การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7986
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/01/24
คำถามอย่างย่อ
เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
คำถาม
อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะถึงพิธีแต่งงานของญาติสนิทของดิฉัน ประกอบวัฒนธรรมทุกวันนี้เจ้าสาวจะได้เสริมสวยตั้งแต่เช้า จนถึงเวลาค่ำแล้วต้องรักษาใบหน้าที่เสริมสวยแล้วไว้เช่นนั้น และเป็นธรรมดาที่ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว คงจะไม่มีผู้ใดรักษาวุฎูอฺของตนไว้ได้ยาวนานเช่นนั้น? ฉะนั้น เธอสามารทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่? หรือเธอสามารถปล่อยเวลานะมาซให้ล่าช้าออกไปจนเกือบจะหมดเวลา โดยที่ไม่มีเวลาพอที่จะวุฏูอฺอีกต่อไป เธอจึงต้องทำตะยัมมุม? ฉะนั้น ฯพณฯท่านมีข้อเสนอหรือวิธีปฏิบัติอย่างไรบ้าง?
คำตอบโดยสังเขป
ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1]
กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว
อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่
 

[1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, หน้า 92 สำนักพิมพ์ มัดเราะซะฮฺอิมามอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) กุม พิมพ์ครั้งที่ 11, ปี ฮ.ศ. 1428

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด เป็นจำนวนเท่าไหร่? ทุกวันนี้ค่าเงินดีนารและดิรฮัม, เทียบเท่ากี่ดอลลาร์?
    6959 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ค่าเงินดิรฮัมและดีนาร เป็นค่าเงินสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และอิมามมะอฺซูม (อ.) ซึ่งปัจจุบันภารกิจด้านชัรอียฺและกฎหมายก็ยังใช้อยู่ และปัจจุบันบางภารกิจยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่ ดีนาร, คือเหรียญซึ่งทำจากทองคำ ส่วนดิรฮัมทำด้วยเงิน, ดังนั้น ถ้ารู้น้ำหนักทองหรือเงินที่ใช้ทำเหรียญ ดินาร และดิรฮัม ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงราคาปัจจุบันของเหรียญทั้งสองทันที, ปกติดินารชัรอียฺ ประมาณ 4/42 กรัม แต่ทัศนะของบางคนกล่าวว่า 4/46 กรัม[1] ดังนั้น ถ้าคิดเทียบอัตราค่าทองและเงินในปัจจุบัน ก็สามารถกำหนดราคาทองคำและเงิน โดยคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับภารกิจบางอย่าง ซึ่งอยู่ในฐานะของ สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด จำเป็นต้องจ่ายออกไปเป็นดิรฮัมและดินาร ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกรณีดังนี้ : 1.ถ้าหากผู้ตายเป็นชาย เป็นมุสลิม ...
  • นมาซหมายถึงอะไร? เพราะเหตุใดเยาวชนจึงหลีกเลี่ยงการนมาซ
    13645 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    นมาซ,คือขั้นสุดท้ายของการพัฒนาจิตวิญญาณของผู้ขัดเกลาทั้งหลาย ซึ่งเขาจะได้สัมผัสและสนทนากับพระเจ้าของตนโดยปราศจากสื่อกลางในการพูดอัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า : จงนมาซเถิด เพื่อจะได้ฟื้นฟูการรำลึกถึงฉัน และฉันจะรำลึกถึงพวกท่านโดยผ่านนมาซ ถ้าหากการรำลึกถึงอัลลอฮฺจะปรากฏออกมาโดยผ่านนมาซแล้วละก็, จะทำให้หัวใจของมนุษย์มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการรำลึกถึงพระเจ้าจะทำให้จิตใจมีความเชื่อมั่น, ผู้นมาซทุกท่านเท่ากับได้ทำลายสัญชาติญาณแห่งความเป็นเดรัจฉานของตน และฟื้นฟูธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเองให้มีชีวิตชีวา,คุณลักษณะพิเศษของนมาซ, คือการฟื้นฟูธรรมชาติแห่งตัวตน,ผู้นมาซทุกคนที่ได้รับความมั่นใจ และความสงบอันเกิดจากนมาซ จะไม่แสดงความอ่อนไหวต่อสภาพชีวิตการเป็นอยู่ จะไม่แสดงความอ่อนแอแม้จะอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และมีความลำบากยิ่ง ถ้าหากมีความดีงามมาถึงยังพวกเขา, พวกเขาจะไม่กีดกันและจะไม่หวงห้ามสำหรับคนอื่นนมาซคือ เกาซัร (สระน้ำ) ...
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6171 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    4512 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    5715 رفتار با پیروان 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • การรวบรวมอัลกุรอาน กระทำอย่างไร?
    10210 شیعه و قرآن 2557/05/20
    ตามประวัติศาสตร์การประทานอัลกุรอานลงมา จะเห็นว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือ ผู้ระบุสถานที่ของโองการว่าสมควรอยู่ ณ ที่ใด มิใช่ความพอใจของเซาะฮาบะฮฺว่า จะให้โองการนั้น โองการนี้อยู่ที่ใดก็ได้ตามความพอใจ หมายถึงทุกโองการที่ประทานลงมานั้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นผู้กำกับและออกตำสั่งว่าโองการนั้น หรือโองการนี้ควรจะอยู่ที่ใด ฉะนั้น อัลกุรอานที่มีอยู่ในมือพวกเราทุกวันี้ ก็คืออัลกุรอานที่ถูกรวบรวมในสมัยของท่านอุษมาน ซึ่งท่านได้ใช้วิธีรวบรวมโดยมีนักอ่าน และนักท่องจำจำนวนหนึ่งให้ความร่วมมือ อีกด้านหนึ่งอัลกุรอานฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ฉะนั้น อัลกุรอาน ฉบับที่มีอยู่นี้มิอาจกล่าวได้ว่า ถูกรวบรวมโดยความเห็นชอบของท่านอุษมานแต่เพียงฝ่ายเดียว เพื่อว่าท่านจะได้สับเปลี่ยนโองการตามใจชอบ ...
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6243 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • ควรจะตอบคำถามเด็กๆ อย่างไร เมื่อถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ?
    6510 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    ไม่สมควรหลีกเลี่ยงคำถามต่างๆ ที่เด็กๆ ได้ถามเกี่ยวกับอัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นต้องตอบคำถามเหล่านั้นด้วยความถูกต้อง เข้าใจง่าย และมั่นคง,โดยอาศัยข้อพิสูจน์เรื่องความเป็นระบบระเบียบของโลก พร้อมคำอธิบายง่ายๆ ขณะเดียวกันด้วยคำอธิบายที่ง่ายนั้นต้องกล่าวถึงความโปรดปรานของพระเจ้าชนิดคำนวณนับมิได้ ซึ่งอยู่ร่ายรอบตัวเอรา นอกจากนั้นยังสามารถพิสูจน์คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น ความปรีชาญาณ, พลานุภาพ, และความเมตตาแก่เด็กๆ ...
  • จัดเลี้ยงวันเกิดเป็นฮะรอมหรือไม่?
    21175 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    การฉลองวันเกิดมิได้เป็นประเพณี (ซุนนะฮฺ) อิสลาม และคำสอนของศาสนาอิสลามก็ไม่ได้แนะนำไว้ว่า มนุษย์ต้องจัดฉลองวันเกิดของเขา แต่เราไม่ต้องการที่จะประณามการกระทำนี้ว่าเป็นประเพณีใหม่ แต่ก็ไม่อาจยอมรับการนำเข้าประเพณีอื่น ๆ อย่างสุ่มสี่สุ่มห้าได้ เนื่องจากเราเชื่อว่า ประเพณีต่างๆ จะต้องมีที่มาอันเป็นรากลึกในการรับรู้ของประชาชน แต่หลังจากการพิจารณาแล้วประเพณีเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสมบูรณ์และการพัฒนาได้ ซึ่งสามารถให้นิยามสำหรับประเพณีใหม่นี้ ซึ่งเป็นวันเกิดของคนๆ หนึ่งให้มีความเหมาะสมกับเขา โดยตั้งชื่อว่า เป็นวันขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงดูและขาให้มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่วันเกิด จนถึงบัดนั้น เช่นเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสหนึ่งสำหรับการคิดใคร่ครวญในอายุขัยของเขาว่า เขาได้ใช้ไปในหนทางใด และส่วนอายุขัยที่เหลือเขาจะใช้มันไปอย่างไร หรือมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการ ขั้นตอน และแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างไร และจงรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอ วิงวอนต่อพระองค์ว่า โอ้ อัลลอฮฺ โปรดทำให้ก้าวเดินต่อไปของเรามีแต่ความดีงาม ดีกว่าอดีตที่ผ่านมา โปรดทำให้วันสุดท้ายของเราเป็นวันที่ดีที่สุด และโปรดทำให้วันต่างๆ ของเราเป็นวันพบกับพระองค์ ด้วยเหตุนี้, การจัดงานวันเกิดสำหรับตนเองหรือบุตรหลาน, ถ้างานนั้นเต็มไปด้วยความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุหร่าย หรือไม่ขัดต่อชัรอียฺ, เช่น ไม่มีการขับกล่อมบรรเลงเพลงที่ฮะรอม เต้นรำ และ ...ร่วมอยู่ในงาน ถือว่าไม่เป็นไร ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57322 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55082 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40344 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37407 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36052 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32375 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26675 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26110 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    25938 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24122 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...