การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10363
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2557/02/12
คำถามอย่างย่อ
ได้ยินว่าผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์จะพ้นจากภยันตรายต่างๆ ถามว่าผู้รับเศาะดะเกาะฮ์จะประสบกับภยันตรายเหล่านั้นแทนหรือไม่?
คำถาม
อยากทราบว่า การรับเศาะดาเกาะฮฺจากผู้ให้โดยที่เขาต้องการให้สิ่งที่ไม่ดีไม่ให้เกิดขึ้นกับเขา เช่น ผู้เดินทางต้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือการบริจาคโดยเหนียตให้หายจากโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของผู้รับก็จะได้รับสิ่งที่ไม่ดีนั้น ๆ ใช่หรือไม่ ?
คำตอบโดยสังเขป
“เศาะดะเกาะฮ์” ในแง่ภาษาอรับแล้ว ถือเป็นอาการนาม ให้ความหมายว่า “การมอบให้เพื่อจะได้รับผลบุญ” และมีรากศัพท์จากคำว่า “ศิดกุน” พหูพจน์ของเศาะดะเกาะฮ์คือ “เศาะดะกอต” [1]
นิยามของเศาะดะเกาะฮ์
เศาะดะเกาะฮ์หมายถึง สิ่งที่บุคคลมอบให้ผู้ขัดสน ผู้ยากไร้ เพื่ออัลลอฮ์ อันเป็นการพิสูจน์ความจริงใจในแนวทางของพระองค์[2]
บทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ และผลบุญที่จะได้รับ
อิสลามมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์สองประเภทด้วยกัน
1.  เศาะดะเกาะฮ์ภาคบังคับ (วาญิบ) ซึ่งก็หมายถึง “ซะกาต” นั่นเอง ดังโองการที่กล่าวว่า
خُذْ مِنْ أَمْوَالِهِمْ صَدَقَةً تُطَهِّرُهُمْ وَ تُزَکِّیهِمْ بِهَا وَ صَلِّ عَلَیْهِمْ إِنَّ صَلاَتَکَ سَکَنٌ لَهُمْ وَ اللَّهُ سَمِیعٌ عَلِیمٌ[3]
เกี่ยวกับเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ สามารถศึกษาได้จากคำถามหมายเลข 2981 และ 4597
2. เศาะดะเกาะฮ์ภาคอาสา (มุสตะฮับ/สุนัต) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อได้ยินคำว่าเศาะดะเกาะฮ์  และเป็นความหมายที่ผู้ตั้งคำถามต้องการจะสื่อถึง (รายละเอียดเกี่ยวกับผลบุญของเศาะดะเกาะฮ์ประเภทนี้ และข้อจำแนกจากการกู้ยืม สามารถอ่านได้จากคำถามหมายเลข 13033)
ก่อนที่จะตอบคำถาม เราขอเกริ่นนำเกี่ยวกับผลบุญและอานิสงส์ที่จะได้รับจากการเศาะดะเกาะฮ์โดยสังเขป
ฮะดีษกล่าวถึงประเด็นข้างต้นโดยแบ่งออกเป็นสองส่วนดังนี้ :
ส่วนแรก. อานิสงค์ในการดึงดูดความจำเริญและคุณานุประโยชน์ต่างๆมาสู่ผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ อาทิเช่น ทำให้ริซกี (ปัจจัยยังชีพ) โปรยปรายลงมา, ช่วยเพิ่มทรัพย์สินและบะเราะกัต, การได้อยู่ภายใต้กรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า, ช่วยในการเยี่ยวยารักษาผู้ป่วย และช่วยให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ
ส่วนที่สอง. อานิสงส์ในการขจัดปัดเป่าภัยต่างๆให้พ้นจากผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ เป็นต้นว่า ระงับความกริ้วของพระผู้เป็นเจ้า ขจัดลางร้ายต่างๆ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ระงับอัคคีภัย ป้องกันการจมน้ำ ป้องกันการเสียสติ ป้องกันมรณกรรมในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์
ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยสำนวนฮะดีษบทหนึ่งที่ว่า “เศาะดะเกาะฮ์จะขจัดภัยกว่าเจ็ดสิบประการ”[4]
สำนวนของฮะดีษหลายบทที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับส่วนที่สองนี้ มักจะใช้คำต่างๆที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “دفع” (ขจัดปัดเป่า) อาทิเช่นคำว่า یدفع،  تدفع،  ادفعوا  ฯลฯ ฉะนั้น หากต้องการจะตอบคำถามตามหัวข้อที่ตั้งไว้ ก็เห็นควรที่จะต้องไขความหมายของรากศัพท์ดังกล่าวให้ชัดเจนเสียก่อน
دفع (ดัฟอ์) แปลว่า “การสนับสนุนส่งเสริม”[5], “การขจัดด้วยกำลัง”[6] และ “การหักห้าม”[7] ด้วยเหตุนี้เอง ความหมายของการ “ดัฟอ์” ภยันตรายต่างๆด้วยเศาะดะเกาะฮ์ก็คือ “หากบุคคลบริจาคเศาะดะเกาะฮ์ และหากพระองค์ทรงประสงค์ให้บังเกิดผล การบริจาคดังกล่าวสามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่างๆที่จะถาโถมมาสู่ผู้บริจาค ทั้งนี้ก็เป็นเพราะพระองค์ทรงประสงค์ที่จะปกป้องผู้บริจาคให้พ้นจากภยันตราย เพื่อเป็นการตอบแทนกรรมดี (การบริจาค) ของเขา”
 ตรรกะดังกล่าวนี้สามารถพบเห็นได้ในฮะดีษที่อบู วัลลาด รายงานจากท่านอิมามศอดิก (อ.)[8]
อนึ่ง เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมการลงทัณฑ์และภยันตรายต่างๆ กอปรกับการที่พระองค์ทรงมีสถานะเหนือกว่าทุกปัจจัย ด้วยเหตุนี้ ฮะดีษหลายบทจึงใช้สำนวน “ภยันตรายที่ถาโถมลงมา” คำว่าฟากฟ้าที่ปรากฏในฮะดีษเหล่านี้ย่อมหมายถึงสถานะภาพที่สูงส่ง มิไช่ท้องฟ้าอันหมายถึงจักรวาลหรือระบบสุริยะ
โองการที่สามารถใช้พิสูจน์เนื้อหาข้างต้นได้ก็คือ “สูเจ้าแน่ใจหรือว่าจะปลอดภัยจากการสูบของธรณี หรือกรณีที่(พระองค์)ทรงส่งวาตภัยเหนือสูเจ้า”[9]
อีกโองการหนึ่งระบุว่า “สูเจ้าคิดหรือว่าจะรอดพ้นจากคำสั่งจากพระผู้ทรงสถิต ณ ฟากฟ้า ที่ลิขิตให้ธรณีสูบสูเจ้า โดยที่มันจะสั่นสะเทือนต่อไป”[10]
เมื่อพิจารณาสองโองการข้างต้นประกอบกับโองการต่างๆที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันนี้ ทำให้ทราบว่า ภยันตราย (บะลา) นั้น เกิดขึ้นทั้งจากฟากฟ้าและแผ่นดินได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งหมดล้วนอยู่ภายใต้อาณัติของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้จึงมักจะใช้สำนวนที่ว่า “การลงบะลา” (ภยันตราย)
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “ดัฟอ์” ทั้งความหมายในพจนานุกรมและความหมายที่แพร่หลาย ก็จะทำให้ได้ข้อสรุปว่า จริงๆแล้วการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์มีผลระงับภยันตรายต่างๆมิให้ถูกลิขิตลงมาตั้งแต่แรก ฉะนั้นจึงไม่เหลือภยันตรายใดๆที่จะถูกโอนถ่ายไปสู่ผู้รับเศาะดะเกาะฮ์อีกต่อไป และนี่ก็คือความหมายของการระงับภยันตรายโดยการบริจาคเศาะดะเกาะฮ์นั่นเอง
และดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า คำว่าดัฟอ์หมายถึงการที่พระองค์ทรงปกปักษ์รักษาผู้บริจาคเศาะดะเกาะฮ์ให้พ้นจากภยันตราย มิไช่การโยกย้ายถ่ายโอนภยันตรายจากผู้บริจาคไปสู่ผู้อื่น
จึงไม่มีเหตุผลที่จะเข้าใจว่าภยันตรายต่างๆจะโอนถ่ายไปสู่ผู้รับบริจาคอีกต่อไป.
 

[1] ริฏอ มะฮ์ยอร,พจนานุกรมอรับ ฟารซี,หน้า 551, คำว่า “صدق
[2] ฮะซัน มุศเฏาะฟะวี, อัตตะห์กีก ฟี กะลิมาติลกุรอานิลกะรีม, เล่ม 6,หน้า 217, เล่ม 12,หน้า 59, โบนเฆาะเฮ ทัรโญเมะฮ์ วะ นัชเร เคทอบ, เตหราน, อิหร่านศักราช 1360.
[3] “จงรับเศาะดะเกาะฮ์ (ในรูปซะกาต) จากทรัพย์สินของพวกเขา เพื่อเป็นการชำระพวกเขาให้บริสุทธิ์สะอาด และ (ขณะรับซะกาต) จงขอพรแด่พวกเขา แน่แท้ การขอพรของเจ้าจะนำมาซึ่งความสงบแก่พวกเขา และพระองค์ทรงได้ยินและทรงรอบรู้” อัตเตาบะฮ์, 103.
[4] กุลัยนี, มุฮัมมัด ยะอ์กูบ บิน อิสฮ้าก, อัลกาฟี, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย อลีอักบัร ฆอฟฟารี และมุฮัมมัด ออคูนดี, เล่ม 4 หน้า 3-10, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน, พิมพ์ครั้งที่สี่, ฮศ1407
[5] รอฆิบ อิศฟะฮานี, ฮุเซน บิน มุฮัมมัด, อัลมุฟเราะดาต ฟี เฆาะรีบิลกุรอาน, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย ศ็อฟวาน อัดนาน ดาวูดี, หน้า 316, ดารุลอิลม์ อัดดารุช ชามียะฮ์, ดามัสกัส, เบรุต, พิมพ์ครั้งแรก, ฮศ.1412
[6] อิบนิ มันซูร, มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม, ลิซานุลอรับ, เล่ม 8, หน้า 87, ดาร ศอดิร, เบรุต, ฮศ.1414
[7] เคาะลีล บิน อะห์มัด ฟะรอฮีดี, กิตาบุลอัยน์, เล่ม 2, หน้า 45, สำนักพิมพ์ฮิจรัต, กุม, พิมพ์ครั้งที่สอง, ฮศ.1410
[8] อัลกาฟี, เล่ม 4,หน้า 5
[9] فَأَمِنْتُمْ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمْ جانِبَ الْبَرِّ أَوْ یُرْسِلَ عَلَیْکُمْ حاصِباً...  ซูเราะฮ์อัลอิสรอ, 68
[10] أَ أَمِنْتُمْ مَنْ فِی السَّماءِ أَنْ یَخْسِفَ بِکُمُ الْأَرْضَ فَإِذا هِیَ تَمُورُ  ซูเราะฮ์อัลมุลก์, 16
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดพระเจ้าผู้ทรงสามารถปกปักรักษาอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ในช่วงของการเร้นกายให้ปลอดภัยได้, แต่พระองค์มิทรงสัญญาเช่นนั้น เพื่อว่าท่านจะได้ปรากฏกาย และปกป้องท่านจากทุกภยันตราย
    6004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หนึ่งในประเด็นสำคัญยิ่งที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้ย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าแก่ประชาชาติคือ คือการทำลายล้างอำนาจการกดขี่ข่มเหง และการขุดรากถอนโคนความอธรรมโดยน้ำมือของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ด้วยสาเหตุนี้เอง การดำรงอยู่ของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากชน 2 กลุ่ม, กลุ่มหนึ่งคือผู้ได้รับการอธรรมข่มเหงบนหน้าแผ่นดินหวังที่จะยื่นคำอุทรณ์และได้รับการสนับสนุน พวกเขาได้ชุมนุมกันเนื่องด้วยการดำรงอยู่ของท่านอิมาม ได้นำเสนอขบวนการและการต่อสู้ป้องกัน, กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้อธรรมข่มเหง กลั่นแกล้งระราน ผู้ชอบการนองเลือดคอยควบคุมและกดขี่ประชาชาติผู้ด้อยโอกาส และเพื่อไปถึงยังผลประโยชน์ส่วนตัว และรักษาตำแหน่งของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาจึงไม่กลัวเกรงการกระทำความชั่วร้าย และความลามกอนาจารใดๆ พวกเขาพร้อมที่จะให้ทุกประเทศเสียสละเพื่อตำแหน่งของพวกเขา คนกลุ่มนี้รู้ดีว่าการดำรงอยู่ของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) คือผู้ที่จะมากีดขวางและขัดผลประโยชน์ และเจตนาชั่วร้ายของพวกเขา อีกทั้งจะทำให้ตำแหน่งผู้นำและผู้บัญชาการของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะขจัดท่านอิมามให้สูญสิ้นไป เพื่อพวกเขาจะได้ปลอดภัยจากภยันตรายอันใหญ่หลวงยิ่งนี้, แต่ทั้งหมดเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอำนาจของอัลลอฮฺ (ซบ.) มิได้ถูกจำกัดให้คับแคบลงแต่อย่างใด เพียงแต่พระองค์ประสงค์ให้ทุกภารกิจการงานดำเนินไปตามธรรมชาติและหลักการทั่วไป มิได้เป็นเงื่อนไขเลยว่า เพื่อปกปักรักษาบรรดาศาสดา อิมามผู้บริสุทธิ์ และศาสนาศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ พระองค์จะหยุดยั้งการใช้วิธีการ สื่อ เครื่องมือ เหตุผล ...
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8627 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • หากประสบกับภาวะน้ำแพง จะอาบน้ำยกหะดัสใหญ่อย่างไร?
    7497 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    โดยปกติแล้วการทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ถือเป็นมุสตะฮับแต่จะเป็นวาญิบต่อเมื่อต้องทำนมาซฟัรดูหรืออิบาดะฮ์อื่นๆ[1]แต่ถ้าหากน้ำที่ใช้เพื่ออาบน้ำยกหะดัสใหญ่นั้นมีราคาสูงเสียจนอาจสร้างปัญหาแก่คุณในแง่ทุนทรัพย์ในกรณีเช่นนี้การหาน้ำและการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ก็ไม่เป็นวาญิบอีกต่อไปและสามารถทำตะยัมมุมแทนได้[2]ควรใช้น้ำสำหรับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เท่าที่ความสามารถของท่านจะอำนวยฉะนั้นการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่กับน้ำนั้นจะเป็นวาญิบเฉพาะกรณีที่เงื่อนไขด้านน้ำเอื้ออำนวยเท่านั้นอนึ่งหากในหนึ่งวันท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้เพียงครั้งเดียวท่านสามารถเลื่อนการนมาซซุฮริ-อัซริออกไปและอาบน้ำยกหะดัสใหญ่เพื่อให้สามารถทำนมาซซุฮ์ริ, อัซริ, มักริบและอีชาด้วยกับการอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ครั้งเดียวได้และหากท่านสามารถอาบน้ำยกหะดัสใหญ่ได้๒ครั้งให้อาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซซุบฮิหนึ่งครั้งและทำอาบน้ำยกหะดัสใหญ่สำหรับนมาซ๔เวลาที่เหลือดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น (โดยเลื่อนการนมาซซุฮริและอัศริออกไปจนใกล้ถึงเวลานมาซมักริบและอิชา)[1]ประมวลปัญหาศาสนาโดยบรรดามัรญะอ์,เล่ม 1,
  • มีบทบัญญัติทางฟิกเกาะฮ์ในสวรรค์หรือไม่?
    6695 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    ก่อนอื่นต้องคำนึงเสมอว่าเราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสภาวะของปรโลกและสวรรค์-นรกได้นอกจากจะศึกษาจากวะฮยู (กุรอาน)และคำบอกเล่าของเหล่าผู้นำศาสนาที่ได้รับการยืนยันความน่าเชื่อถือเสียก่อน.แม้ตำราทางศาสนาจะไม่ได้ระบุคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามดังกล่าวแต่จากการพิจารณาถึงข้อคิดที่ระบุไว้ในตำราทางศาสนาก็สามารถกล่าวได้ว่าในสวรรค์ไม่มีบทบัญญัติและกฏเกณฑ์จำเพาะใดๆอีกต่อไปหรือหากมีก็ย่อมแตกต่างจากข้อบังคับต่างๆในโลกนี้ทั้งนี้ก็เพราะการบังคับใช้บทบัญญัติของพระเจ้าในสังคมมนุษย์มีไว้เพื่อสร้างเสริมให้มนุษย์บรรลุถึงความเจริญและความสมบูรณ์สูงสุดซึ่งก็เป็นผลจากการปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนาในโลกนี้นั่นเอง
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    7695 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การลงโทษชาวบนีอิสรออีลข้อหาบูชาลูกวัวเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ความผิดหรือไม่?
    7666 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/23
    นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ “1. สิ่งนี้เป็นบททดสอบ และเมื่อพวกเขาได้เตาบะฮ์และสำนึกผิดแล้ว สิ่งนี้ก็ได้ถูกยกเลิก 2. ความหมายของการฆ่าในที่นี้คือการตัดกิเลศและแรงยั่วยุของชัยตอน 3. ความหมายของการฆ่าในโองการนี้ คือการฆ่าจริง ๆ กล่าวคือจะต้องฆ่ากันเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือทั้งหมดของประเด็นต่อไปนี้ก็เป็นได้: ก. ชำระจิตใจชาวบนีอิสรออีลให้ผ่องแผ้วจากการตั้งภาคี ข. ยับยั้งไม่ให้บาปใหญ่หลวงเช่นนี้อีก ค. ต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการหันเหจากหลักเตาฮีด และการหันไปสู่การกราบไหว้เจว็ด อย่างใดก็ตาม การรับการลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดก็ถือว่าคุ้มค่าหากแลกกับการหลุดพ้นจากไฟนรก ...
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6550 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    9241 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
    7929 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/08
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59396 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56845 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41676 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38432 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38422 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33454 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27542 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27240 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27138 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25214 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...