การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7544
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7802 รหัสสำเนา 19550
คำถามอย่างย่อ
อิมามโคมัยนีเชื่อว่าการร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบันไช่หรือไม่? เพราะเหตุใด?
คำถาม
อิมามโคมัยนีเคยกล่าวไว้หรือไม่ว่า การร่ำไห้และการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(อ.)สามารถรักษาอิสลามให้คงอยู่ถึงปัจจุบัน? เพราะเหตุใดจึงกล่าวเช่นนั้น?
คำตอบโดยสังเขป

คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิมามโคมัยนีเน้นย้ำเสมอว่า การเสียสละของท่านอิมามฮุเซน(.)ทำให้อิสลามยังคงอยู่ และชี้ให้เห็นว่าการรักษาแนวทางของท่านอิมามฮุเซนมิให้ถูกบิดเบือน กระทำได้ด้วยการจัดมัจลิสไว้อาลัยเพื่อรำลึกถึงท่าน ดังที่ท่านเคยกล่าวว่า "การรวมตัวกันในวันอาชูรอ และการไว้อาลัยแด่ชะฮีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ล้วนมีความจำเริญมหาศาล"[1]

"เดือนมุฮัรรอมและเศาะฟัรเป็นเดือนที่เปี่ยมด้วยความจำเริญ เดือนแห่งการพิทักษ์อิสลาม จึงต้องฟื้นชีวิตชีวาแก่สองเดือนนี้ด้วยการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของอะฮ์ลุลบัยต์(.) เพราะการรำลึกถึงโศกนาฏรรมนี้ช่วยให้แนวคิดของเรายังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน... มุฮัรรอมและเศาะฟัรนี่แหล่ะที่พิทักษ์อิสลามไว้ การเสียสละของประมุขแห่งเหล่าชะฮีดนี่แหล่ะ ที่ชุบชีวิตอิสลามให้สืบทอดถึงพวกเรา[2] ...ฯลฯ

ท่านอิมามโคมัยนีกล่าวถึงเหตุผลของมุมมองดังกล่าวในสุนทรพจน์หลายครั้งด้วยกัน อาทิเช่นสุนทรพจน์ต่อไปนี้
"
พวกเขาหวั่นกลัววันอาชูรอ, ช่วงมุฮัรรอมและเศาะฟัร, และช่วงเดือนเราะมะฎอน มัจลิสเหล่านี้แหล่ะที่ทำให้ประชาชนรวมตัวกัน หากมีสิ่งใดเป็นประโยชน์แก่อิสลาม หรือผู้ใดต้องการรับใช้อิสลาม สามารถประกาศไปทั่วประเทศผ่านนักคุตบะฮ์หรืออิมามญุมอะฮ์และญะมาอัต การรวมตัวกันภายใต้ร่มธงอิสลาม ร่มธงแห่งอิมามฮุเซน จะช่วยจัดระเบียบให้สังคม หากชาติมหาอำนาจต้องการจะระดมผู้คนในประเทศของตน ก็จะต้องเตรียมการอย่างยาวนานหลายวันและต้องทุ่มทุนมหาศาลเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้มีคนมาฟังการปราศัยที่เตรียมไว้สักห้าหมื่นหรือแสนคน แต่พวกท่านก็เห็นแล้วว่ามัจลิสไว้อาลัยเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวได้ เพียงมีการจุดประเด็น ประชาชนผู้ไว้อาลัยอิมามฮุเซน(.)ก็จะรวมตัวกัน มิไช่แค่ระดับจังหวัด แต่เป็นการรวมตัวระดับประเทศ ไม่จำเป็นต้องเสียแรงโฆษณาใดๆทั้งสิ้น ขอแค่เป็นคำพูดของอิมามฮุเซนเพียงคำเดียวเท่านั้น ทุกคนจะรวมตัวกันโดยอัตโนมัติ จะเห็นได้ว่าอิมามบางท่าน(เข้าใจว่าอิมามบากิร) สั่งเสียให้มีใครสักคนไว้อาลัยแด่ท่านทุกปีที่มินา ไม่ไช่เพราะท่านอยากมีชื่อเสียง หรือมีผลประโยชน์ส่วนตัว สังเกตุจุดประสงค์ทางการเมืองของท่านให้ดี เพราะเมื่อผู้คนจากทั่วโลกเข้าสู่มินา จะได้มีผู้ที่เล่าโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับอิมามบากิรถึงขั้นลอบสังหารท่าน เพื่อให้เกิดกระแสตื่นตัวทั่วทุกแว่นแคว้น

พวกคลั่งตะวันตกอาจมองเราว่าเป็น"ชาติที่เอาแต่ร้องห่มร้องไห้" พวกเราบางคนอาจรับไม่ได้ว่าน้ำตาแค่หยดเดียวจะทำให้ได้รับผลบุญมากมายได้อย่างไร มัจลิสไว้อาลัยจะมีผลบุญมหาศาลได้อย่างไร บางคนรับไม่ได้ว่าเหตุใดดุอาแค่สองสามบรรทัดจะมีผลบุญมากขนาดนั้น จุดประสงค์ทางการเมืองของดุอาและการขอพรเหล่านี้ก็คือ ทำให้สามารถระดมประชาชนเพื่อบรรลุเป้าหมายที่อิสลามกำหนด มัจลิสไว้อาลัยไม่ได้มีไว้สำหรับร้องไห้ให้ท่านอิมามฮุเซนแล้วรับผลบุญไปเพียงเท่านั้น ประเด็นสำคัญก็คือจุดประสงค์ทางการเมือง ที่บรรดาอิมามของเราได้วางแนวทางไว้ตั้งแต่อิสลามยุคแรกจนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือการระดมประชาชนภายใต้ร่มธงเดียวกัน แนวคิดเดียวกัน และไม่มีเรื่องราวใดจะมีอิทธิพลต่อผู้คนได้เท่ากับการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(.)...

พวกท่านคิดหรือว่าเหตุการณ์ 15 โค้รด้อด (อันเป็นเชื้อไฟของการปฏิวัติ-ผู้แปล) จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งมัจลิสไว้อาลัย ไม่ต้องมีขบวนไว้อาลัย ไม่ต้องมีการมะตั่มและการขับโคลงกลอนไว้อาลัยอิมามฮุเซน ที่จริงแล้ว ไม่มีพลังใดจะทำให้เกิด 15 โค้รด้อดได้นอกจากพลังโลหิตของซัยยิดุชชุฮะดา ไม่มีอำนาจใดที่จะยับยั้งการโจมตีจากทุกทิศทุกทางของมหาอำนาจที่มีต่อประชาชนของเราได้นอกจากมัจลิสไว้อาลัย ในมัจลิสเหล่านี้มีการไว้อาลัยและเล่าโศกนาฏกรรมของประมุขของผู้ถูกกดขี่ ผู้ซึ่งต่อสู้และพลีชีพตนเองและญาติมิตรเพื่ออัลลอฮ์ ปัจจัยดังกล่าวได้บ่มเพาะให้วัยรุ่นก้าวสู่สนามรบและถวิลหาการเป็นชะฮีดอย่างภาคภูมิ และจะเสียใจหากมิได้เป็นชะฮีด ปัจจัยดังกล่าวได้บ่มเพาะให้เหล่าแม่บ้านที่เสียสละลูกชายไปแล้ว ยังคะยั้นคะยอว่าพร้อมจะพลีลูกชายที่เหลืออีก มัจลิสไว้อาลัยอิมามฮุเซน มัจลิสดุอา ดุอากุเมลและดุอาบทอื่นๆเท่านั้นที่สร้างแรงจูงใจได้เช่นนี้ และสามารถประคองฐานรากอิสลามให้ดำเนินบนวิถีทางเหล่านี้ต่อไปได้
และหากคนอื่นๆเข้าใจประเด็นข้างต้นว่ามัจลิสไว้อาลัยมีไว้เพื่ออะไร และเหตุใดการร้องไห้จึงมีผลบุญมากมาย เมื่อนั้นจะไม่ปรามาสเราว่าเป็น"ชนชาติที่เอาแต่ร้องห่มร้องไห้" แต่จะเรียกเราว่า "ชนชาติแห่งวีรกรรม" หากพวกเขาเข้าใจว่าอิมามซัยนุลอาบิดีน(.)ที่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในกัรบะลา และอยู่ในยุคที่เผด็จการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จนั้น ใช้อานุภาพแห่งบทดุอาปลุกระดมผู้คนได้เพียงใด พวกเขาคงไม่ถามว่า ดุอาเหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร? หากนักวิชาการของเราเข้าใจแง่มุมทางการเมืองและสังคมของมัจลิสไว้อาลัยเหล่านี้ ดุอาและซิเกรเหล่านี้ แน่นอนว่าจะไม่ค่อนแคะว่ากระทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร? เพราะต่อให้นักวิชาการที่นิยมตะวันตกและเหล่าผู้มีอิทธิพลผนึกกำลังกันเพียงใด ก็ไม่สามารถสร้างเหตุการณ์คล้าย 15 โค้รด้อดขึ้นมาได้ ผู้ที่สามารถกระทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่ผู้คนยอมอยู่ใต้ร่มธงของท่านเท่านั้น...

ขอให้พี่น้องประชาชนเห็นคุณค่าของมัจลิสเหล่านี้ เพราะมัจลิสเหล่านี้จะช่วยพิทักษ์ประชาชาติ เน้นช่วงอาชูรอเป็นพิเศษ และจัดให้มีในช่วงเวลาอื่นๆตามสะดวก ถ้าหากนักวิชาการหัวตะวันตกรู้ถึงแง่มุมทางการเมืองของมัจลิสเหล่านี้ และตระหนักถึงผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง พวกเขานี่แหล่ะที่จะจัดมัจลิสไว้อาลัยอิมามฮุเซน(.) ฉันหวังว่าการจัดมัจลิสเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นทั้งในแง่จำนวนและคุณภาพ ทุกภาคส่วนมีอิทธิพลต่อผู้ฟังทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้บรรยายที่มีชื่อเสียงไล่เรียงลงไปถึงนักอ่านบทกลอน ผู้ที่อ่านกลอนเพียงไม่กี่บท และผู้ที่เป็นนักบรรยายบนมิมบัร ล้วนมีอิทธิพลทางความคิดทั้งสิ้น แม้พวกเขาจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ مِنْ حِیْثُ لا یَشْعُرْ ..

กล่าวได้ว่าเราพัฒนาถึงขั้นที่สามารถปฏิวัติได้ในคราเดียว เสมือนการจุดระเบิดที่ไม่อาจหาที่ใดเปรียบปานได้ เราเคยเป็นชาติที่ต้องพึ่งพาชาติอื่นๆทุกด้าน ระบอบชาห์ทำให้เราสูญเสียทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติยศศักดิ์ศรีของชาติ ทันใดนั้นก็เกิดแรงระเบิดขึ้นโดยประชาชน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมัจลิสไว้อาลัยที่สามารถระดมผู้คนให้รวมศูนย์ได้ ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่นักบรรยายและอิมามญุมอะฮ์และญะมาอัตควรจะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาว่าเราเป็นชนชาติที่เอาแต่ร้องไห้ ทว่าที่ถูกต้องคือ เราเป็นชาติที่สามารถใช้น้ำตาโค่นบัลลังก์ที่ยืนยาวกว่า 2500 ปีเป็นผลสำเร็จ"[3]

เกี่ยวกับปรัชญาของการไว้อาลัยแด่อิมามฮุเซน(.)นั้น แนะนำให้หาอ่านจากบทความอื่นๆในเว็บไซต์นี้ อาทิเช่น คำถามที่ 348 และ 2302


[1] เศาะฮีฟะฮ์ อิมาม, เล่ม 13,หน้า 326, สถาบันเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนี,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สี่, 1386 (ศักราชอิหร่าน)

[2] อ้างแล้ว,เล่ม15,หน้า 330

[3] อ้างแล้ว,เล่ม 16,หน้า 344-348

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุผลของการเลือกบรรดาศาสดาและอิมาม ท่ามกลางปวงบ่าวอื่นๆ?
    5287 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/30
    บนพื้นฐานของเหตุผลทั่วไปแห่งสภาวะการเป็นศาสดา คือ การชี้นำมวลมนุษยชาติ, พระองค์จึงเลือกสรรประชาชาติบางคนจากหมู่พวกเขาในฐานะของแบบอย่าง, เพื่อเป็นตัวแทนและเป็นผู้ชี้นำทาง แน่นอนการเลือกสรรนี้มิได้ปราศจากเหตุผล คำอธิบาย ศักยภาพในการเป็นเคาะลิฟะฮฺของพระเจ้า ได้ถูกมอบแก่มนุษย์ทุกคนแล้ว เพียงแต่ว่ามิใช่มนุษย์ทุกคนจะไปถึงขั้นนั้นได้, มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่มีศักยภาพพอ และด้วยการอิบาดะฮฺทำให้เขาได้ไปถึงยังตำแหน่งของการเป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน และพวกเขาจะไม่กระทำความผิดตามเจตนารมณ์เสรีของตน, อัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ถึงสภาพของพวกเขาทั้งก่อนการสร้างในรูปแบบภายนอก และทรงรอบรู้ถึงสภาพและความประพฤติของพวกเขาเป็นอย่างดี, การตอบแทนผลรางวัลแก่การงานของพวกเขา, พระองค์ทรงเลือก มอบสาส์น และความคู่ควรการเป็นผู้นำสังคมแก่พวกเขา, ดังนั้น ความเร้นลับในการเลือกสรรจึงวางอยู่บน 2 เหตุผล กล่าวคือ 1.การแสดงความเคารพสมบูรณ์ของหมู่มิตรของพระเจ้าที่มีต่อพระองค์ 2.ความเมตตาและความการุณย์พิเศษของพระเจ้า ที่มีต่อหมู่มิตรของพระองค์ สรุป ความเมตตาการุณย์ของพระเจ้าที่ทรงมีต่อบรรดาศาสดา และบรรดาอิมาม (อ.) เนื่องจากว่า หนึ่ง : วางอยู่บนศักยภาพและความเพียรพยายามของพวกเขา และสอง
  • คำจำกัดความของท่านเกี่ยวกับวิทยาการ สติปัญญา และศาสนาเป็นอย่างไร ระหว่างทั้งสามมีความแตกต่างกันอย่างไร และประเด็นนี้มีความถูกต้องและเป็นไปได้อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ที่ว่าแหล่งที่มาของความรู้ทั้งอยู่ในอัลกุรอาน ประเด็นนี้มีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด
    6586 เทววิทยาใหม่ 2554/03/08
    คำว่าความรู้นั้นมี 3 ความหมายกับ 2 นิยามกล่าวคือ :บางครั้งคำว่าอิลม์หมายถึงความรู้บางครั้งหมายถึงวิทยาการและบางครั้งก็หมายถึงสิ่งที่ได้ถูกรู้แล้ว
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    6439 شخصیت های شیعی 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    5707 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • ในประโยคคำปฏิญาณ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) ได้นำเอาประโยคปฏิเสธขึ้นหน้าก่อนการปฏิญาณ (ในความเป็นเอกะของพระองค์) มีเหตุผลอันใดหรือ?
    23033 ادله نقلی 2557/10/06
    คำว่า ชะฮาดะตัยนฺ คือการผนวกสองประโยคเข้าด้วยกันคือ คำปฏิญาณประโยคแรกคือ (อัชฮะดุ อันลา อิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และสารภาพถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า ซึ่งเฉพาะเจาะจงและคู่ควรยิ่งแก่การเคารพภักดี สำหรับองค์พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ส่วนคำปฏิญาณที่สอง (อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน เราะซูลลุลอฮฺ) เพื่อพิสูจน์และปฏิญาณว่า ท่านนะบีมุฮัมมัดคือ ศาสนทูตแห่งอิสลาม มิได้พิสูจน์การเป็นศาสนทูตคู่ควรแก่ท่านนะบี ด้วยเหตุนี้ ชะฮาดัตแรก จึงเป็นเน้นอันเฉพาะเจาะจงสำหรับพระองค์ ประโยคจึงเริ่มต้นด้วย “การปฏิเสธ” ลานะฟีญินซฺ เพื่อเน้นให้เห็นความสำคัญของคำว่า “อิลาฮะ” ซึ่งถือว่าเป็นคำนามที่เป็นนักกิเราะฮฺ (มิได้ระบุเจาะจง) แน่นอน บริบทของการปฏิเสธนี้ ให้ประโยชน์ในแง่รวมทั้งหมด โดยปฏิเสธพระเจ้าที่มีทั้งหมดบนโลก และปฏิเสธการมีส่วนร่วมในความเป็นพระเจ้า ของพระเจ้าที่แท้จริง ดังนั้น การที่กล่าวว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด “นอกจาก” อิลลา นั่นเป็นจำกัดให้เห็นถึงความสำคัญอันเฉพาะสำหรับ อัลลอฮฺ เพื่อประกาศให้รู้ว่าไม่มีใคร หรือสิ่งใดมีส่วนร่วมในการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ ดังนั้น ในความเป็นจริงจึงพิสูจน์ด้วยประโยคที่กล่าวว่า “นอกจากอัลลอฮฺ” ...
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    7227 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • สถานภาพของจริยธรรมในการออกกำลังกายเป็นอย่างไร?
    7861 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ศาสนาอิสลามในฐานะที่เป็นศาสนาสมบูรณ์และเป็นศาสนาสากลซึ่งมีแนวคิดครอบคลุมทุกมิติของชีวิตที่สมบูรณ์และแนวทางทั้งหมดของอิสลามได้สิ้นสุดลงที่ความเจริญผาสุกแห่งโลกนี้และปรโลก
  • ถ้าหากนะมาซคือเสาหลักของศาสนา แล้วทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นหลักการของศาสนา?
    7944 นมาซ 2555/08/22
    อุซูลลุดดีน หรือหลักศรัทธาเป็นภารกิจทางความเชื่อ ซึ่งมนุษย์ได้ยอมรับสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของตน และได้กลายเป็นมุสลิม หลังจากยอมรับการศรัทธาแล้ว อิสลามได้กำหนดหน้าที่อันเป็นวาญิบแก่เขา ทั้งที่เป็นหน้าที่ส่วนรวมและปัจเจกบุคคล ซึ่งหนึ่งในหน้าที่สำคัญที่สุดของมุสลิมคือ นะมาซ ด้วยเหตุที่ว่า นะมาซ นั้นมีความกว้างและเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงได้เรียกนะมาซว่าเป็น เสาหลักของศาสนา แต่ไม่นับว่าเป็นว่ารากฐานทางความเชื่อ ซึ่งไม่สามารถนับว่าเป็นหลักศรัทธาหรืออุซูลลุดดีนได้ ...
  • แต่งงานมา 8 ปีและไม่เคยชำระคุมุสเลย กรุณาให้คำแนะนำด้วย
    5024 วิธีคำนวนและชำระคุมุส 2555/03/18
    สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา ซิซตานี วันแรกของการทำงานถือว่าเป็นต้นปีของการชำระคุมุส และในวันครบรอบวันนั้นของทุก ๆ ปีจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสในสิ่งที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ตาม เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่เหลือใช้เป็นต้น หากภายในหนึ่งปีไม่ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้น และหากปีก่อน ๆ ไม่ได้คำนวนและชำระคุมุสก็จะต้องทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี จะต้องชำระย้อนหลังในส่วนที่หลงเหลือมาจนทบปีใหม่ซึ่งเผอิญใช้ชำระไปทั้งที่ยังไม่ได้ชำระคุมุสของปีก่อนๆ และหากไม่แน่ใจว่าคุมุสที่ค้างอยู่นั้นมีจำนวนเท่าใด จะต้องชำระในจำนวนที่แน่ใจไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะทยอยชำระก็ตาม และอิฮ์ติยาฏวาญิบจะต้องเจรจากับตัวแทนของมัรญะอ์เกี่ยวกับจำนวนคุมุสที่คลุมเคลือด้วย อย่างเช่น หากสันนิษฐานในระดับ 50 เปอร์เซนต์ว่าต้องชำระคุมุสจำนวนหนึ่ง ก็สามารถชำระครึ่งหนึ่งของคุมุสจำนวนนั้น และหากเป็นบ้าน, ของใช้ในบ้าน, รถ หรือของใช้อื่น ๆ ซึ่งได้ซื้อมาด้วยกับเงินที่ได้มาในตลอดทั้งปี และได้ใช้อยู่เป็นประจำก็จะถือว่าไม่ต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา มะการิม ชีรอซี ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระเงินคุมุสของบ้านและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด อีกทั้งยานพาหนะ (ถ้ามี) ให้คำนวนของใช้ที่เหลือและหักลบหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไป สามารถชำระคุมุสจากเงินที่เหลือทั้งหมดด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนได้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    57901 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    55405 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    40665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37593 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    36502 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32637 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    26827 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26385 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26149 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24293 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...