การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6576
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa14355 รหัสสำเนา 19933
คำถามอย่างย่อ
ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
คำถาม
ความสำคัญ ความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
คำตอบโดยสังเขป

กลุ่มฮะดีซจากหนังสือ บิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็น ดาอิเราะตุลมะอาริฟ ฉบับใหญ่ของชีอะฮฺ ซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่น ตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆ อีก

บางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือ บิฮารุลอันวาร คือ :

เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน มีความครอบคลุมเหนือหัวข้อต่างๆ, กล่าวถึงสาส์นต่างๆ อันเป็นเอกเทศในกลุ่มฮะดีซ, ใช้ประโยชน์ทั้งจากแหล่งที่หาง่าย และต้นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขแช้ว,อธิบายฮะดีซต่างๆ

แน่นอน ทั้งหมดเหล่านี้มิได้หมายความว่า รายงานทั้งหมดที่มีอยู่ในตำราเล่มนี้,จะได้รับการยอมรับทั้งหมด หรือมิต้องมีการตรวจสอบสายรายงานและเนื้อหาสาระอีกต่อไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนังสือบิฮารุลอันวาร อัลญามิอะฮฺ ลิดุรเราะริ อัคบาร อัลอะอิมตุลอัฏฮาร, หมายถึงทะเลแห่งรัศมี,ที่ได้เลือกสรรฮะดีซของอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์.

หนังสือฮะดีซชุดนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นหนังสือชุดที่สำคัญที่สุดจากบรรดาผลงานทั้งหลายของ อัลลามะฮฺ มุฮัมมัด บากิร มัจญิลิซซียฺ และยังถือว่าเป็นแหล่งอ้างอิงฮะดีซที่ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺอีกด้วย ซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาส่วนใหญ่ของศาสนาเอาไว้ เช่น ตัฟซีรกุรอาน,ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และอื่นๆ อีกมากมาย

) ความพิเศษต่างๆ

บางส่วนที่เป็นความพิเศษที่สำคัญที่สุดของหนังสือ บิฮารุลอันวาร คือ :

1.จัดวางอย่างมีระบบ : ตำราฮะดีซชุดนี้ถือได้ว่าเป็นแก่นอันมั่นคง ลุ่มลึก และครอบคลุมฮะดีซส่วนใหญ่ของชีอะฮฺ ซึ่งรายงานหนังสือฮะดีซต่างๆ ได้ถูกจัดไว้อย่างสมบูรณ์และเป็นระบบที่สุด

2. ทุกหมวดหมู่จะเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน : อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ ได้นำเอาโองการที่เหมาะสมกับหมวดหมู่และหัวข้อ มากล่าวเอาไว้ตอนเริ่มต้นหมวด หลังจากนั้น ถ้าโองการต้องอาศัยการอรรถาธิบาย, ท่านจะนำเอาทัศนะของนักตัฟซีรมากล่าวไว้ด้วย หลังจากนั้นจึงกล่าวเสนอรายงานฮะดีซประจำหมวด

3. ความครอบคลุมของหนังสือบิฮารุลอันวารที่มีต่อหัวข้อต่างๆ : การวิเคราะห์หัวข้อต่างๆ และรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังบิฮาร นั้นแสดงให้เห็นว่า หนังสือชุดนี้ได้ครอบคลุมปัญหาต่างๆ ของศาสนาเอาไว้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าไม่มีหัวข้อใดในอิสลาม (ในยุคสมัยของท่าน) ที่มิได้ถูกกล่าวถึงไว้ ท่านอัลลามะฮฺ ได้กล่าวถึงประเด็นเหล่านั้นพร้อมกับรวบรวมรายงานฮะดีซกำกับไว้ด้วย

4.มีการกล่าวสาส์นต่างๆ อันเป็นเอกเทศไว้ในหนังสือ บิฮารุลอันวาร : ท่านอัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ ขณะที่กล่าววิภาษต่างๆ แล้ว ในตำราชุดนี้บางครั้งถ้าได้เผชิญกับหนังสือ หรือสาส์น และเนื่องจากท่านอัลลามะฮฺ ให้ความสำคัญต่อสาส์นเหล่านั้น และสาส์นก็มีความสัมพันธ์กับหัวข้อที่ หนังสือบิฮาร กำลังวิภาษถึง ท่านจะนำเอาสาส์นนั้นกล่าวไว้ในหมวดเฉพาะโดยสมบูรณ์ เช่น, สาส์นของท่านอิมามฮาดี (.) ที่ได้ตอบข้อสงสัยเรื่อง การบังคับและการปล่อยวาง, หรือริซาละตุลฮุกูกของท่านอิมามซัจญาด (.) , เตาฮีด มุฟัฎฎอล, และ ...

5.ใช้ประโยชน์จากแหล่งอ้างอิงที่พบน้อยและต้นฉบับที่ได้รับการแก้ไขแล้ว : หนึ่งในคุณค่าของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ ท่านอัลลามะฮฺมีหนังสืออยู่ในครอบครองจำนวนมากมาย ซึ่งบางเล่มสูญหายไปแล้วและมิได้ตกทอดมาถึงมือเรา, ด้วยเหตุนี้เอง, อัลลามะฮฺจึงได้รวบรวมรายงานของหนังสือเล่มนี้ด้วยศักยภาพมากมายที่อยู่ในมือท่าน, ท่านได้นำเอารายงานเหล่านั้นมาจากหนังสือที่ดีและเชื่อถือได้มากที่สุด แน่นอน ถ้าท่านไม่รวบรวมเอารายงานเหล่านั้นเอาไว้ ป่านฉะนี้เราคงไม่มีรายงานใดๆ เอาไว้อ้างอิงอีกต่อไป

6.อธิบายฮะดีซต่างๆ : ท่านอัลลามะฮฺได้อธิบายคำศัพท์ใหม่ๆ และยาก ซึ่งโอกาสน้อยที่จะพบเจอคำศัพท์เหล่านั้น พร้อมกับอธิบายตัวบทฮะดีซเอาไว้หลังจากได้บันทึกแล้ว, ท่านอัลลามะฮฺได้ใช้ประโยชน์ จากแหล่งอ้างอิงความหมายของคำศัพท์, หนังสือฟิกฮฺ, ตัพซีร, เทววิทยา, ประวัติศาสตร์, จริยศาสตร์, และอื่นๆ อีก เพื่ออธิบายรายงานเหล่านั้น ซึ่งคำอธิบายฮะดีซเหล่านั้นเองถือว่าเป็น ความพิเศษอันเฉพาะสำหรับมุอฺญิมฮะดีซชุดนี้.

7.การรายงานสายสืบและตำราอ้างอิงในทุกๆ หมวดหมู่ : อีกหนึ่งในความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ ท่านอัลลามะฮฺ จะรวบรวมฮะดีซที่เกี่ยวข้องกันในแต่ละหัวข้อเอาไว้เป็นจำนวนมาก, เพื่อเป็นประโยชน์และง่ายต่อการค้นคว้าของนักค้นคว้าทั้งหลาย อีกทั้งนักค้นคว้ายังสามารถจำแนกแยกแยะได้ทันทีว่ารายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับใด[1]

8.ที่อยู่ของแหล่งอ้างอิงต่างๆ ของรายงานฮะดีซได้ถูกกล่าวซ้ำ : อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ,จะกล่าวถึงรายฮะดีซที่ซ้ำกัน โดยจะให้ที่อยู่ของแหล่งอ้างถึงแหล่งเดียวกัน หรือจากหลายแหล่งอ้างอิงเอาไว้ นอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงสายรายงานต่างๆ หรือเนื้อหาของรายงานที่คล้ายเหมือนกันไว้ในหนังสือต่างๆ อีกด้วย

) คำวิจารณ์

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญฺลิซคือ การรวบรวมรายงานต่างๆ เอาไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการสูญหายไปจากมือ, และเพื่อให้วิธีการนี้เป็นสื่อสำหรับการสืบทอดมรดกทางฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺ ไปสู่อนุชนรุ่นต่อๆ ไป, และเป็นธรรมชาติที่ว่าภารกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ ย่อมมีข้อบกพร่องหรือจุดที่อ่อนแออยู่ด้วย และแน่นอน ผลงานชิ้นนี้นอกจากจะเป็นผลงานของมนุษย์แล้ว ก็ยังเหมือนกับการงานอื่นๆ ของมนุษย์ที่ว่ายังมีข้อผิดพลาดอยู่, ซึ่งบรรดานักปราชญ์และผู้อาวุโสทางศาสนาของเราทุกคนก็ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ผลงานของท่านไม่มีข้อบกพร่องหรือไม่มีความผิดพลาดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม, นักปราชญ์บางคนก็ถือว่าการมีรายงานที่อ่อนแอและเชื่อถือไม่ได้, ความไม่เพียงพอ หรือความผิดพลาดบางประการในการอธิบายความหมายของอัลลามะฮฺ คือจุดอ่อนและเป็นข้อบกพร่องของหนังสือชุดนี้ พวกเขาเชื่อว่าคำอธิบายต่างๆ ที่อัลลามะฮฺได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความฮะดีซ ได้ถูกเขียนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการกระทำเช่นนี้เองกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ลดคุณค่าของหนังสือชุดนี้ และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความผิดพลาดขึ้น[2]

การกล่าวรายงานซ้ำในหนังสือชุดนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอของหนังสือบิฮาร, แน่นอน ด้วยการพิจารณาเนื้อความและประโยคของอัลลามะฮฺ สามารถเข้าใจได้ทันที่ว่า ท่านมีเจตนาในการกล่าวซ้ำ แต่มีปัจจัยต่างๆ อีก เนื่องจากความขัดแย้งที่มีอยู่ในสายรายงานและเนื้อความของฮะดีซ หรือความสัมพันธ์ของฮะดีซบทหนึ่งกับหนึ่งหรือสองหัวข้อที่แตกต่างกัน เหล่านี้ก็กลายเป็นสาเหตุของการกล่าวซ้ำด้วยเช่นกัน

กล่าวกันว่าบางครั้งก็มีความจำเป็นต้องกล่าวซ้ำ เพื่อเป็นระเบียบในการจัดหัวข้อของฮะดีซ ดังเช่นที่กล่าวไปแล้วว่า อัลลามะฮฺมัจญฺลิซ ได้จัดรวบรวมฮะดีซไว้อย่างมีระบบ ท่านได้จัดแบ่งหมวดหมู่ฮะดีซของเป็นหัวข้อต่างๆ จากจุดนี้เองจึงทำให้บางรายงานมีการบันทึกซ้ำเอาไว้ ดังนั้น ผู้เขียนต้องการหลีกเลี่ยงการกล่าวซ้ำ บางครั้งก็ตัดรายงานออกไป และจะกล่าวไว้ในหมวดที่เกี่ยวข้องและมีความเหมาะสมกัน หรือบางครั้งก็บันทึกรายงานไว้เต็มรูปแบบสำหรับทุกหัวข้อที่กล่าวซ้ำ สิ่งนี้ทำให้หนังสือชุดนี้มีความหนามากมายหลายเล่ม สร้างความยากลำบากแก่ผู้ค้นคว้าทั้งหลาย

ท่านอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ ทราบเป็นอย่างดีว่าถ้าหากตัดทอนรายงานฮะดีซบางบท จะทำให้สัญลักษณ์สูญหายไป ดังนั้น เมื่อมีการตัดทอนฮะดีซสัญลักษณ์ต่างๆ ย่อมสูญหายไปแน่นอน ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอัลลามะฮฺบางครั้งได้รวบรวมฮะดีซไว้ในที่เดียวกัน หรือบางครั้งในหมวดอื่นได้อ้างเฉพาะบางส่วนของรายงานที่เหมาะสมกับหัวข้อเท่านั้น ซึ่งการกล่าวเฉพาะจุดนั้น ทำให้ฮะดีซในหมวดหมู่นั้นถูกกล่าวถึงทั้งหมด ซึ่งเท่ากับเป็นการขจัดปัญหาเรื่องการสูญหายของสัญลักษณ์



[1] ซีดี ญามิอุลอะฮาดีซ, ผลิตโดยศูนย์คอมพิวเตอร์วิชาการอิสลาม (นูร) , วิทยาลัยความรู้เกี่ยวกับฮะดีซ, ดานิชฮะดีซ, หน้า 250-251, พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ญะมาล, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี 1389.

[2] อะมีน,ซัยยิด มุฮฺซิน, อิอฺยานุลชีอะฮฺ, เล่ม 9, หน้า 183,ดารุตตะอารุฟ ลิลมัฏบูอาต, เบรูต, หน้า 1406.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • จุดประสงค์ของคำว่า “บุรูจญ์” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    11971 بروج 2555/05/20
    โดยปกติความหมายของโองการที่มีคำว่า “บุรุจญ์” นั้นหมายถึงอัลลอฮฺ ตรัสว่า : เราได้ประดับประดาท้องฟ้า – หมายถึงด้านบนเหนือขึ้นไปจากพื้นดิน – อาคารและคฤหาสน์อันเป็นสถานพำนักของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์, เราได้ประดับให้สวยงามแก่ผู้พบเห็น และเครื่องประดับเหล่านั้นได้แก่หมู่ดวงดาวทั้งหลาย คำๆ นี้ตามความหมายเดิมหมายถึง ปราสาทและหอคอยที่แข็งแรงมั่นคง, ซึ่งอัลกุรอานก็ถูกใช้ในความหมายดังกล่าวด้วย หรือหมายถึง เครื่องประดับที่ทุกวันนี้ทั่วโลกได้นำไปประดับประดาสร้างความสวยงาม ตระการตา. ...
  • อิสลามมีทัศนะเกี่ยวกับการอ่านเร็วบางไหม? โปรดให้ความเห็นด้วยว่า อิสลามเห็นด้วยกับการอ่านเร็วไหมในประเด็นใด?
    20132 2555/05/17
    การอ่านเร็ว หรือการอ่านช้าขึ้นอยู่กับบุคคลที่ค้นคว้า ส่วนคำสอนศาสนานั้นมิได้ระบุถึงประเด็นเหล่านี้ แต่สิ่งที่กล่าวถึงเกี่ยวกับการอัลกุรอานคือ จงอ่านด้วยท่องทำนองอย่างชัดเจน ดังที่กล่าวว่า : "وَ رتّلِ القُرآنَ تَرتیلاً" และจงอ่านอัล-กุรอานเป็นจังหวะอย่างตั้งใจ[1] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอธิบายว่า จงอย่ารีบเร่งอ่านอัลกุรอานเหมือนกับบทกลอน และจงอย่าทิ้งช่วงกระจัดกระจายเหมือนก้อนกรวด[2] เช่นเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะอ่านอัลกุรอานจบทุกๆ สามวัน ท่านกล่าวว่า ถ้าหากฉันต้องการอ่านให้จบน้อยกว่า 3 วัน ก็สามารถทำได้ แต่เมื่ออ่านโองการเหล่านั้น ฉันจะคิดและใคร่ครวญเกี่ยวกับโองการเหล่านั้นว่า โองการเหล่านั้นกล่าวถึงเรื่องอะไร และถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ในเวลาใด, ด้วยเหตุนี้ ฉันจะอ่านอัลกุรอานจบหนึ่งรอบในทุก 3 ...
  • การลอกข้อสอบผู้อื่นโดยที่บุคคลดังกล่าวยินยอม จะมีฮุกุมเช่นไร?
    14367 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ว่ากันว่าบรรดาฟะกีฮ์มีทัศนะเป็นเอกฉันท์ว่าการลอกข้อสอบถือเป็นฮะรอมดังที่หนังสือ “ประมวลคำถามของนักศึกษา” ได้ตั้งคำถามว่าการลอกข้อสอบมีฮุกุมอย่างไร? คำตอบคือทุกมัรญะอ์ให้ความคิดเห็นว่าไม่อนุญาต[1]หนังสือดังกล่าวได้ให้คำตอบต่อข้อคำถามที่ว่ากรณีที่ยินยอมให้ผู้อื่นลอกข้อสอบจะมีฮุก่มเช่นไร? มัรญะอ์ทุกท่านตอบว่า “การยินยอมไม่มีผลต่อฮุกุมแต่อย่างใด”[2] หมายความว่าฮุกุมของการลอกข้อสอบซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมนั้นไม่เปลี่ยนเป็นฮะลาลด้วยกับการยินยอมของผู้ถูกลอกแต่อย่างใดเกี่ยวกับประเด็นนี้มีอีกหนึ่งคำถามที่ถามจากมัรญะอ์บางท่านดังต่อไปนี้คำถาม "หากนักเรียนหรือนักศึกษาสอบผ่านด้วยการลอกข้อสอบและได้เลื่อนระดับขั้นที่สูงขึ้นอันทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆกรณีเช่นนี้อนุญาตให้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่?”ท่านอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี “การลอกข้อสอบถือว่าเป็นฮะรอมแต่กรณีที่บุคคลผู้นั้นมีความชำนาญและความเชี่ยวชาญในหน้าที่การงานที่เขาได้รับการว่าจ้างโดยที่เขาทำตามกฎระเบียบของการว่าจ้างอย่างเคร่งครัดการว่าจ้างและการรับค่าจ้างถือว่าถูกต้อง”ท่านอายาตุลลอฮ์ฟาฏิลลังกะรอนี “ไม่อนุญาตและไม่มีสิทธิรับสิทธิประโยชน์ใดๆที่ได้มาโดยการนี้”ท่านอายาตุลลอฮ์บะฮ์ญัต “จะต้องเรียนชดเชยวิชานั้น”ท่านอายาตุลลอฮ์ตับรีซี “การลอกข้อสอบคือการโกหกภาคปฏิบัตินั่นเองและถือว่าไม่อนุญาตส่วนผู้ที่กระทำเช่นนี้แล้วได้บรรจุเข้าทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะพิเศษก็ถือว่าสามารถทำได้แต่หากเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะที่ตนไม่มีก็ไม่อนุญาตให้รับผิดชอบงานนั้นท่านอายาตุลลอฮ์ศอฟีโฆลพอยฆอนี “การคดโกงไม่ว่าในกรณีใดถือว่าไม่อนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี “ในกรณีที่มีการลอกข้อสอบในหนึ่งหรือสองวิชาแม้ว่าถือเป็นการกระทำที่ผิดแต่การรับวุฒิบัตรและการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่านั้นหรือรับงานด้วยกับวุฒิบัตรดังกล่าวถือว่าอนุญาต”ท่านอายาตุลลอฮ์ซิซตานี “เขาสามารถใช้ได้แม้นว่าการกระทำของเขา (การลอกข้อสอบ) ถือว่าไม่อนุญาต”
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    9403 ฮิญาบ 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...
  • มีรายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูบ้างไหม?
    5745 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    มีรายงานจำนวนมากมายปรากฏในตำราฮะดีซของฝ่ายชีอะฮฺที่กล่าวเกี่ยวกับผลบุญของการสาปแช่งบรรดาศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวแก่ชะบีบบิน
  • การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ จะเข้ากันกับเตาฮีดหรือไม่
    7957 توحید و شرک 2555/08/22
    ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ ด้วยความเชื่อที่ว่าบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ ท่านเหล่านั้นคือผู้ทำให้คำวิงวอนขอของท่านสมประสงค์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺอีก แน่นอน สิ่งนี้เป็นชิริกฮะรอม และเท่ากับเป็นการกระทำที่ต่อต้านเตาฮีด ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด แต่ถ้ามีความเชื่อว่า บรรดาท่านเหล่านี้จะทำให้คำวิงวอนของท่านถูกตอบรับ โดยอนุมัติของอัลลอฮฺ และโดยอำนาจที่พระองค์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะไม่เป็นชิริกแล้ว ทว่ายังเป็นหนึ่งในความหมายของเตาฮีด ซึ่งไม่มีอุปสรรคอันใดทั้งสิ้น ...
  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    5512 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7498 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5605 ปัจจัยที่ทำให้นมาซเป็นโมฆะ 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    58695 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56092 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41087 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37946 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37445 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27129 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26707 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26586 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24642 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...