การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11434
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1334 รหัสสำเนา 16942
คำถามอย่างย่อ
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีบุคลิกภาพด้านใดบ้าง?
คำถาม
กรุณาอธิบายถึงมิติความดีงามด้านบุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ผู้เป็นสตรีที่เลอเลิศที่สุดในโลก
คำตอบโดยสังเขป

มิติบุคลิกภาพด้านต่างๆของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนในลักษณะที่จะต้องได้รับการพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเท่านั้นจึงจะสามารถประจักษ์ได้ ซึ่งการนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับมิติด้านศีลธรรมและจิตใจ ความรู้ และการต่อสู้ของนางทั้งในเชิงการเมืองและสังคม
ขอหยิบยกบุคลิกภาพอันโดดเด่นของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ที่กล่าวถึงในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์)มานำเสนอโดยสังเขปดังนี้
1. ท่านหญิงใช้ชีวิตเรียบง่ายและพอใจวิถีชีวิตสมถะ ทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด
2. บริจาคของรักของตนมากมายทั้งที่ยังจำเป็นต้องใช้
3. ทำอิบาอะฮ์และวิงวอนต่ออัลลอฮ์สม่ำเสมอด้วยความบริสุทธิใจ
4. เป็นภาพลักษณ์แห่งจริตกุลสตรีและความเหนียมอาย
5. แบบฉบับที่สมบูรณ์ด้านการสวมฮิญาบตามวิถีอิสลาม
6. มีความรู้อันกว้างขวาง ซึ่งประจักษ์ได้จากการรับทราบเนื้อหาในตำรา"มุศฮัฟ ฟาฏิมะฮ์"
7.
ต่อสู้ทางการเมืองและสังคมเพื่อปกป้องตำแหน่งวะลีของท่านอิมามอลี(.)ภายหลังจากนบีเสียชีวิต

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตำราเล่มแล้วเล่มเล่าได้กล่าวถึงบุคลิกภาพและสถานะทางจิตวิญญาณที่สูงส่งของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ(.) แต่แม้ว่าปัญญามนุษย์จะถ่ายทอดความสูงส่งของเธอในรูปของหนังสือหรือสุนทรพจน์ให้มากกว่านี้อีกสักร้อยสักพันเท่า ก็ยังเทียบได้เพียงหยดน้ำในมหาสมุทรความดีงามของเธอ[1] และถึงแม้ว่าเราไม่อาจจะตีแผ่ทั้งหมด ก็ถือว่ายังดีที่ได้นำเสนอละอองความดีงามของเธอ  ที่นี้ ดังที่นักกวีได้ประพันธ์ไว้ว่า
แม้มิอาจดื่มทะเลให้เหือดแห้ง  อย่างน้อยขอจิบให้ได้แรงก็ยังดี

เกี่ยวกับบุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ(.) ปัญญาที่เฉียบแหลมที่สุดในหมู่มนุษยชาติก็ยังงุนงงกับความสูงส่งทางบุคลิกภาพ และหากต้องการจะเข้าใจบุคลิกภาพของเธออย่างลึกซึ้ง จำเป็นต้องน้อมรับฟังฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีน(.)
มีฮะดีษที่เชื่อถือได้หลายบทระบุว่าบุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เปรียบเสมือนแก่นแท้ของลัยละตุ้ลก็อดร์ เนื่องจากลัยละตุ้ลก็อดร์เป็นฐานรองรับการประทานอัลกุรอานที่เป็นรูปเล่ม ส่วนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เป็นฐานรองรับการประทานอัลกุรอานที่พูดได้(บรรดาอิมาม) ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่พัฒนาถึงขีดสุดของความเป็นมนุษย์[2]

ฐานะภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)สูงส่งถึงขั้นที่ว่าความพึงพอใจและความกริ้วโกรธของเธอ ถือเป็นมาตรวัดความพึงพอใจและความพิโรธของท่านนบี(..)และพระองค์อัลลอฮ์ ดังที่มีฮะดีษระบุว่า "ฟาฏิมะฮ์คือส่วนหนึ่งของฉัน ผู้ใดที่ทำให้เธอสุขใจ ถือว่าทำให้ฉันมีความสุขด้วย และผู้ที่ทำให้ฉันมีความสุข ย่อมทำให้พระองค์ทรงพึงพอพระทัย..ฟาฏิมะฮ์คือมนุษย์ที่ประเสริฐสุดในสายตาของฉัน"[3] อีกฮะดีษหนึ่งท่านนบี(..)ระบุว่า "มัรยัมคือประมุขของสตรีในยุคของนาง ทว่าฟาฏิมะฮ์บุตรีของฉัน เป็นประมุขแห่งอิสตรีทั่วโลกนับแต่บรรพกาลจนถึงวันสิ้นโลก"[4] อีกฮะดีษกล่าวว่า "มีมะลาอิกะฮ์ตนหนึ่งได้แจ้งแก่ฉันว่า ฟาฏิมะฮ์(.)คือประมุขแห่งสตรีชาวสวรรค์ และเลอเลิศที่สุดในหมู่อิสตรี" [5]จะเห็นได้ว่าคุณงามความดีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์สูงส่งยิ่งกว่าท่านหญิงมัรยัมและสตรีที่ได้รับการยกย่องอย่างเช่นท่านหญิงอาสิยะฮ์ เพราะเกียรติสูงสุดของท่านหญิงอาสิยะฮ์คือการได้รับโอกาสในการช่วยทำคลอดท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[6]

ส่วนมิติด้านศีลธรรมจรรยาของท่านหญิงนั้น สังเกตุเห็นได้จากวิถีชีวิตอันเรียบง่ายและสมถะ ทั้งที่สามารถจะได้รับความสะดวกสบายขั้นสูงสุด เนื่องจากเธอมีฐานะเป็นธิดาของท่านนบี(..) ท่านนบี(..)ได้มอบที่ดินเกษตรกรรม"ฟะดัก"แก่เธอ[7] ซึ่งทำรายได้ให้กับเธอไม่น้อย เธอสามารถจะหาซื้อเครื่องอำนวยความสะดวกอย่างครบครันสำหรับครอบครัว แต่เธอเลือกบริจาคผลกำไรทั้งหมดแก่ผู้ยากไร้ โดยตนเองก็ทนใช้ชีวิตอย่างสมถะต่อไป

มิติทางบุคลิกภาพอีกประการหนึ่งของเธอก็คือ มิติแห่งการบริจาคและความเสียสละ ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวการบริจาคชุดเจ้าสาวของตนแก่หญิงชราผู้ยากไร้ในคืนวิวาห์ หรือเมื่อครั้งที่ได้บริจาคอาหารแก่ผู้ยากไร้ เด็กกำพร้า และเชลยศึก ทั้งๆที่ครอบครัวของเธอไม่มีอาหารเพื่อละศีลอดเป็นเวลาสามคืนติดต่อกัน อันได้รับการตีแผ่ไว้ในซูเราะฮ์ อัดดะฮ์ริ (อัลอินซาน)

อีกมุมหนึ่งของคุณความดีของเธอก็คือการทำอิบาดะฮ์ ในเชิงปริมาณนั้น เธอทำอิบาดะฮ์ในทุกย่างก้าว เพราะไม่ว่าพฤติกรรมหรือวจีกรรมของเธอ ความเพียรพยายามของเธอ ลมหายใจเข้าออกของเธอทั้งวันและคืน ล้วนแล้วแต่เป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น[8] หลังจากที่เธอนำลูกๆเข้านอนและทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เธอจะทำนมาซตะฮัจญุดจนเท้าทั้งสองข้างบวมเป่ง[9] อิบาดะฮ์ของเธอเปี่ยมสว่างไสวถึงขั้นที่มวลมะลาอิกะฮ์แปลกใจที่เห็นลำรัศมีส่องสว่างจากบ้านของเธอ กระทั่งมลาอิกะฮ์ระดับสูงกว่าเจ็ดหมื่นตนพร้อมใจกันกล่าวสลามและอวยพรแด่เธอ[10]

หนึ่งในความภาคภูมิใจของชีอะฮ์ก็คือเศาะฮีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์  ซึ่งญิบรออีลได้ถ่ายทอดความรู้บางประการแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[11]

ความเหนียมอายและจริตแห่งกุลสตรี นับเป็นอีกมิติหนึ่งของบุคลิกภาพอันงดงามของเธอ ซึ่งควรได้รับการเชิดชูเป็นแบบอย่างสำหรับสตรีในสังคม วันหนึ่งท่านนบี(..)ได้เอ่ยถามบรรดาสาวกว่า "วิถีชีวิตแบบใดเหมาะสมที่สุดสำหรับสตรี?" ท่านซัลมาน(ซึ่งเป็นชายชรา)ไม่สามารถตอบได้ จึงมาเยี่ยมเยียนและสอบถามจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เธอตอบว่า "เหมาะสมที่สุดสำหรับสตรีคือ ไม่จ้องมองบุรุษเพศ และไม่ปล่อยให้บุรุษเพศจ้องมอง"[12]

ท้ายนี้ขอเน้นบุคลิกภาพของท่านหญิงที่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำมาเป็นแบบอย่าง นั่นคือความกล้าหาญที่จะรักษาหลักวิลายะฮ์และอิมามัต เห็นได้จากการที่เธอสำแดงบทบาทดังกล่าวอย่างงดงามหมดจดหลังการจากไปของนบี(..)[13] เธอรู้จักผู้คนในยุคนั้นเป็นอย่างดี ทราบดีว่าคนในยุคนั้นไม่เข้าใจคำพูดของเธอ อีกทั้งไม่อาจหาญพอที่จะช่วยเหลือเธอ แต่เธอประสงค์จะให้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้ชนรุ่นหลังได้ประจักษ์และแยกแยะสัจธรรมจากอธรรม  ดังที่กล่าวว่า "ฉันรู้ดีว่าพวกท่านตกอยู่ใต้อาณัติของความต้อยต่ำ พิษแห่งการนิ่งนอนใจได้ครอบคลุมพวกท่าน และเมฆแห่งความบิดพลิ้วที่ดำทะมึนได้ปกคลุมหัวใจพวกท่าน จะพูดอย่างไรได้ในเมื่อใจของฉันกระอักเลือด และไม่อาจเงียบเฉยได้อีกต่อไป"[14]

ตลอดเวลาที่เธอต่อสู้ทางความคิดและตีแผ่ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากล ท่านหญิงไม่เคยท้อถอยยอมจำนน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มุสลิมทุกยุคสมัยได้เข้าใจว่า ไม่ควรอดรนทนดูการรุกรานทางความเชื่อโดยไม่ทำอะไร เธอมิได้นิ่งนอนใจต่ออุตริกรรมและการบิดเบือนอิสลาม เธอผงาดสู้และเปิดโปงอธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ทั้งนี้ก็เพราะหยั่งรู้มาจากการบอกเล่าของญิบรออีลว่า ในอนาคตจะมีผู้มีศักยภาพพอที่จะช่วยเชิดชูอิมามัตให้รุ่งโรจน์ เมื่อนั้นจุดประสงค์ของการสรรสร้างมนุษย์ก็จะสัมฤทธิ์ผล[15]

เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่าน
รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี
ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ จากประสูติกาลถึงชะฮาดัต, ซัยยิดมุฮัมมัดกาซิม ก็อซวีนี
วีรกรรมแห่งเกาษัร: การต่อสู้ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ เอกธิดาของท่านนบี(..), มะญี้ด ซุญาญี คอชอนี



[1] รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้า 21

[2] อ้างแล้ว,หน้า17

[3] อะมาลี,เชคฏูซี,เล่ม 1,หน้า 24

[4] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 24 ,ฮะดีษที่20

[5] อะมาลี,เล่ม 1,หน้า 457 และ ดะลาอิลุ้ลอิมามะฮ์,หน้า 8 และ ฆอยะตุ้ลมะรอม,หน้า 177 และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า2

[6] อ้างแล้ว

[7] อัลกาฟี,เล่ม 1,หน้า 538, หมวด بَابُ الْفَیْ‏ءِ وَ الْأَنْفَالِ وَ تَفْسِیرِ الْخُمُسِ وَ حُدُودِهِ وَ مَا یَجِبُ فِیهِ

[8] อิห์กอกุ้ลฮักก์,เล่ม 4,หน้า481

[9] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 42,หน้า 177

[10] อ้างแล้ว,เล่ม 43,หน้า 12,ฮะดีษที่6

[11] อ้างจากคำสั่งเสียทางการเมืองของอิมามโคมัยนี,เศาะฮีฟะฮ์นู้ร,เล่ม 21,หน้า 171, : เราภูมิใจที่ดุอาอันตรึงใจ ซึ่งขนานนามกันว่ากุรอานที่เหิรสู่เบื้องบนนั้น มาจากอิมามมะอ์ศูมีนของเรา เราภูมิใจที่เรามีมุนาญาต ชะอ์บานียะฮ์จากบรรดาอิมาม และดุอาอะเราะฟาตจากอิมามฮุเซน และเศาะฮีฟะฮ์ ซัจญาดียะฮ์,ที่เปรียบดั่งคัมภีร์ซะบู้รของวงศ์วานนบี และเศาะฮีฟะฮ์ ฟาฏิมียะฮ์ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวมการดลใจท่านหญิงฟาฏิมะฮ์โดยพระองค์.

[12] วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 14,หน้า 43,172 และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 54

[13] รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้า 145

[14] กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์,เล่ม 1,หน้า 491 และ อัลอิห์ติญ้าจ,หน้า 102 และ ดะลาอิลุลอิมามะฮ์,หน้า 37

[15] รินน้ำเกาษัรอันบริสุทธิ์, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้า 149

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
    9859 تاريخ کلام 2554/12/21
    ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีดเขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการกล่าวคือประการแรกเขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), สองเขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7401 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6984 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6525 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7186 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27843 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • ใครเป็นผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์? มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร?
    7046 รหัสยทฤษฎี 2555/02/18
    ผู้ประพันธ์ริซาละฮ์เศาะฟี้รซีโม้รก์คือ ชะฮาบุดดีน ยะฮ์ยา บิน ฮะบัช บิน อมีร็อก อบุลฟุตู้ฮ์ ซุฮ์เราะวัรดี หรือที่รู้จักกันในฉายา “เชคอิชร้อก”“เศษะฟี้ร” หมายถึงเสียงที่ลากยาว รื่นหู และปราศจากคำพูดที่เปล่งจากริมฝีปากทั้งสอง ส่วน “ซีโม้รก์” เป็นชื่อสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เปรียบเสมือนราชาแห่งฝูงวิหคในนิยาย ในเชิงวิชาอิรฟานหมายถึงผู้เฒ่าผู้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ อย่างไรก็ดี เรื่องราวของซีโม้รก์ได้รับการเล่าขานหลากเรื่องราวในตำรับตำราด้านวรรณกรรมเปอร์เซียและรหัสยนิยม(อิรฟาน)ในหนังสือเล่มนี้ เชคอิชร้อกได้แสดงถึงความสำคัญของการจาริกทางจิตวิญญาณสู่อัลลอฮ์ อีกทั้งอธิบายถึงสภาวะและอุปสรรคนานัปการในหนทางนี้ ...
  • อะไรคือเหตุผลที่ต้องชำระคุมุสตามทัศนะชีอะฮ์ ต้องนำจ่ายแก่ผู้ใด และเหตุใดพี่น้องซุนหนี่จึงไม่ปฏิบัติ?
    8618 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/28
    1. โองการที่กล่าวถึงศาสนกิจโดยเฉพาะนั้นมีไม่มากเมื่อเทียบกับกุรอานทั้งเล่มเนื่องจากกุรอานจะกล่าวถึงหัวข้อศาสนกิจอย่างกว้างๆเช่นนมาซศีลอด ...ฯลฯและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของท่านนบี(
  • อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
    6414 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมายอาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกันข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อนทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว
  • จะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) และการปรากฏกายของท่าน ด้วยอัลกุรอานได้อย่างไร?
    6524 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    เบื้องต้นจำเป็นต้องรับรู้ว่าอัลกุรอานเพียงแค่กล่าวเป็นภาพรวมเอาไว้ส่วนรายละเอียดและคำอธิบายปรากฏอยู่ในซุนนะฮฺของศาสดา (ซ็อลฯ).

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60153 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57613 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42238 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39422 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38968 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34025 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28036 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28008 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27843 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25828 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...