหน้ากันเสมอ โดยที่อิสรชนต่างมีหน้าที่ต้องปกป้องสัจธรรมและกำราบอธรรม การวางเฉยต่อการเผชิญหน้าดังกล่าวย่อมจะถือเป็นพฤติกรรมของคนที่ไม่ใส่ใจต่อศาสนา

อิมามโคมัยนี ซึ่งเป็นผู้เจริญรอยตามอิมามฮุเซน(อ.) และเป็นผู้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม อีกทั้งเป็นผู้ที่ต่อกรกับทรราชย์ในยุคสมัยของท่าน ท่านเชื่อว่าประโยคนี้คือ “วาทะอันยิ่งใหญ่” และว่าจะต้องปกป้องนัยยะของอาชูรอ และจะต้องประยุกต์ใช้บทเรียนของกัรบลาให้ได้  ท่านกล่าวว่า“ประโยคนี้ (กุลลุเยามินอาชูรอ กุลลุอัรฏินกัรบะลา)ถือเป็นวาทะอันยิ่งใหญ่  ประชาชาติของเราจะต้องคำนึงถึงความหมายนี้ทุกๆวันว่า วันนี้แหล่ะคืออาชูรอที่เราจะต้องต่อสู้กับการกดขี่ และสถานที่แห่งนี้แหล่ะคือกัรบะลาที่เราจะต้องแสดงบทบาทเฉกเช่นผู้ที่อยู่ในกัรบะลา สิ่งนี้หาได้จำกัดเฉพาะพื้นที่เดียวไม่  หาได้เจาะจงบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ เหตุการณ์กัรบะลาไม่ได้เจาะจงไว้สำหรับกลุ่มบุคคลเจ็ดสิบกว่าคน เพราะทุกจุดภูมิศาสตร์ในโลกจะต้องมีบทบาทนี้”[3]

อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการปฏิวัติและการพลีชีพของท่านอิมามฮุเซน(อ.) ควรเป็นบรรทัดฐานสำหรับจารีตทางสังคมของมุสลิม พื้นฐานความเชื่อดังกล่าวช่วยให้ท่านสามารถขับเคลื่อนการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน  ท่านกล่าวว่า การกระทำของอิมามฮุเซน(อ.) วิสัยทัศน์ แนวทางของท่าน และชัยชนะที่ตัวท่านเองและอิสลามได้มาด้วยการพลีชะฮีดนั้น(ล้วนประยุกต์ใช้ได้)  ส่วนประโยคอันแฝงด้วยบทเรียน(กุลลุเยาม์ฯ)นั้น ก่อให้เกิดหน้าที่และนิมิตหมายที่ดี หน้าที่ก็คือ ทำให้ทราบว่า แม้ผู้ที่อยู่ภายใต้การกดขี่จะมีกำลังพลอันน้อยนิด แต่ก็มีหน้าที่ลุกขึ้นต่อต้านผู้อธรรมที่มีแสนยานุภาพเยี่ยงซาตาน ดังที่อิมามฮุเซน(อ.)ได้ยืนหยัดมาแล้ว  ส่วนที่ว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ก็เนื่องจากว่า บรรดาชะฮีดของพวกเราได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของชะฮีดแห่งกัรบะลาเช่นกัน”

ท่านยังได้กล่าวในช่วงสงครามระหว่างอิหร่านกับอิรักว่า “แม้สมรภูมิอาชูรอจะเป็นสงครามที่สั้นที่สุดในแง่กาลเวลา(ครึ่งวัน) แต่ในแง่ของความต่อเนื่อง สงครามนี้เป็นสงครามที่มีการเผชิญหน้ากับความยุติธรรมที่ยาวนานที่สุด และตราบใดที่ยังมีผู้ไฝ่ฝันอยากเป็นชะฮีดเพื่อช่วยเหลืออิมามฮุเซน ณ กัรบะลาดังประโยคที่ว่า
 یا لیتنا کنا معکم‏ فنفوز فوزا عظیما[4] เมื่อนั้นสมรภูมิแห่งกัรบะลาก็ยังคงร้อนระอุเสมอ[5]

กล่าวคือ ดังที่อิมามฮุเซน (อ.)เป็นผู้สืบเจตนารมณ์ของท่านนบีอาดัม(อ.) นบีอิบรอฮีม(อ.) นบีนูฮ์(อ.) นบีมูซา(อ.) นบีอีซา(อ.) และนบีมูฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ฉันใด เหล่าบรรดาสาวกอาชูรอก็เป็นผู้สืบเจตนารมณ์ญิฮาดและการพลีชะฮีดฉันนั้น และพวกเขาไม่มีวันที่จะทิ้งธงชัยแห่งกัรบะลา เหล่านี้คือแก่นแท้ทางการเมืองการปกครองของชีอะฮ์ ดังที่อิมามฮุเซน (อ.) กล่าวไว้ว่า “فلکم فیّ اسوة  วิถีของฉันคือแบบฉบับสำหรับพวกท่าน”[6]

แนวคิดนี้หักล้างความเชื่อที่ว่า กัรบะลาและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน (อ.) เป็นหน้าที่เฉพาะสำหรับอิมามผู้เดียวเท่านั้น โดยผู้อื่นไม่อาจจะปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้

ชีอะฮ์คือผู้พร้อมทะยานมุ่ง
เมื่อเมฆหมอกเคลื่อนออกจากดวงตะวัน
ชีอะฮ์คือผู้กระหายการทดสอบ
ชีอะฮ์คือมหากาพย์การต่อสู้ ณ กัรบะลา
ชีอะฮ์คือแสงสะท้อนจากฟากฟ้า
สู่รุ้งงามที่โค้งผ่านปลายหอก
ขอสดับฟังเสียงท่านจากยอดคม
ถ้อยคารมที่ว่า
ฉันไม่เห็นความตายนอกจากความผาสุก[7]

นักเขียนผู้หนึ่งได้บันทึกไว้ว่า “เราเชื่อมั่นว่า หากอิมามฮุเซน (อ.) อยู่ในยุคสมัยของเรา ท่านจะสร้างกัรบะลาคำรบสองในพื้นที่อัลกุดส์,ตอนใต้ของเลบานอนและพื้นที่ส่วนใหญ่ของมุสลิมอย่างแน่นอน และท่านจะยังคงรักษาจุดยืนเดิมเช่นที่เคยเผชิญหน้ามุอาวียะฮ์และยะซีด”[8]



[1] บ้างเชื่อว่าประโยคดังกล่าวเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)แต่มิได้อ้างหลักฐานใดๆประกอบ ดู: สาส์นอาชูรอ,อับบาส อะซีซี,หน้า 28 และ ปทานุกรมอาชูรอ,ญะวาด มุฮัดดิซี,หน้า 371.

[2] บ้างกล่าวถึงเบาะแสที่ว่าประโยคดังกล่าวมิไช่ฮะดีษจากมะอ์ศูม ดู: นิตยสารอุลูมุลฮะดีษ,ฉบับที่ 26.

[3] ศ่อฮีฟะฮ์ นู้ร,เล่ม 9,หน้า 202.

[4] ซิยารัตอาชูรอ.

[5] ศ่อฮีฟะฮ์ นู้ร,เล่ม 20,หน้า 195.

[6] ตารีคฏอบะรี,เล่ม 4,หน้า 304.

[7] แปลจากบทกวีจดหมายเหตุชีอะฮ์,มุฮัมมัดริฎอ ออฆอซี(นสพ.เคย์ฮอน ฉบับ12/6/71)

[8] อัลอินติฟาฎอตุชชีอียะฮ์,ฮาชิม มะอ์รูฟ อัลฮะซะนี,หน้า 387.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะรีบจ่ายคุมุสหลังจากซื้อบ้านโดยมิได้จ่ายคุมุส?
    5173 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/16
    หากผู้ถามจะระบุให้ชัดเจนว่าต้องการทราบฟัตวาของมัรญะอ์ท่านใดก็จะช่วยให้ได้คำตอบที่แม่นยำมากขึ้นทั้งนี้เราขอตอบคำถามของท่านตามทัศนะของท่านอายะตุ้ลลอฮ์อุซมาคอเมเนอีดังต่อไปนี้ในกรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้านและยังมีภาระต้องจ่ายคุมุสอยู่จำเป็นต้องจ่ายคุมุสเสียก่อนแล้วจึงซื้อบ้านแต่หากเงินคงเหลือหลังหักคุมุสไม่เพียงพอที่จะซื้อบ้านที่เหมาะสมขอให้ท่านปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนและทำการประนีประนอมหนี้คุมุสโดยขอผัดผ่อนการชำระไปก่อนระยะหนึ่งแต่ถ้าหากท่านดำเนินการซื้อบ้านไปก่อนที่จะปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทน  ให้รีบปรึกษามัรญะอ์ตั้กลีดหรือตัวแทนตั้งแต่บัดนี้เพื่อพวกเขาจะอาศัยอำนาจหน้าที่ๆมีเพื่อกำหนดระยะเวลาชำระคุมุสให้ท่าน.[1][1]ดู: ประมวลปัญหาศาสนาโดยอิมามโคมัยนี(ภาคผนวก),เล่ม 2 ,หน้า
  • ชาวสวรรค์และชาวนรกมีอายุราวๆกี่ปี?
    14823 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    ความเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามอายุขัยถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้ ทว่าในโลกหน้าโดยเฉพาะในสวรรค์ เราไม่อาจจะมโนภาพว่ามนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในลักษณะที่บางกลุ่มเป็นเด็ก บางกลุ่มอยู่ในวัยกลางคน บางกลุ่มเป็นคนชราได้ แม้สมมุติว่าเราจะเชื่อว่าโลกหน้ายังเป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ความแตกต่างในแง่อายุขัยอย่างที่เราเคยชินในโลกนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในโลกหน้าอย่างแน่นอน มีฮะดีษระบุว่าผู้ที่จะเข้าสรวงสวรรค์จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีรูปลักษณ์อันงดงาม یدخلون الجنة شبابا منورین و قال إن أهل الجنة جرد مرد مکحلون
  • การเผยแพร่ศาสนา (สอนและแนะนำต่างศาสนิก) เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคนหรือไม่?
    21696 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/02
    อิสลามเป็นศาสนาระดับโลกสำหรับสาธารณชน และเป็นศาสนาสุดท้าย ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ทุกชาติพันธุ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม วิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้อื่นรู้จักศาสนาแห่งมนุษยธรรมดังกล่าวก็คือ การเผยแพร่ข้อเท็จจริง บทบัญญัติ คำแนะนำและขนบมารยาทของอิสลามให้เป็นที่รู้จัก คัมภีร์กุรอานได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเผยแพร่ไว้ในหลายโองการด้วยกัน ดังโองการที่ว่า “จะมีใครมีวาจาที่ประเสริฐไปกว่าผู้ที่เชื้อเชิญสู่อัลลอฮ์และความประพฤติอันงดงาม โดยกล่าวว่าฉันคือหนึ่งในมวลมุสลิม”[1] อีกโองการหนึ่งระบุว่า “และจะต้องมีคณะหนึ่งจากสูเจ้าที่เชื้อเชิญสู่ความประเสริฐ กำชับสู่ความดีและห้ามปรามจากความชั่ว บุคคลเหล่านี้แหล่ะคือผู้ได้รับชัยชนะ”[2] แม้ว่าการเผยแพร่ศาสนาจะมิได้เป็นภาระหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่กุรอานได้กำชับให้มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่งจากบรรดาผู้ศรัทธาออกไปศึกษาวิชาการอิสลามเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ศาสนา โองการกล่าวว่า “มิบังควรที่เหล่าผู้ศรัทธาจะกรีฑาทัพ(สู่สมรภูมิ)ทุกคน เหตุใดจึงไม่กรีฑาทัพไปเพียงคณะหนึ่งจากแต่ละกลุ่ม (และเหลือบุคคลที่ยังอยู่ในมะดีนะฮ์)เพื่อจะได้ศึกษาศาสนา(สารธรรมและบทบัญญัติอิสลาม)อย่างลึกซึ้ง และจะได้กำชับสอนสั่งกลุ่มชนของตนเมื่อพวกเขากลับ(จากสมรภูมิ) เพื่อหวังว่าพวกเขาจะยำเกรง”[3] โองการดังกล่าวสื่อว่า จำเป็นต้องมีความพร้อมสรรพด้านวิชาการในการเผยแพร่ศาสนา โดยแต่ละคนมีหน้าที่ในการเผยแพร่ตามความรู้ที่ตนมี ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวไว้ว่า “ผู้ที่รายงานฮะดีษของเราจำนวนมาก อันจะสามารถทำให้จิตใจของชีอะฮ์ของเรามั่นคง บุคคลผู้นี้ประเสริฐกว่าผู้บำเพ็ญอิบาดะฮ์ถึงหนึ่งพันคน”[4] การช่วยเหลืออิมามมะฮ์ดีที่สำคัญที่สุดประเภทหนึ่งก็คือ การตอบปัญหาและการปกป้องความเชื่ออันบริสุทธิของชีอะฮ์ให้พ้นจากเหล่าผู้ใส่ไคล้ ผู้ที่หวงแหนศาสนาย่อมจะต้องพร้อมด้วยการศึกษาวิชาการศาสนา เพื่อที่จะสนองความต้องการทางวิชาการและการเผยแพร่ศาสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี การเผยแพร่มิได้จำกัดอยู่เพียงการกล่าวเทศนาหรือการเขียนตำรา ...
  • เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
    6502 ประวัติหลักกฎหมาย 2554/10/09
    การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(อ.) เพราะในสถานการณ์นั้นท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิดหรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่นจากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิมอันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ยส่งผลให้กองทัพโรมันเหล่าศาสดาจอมปลอมและผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซากท่านอิมามอลี(อ.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัวเพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลามศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ ...
  • มีความแตกต่างกันบ้างไหมระหว่างทัศนะของชีอะฮฺ กับทัศนะของซุนนียฺในปัญหาเกี่ยวกับท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
    8697 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    แน่นอนความเชื่อเรื่องอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) เป็นส่วนสำคัญของหลักศรัทธาอิสลามบนพื้นฐานคำบอกกล่าวของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    8176 انتظار فرج 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • ความหมายของวิลายะฮฺของฮากิมบนสิ่งต้องห้ามคืออะไร?
    7807 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำนิยามที่ชัดเจนและสั้นของกฎนี้คือ ผู้ปกครองบรรดามุสลิม มีสิทธิบังคับในบางเรื่องซึ่งบุคคลนั้นมีหน้าที่จ่ายสิทธิ์ (ในความหมายทั่วไป) แต่เขาได้ขัดขวาง ดังนั้น ผู้ปกครองมีสิทธิ์บังคับให้เขาจ่ายสิทธิที่เขารับผิดชอบอยู่ ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ใกล้ไกลนี้ มรดกทางบทบัญญัติได้ให้บทสรุปแก่มนุษย์ในการยอมรับว่า วิลายะฮฺของฮากิมที่มีต่อสิ่งถูกห้าม ในฐานะที่เป็นแก่นหลักของประเด็น (โดยหลักการเป็นที่ยอมรับ) ณ บรรดานักปราชญ์ทั้งหมด โดยไม่ขัดแย้งกัน, แม้ว่าบางท่านจะกล่าวถึงองค์ประกอบที่แตกต่างกันก็ตาม ...
  • ในทัศนะอิสลามอนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺและแสดงการตะอฺซีมหรือไม่ ?
    6207 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/09/25
    ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าการซัจญฺดะฮฺคือรูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุดสำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้นและไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่นส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกันดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใดทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺเราจึงอิบาดะฮฺ ...
  • ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
    23037 ادله نقلی 2557/10/06
    คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ คือการผนวกสองประโยคเข้าด้วยกันคือ คำปฏิญาณประโยคแรกคือ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะเจาะจงและคู่ควรยิ่งแก่การเคารพภักดี สำหรับองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ส่วนคำปฏิญาณที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และปฏิญาณว่า ท่านนะบีมุฮัมมัดคือ ศาสนทูตแห่งอิสลาม มิได้พิสูจน์การเป็นศาสนทูตคู่ควรแก่ท่านนะบี ด้วยเหตุนี้ ชะฮาดัตแรก จึงเป็นเน้นอันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์ ประโยคจึงเริ่มต้นด้วย “การปฏิเสธ” ลานะฟีญินซฺ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า “อิลาฮะ” ซึ่งถือว่าเป็นคำนามที่เป็นนักกิเราะฮฺ (มิได้ระบุเจาะจง) แน่นอน บริบทของการปฏิเสธนี้ ให้ประโยชน์ในแง่รวมทั้งหมด โดยปฏิเสธพระเจ้าที่มีทั้งหมดบนโลก และปฏิเสธการมีส่วนร่วมในความเป็นพระเจ้า ของพระเจ้าที่แท้จริง ดังนั้น การที่กล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด “นอกจาก” อิลลา นั่นเป็นจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงพิสูจน์ด้วยประโยคที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮฺ” ...
  • จริงหรือไม่ที่บางคนเชื่อว่าพระเจ้าเป็นเพียงแค่พลังงานเท่านั้น?
    5597 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/23
    อัลลอฮ์ทรงดำรงอยู่โดยไม่พึ่งพาสิ่งใดทรงปรีชาญาณทรงมีเจตน์จำนงและปราศจากข้อจำกัดและความบกพร่องทุกประการแต่พลังงานยังมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดมากมายอีกทั้งยังปราศจากความรู้และการตัดสินใจเมื่อเทียบคุณสมบัติของพลังงานกับคุณลักษณะของพระเจ้าก็จะทราบว่าพระเจ้ามิไช่พลังงานอย่างแน่นอนเนื่องจาก: พลังงานคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดกริยาและปฏิกริยาต่างๆโดยพลังงานมีลักษณะที่หลากหลายไม่ตายตัวและสามารถผันแปรได้หลายรูปแบบพลังงานมีคุณสมบัติเด่นดังนี้1. พลังงานมีสถานะตามวัตถุที่บรรจุ2. พลังงานมีแหล่งกำเนิด3. พลังงานมีข้อจำกัดบางประการ4. พลังงานเปลี่ยนรูปได้แต่อัลลอฮ์มิได้ถูกกำกับไว้โดยวัตถุใดๆ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57906 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55413 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40669 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37594 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36514 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32639 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26830 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26389 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26158 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24297 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...