การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7967
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1252 รหัสสำเนา 15610
คำถามอย่างย่อ
มัซฮับมาลิกีหรือฮะนะฟีไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ?
คำถาม
ดิฉันชอบแนวทางชีอะฮ์ แต่อยากจะถามว่าการตามมัซฮับมาลิกีหรือฮะนะฟีผิดตรงใหน?
คำตอบโดยสังเขป

คุณควรหาคำตอบให้ได้ว่าความชอบดังกล่าวเกิดจากความนิยมชมชอบทั่วไป หรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล  หากตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล นั่นหมายความว่ามัซฮับอื่นๆยังมีข้อบกพร่องอยู่
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ชัดเจนที่แนวทางชีอะฮ์มีเหนือมัซฮับอื่นๆในอิสลาม กล่าวคือชีอะฮ์ถือว่า อิมามมีภารกิจเสมือนนบีทุกประการ ยกเว้นภารกิจรับวะฮีย์ และยังเชื่อว่าอิมามเป็นแหล่งความรู้ศาสนา (ชี้แจงและพิทักษ์คำสอนอิสลามรวมทั้งอธิบายกุรอาน) และได้รับอำนาจในการควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆในโลก อีกทั้งเป็นผู้นำทางการเมืองและสังคม และมีสิทธิขาดในการตัดสินคดีความ อิมามมีความรู้มากกว่าผู้อื่น และชีอะฮ์ทุกคนถือว่าเป็นวาญิบที่จะต้องเคารพเชื่อฟังอิมามโดยดุษณี น่าเสียดายที่มัซฮับอื่นๆ อาทิเช่น มาลิกี หรือ ฮะนะฟี มิได้เชื่อเช่นนี้ เนื่องจากถือว่าการมอบความรักและไว้ใจต่ออะฮ์ลุลบัยต์ก็เพียงพอแล้ว
อย่างไรก็ดี นอกจากจะต้องมีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ ยังจะต้องเชื่อฟังคำสอนสั่งของพวกท่านด้วย นี่คือคำสอนที่ระบุไว้ในฮะดีษบทต่างๆที่ปรากฏในตำรับตำราของพี่น้องซุนหนี่เช่นกัน แน่นอนว่าการเชื่อฟังอะฮ์ลุลบัยต์จะส่งผลดีต่อพฤติกรรมของเราอย่างลึกซึ้งทั้งในแง่ปัจเจกและสังคม

คำตอบเชิงรายละเอียด

น่ายินดีที่คุณชอบแนวทางชีอะฮ์ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น การเลือกศาสนาหรือมัซฮับมิใช่เรื่องของรสนิยมความชอบ แต่เป็นหน้าที่ทางสติปัญญา ฉะนั้น จะต้องค้นหาให้ได้ว่า สิ่งใดทำให้คุณชอบแนวทางชีอะฮ์? ลำพังความรู้สึกส่วนตัว หรือเพราะมีหลักฐานและเหตุผลที่น่าเชื่อถือ? หากคุณชอบแนวทางนี้โดยพื้นฐานของเหตุและผล นั่นแสดงว่าคุณเชื่อว่าแนวทางนี้มีจุดแข็งที่แนวทางหรือมัซฮับอื่นๆไม่มี อันจะทำให้ทราบโดยอัตโนมัติว่า มัซฮับอื่นๆมีจุดด้อยตรงใหนบ้าง

จุดเด่นของชีอะฮ์ที่มัซฮับอื่นๆไม่มีก็คือ ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะผู้นำและอำนาจปกครองของอะฮ์ลุลบัยต์(วงศ์วาน)ของท่านนบี(..) เราจะขอหยิบยกทัศนคติอันโดดเด่นเกี่ยวกับเรื่องนี้มาพอสังเขปดังนี้
1. ชีอะฮ์ถือว่า อิมามสิบสองท่านซึ่งปรากฏรายนามในฮะดีษของท่านนบี(..)[1]นั้น ปราศจากความผิดพลาด ความหลงลืม หรือบาปกรรมทุกประการ
2. ชีอะฮ์ถือว่า บรรดาอิมามมะอ์ศูม(บริสุทธิจากบาป) มีภารกิจเสมือนนบี(..)ทุกประการ ยกเว้นภารกิจรับวะฮีย์
3. ชีอะฮ์ถือว่า บรรดาอิมามมะอ์ศูม(บริสุทธิจากบาป) คือศูนย์กลางความรู้ทางศาสนา(มีหน้าที่ชี้แจงและพิทักษ์ศาสนา รวมทั้งอรรถาธิบายกุรอาน)
4. ชีอะฮ์ถือว่า บรรดาอิมามมะอ์ศูม(บริสุทธิจากบาป) ได้รับมอบอำนาจควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆในโลก
5. ชีอะฮ์ถือว่า บรรดาอิมามมะอ์ศูม(บริสุทธิจากบาป) คือศูนย์กลางอำนาจการปกครอง และเป็นผู้นำสูงสุดของสังคม ตลอดจนมีอำนาจทางตุลาการ และเป็นวาญิบที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามโดยดุษณี
6. ชีอะฮ์ถือว่า บรรดาอิมามมะอ์ศูม(บริสุทธิจากบาป) มีความรู้มากกว่าผู้ใด
แต่น่าเสียดายที่มัซฮับอื่นๆ อาทิเช่น มาลิกี หรือ ฮะนะฟี มิได้เชื่อเช่นนี้ โดยที่ถือว่าเพียงมอบความรักและไว้ใจต่ออะฮ์ลุลบัยต์ก็เพียงพอแล้ว
7. คุณสมบัติจำเพาะที่สำคัญที่สุดของชีอะฮ์คือการเคารพเชื่อฟังท่านอิมามอลี(.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในทัศนะอิสลาม และได้รับการระบุไว้ในฮะดีษมากมายหลายบทที่รายงานโดยฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ว่า การยอมรับอำนาจปกครองของท่านอิมามอลี(.)คือหลักเกณฑ์สำคัญที่อัลลอฮ์จะใช้ในการตัดสินการกระทำของมนุษย์[2]

ท่านนบี(..)เคยกล่าวไว้ว่าการมองใบหน้าของอลีถือเป็นอิบาดะฮ์ การระลึกถึงอลีถือเป็นอิบาดะฮ์ และความศรัทธาจะได้รับการยอมรับก็ต่อเมื่อรักอลีและเกลียดชังศัตรูของอลีเท่านั้น[3]
นัยยะสำคัญของฮะดีษข้างต้นก็คือ แม้แต่อีหม่านยังต้องนำมาพิจารณาร่วมกับความรักต่ออิมามอลี(.)และความรังเกียจศัตรูของท่าน แน่นอนว่าอะมั้ลอิบาดะฮ์ก็ต้องได้รับการตัดสินในทิศทางเดียวกัน

อีกฮะดีษหนึ่งที่รายงานโดยผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่:
ท่านนบี(..)กล่าวว่าโอ้อลี มาตรว่าผู้ใดทำอิบาดะฮ์ยาวนานเทียบเท่าอายุขัยของนบีนู้ห์ และบริจาคทองคำมหาศาลดุจภูเขาอุฮุด และเดินเท้าไปประกอบพิธีฮัจย์หนึ่งพันหน และแม้ว่าคนผู้นี้จะถูกสังหารระหว่างเนินเขาศ่อฟาและมัรวะฮ์ที่มักกะฮ์ แต่หากเขาไม่ยอมรับวิลายะฮ์ของเธอ โอ้อลี เขาจะไม่ได้รับรางวัลใดๆแม้แต่กลิ่นอายของสรวงสวรรค์ และไม่มีวันได้เข้าสวรรค์เด็ดขาด[4]
หากต้องการไขคำตอบว่า อะไรคือวิลายะฮ์ของอิมามอลี(.) จำเป็นต้องพิจารณาสำนวนของโองการที่กล่าวถึงท่านอิมามอลี(.) ดังที่กุรอานกล่าวว่าวะลีย์(ผู้มีสิทธิ์ขาด)เหนือสูเจ้าคืออัลลอฮ์ และท่านนบี(..) และผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และบริจาคทานในขณะโค้งรุกู้อ์เท่านั้น[5]

แน่นอน คำว่าวะลีย์ในที่นี้มิได้แปลว่าผู้ช่วยเหลือหรือมิตรสหาย เพราะหากหมายถึงเพื่อนและผู้ช่วยเหลือ ก็ไม่จำเป็นต้องเจาะจงเฉพาะผู้บริจาคทางขณะโค้งรุกู้อ์เท่านั้น เนื่องจากความรักและการช่วยเหลือถือเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนอยู่แล้ว มุสลิมทุกคนต้องรักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันแม้แต่ผู้ยากไร้ที่ไม่มีสิ่งใดจะบริจาค นับประสาอะไรที่จะต้องเป็นผู้ที่บริจาคทานขณะโค้งรุกู้อ์เท่านั้น
ฉะนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าวะลีย์ในที่นี้หมายถึงสิทธิความชอบธรรมในการชี้นำและปกครองเชิงรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งจะเห็นได้จากการที่สิทธิดังกล่าวเชื่อมโยงกับสิทธิของอัลลอฮ์และท่านนบี(..)ในโองการเดียวกัน
ในตำราของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ก็มีฮะดีษมากมายระบุว่า โองการดังกล่าวประทานลงมาในกรณีของท่านอลี(.) ซึ่งฮะดีษบางบทระบุถึงเหตุการณ์การบริจาคแหวนขณะโค้งรุกู้อ์ แต่บางบทก็กล่าวสรุปเพียงว่าโองการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับท่านอลี(.)[6]

หากผู้ใดมีทัศนะคติเกี่ยวกับประเด็นผู้นำเสมือนทัศนะคติของชีอะฮ์ วิถีชีวิตของเขาก็จะเปลี่ยนแปลงอย่างน่าอัศจรรย์ เขาจะไม่พึ่งพาผู้ใดเกี่ยวกับปัญหาศาสนา และไม่ยอมรับอำนาจปกครองทางการเมืองของผู้ใด เว้นแต่อิมามผู้ปราศจากบาปเท่านั้น
แม้ว่าทุกมัซฮับ อาทิเช่น ฮะนะฟีและมาลิกี จะรักและผูกพันกับท่านอิมามอลี(.) และวงศ์วานของท่าน(บรรดาอิมามผู้ปราศจากบาป) แต่ทว่าวิลายะฮ์ตามความหมายที่สมบูรณ์และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกุรอานและวจนะท่านนบี(..)มีเฉพาะในแนวทางชีอะฮ์อิมามสิบสองเท่านั้น
แน่นอนว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่ๆจะต้องเฟ้นหาแนวทางที่สอดคล้องกับกุรอานและวจนะท่านนบี(..)มากที่สุด

 



[1] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 36,หน้า 362

[2] มะนากิ๊บ คอรัซมี,หน้า,19,252.

[3] อ้างแล้ว,หน้า19,212 และ กิฟายะตุฏฏอลิบ,กันญี ชาฟิอี,หน้า 214.
«... النظر الی وجه امیرالمؤمنین علی بن ابیطالب عبادة و ذکره عبادة ولایقبل الله ایمان عبد الا بولایته والبرائة من اعدائه

[4] ثم لم یوالیک یا علی لم یشم رائحة الجنة ولم یدخلها" มักตะลุ้ลฮุซัยน์,ค่อฏี้บ คอรัซมี,เล่ม 1,หน้า 37.

[5] อัลมาอิดะฮ์,55. إِنَّما وَلِیُّکُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِینَ آمَنُوا الَّذِینَ یُقِیمُونَ الصَّلاةَ وَ یُؤْتُونَ الزَّکاةَ وَ هُمْ راکِعُونَ

[6] ตัฟซี้ร เนมูเนะฮ์,เล่ม 4,หน้า 424,425.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    11971 بروج 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20132 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14367 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    9403 ฮิญาบ 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    5745 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    7957 توحید و شرک 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    5512 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7498 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5605 ปัจจัยที่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    58695 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56092 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41087 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37946 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37445 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27129 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26707 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26586 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24642 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...