การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7922
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa11567 รหัสสำเนา 19928
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
คำถาม
ถูกต้องหรือไม่ทีว่ามุคตารเป็นษะกะฟีย์ มีความรักให้ท่นอบูกบักร์และอุมัรเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองจึงตกจากสะพานซิรอต, และท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ช่วยเหลือไว้? ในช่วงเวลาการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เขาอยู่ที่ไหนจึงไม่ได้ปกป้องท่านอิมาม?
คำตอบโดยสังเขป

รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา และบางกลุ่มก็กล่าวประณามเขา นักวิชาการฝ่ายฮะดีซและริญาลเมื่อกล่าวถึง มุคตาร ส่วนใหญ่จะเลือกฮะดีซที่กล่าวสรรเสริญมากกว่า ส่วนรายงานตรงกันข้ามนั้นจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงมากเท่าใดนัก

อัลลามะฮฺมัจญฺลิซซียฺ ได้นำเอารายงาน (การช่วยเหลือมุคตาร) มารวมเข้ากับรายงานที่กล่าวประณาม ซึ่งในแง่ของความเชื่อศรัทธาเบื้องต้นเขาเป็นชาวนรก แต่ในบั้นปลายเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เขาจึงรอดพ้นจากการลงโทษของพระเจ้า, ส่วนท่านอายะตุลลอฮฺ คูอียฺ กล่าวว่า สายรายงานของฮะดีซบทนี้อ่อนแอ

มุคตาร ษะกะฟียฺ, ก่อนขบวนการอาชูรอและการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในกัรบะลา, เขาได้ให้การสนับสนุนมุสลิม บิน อะกีล ผู้เป็นทูตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในกูฟะฮฺ, มุคตารถูกจำคุกอยู่โดยคำสั่งของ อิบนุซิยาด จนกระทั่งการยืนหยัดต่อสู้ในกัรบะลาอฺได้สิ้นสุดลง

คำตอบเชิงรายละเอียด

มุคตาร บิน อบี อุบัยดะฮฺ มาจากเผ่าษะกีฟ, มีฉายนามว่า อบูอิสฮาก, และมีสมญานามว่า กีซาน, คำว่ากีซานหมายถึง ความฉลาด ความหลักแหลม.[1] ตามรายงานที่กล่าวไว้, อัศบัฆ บิน นะบาตะฮฺ, สหายคนหนึ่งของท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : [2]ฉายานามว่า กีส ท่านอิมามอะลี (.) ได้ตั้งให้แก่มุคตาร

มุคตารได้เรียนรู้มารยาทและความประเสริฐด้านศีลธรรมจาก สำนักคิดอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) เมื่อย่างเข้าวัยหนุ่ม, เขาได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับบิดาและอาของเขาไปยังอีรัก เพื่อเข้าร่วมสงครามสู้รบกับกองทัพอิหร่าน มุคตารได้อยู่เคียงข้างท่านอิมามอะลี (.) และหลังจากท่านอิมามได้ชะฮาดัต, เขาได้เดินทางบัศเราะฮฺและอาศัยอยู่ที่นั่น[3]

อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา) บันทึกว่า : มุคตารได้อธิบายความประเสริฐของอะฮฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) นอกจากนั้นเขายังสาธยาย และเผยแพร่คุณลักษณะอันงดงามของท่านอมีรุลมุอฺมีน ท่านอิมามฮะซัน และท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) แก่ประชาชน เขามีความเชื่อเสมอว่าครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อล ) มีความเหมาะสมกับตำแหน่งการเป็นผู้นำ และผู้ปกครองภายหลังจากท่านศาสดา ยิ่งกว่าผู้ใดทั้งหมด เขาแสดงความเสียใจและโมโหโกรธาตลอดเวลา เมื่อเห็นความยากลำบากและความทุกข์ยากต่างๆ ได้กร่ำกรายมาสู่ครอบครัวของท่านศาสดา[4]

บุคลิกภาพของมุคตารในริวายะฮฺ

รายงานที่กล่าวถึงมุคตาร ซึ่งมีบันทึกอยู่ในตำราฮะดีซแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มหนึ่งกล่าวสรรเสริญมุคตาร ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวประณาม

) ฮะดีซที่กล่าวสรรเสริญมุคตาร

ตำราฮะดีซได้บันทึกฮะดีซ ที่กล่าวสรรเสริญมุคตารไว้นั้นมีจำนวนมากมาย, แต่เพื่อความเหมาะสมในที่นี้จะขอนำเสนอเป็นตัวอย่างสัก 3 ฮะดีซ ประกอบด้วย

1.ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า : เหล่าสตรีของบนีฮาชิมไม่เคยหวีผม และแต่งหน้าจนกระทั่งมุคตาร ได้ส่งศีรษะเหล่าทรชนที่ร่วมกันสังหารท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มายังครอบครัวของเรา[5] ซัยยิดคูอียฺ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตา) ยอมรับว่าฮะดีซบทนี้ถูกต้องเชื่อถือได้[6] รายงานบทสนับสนุนให้เห็นถึงการกระทำดีของมุคตาร

2.จงอย่ากล่าวสิ่งไม่ดีกับมุคตาร, เนื่องจากเขาได้สังหารหมู่ชนที่สังหารพวกเรา และเขาได้ลงโทษอาชญากรเหล่านั้น,เมื่อยามประสบความทุกข์ยากเขาได้แบ่งทรัพย์สินแก่พวกเรา ช่วยดูแลเหล่าสตรีที่เป็นหม้ายของเรา[7]

3.บางรายงานได้กล่าวว่า ท่านอิมามซัจญาด (.) เมื่อได้เห็นศีรษะของอุบัยดิลลาฮฺ บิน ซิยาด และอุมะริบ สะอัด ถูกส่งมาให้ท่าน, ท่านได้ลงซัจญฺดะฮฺและกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ พร้อมกับกล่าวว่า : "جَزىَ اللهُ المُختارَ خَیرا ขออัลลอฮฺ โปรดประทานรางวัลความดีงามแก่มุคตาร[8]

) รายงานที่กล่าวประณามมุคตาร

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงฮะดีซสัก 3 ฮะดีซเพื่อเป็นตัวอย่าง

1. ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า :มุคตารได้กล่าวมุสาพาดพิงถึงท่านอิมามซัจญาด (.)”[9]

2.มีรายงานกล่าวว่า มุคตารได้ส่งเงินให้ท่านอิมามซัจญาด (.) จำนวน 20,000 ดีนาร, ท่านอิมามได้รับเงินนั้นไว้เพื่อซ่อมแซมรอยผุพังของบ้านท่าน, หลังจากนั้นมุคตารได้ส่งเงินให้ท่านอิมามอีกเป็นจำนวนเงินถึง 40,000 ดีนาร ซึ่งท่านอิมามก็ได้รับเงินนั้นไว้อีก[10] อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า "فَإِنِّی لَا أَقْبَلُ هَدَایا الْکَذَّابِین‏" ดังนั้น ฉันจะไม่ยอมรับของกำนัลที่มุสาหลอกลวง[11]

3.คำใส่ร้ายอีกประการหนึ่งท่มีต่อมุคตาร คือ เขาชื่อการเป็นอิมามะฮฺของมุฮัมม ฮะนะฟียะฮฺ และได้เชิญชวนประชาชนไปสู่เขา ด้วยเหตุนี้เอง สำนักคิด กีซานียะฮฺ จึงได้เกิดขึ้นมา[12]

มุคตารในทัศนะของนักปราชญ์

นักวิชาการและนักปราชญ์สายฮะดีซและอิลมริญาล ส่วนใหญ่จะเลือกฮะดีซที่กล่าวสรรเสริญและชื่นชมมุคตาร ซึ่งจะไม่มีผู้ใดเลือกรายงานที่ตรงกันข้ามมาอรรถาธิบาย

) รายงานที่กล่าวประณามมคตาร, ถ้าหากพิจารณาจากสายรายงานแล้วถือว่า อ่อนแอมาก[13] กะชี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : ฉันคิดว่าฮะดีซเหล่านี้เป็นฮะดีซอุปโลกน์ทั้งสิ้นที่มาจากฝ่ายซุนนียฺ[14]

) อาจเป็นไปได้ว่าฮะดีซเหล่านี้ อาจเกิดจากการตะกียะฮฺ และเพื่อความปลอดภัยของท่านอิมามและบนีฮาชิม จากน้ำมือของผู้ปกครองที่กดขี่ จึงได้ออกมาจากเขา[15]

) ฮะดีซกล่าวว่ามุคตารได้ส่งของกำนัลให้ท่านอิมามซัจญาด (.) และครอบครัว ถึงสองครั้ง ซึ่งครั้งที่สองท่านอิมามไม่ยอมรับ เนื่องจากเป็นของกำนัลที่ผูกพันอยู่บนความมุสาของมุคตาร สิ่งนี้ห่างไกลจากความจริง, เนื่องจากถ้าหากท่านอิมามไม่ยอมรับของขวัญเพราะการมุสาของมุคตารแล้วละก็ สาเหตุนี้ก็มีอยู่ในการมอบของขวัญครั้งแรกเหมือนกัน[16]

) รายงานต่างๆ ที่พาดพิง สำนักคิดกีซานียะฮฺ ว่ามีความผูกพันกับมุคตาร ประหนึ่งว่าเป็นการพูดโกหกใส่มุคตาร, และตามความเชื่อของนักปราชญ์ฝ่ายอิลมุริญาล กล่าวว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องโกหกจากฝ่ายซุนนีย์ที่มีต่อมุคตาร, เนื่องจากมุฮัมมัด บิน ฮะนะฟียะฮฺ ไม่เคยกล่าวอ้างการเป็นอิมามะฮฺเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพื่อว่ามุคตารจะได้เชิญชวนไปสู่เขา, ทว่าสำนักคิด กีซานียะฮฺ ได้ถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังจากมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮฺ ได้เสียชีวิตไปแล้ว[17]

ความเชื้อของมุคตาร

นักวิชาการบางคน,ไม่เชื่อว่ามุคตารมีความเชื่อหรือความศรัทธาที่ดีและถูกต้อง ซึ่งประเด็นนี้มี 2 รายงานกล่าวพาดพิงไว้ กล่าวคือ :

1. عَنْ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ (ع) قَالَ لِی: "یجُوزُ النَّبِی(ص) الصِّرَاطَ یتْلُوهُ عَلِی وَ یتْلُو عَلِیاً الْحَسَنُ وَ یتْلُو الْحَسَنَ الْحُسَینُ فَإِذَا تَوَسَّطُوهُ نَادَى الْمُخْتَارُ الْحُسَینَ(ع) :یا أَبَا عَبْدِ اللَّهِ(ع) إِنِّی طَلَبْتُ بِثَارِکَ فَیقُولُ النَّبِی(ص) لِلْحُسَینِ(ع) :أَجِبْهُ؛ فَینْقَضُّ الْحُسَینُ(ع) فِی النَّارِ کَأَنَّهُ عُقَابٌ کَاسِرٌ فَیخْرِجُ الْمُخْتَارَ حُمَمَةً وَ لَوْ شُقَّ عَنْ قَلْبِهِ لَوُجِدَ حُبُّهُمَا فِی قَلْبِهِ"؛

1.ท่านอิมามซอดิก (.) กล่าวว่า : ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้เดินผ่านสะพานซิรอตไปแล้ว ขณะนั้นมีท่านอิมามอะลี (.) และมีท่านอิมามฮะซัน (.) เดินตามหลัง หลังจากนั้นเป็นท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) เมื่อเดินไปถึงกลางสะพาน มุคตาร (ซึ่งถูกลงโทษในนรก) ได้ส่งเสียงเรียกวา : โอ้ ยาอะบาอับดิลลาฮฺ ฉันคือผู้ทวงหนี้เลือดให้แก่ท่าน, ท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า : โอ้ ฮุซัยนฺ จงตอบเขาไปซิ, หลังจากนั้นท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ได้โฉบเฉี่ยวมุคตารให้พ้นจากนรกเหมือนพญาอินทรีย์ แต่กระนั้น ถ้าหากหัวใจของมุคตารแตกสลายออกมา, ความรักที่เขามีต่อเคาะลิฟะฮฺทั้งสองก็จะเปิดเผยออกมาทันที[18]

2.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    10626 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • ประชาชนชาวเมืองกุมไม่ว่าจะกระทำผิดเพียงใดก็จะไม่ถูกลงโทษในไฟนรกกระนั้นหรือ?
    4976 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    1.รายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับเมืองกุม, ที่ว่าประชาชนชาวกุมจะไม่ตกนรกนั้นไม่ถูกต้อง.2.การรู้จักมักคุ้นกับลูกหลานของท่านศาสดา (ซ็อล
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    8244 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
    4939 ปรัชญาของศาสนา 2555/06/11
    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน ...
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    7337 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5335 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • อัลกุรอาน บทใดขณะประทานลงมามีมลาอิกะฮฺ จำนวน 70,000 ท่าน รายล้อมอยู่?
    8147 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตามรายงานที่บันทึกไว้, สิ่งที่กล่าวมาเป็นความพิเศษเฉพาะบทอันอาม ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : บทอันอามมีประโยคคล้ายกัน ซึ่งได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน, ขณะที่มีมลาอิกะฮฺจำนวน 70,000 ท่าน ห้อมล้อมและแบกอัลกุรอาน บทนี้เอาไว้ จนกระทั่งไปนำอัลกุรอานบทนี้มาให้ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ดังนั้น จงให้เกียรติและแสดงความเคารพอัลกุรอาน บทนี้ให้มากเถิด เนื่องจากในบทนี้มีพระนามอันไพจิตรของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวซ้ำถึง 70 ครั้ง และถ้าหากประชาชนทราบถึงความยิ่งใหญ่และความจริงของบทนี้ เขาจะไม่มีวันปล่อยอัลกุรอานบทนี้ไป[1] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเป็นรายละเอียด.
  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    9981 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    6561 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8045 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    58717 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56104 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41094 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    37952 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37463 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    32988 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27134 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26715 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26599 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24651 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...