การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6872
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1425 รหัสสำเนา 19002
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามซะมานจะอยู่ในทุกที่หรือ แม้แต่ในประเทศต่างๆ (ยะฮูดียฺ) หรือประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม?
คำถาม
การที่กล่าวว่าท่านอิมามซะมาน (อ.) จะปรากฏตัวในทุกที่ แล้วประเทศที่มิใช่มุสลิมเช่น ยะฮูดียฺ จะปรากฏตัวด้วยหรือไม่ แล้วท่านอิมามจะให้ความสนใจกับบุคคลที่ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

ถ้าหากพิจารณาด้วยสติปัญญาและตรรกะแล้ว จะพบว่าการไปถึงยังจุดสมบูรณ์สูงสุดอันเป็นที่ยอมรับ โดยปราศจากการชี้นำจากองค์พระผู้อภิบาลสิ่งนี้ไม่อาจเป็นไปได้อย่างแน่นอน อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ส่งบรรดาข้อพิสูจน์ของพระองค์มายังหมู่ประชาชนเพื่อชี้นำทางพวกเขา ด้วยวิธีการที่ดีที่สุด บรรดาอิมามและศาสนทูตได้รับอนุญาตจากอัลลฮฺเพื่อจะได้ใช้ความสามารถเพียงพอต่อการสร้างอิทธิพล และการงานที่เปี่ยมด้วยพลังอำนาจในทุกที่บนโลกนี้, เพื่อจะได้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด, ดังนั้น คำถามของท่านสามารถตอบได้ใน 4 ลักษณะด้วยก้น :

1.วัตถุประสงค์ในการสร้าง และความจำเป็นในการชี้นำของพระองค์ อัลกุรอาน กล่าวว่า :เรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใด ยกเว้นเพื่อการแสดงความเคารพภักดี[i]

2.การชี้นำทางของพระเจ้าจะครอบคลุมเหนือประชาชนทั้งหลาย อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : แน่นอน เจ้าคือผู้ตักเตือนและสำหรับทุกประชาชาติย่อมมีผู้ชี้นำ

3.ผู้นำด้านจิตวิญญาณแห่งพระเจ้า จะปรากฏในทุกประชาชาติ ดังเช่นคำกล่าวของ ท่านอิมามบากิร (.) ที่ว่า บรรดาอิมาม และบรรดาศาสดา คือสาเหตุของความปลอดภัยสำหรับชาวดินทั้งหลาย และเป็นสาเหตุของการเพิ่มพูนการลงโทษแก่ชาวดินด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้ครอบคลุมเหนือมนุษย์ทั้งหมด. มีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับการได้รับทางนำของมนุษย์ หรือการหลงทางของผู้คนโดยผ่านท่านอิมามซะมาน (.) ซึ่งในคำตอบโดยละเอียดเราจะอธิบายถึงประเด็นดังกล่าว

4.อำนาจของบรรดาอิมามที่มีเหนือประชาโลก ศักยภาพในการจัดการดูแลโลก

ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง แล้วทรงมีบัญชาว่าให้สิ่งเหล่านั้นเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้ชี้นำแห่งพระเจ้า ซึ่งตำราบางเล่มของฝ่ายชีอะฮฺ (มุนตะค็อบบุลอะซัร) ได้กล่าวถึงปาฏิหาริย์จำนวนหนึ่งของท่านอิมามซะมาน (.) ซึ่งแสดงให้เห็นถึง อำนาจเหนือธรรมชาติของท่านอิมาม (.)

สรุปสิ่งที่กล่าวมาจะเห็นว่าโลกและจักรวาลนั้นยิ่งใหญ่ แต่ฐานันดรของท่านอิมามซะมานสูงส่งและยิ่งใหญ่กว่านั้น ซึ่งท่านอิมามได้ปรากฏกายให้มุสลิมบางกลุ่มเฉพาะได้เห็น ท่านอิมามซะมาน (.) คือข้อพิสูจน์ของอัลลฮฺบนหน้าแผ่นดิน ท่านจะอยู่ในทุกที่ และจะชี้นำมนุษย์ทุกคนที่ปรารถนาการชี้นำทาง และทุกที่ๆ มีความเหมาะสมท่านจะปรากฏที่นั่น



[i] อัลกุรอาน บทอัซซารียาต, 54 : "و ما خلقت الجن و الانس الا لیعبدون"

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ตามเหตุผลที่กล่าวอ้างแล้วถึงความเอาใจใส่ ความรักและความเมตตาของท่านอิมามซะมาน (.) เช่นเดียวกันการปรากฏกายของท่านในการสร้างสายสัมพันธ์กับบุคคลที่มีสิทธิ์ในคำสั่งนี้ หรือการชี้นำไปตามความเหมาะสม (แม้ว่าพวกเขาจะเป็นยะฮูดียฺ หรือกลุ่มชนที่คล้ายคลึงกับพวกเขา หรือกลุ่มชนที่หลงลืม)

ในมุมมองของตรรกะและสติปัญญา,ความเหมาะสม (การไปถึงยังความสมบูรณ์) ซึ่งเป็นสาเหตุของการสร้างมนุษย์, จะสัมฤทธิผลได้ด้วยการเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) และการเรียนรู้คำสั่งเหล่านั้นถูกจำกัดไว้ในหนทางการชี้นำของบรรดาศาสนทูต และบรรดาอิมามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ไม่ว่าที่ใดก็ตามถ้าพบว่ามีผู้ปรารถนาในการชี้นำของอิมาม (.) หรือต้องการทัศนะอันเฉพาะของท่าน หรือมีความต้องการในการปรากฏกายของท่าน, ดังนั้น การนี้จะเกิดขึ้นไปตามความเหมาะสม, เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ไม่ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างไร้สาระ ประกอบกับองค์ประกอบด้านสติปัญญา และจิตวิทยาก็ยอมรับว่าพระองค์มิได้สร้างมนุษย์มาอย่างไร้สาระแน่นอน ฉะนั้น ถ้าหากมนุษย์ไม่ได้รับการชี้นำไปตามความเหมาะสมโดยผ่านบรรดาผู้นำแห่งพระองค์แล้วละก็ พวกเขาต้องหลงทางอย่างแน่นอน และถือว่าวัตถุประสงค์ในการสร้างของพระองค์บกพร่อง ขณะที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ผู้ซึ่งปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นล้วนอยู่ในอำนาจของพระองค์, และพระองค์ทรงสร้างเหล่าบรรดาผู้นำของพระองค์ให้มีศักยภาพและความสามารถที่เพียงพอ เพื่อจะได้สามารถช่วยเหลือผู้คนที่ระหนออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในสำนักคิดหรือศาสนาใดก็ตาม ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงช่วยเหลือเขาในการเตรียมพร้อม และทรงชี้นำทางพวกเขาไปสู่หนทางที่ถูกต้อง

อัลกุรอาน และรายงานจำนวนมากมายได้พิสูจน์สิ่งที่ผ่านไปแล้วและมีอยู่จริง ซึ่งจะขอนำเสนอเฉพาะสิ่งที่สำคัญที่สุดเท่านั้น

1.เกี่ยวกับการอธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างมนุษย์ และความจำเป็นในการชี้นำทางพวกเขา อัลกุรอานกล่าวว่า :เราได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมา เพื่อการแสดงความเคารพภักดี

2. เกี่ยวกับการอธิบายถึงการชี้นำทาง และความจำเป็นในการมีผู้นำ ซึ่งครอบคลุมเหนือประชาชาติทั้งปวง และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นประชาชาติใดประชาชาติหนึ่งเท่านั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :อันที่จริง เจ้าเป็นผู้ตักเตือนและทุกประชาชาติจำเป็นต้องมีผู้ชี้นำทาง[1]

ตามคำอธิบายของโองการข้างต้น ซึ่งอธิบายว่าการชี้นำทางมนุษย์ได้กล่าวไว้ในลักษณะของกฎโดยรวมว่า, ประชาชาติทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นยะฮูดียฺ หรือคนทำบาป ทุกคนต่างอยู่ภายใต้กฎข้อนี้โดยถ้วนหน้ากัน แน่นอนว่า แม้ว่าการชี้นำทางจะครอบคลุมทั้งวิสัยทัศน์และความรักก็ตามจงกล่าวเถิดว่า "อัลลอฮฺนั้นทรงมีหลักฐานอันทั่วถึง[2]

ตามสาระของโองการนี้ในเรื่องการชี้นำทาง, จะเห็นว่ามิได้มีการจำกัดพื้นที่แต่อย่างใด, อีกทั้งเวลาและชนชาติอันเฉพาะเจาะจงก็มิได้ถูกกล่าวถึง ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานผู้ชี้นำที่เพียงพอสำหรับทุกท้องที่และทุกประชาชาติ

3.ในการกล่าวถึงวิสัยทัศน์และความรักอันเฉพาะของเหล่าบรรดาผู้นำแห่งฟากฟ้า ที่มีต่อชาวดินทั้งหลาย (ไม่ว่าจะเป็นยะฮูดียฺ ฮินดู หรืออื่นๆ) ท่านอิมามบากิร (.) ได้ตอบคำถามของนักรายงานฮะดีซคนหนึ่ง ซึ่งถามถึงเหตุผลในความต้องการที่มีต่อบรรดาศาสดาและอิมาม, ท่านอิมาม (.) ตอบว่า :ถ้าหากปราศจากพวกเขาแล้ว แผ่นดินไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้ และการลงโทษชาวดินได้ถูกยกเลิกไปเนื่องจากความจำเริญที่มีพวกเขาอยู่เวลานั้นท่านอิมามได้อ้างถึงอัลกุรอาน โองการหนึ่งที่ว่า : "و ما کان الله لیعذبهم و أنت فیهم" และพระองค์อัลลอฮฺจะไม่ทรงลงโทษพวกเขา (คนชั่ว) ขณะที่เจ้ายังอยู่ในหมู่พวกเขา[3] หลังจากนั้นท่านอิมามได้อ้างถึงคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ) ที่กล่าวว่าหมู่ดวงดาวทั้งหลายคือสัญลักษณ์ของความปลอดภัยแห่งฟากฟ้า ส่วนอะฮฺลุลบัยตฺ ของฉันคือสัญลักษณ์ความปลอดภัยของชาวดินเนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงประทานความจำเริญ เครื่องยังชีพ ทรงให้โอกาสคนทำความผิด และทรงชะลอการลงโทษพวกเขา ก็เนื่องจากพวกเขาคือสื่อของอัลลอฮฺ บนหน้าแผ่นดินนั่นเอง[4]

4.การพิสูจน์ถึงอำนาจของบรรดาอิมามที่มีต่อโลกและจักรวาล นั่นคือทุกการจัดการสำหรับพวกเขาแล้วมีความเป็นไปได้ และในกรณีที่จำเป็น อิมาม (.) จะใช้ลักษณะที่เห็นควรปรากฏกาย  ที่นั้น, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) กล่าวว่าฉันขอสาบานด้วยพระนามของพรเจ้าที่พระองค์มิทรงสร้างสิ่งใดขึ้นมา เว้นเสียแต่เพื่อการแสดงความเคารพภักดีต่อพระองค์[5]

ท่านอมามบากิร (.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของความเมตตาอันกว้างไกลในโองการที่กล่าวว่าการเอ็นดูเมตตาของฉันนั้นกว้างขวางทั่วทุกสิ่ง[6] ท่านกล่าวว่าหมายถึงวิชาการของบรรดาอิมาม[7] ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างถูกต้องว่า การปรากฎความรู้และจิตวิญญาณของบรรดาอิมามนั้น มีในทุกที่

ทำนองเดียวกันเกี่ยวกับการอธิบายอัลกุรอาน โองการที่ว่าและอัลลอฮฺทรงมีตัวอย่างอันสูงส่ง[8] ประกอบกับรายงานที่เชื่อถือได้และถูกต้องอีก 15 รายงาน ได้แนะนำว่า บรรดาอิมามมะอฺซูม (.) ทั้งหมดคือเครื่องหมายแห่งความรู้และอำนาจของอัลลอฮฺ.[9]

ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวไว้ในที่หนึ่งว่า :เป็นไปได้อย่างไรที่บรรดาอิมาม (.) คือข้อพิสูจน์สำหรับชาวตะวันออก และตะวันตก แต่ว่าพวกเรามองไม่เห็น และพวกเขาก็ไม่มีอำนาจด้วย[10]

เกี่ยวกับอำนาจและการครอบคลุมด้วยบุคลิกภาพของท่านอิมามซะมาน (.) จากสิ่งที่กล่าวผ่านมาแล้ว จะพบว่าผู้ตักเตือนด้วยความเมตตาและการชี้นำทางของท่านอิมามซะมาน ความจำเป็นในการปรากฏกายของท่านอิมามในทุกที่นั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสติปัญญา

ผู้เขียนหนังสือ มุนตะค็อบุลอะซัร (ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺซอฟียฺ) ได้รวบรวมรายงานและร่องรอยต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่านอิมามซะมาน (.) พร้อมกับการวิเคราะห์ ซึ่งท่านได้รวมรวมปาฏิหาริย์สำคัญของท่านอิมามไว้ถึง 8 ประการด้วยกัน ซึ่งบ่งบอกให้เห็นถึงการดูแลจัดการของท่านในการมีอยู่ของสรรพสิ่ง และยังบ่งบอกให้เห็นถึงอำนาจและการควบคลุมของท่านอีกด้วย ซึ่งในตอนท้ายท่านได้กล่าวว่า : ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่บันทึกไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร และหนังสืออื่น ซึ่งรายงานทั้งหมดเหล่านั้นอยู่ในขั้นของ มุตะวาติร อย่างมิต้องสงสัย เนื่องจากสายรายงานจำนวนมากซึ่งสุดท้ายแล้วเป็นพวกที่เชื่อถือได้และถูกต้องทั้งสิ้น[11] ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นการกำกับดูแลโดยรวมของท่านอิมามซะมาน (.) ที่มีต่อทุกคนแม้แต่พวกยะฮูดียฺ และผู้ปฏิเสธศรัทธา

อย่างไรก็ตามความการุณย์และการชี้นำอันเฉพาะของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (.) จะมีแก่บุคคลที่มีความพร้อมในการได้รับคำชี้นำด้านจิตวิญญาณ และการช่วยเหลือจากท่าน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในแผ่นดินอิลามหรือไม่ก็ตาม

สรุป และสิ่งนี้ก็คล้ายคลึงกับการที่ท่านศาสดา และริชาละฮฺของท่านเป็นสากล ท่านอิมาม (.) ในฐานะตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อล ) ท่านจึงเป็นอิมามสำหรับประชาชนทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม, เพียงแต่ว่าพวกเขา (ผู้ไม่ใช่มุสลิม) ไม่ได้รับเตาฟีกในการเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านเท่านั้น, ถ้าหากท่านอิมามซะมาน (.) ได้เอาใจใส่ต่อบรรดาผู้ที่มิได้เป็นมุสลิม, สิ่งนี้มิได้เป็นหลักประกันยืนยันภารกิจด้านจริยธรรมที่ไม่ดี หรือความประพฤติที่ต่อต้านมนุษย์ หรือการฝ่าฝืนของพวกเขาแต่อย่างใด, เนื่องจากว่าพวกเขามีข้อพิสูจน์ที่ดียิ่งของพระเจ้าเยี่ยงอิมาม, แต่พวกเขายังเลือกหนทางที่ไม่ดีและได้กระทำความผิด



[1] อัลกุรอาน บทอัรเราะอ์ดุ, 13 : "انما انت منذر و لکل قوم هاد", ตัฟซัรอัลมีซาน, เล่ม 11, หน้า 335. (บทวิภาษเกี่ยวกับอิมามะฮฺและคำอธิบาย, เล่ม 1, หน้า 270, 282.

[2] อัลกุรอาน บทอันอาม, 149, "قل فلله الحجة البالغة" :

[3] อัลกุรอาน บทอันฟาล, 33

[4] มัจญฺมูอ์ ริวายะฮฺ บิฮารุลอันวาร, เล่ม 23, หน้า 19.

[5]นะมอซียฺ, อะลี, อิซบาติวิลายะฮฺ, หน้า 59, "و الله ما خلق الله شیئاً الا و قد امره بالطاعة لنا"

[6] อัลกุรอาน บทอะอฺรอฟ, 156

[7] นะมอซียฺ, อะลี, อิซบาติวิลายะฮฺ, หน้า 67,

[8] อัลกุรอาน บทนะฮฺลุ, 60.

[9] นะมอซียฺ, อะลี, อิซบาติวิลายะฮฺ, หน้า 126 – 127.

[10] อ้างแล้ว, 65.

[11] ซอฟียฺ, ฆุ้ลภัยคอนียฺ, มุนตะค็อบบุลอะซัร, หน้า 401 – 411.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จะทำอิบาดะฮ์ทั้งที่มีงานประจำล้นมือได้อย่างไร?
    7310 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/08/14
    เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนยิ่งขึ้นควรคำนึงถึงสาระสำคัญต่อไปนี้1. อิบาดะฮ์หมายถึงการจำนนต่ออัลลอฮ์และปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์[i]แม้ว่านมาซจะถือเป็นอิบาดะฮ์ขั้นสูงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าอิบาดะฮ์จะต้องเป็นนมาซหรือดุอาเสมอไปฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ล้วนกำลังทำอิบาดะฮ์อยู่ทั้งสิ้น2. การแสวงหาริซกีฮะล้าลหมายถึงการเพียรพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างสอดคล้องกับบทบัญญัติศาสนาแน่นอนว่าไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานเพียงอย่างเดียวแต่รวมถึงงานที่ใช้ทักษะความคิดเช่นงานของวิศวกรแพทย์ฯลฯด้วยซึ่งหากเป็นไปตามกฏและบทบัญญัติศาสนาก็ถือว่ากำลังแสวงหาริซกีฮะล้าลทั้งสิ้น3. หากไม่ไช่การประชดประชันถ้าเป็นอย่างที่คุณบอกว่าทำงานตั้งแต่ตีสี่ครึ่งถึงเที่ยงคืน
  • เพราะสาเหตุใด การถอนคิ้วสำหรับสาววัยรุ่นทั้งหลาย จึงไม่อนุญาต?
    9001 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    คำตอบจากสำนักมัรญิอฺตักลีดทั้งหลาย เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสาววัยรุ่น มีรายละเอียดดังนี้ มัรญิอฺตักลีดทั้งหมด : มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การทำเช่นนี้โดยตัวของมันแล้วถือว่า ไม่มีปัญหาทางชัรอียฺ (แม้ว่าจะมองไม่ออกนักก้ตาม) ซึ่งโดยปกติต้องปกปิดหน้าตนจากชายที่สามารถแต่งงานกันได้[1] ฉะนั้น การกระทำดังกล่าว โดยตัวของมันแล้วถือว่าไม่มีปัญหา แม้ว่าในกรณีนี้บรรดามัรญิอฺตักลีด จะมีความเห็นว่าการใส่ใจต่อสาธารณเป็นสิ่งดีงามก็ตาม[2] [1] ข้อมูลจาก ซีดี เพรเซะมอน
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6161 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    6637 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • ความหมายของอักษรย่อในอัลกุรอานคือ อะไร?
    13432 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    อักษรย่อ หมายถึงอักษาซึ่งได้เริ่มต้นบทอัลกุรอาน บางบท ไม่มีความหมายเป็นเอกเทศ ตัฟซีรกุรอาน มีการตีความอักษรเหล่านี้ด้วยทัศนะที่แตกต่างกัน ซึ่งทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ อักษรย่อเป็นรหัส ซึ่งเท่าเราะซูลและหมู่มิตรของอัลลอฮฺ เข้าใจในสิ่งนั้น ประโยคที่ว่า «صراط علی حق نمسکه» นักค้นคว้าบางคนกล่าวว่า ไม่มีที่มาจากแหล่งรายงานฮะดีซ ...
  • เพราะสาเหตุอันใด อับดุลลอฮฺ บิน ญะอฺฟัรจึงไม่ได้ร่วมเดินทางไปกัรบะลาพร้อมท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)?
    5921 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    ประเด็นที่ว่าอับดุลลอฮฺบินญะอฺฟัรไม่ได้เข้าร่วมขบวนการไปกับท่านอิมามฮุซัยนฺ
  • ถ้าหากมุสลิมคนหนึ่งหลังจากการค้นคว้าแล้วได้ยอมรับศาสนาคริสต์ ถือว่าตกศาสนาโดยกำเนิด และต้องประหารชีวิตหรือไม่?
    9922 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    แม้ว่าศาสนาอิสลามอันชัดแจ้งได้เชิญชวนมนุษย์ทั้งหมดไปสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ, แต่ก็มิได้หมายความว่าบังคับให้ทุกคนต้องยอมรับเช่นนั้น, เนื่องจากอีมานและความเชื่อศรัทธาต้องไม่เกิดจากการบีบบังคับ, แน่นอน แต่สิ่งนี้ก็มิได้หมายความว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ขัดแย้งต่อรากหลักของศาสนา, เนื่องจากรากหลักของอิสลามวางอยู่บน หลักความเป็นเอกภาพของพระเจ้า และปฏิเสธการตั้งภาคีเทียบเทียมโดยสิ้นเชิง, และในทัศนะของอิสลามบุคคลใดที่ยอมรับอิสลามแล้ว และเจริญเติบโตขึ้นมาในครอบครัวอิสลาม, ต่อมาเขาได้ปฏิเสธรากศรัทธาของอิสลาม และเป็นปรปักษ์ซึ่งปัญหาความเชื่อส่วนตัวได้ลามกลายเป็นปัญหาสังคม และได้เผชิญหน้ากับศาสนา หรือสร้างฟิตนะฮฺ (ความเสื่อมทราม) ให้เกิดขึ้นทางความคิดของสังคมส่วนรวม และบังเกิดความลังเลใจในการตัดสินใจระหว่างสิ่งถูกกับสิ่งผิด, เท่ากับเขากลายเป็นอาชญากรของสังคม ดังนั้น จำเป็นต้องแบกรับบทลงโทษที่ได้ก่อขึ้น บทลงโทษของบุคคลที่ออกนอกศาสนาโดยกำเนิด ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่าเขาเป็นอาชญากร กระทำความผิดให้เกิดแก่สังคม มิใช่เพราะความผิดส่วนตัว ด้วยเหตุนี้เอง การลงโทษบุคคลที่ตกศาสนา จะไม่ครอบคลุมถึงบุคคลที่ออกนอกศาสนาไปแล้ว, แต่ไม่ได้เปิดเผยให้เกิดความเสียหายแก่คนอื่น อีกนัยหนึ่ง, สมมุติว่าบุคคลหนึ่งได้พยายามทุ่มเทค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเองว่า ฉะนั้น การตกศาสนาของเขาย่อมได้รับการอภัย ณ อัลลอฮฺ, แน่นอนว่า บุคคลเช่นนี้ในแง่ของบทบัญญัติส่วนตัวเขามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใด, แต่ถ้าเขาเพิกเฉยต่อการค้นคว้าหาความจริงละก็ ในแง่ของบทบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องส่วนตัวถือว่า เขาได้กระทำผิด, ส่วนการตกศาสนานั้นไม่ถือว่าเป็นความผิดส่วนตัว เนื่องจากการออกนอกศาสนานั้น เท่ากับได้ทำลายจิตวิญญาณศาสนาของสังคมไปจนหมดสิ้นแล้ว นอกจากนั้นยังได้ทำลายและเป็นการคุกคามความสำรวมของประชาชน ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6537 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • ถ้าหากบนผิวหนังมีจุด่างดำ หรือสีน้ำตาล สามารถผ่าตัด หรือยิงเลเซอร์ได้ไหม ถ้าสามียินยอม?
    7520 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ทัศนะของมัรญิอฺตักลีดบางท่านเกี่ยวกับการผ่าตัดจุดด่างดำปานบนผิวหนังด้วยการยิงเลเซอร์เช่นสำนักฯพณฯ
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    5920 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...