Please Wait
8758
ตามทัศนะของนักตัฟซีรที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่,กล่าวว่า บทบนีอิสราเอล (อิสรออฺ)[1] ถูกประทานลงที่มักกะฮฺ และถือว่า[2]เป็นหนึ่งในบทมักกียฺ
โดยสรุปทั่วไปแล้ว, บทเรียนอันเป็นคำสอนหลักของอัลกุรอาน บทนบีอิสราเอล วางอยู่บนประเด็นดังต่อไปนี้ :
1.เหตุผลของนบูวัต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และการขึ้นมิอ์รอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
2.ปัญหาเกี่ยวกับ มะอาด, การลงโทษ, ผลรางวัล, บัญชีการงาน และ ..
3.บางส่วนจากประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องราวของหมู่ชนบนีอิสราเอล ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่บทจนกระทั่งจบบท
4.ปัญหาเรื่องความอิสระทางความคิด ความประสงค์ และเจตนารมณ์เสรี และทุกภารกิจที่เป็นการกระทำดีและไม่ดี ซึ่งทั้งหมดย้อนกลับไปสู่มนุษย์ทั้งสิ้น
5.การตรวจสอบ บัญชีการงานของชีวิตบนโลกนี้ ซึ่งเป็นตัวอย่างสำหรับโลกอื่น
6.การรู้จักสัจธรรมในทุกระดับชั้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวครอบครัว,โดยมุ่งเน้นไปที่บิดามารดา
7. ฮะรอมในเรื่อง การฟุ่มเฟือย, ตระหนี่ถี่เหนียว, การสังหารบุตร,การผิดประเวณี, การบริโภคทรัพย์สินของเด็กกำพร้า, การขายของแพง, ความหยิ่งจองหอง, และการนองเลือด
8. การวิภาษเรื่องพระเจ้าและการรู้จักพระองค์
9.การต่อสู้กับความดื้อรั้นทีมีต่อสัจธรรมในทุกรูปแบบ ในหมู่มนุษย์จะมีม่านกั้นสำหรับผู้กระทำความผิด ถ้าจะใคร่ครวญความจริง
10.บุคลิกของมนุษย์ และความประเสริฐของเขาที่มีเหนือสรรพสิ่งถูกสร้างอื่น
11. ผลสะท้อนของอัลกุรอาน ที่มีต่อการเยียวยารักษาทุกอาการป่วยไข้ด้านจริยธรรม และสังคม
12.ปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และความไร้สามารถเมื่อเผชิญกับอัลกุรอาน
13.การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย และการเตือนสำทับสำหรับผู้ศรัทธาทั้งหลาย เกี่ยวกับหนทางที่ชัยฏอนจะมีอิทธิพลเหนือเขา
14.คำสอนด้านจริยธรรม
15.บางส่วนจากประวัติศาสตร์บรรดาศาสดา ในฐานะที่เป็นบทเรียนและอุทาหรณ์สำหรับมนุษย์ทั้งหลาย และพยานสำหรับปัญหาต่างๆ ข้างต้น[3]
สรุปได้คือ, อัลกุรอานบทนี้กล่าวอธิบายถึงประเด็นเรื่องความศรัทธา,จริยธรรมและสังคม, และยังเป็นแบบฉบับสมบูรณ์สำหรับการยกระดับ ไปสู่ความสมบูรณ์ในระดับต่างๆ[4]
[1] นามที่มีชื่อเสียงของอัลกุรอานบทนี้ »บนีอิสราเอล« ส่วนชื่ออื่น เช่น อิสรออฺ และ ซุบฮาน เป็นชื่อรอง, มะการิมชีรอซียฺ, นาซิร, ตัฟซีรเนะมูเนะฮ์, เล่ม 12, หน้า 3, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, 1374 (ค.ศ.1995)
[2] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 5
[3] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 5,และ 6
[4] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 6