การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9555
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11969 รหัสสำเนา 19930
หมวดหมู่ تاريخ کلام
คำถามอย่างย่อ
เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
คำถาม
เมื่อยะซีดได้สั่งให้ทหารจุดไฟเผากะอฺบะฮฺ ถ้าได้กระทำแล้ว และเป็นเพราะเหตุใดจึงไม่ถูกลงโทษ?
คำตอบโดยสังเขป

ในช่วงระยะเวลาการปกครองอันสั้นของยะซีด เขาได้ก่ออาชญากรรมอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการ กล่าวคือประการแรก เขาได้สังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (.), สอง เขาได้ก่อกรรมชั่วอิสระ, และสามเขาได้เผ่าวิหารกะอฺบะฮฺ เมื่อเราพิจารณาการอธรรมฉ้อฉลอันเลวร้ายยิ่ง 3 ประการนี้ เราจะพบว่าบนโลกนี้ อัลลอฮฺทรงลงโทษพวกเขาเช่นกัน, แต่มิได้ลงโทษเป็นกลุ่มหรือรวมกันเป็นหมู่คณะ ซึ่งจะกล่าวอธิบายในช่วงตอบคำถามโดยละเอียด บางทีวิทยปัญญของสิ่งนั้นอาจมีอยู่ใน 2 สิ่งต่อไปนี้

หนึ่ง : ปัญหาเรื่องการลงโทษและชนิดของโทษทัณฑ์ ขึ้นอยู่กับความประสงค์และอำนาจของอัลลอฮฺ, บางครั้งอัลลอฮฺ ทรงลงโทษโดยตรง หรือทรงลงโทษผ่านกองทัพลึกลับ เช่น การลงโทษที่มีต่อกองกำลังของ อัลเราะฮะฮฺ ฮะบะชียฺ ซึ่งบุคคลใดได้ศึกษาประวัติศาสตร์ส่วนนี้ เขาจะพบได้อย่างชัดเจนว่าตัวของวิหารกะอฺบะฮฺ ได้ถูกโจมตีและตกอยู่ในอันตรายจริง นอกจากนั้นยังไม่มีบุคคลใด สามารถยืนหยัดต่อต้านกองกำลังที่เรืองอำนาจของ อับเราะฮะฮฺ ในสมัยนั้นได้ ด้วยเหตุนี้เอง เราจะพบว่าเรื่องนี้ อัลลอฮฺ ทรงปกป้องรักษาบ้านของพระองค์ด้วยพระองค์เอง และสุดท้ายทรงประทานการลงโทษลงมายังหมู่ชนที่เป็นศัตรูจนพินาศย่อยยับไป, แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของยะซีดไม่ว่าเหล่าทหารของเขาจะจุดไฟเผากะอฺบะฮฺ ซึ่งสร้างความอัปยศให้เกิดขึ้นไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นการลบลู่สถานที่ศักดิ์สิทธ์ของอิสลามและชาวมุสลิมทั้งหมด บรรดาพวกอธรรมได้ยึดครองมักกะฮฺ และสร้างกะอฺบะฮฺขึ้นใหม่อีก

สอง : ทุกเรื่องราวที่บ่งบอกถึงการช่วยเหลืออำนาจเร้นลับ ซึ่งเจ้าของการเคลื่อนไหวได้กระทำด้วย กะรอมัตของเขาวางอยู่บนความถูกต้อง และเมื่อพิจารณาว่าผู้บัญชากองกำลังปฏิวัติมักกะฮฺ ได้ลุกขึ้นต่อต้านยะซีด, ก็คืออับดุลลอฮฺ บุตรของซุเบร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า เขาได้พยายามทำทุกสิ่งเพื่อประโยชน์และความหวังของตัวเอง การสงครามและการสู้รบที่เขาทำนั้นไม่เกี่ยวข้องกับสัจธรรมความจริง หรือศาสนาแต่อย่างใดทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้วเขายังประกาศตัวเองว่า เขาคือศัตรูตัวฉกาจของท่านอิมามอะลี (.) จนถึงขั้นที่ว่าท่านอิมามอะลี (.) ได้กล่าวถึงเขาว่าซุเบรมาจากเราจนกระทั่งว่าบุตรชายเลวของเขา (อับดุลลอฮฺ) ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ การงานที่ผ่านมือบุตรของซุเบร ตามความเป็นจริงแล้วเท่ากับให้โอกาสเขา ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺ ไม่ประสงค์จะลงโทษ จนกระทั่งการงานได้เป็นประโยชน์กับบุตรของซุเบร

คำตอบเชิงรายละเอียด

จากคำถามที่ได้ถามมานั้น เข้าใจได้ว่าการเผาวิหารกะอฺบะฮฺ ถูกกระทำโดยตำสั่งของ ยะซีดนั้นยังมีข้อคลางแคลงใจอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง อันดับแรกต้องพิจารณาสองสามประเด็นดังต่อไปนี้

1.การรู้จักยะซีดและความห่างไกลของเขาอย่างมากจากการอบรมสั่งสอนคุณค่าของอิสลาม

2.เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคการปกครองของท่าน

3.คำพูดของนักปราชญ์เกี่ยวกับยะซีด และเป็นไปได้อย่างไรที่อัลลอฮฺ ทรงให้หมู่ชนที่เรียกร้องการทวงหนี้เลือดให้ท่านอิมามฮุซัยน (.) และหมู่สหาย ลุกขึ้นยืนหยัดต่อต้านเขาและกองทัพ

ส่วนประเด็นเกี่ยวกับ ยะซีด บุตร ของมุอาวิยะฮฺ (ขออัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งเขาและครอบครัว) นักประวัติศาสตร์รวมทั้งบุคคลที่ศึกษาประวัติของเขา ต่างกล่าวเหมือนกันซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยะซีด ตามความเป็นจริงแล้วคือ คนเลวและชั่วร้ายยิ่ง เป็นผู้ดื่มสุรา สร้างความอัปยศอดสู เล่นการพนัน ทำซินา และเขาจะเป็นผู้มีบุคลิกภาพของศาสนาได้อย่างไร

คำพูดที่ 1: เกี่ยวกับยะซีดซึ่งมัสอูดดี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ มุรูญุลซะฮับ ว่า : ยะซีดคือผู้ชอบการละเล่นไร้สาระ, ชอบเล่นกับสุนัข, ลิง, เสือชีต้า, ขณะเดียวกันก็ดื่มสุรา เล่นการพนัน และ ...ในสมัยการปกครองของเขานั่นเองที่ ดนตรี ได้ถูกบรรเลงอย่างเปิดเผยทั้งในมักกะฮฺ และมะดีนะฮฺ การพนันได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง และประชาชนได้ดื่มสุราอย่างเปิดเผย...[1]

คำพูดที่ 2 :  ฏ็อบรียฺ และนักประวัติศาสตร์ท่านอื่น กล่าวว่า : มีประชาชนชาวมะดีนะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในหมู่พวกเขามี อับดุลลอฮฺ บุตรของฮันเซาะละฮฺ อันซอรียฺ อยู่ด้วย พวกเขาได้ไปหายะซีดและเวลาต่อมาพวกเขาทั้งหมดได้กลับมายังมะดีนะฮฺอีกครั้งหนึ่ง พวกเขาได้ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน และแจ้งถึงความเลวร้ายและความชั่วของยะซีดให้ประชาชนฟัง[2] สิ่งที่พวกเขาพูด เช่น : เราได้มาจากบุคคลผู้ซึ่งไร้ศาสนา ดื่มสุรา ขับร้องเพลง, พวกเราได้ถอนสัตยาบันจากเขาแล้ว, และประชาชนก็ได้ทำตามพวกเขา

คำพูดที่ 3: คำพูดของฏ็อบรียฺ และอิบุอะษีร ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือ กามิล โดยกล่าวว่า : เมื่อมุอาวะยะฮฺต้องการเอาสัตยาให้ยะซีด เขาได้เขียนจดหมายถึง ซิยาด บุตรของอุบัยฮฺ เพื่อขอคำปรึกษาจากเขา และซิยาดก็ได้ส่งสาส์นไปหา อุบัยดิลลาฮฺ บุตรของ อะอับ โดยกล่าวว่า : อมีรุลมุอฺมินีน (มุอาวิยะฮฺ) ได้ส่งจดหมายมาหาฉัน ฉันคิดว่าเขาต้องตัดสินใจอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการขอสัตยาบันให้ยะซด, แต่สิ่งที่ฉันกลัวคือ ประชาชนเกลียดเขามาก, ขณะที่ยะซีดเป็นคนที่ขี้เกลียดและไร้ความรู้สึก[3]

คำพูดที่ 4: คำพูดจจากอิบนุ กุตัยบะฮฺ ในหนึ่งสือ อิมามัตวะซิยาซัต เล่าจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ว่า ช่วงเวลาที่มุอาวิยะฮฺต้องการขอให้ท่านให้สัตยาบันกับยะซีด ฉันได้กล่าวกับเขาว่า : ไม่มีทาง ไม่มีทาง โอ้ มุอาวิยะฮฺเอ๋ย ... ประหนึ่งเขาได้พูดจากหลังม่าน หรือแอบพูด หรือพูดแทนบุคคลซึ่งเหมือนกับว่าเพิ่งจะรู้จักเขา การกระทำของยะซีดย่อมบ่งบอกถึงบุคลิกภาพและความเหมาะสมของเขาอยู่แล้ว, เกี่ยวกับยะซีดเพียงแค่พูดว่า, เขาเล่นอยู่กับสุนัข, หมกมุ่นอยู่กับนกพิราบ ตีกลองร้องเพลง และชอบเล่นไร้สาระตลอดเวลา ซึ่งพวกท่านทั้งหลายก็เห็นอยู่แล้วว่าเขาเป็นคนมีอุปนิสัยอย่างไร ดังนั้น จงหลีกเลี่ยงคำพูดเหล่านี้[4] 

คำพูดที่ 5 : คำพูดจากซุยูฏียฺ ในหนังสือตารีคคุละฟาอฺเขาได้อธิบายว่า, เขากล่าวว่า : การที่ชาวมะดีนะฮฺ ได้ปลดยะซีดก็เนื่องจากว่า เขาก่ออาชญากรรมและประพฤติชั่ว

สิ่งที่กล่าวมาเป็นคำพูดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของคนๆ หนึ่งที่ไร้ค่า และไร้ศักดิ์ศรีของยะซีด ในของสังคมและศาสนา

เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยปกครองของยะซีด (ขออัลลอฮฺทรงสาปแช่งเขา)

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในช่วงระยะเวลาอันสั้นแห่งการปกครองของยะซีด ได้มีเหตุการณ์เลวร้ายและชั่วที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในสมัยของเขา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การทำชะฮีดท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) พร้อมครอบครัว และสหายของท่าน, เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่มีบุคคลใดสงสัยในความเลวร้ายอีกต่อไป แม้แต่ประชาชนคนธรรมดาทั่วไป แล้วจะนับประสาอะไรกับชนชั้นผู้ปกครอง หรือนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ที่สอง เขาได้ก่อกรรมชั่วเสรี

และนี่เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่รับรู้กันดีโดยทั่วๆ ไปว่า มันเกิดขึ้นในช่วงการปกครองของซะซีด บุตรของมุอาวิยะฮฺ, เหตุการณ์ดังกล่าวนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่บันทึกเอาไว้ และทั้งหมดเห็นพร้องต้องกันว่า ชาวเมืองชามจำนวนไม่น้อยที่พวกเขาได้ร่วมกันสังหาร เหล่าเซาะฮาบะฮฺทั้งจากหมู่อันซอรและมุฮาญิรีนเป็นจำนวนมาก เขาได้รับอนุญาตจากยะซีดให้นำกองกำลังเข้ากวาดล้างมะดีนะฮฺเป็นเวลา 3 วัน[5]

อิบนุ อะษีร ได้บันทึกไว้ในหนังสือ กามิล ของตัวเองว่า : เหตุการณ์ก่อกรรมชั่วเสรี อันดับแรกได้เริ่มต้นจากการที่ประชาชนชาวมะดีนะฮฺ ได้ถอนสัตยาบันของพวกเขาจากยะซีด ...ยะซีดได้มอบให้ มุสลิม บิน อุกบะฮฺ มุรรียฺ ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาได้สังหารคนจำนวนมากมายจึงเรียกเขาว่า คนกินคน เขาเป็นชายค่อนข้างมีอายุสูงแล้ว และมีโรคประจำตัว ยะซีดได้มอบหมายภาระหน้าที่แก่เขาโดยให้เขามุ่งหน้าไปยังมะดีนะฮฺ ซึ่งมุสลิมได้ขอกับยะซีดว่า อนุญาตให้เขานำกองกำลังเข้ากวาดล้างมะดีนะฮฺสัก 3 วัน แล้วยึดทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทอง สัตว์ ข้าวของ และอาวุธต่างๆ เป็นของกองกำลังของเขา หลังจากสามวันไปแล้วเขาก็จะยุติการสังหารผู้คน ..ในเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ประชาชนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้..มุสลิมได้นำกองกำลังเข้ากวาดล้างมะดีนะฮฺอยู่ 3 วัน และในช่วงสามวันนั้นเขาได้สังหารประชาชนเป็นจำนวนมาก และได้ยึดข้าวของเครื่องใช้ และทรัพย์สินของประชาชน เขาได้สร้างความอัปยศอดสูและความวิบัติแก่ประชาชนและหมู่สหายอย่างใหญ่หลวงยิ่ง ... เขาได้เรียกร้องให้ประชาชนมอบสัตยาบันแก่ยะซีดในฐานะของ ทาส ซึ่งยะซีดมีสิทธิ์กระทำทุกอย่างกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นชีวิต ทรัพย์สิน หรือแม้แต่ครอบครัว และหากผู้ใดไม่ยินยอมก็จะถูกสังหารชีวิตทั้งหมด ดังนั้น จะเห็นว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยถูกสังหารชีวิต

การก่อกรรมชั่วเสรีในปี ..ที่ 63 ชวงปลายเดือนซุลฮิจญฺ ซึ่งเหลือเวลาอีก 2 วันจะสิ้นเดือนพอดี[6]

ใจความใกล้เคียงกันนี้ ฏ็อบรียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของตนด้วยเช่นกัน[7]

แต่เรามิได้มีหน้าที่สาธยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหรือการก่อกรรมชั่วเสรีของยะซีด, ทว่าเพียงพอแล้วสำหรับสองสามตัวอย่าง อันเป็นความชั่วร้ายที่ได้ยกตัวอย่างมา, นอกจากเรื่องราวที่กล่าวได้ก่อนหน้านี้แล้ว อิบนุกุตัยบะฮฺ ยังได้กล่าวอีกว่า : ในช่วงเกิดเหตุการณ์ก่อกรรมชั่วเสรีนั้นวันหนึ่งพวกเขาได้สังหารชีวิต เหล่าบรรดาสหายของท่านศาสดา (ซ็อล ) ไปถึง 80 คนด้วยกัน ซึ่งไม่เคยมีความชั่วร้ายขั้นนี้มาก่อนหน้านี้เลย นอกจากนั้นแล้วยังได้สังหารชาวกุเรชและชาวอันซอรอีก 700 คน ที่เหลือเป็นประชาชนทั่วไปทั้งจาก มะวาลี ชาวอาหรับ และบรรดาตาบิอีนอีกราว 10,000 คน[8]

และยังมีคำอธิบายที่เลวยิ่งไปกว่านี้อีก ซึ่งยะอฺกูบียฺ บันทึกไว้ว่า : ในวันก่อกรรมชั่วเสรี คือความอัปยศสิ้นดีสำหรับชาวมะดีนะฮฺ ... เมืองของท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้ถูกทำให้ฮะลาลด้วยกลุ่มคนชั่ว ชนิดที่ว่าสาวบริสุทธิ์จำนวนมากมายได้คลอดบุตรออกมา โดยไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อ[9]

เหตุการณ์ที่สาม : ทำสงครามกับมักกะฮฺมุกัรเราะมะฮฺและได้เผาวิหารกะอฺบะฮฺ

และนี่เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ซึ่ง ได้มีคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากมาย เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สุดท้ายแห่งชีวิตอันชั่วร้าย อัปยศอดสู และมากด้วยความเลวของยะซีด

บรรดานักประวัติศาสตร์ได้อธิบายว่า หลังจากอัมรฺ บิน สะอีด อัชดัก และอุบัยดิลลาฮฺ บิน ซิยาด ไม่ยอมรับคำสั่งของยะซีด บินมุอายะฮฺ ที่สั่งให้ยกกองกำลังเข้าโจมตีมักกะฮฺ ยะซีดจึงได้สั่งให้ มุสลิม บิน อุกบะฮฺ รับหน้าที่แทน และสั่งให้เขาโจมตีมักกะฮฺ[10] 

อิบนุ อะษีร ได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของท่าน โดยบันทึกไว้เช่นนี้ว่า : หลังจากมุสลิมได้สิ้นสุดการสังหารและยึดทรัพย์สินของประชาชนในมะดีนะฮฺแล้ว พวกเขาได้มุ่งหน้าสู่มักกะฮฺ เพื่อไล่ล่าบุตรของซุเบร...เมื่อเขาเคลื่อนพลมาถึงยังสถานที่หนึ่งนามว่ามัชลัลความตายได้ไล่ล่าเขาและไม่ยอมปล่อยเขาไป จนในที่สุดเขาได้เสียชีวิต  ที่นั้นเอง, หลังจากเขาสิ้นชีวิตไปแล้ว ฮะซีน บุตรของ นะมีร ได้เข้าคุ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ผู้ที่เป็นวากิฟ (คนวะกัฟ) สามารถสั่งปลดอิมามญะมาอัตได้หรือไม่?
    7906 ข้อมูลน่ารู้ 2557/01/30
    ผู้วะกัฟหลังจากวะกัฟทรัพย์สินแล้ว เขาไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป, เว้นเสียแต่ว่าผู้วะกัฟจะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทรัพย์วะกัฟด้วยตัวเอง ส่วนกรณีเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดูแลทรัพย์วะกัฟจะมีหรือไม่ มีทัศนะแตกต่างกัน บางคนกล่าวว่า ผู้ดูแลไม่มีสิทธิ์อันใดทั้งสิ้น บางกลุ่มเชื่อว่าผู้ดูแลนั้นสามารถกระทำการตามที่ถามมาได้ ถ้าใส่ใจเรื่องความเหมาะสม ...
  • กรุณานำเสนอตัวบทภาษาอรับของฮะดีษที่ระบุถึงความความสำคัญของประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ พร้อมทั้งแหล่งอ้างอิง
    5923 تاريخ کلام 2555/03/18
    มีโองการกุรอานและฮะดีษมากมายกล่าวถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์และการครุ่นคิดถึงความเป็นไปของคนรุ่นก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากแนวประสบการณ์ของบุคคลในอดีตมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต จุดประสงค์ดังกล่าวปรากฏเด่นชัดในสำนวนฮะดีษจากท่านอิมามอลี(อ.) ด้วยเหตุนี้เราจึงขอนำเสนอฮะดีษจากท่าน ณ ที่นี้ อิมามอลี(อ.)ได้กล่าวไว้ในสาส์นที่มีถึงท่านอิมามฮะซันเกี่ยวกับความสำคัญของประวัติศาสตร์ว่า “ลูกพ่อ แม้ว่าพ่อจะมิได้มีอายุขัยเท่ากับอายุขัยของบรรพชนรวมกัน แต่เมื่อพ่อได้ไคร่ครวญถึงพฤติกรรมและข่าวคราวของบรรพชน และได้ท่องไปในความเป็นมาของพวกเขาทำให้พ่อรู้สึกราวกับว่าได้อยู่ในยุคของพวกเขา หรืออาจจะกล่าวได้ว่าการศึกษาประสบการณ์ของบรรพชนทำให้พ่อเสมือนมีชีวิตอยู่ตั้งแต่มนุษย์คนแรกจนถึงคนสุดท้าย” สอง. ท่านกล่าวไว้อีกเช่นกันว่า “จงพิสูจน์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จงใช้ผลการศึกษาเรื่องราวในอดีตในการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ในโลกคล้ายคลึงกัน จงอย่าเอาเยี่ยงอย่างผู้ที่ไม่รับฟังคำแนะนำจนกระทั่งประสบความยากลำบาก เพราะมนุษย์ผู้มีปัญญาจะต้องได้รับอุทาหรณ์ด้วยการครุ่นคิด มิไช่สัตว์สี่เท้าที่จะต้องเฆี่ยนตีเสียก่อนจึงจะเชื่อฟัง” ...
  • อัลกุรอาน บทนิซาอฺ โองการที่ 29 กล่าวว่า(... إِلاَّ أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ): ทำไมจึงกล่าวว่า تَرَاضٍ مِّنكُمْ ความพอใจในหมู่สูเจ้า เพราะเหตุใดไม่กล่าวว่า تراض بینکم ความพอใจระหว่างพวกเจ้า
    8385 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลกุรอาน กล่าวว่า »โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา! จงอย่ากินทรัพย์ของสูเจ้าในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยทุจริต (ได้มาโดยวิธีต้องห้าม) นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง[1]« โองการนี้เป็นหนึ่งบทบัญญัติของอิสลามที่ว่าด้วยเรื่อง การค้าขายแลกเปลี่ยนและธุรกรรมการเงิน ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติอิสลาม จึงได้ใช้โองการข้างต้นพิสูจน์ปัญหาเรื่องการค้าขาย ประโยคที่กล่าวว่า «إلَّا أَنْ تَكُونَ تِجارَةً عَنْ تَراضٍ» “นอกจากจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่สูเจ้ากันเอง” ในโองการข้างต้น, เป็นการละเว้นเด็ดขาดจากบทบัญญัติทั่วไปก่อนหน้านี้, ด้วยคำอธิบายว่า การหยิบจ่ายใช้สอยทรัพย์สินของคนอื่นแบบไม่ถูกต้อง (บาฏิล) หรือไม่ยุติธรรมและไม่เป็นที่พอใจของเขา หรือไม่ถูกต้องตามหลักการคำสอน, ถือว่าฮะรอมและบาฏิล เว้นเสียแต่ว่าจะได้มาโดยการทำการค้าขาย (การเป็นเจ้าของด้วยเงื่อนไขการกำหนดข้อตกลง) แต่สิ่งนั้นก็ยังต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย ที่ได้ตกลงทำการค้าขายกัน, ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมการเงินทั้งหมด และการค้าขายทุกประเภทต้องเกิดจากความพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ...
  • จะให้นิยามและพิสูจน์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร?
    8149 วิทยาการกุรอาน 2554/10/22
    อิอฺญาซหมายถึงภารกิจที่เหนือความสามารถของมนุษย์บุถุชนธรรมดาอีกด้านหนึ่งเป็นการท้าทายและเป็นภารกิจที่ตรงกับคำกล่าวอ้างตนของผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้แสดงปาฏิหาริย์นั้นการกระทำที่เหนือความสามารถหมายถึงการกระทำที่แตกต่างไปจากวิสามัญทั่วไปซึ่งเกิดภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติภารกิจที่เหนือธรรมชาติหมายถึง
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    9612 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7259 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • “ฟาฏิมะฮ์”แปลว่าอะไร? และเพราะเหตุใดท่านนบีจึงตั้งชื่อนี้ให้บุตรีของท่าน?
    22714 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/12
    ไม่จำเป็นที่ชื่อของคนทั่วไปจะต้องสื่อความหมายพิเศษหรือแสดงถึงบุคลิกภาพของเจ้าของชื่อเสมอไปขอเพียงไม่สื่อความหมายถึงการตั้งภาคีหรือขัดต่อศีลธรรมอิสลามก็ถือว่าเพียงพอแต่กรณีปูชณียบุคคลที่ได้รับการขนานนามจากอัลลอฮ์เช่นท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซะฮ์รอ(ส) นามของเธอย่อมมีความหมายสอดคล้องกับคุณลักษณะเฉพาะตัวอย่างแน่นอนนาม “ฟาฏิมะฮ์”มาจากรากศัพท์ “ฟัฏมุน” ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7105 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8372 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    6844 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38420 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33448 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27233 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25204 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...