การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9580
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2551/11/03
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
คำถาม
เมื่อท่านอิมามอะลี (อ.) ทราบว่า อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเคาะลิฟะฮฺ แล้วเพราะสาเหตุใดท่านต้องให้บัยอัตกับอบูบักรฺ อุมัร และอุสมานด้วย? ถ้าหากพูดว่าเป็นเพราะท่านไม่มีอำนาจและไร้ความสามารถ, เมื่อเป็นเช่นนั้นบุคคลที่ไม่มีอำนาจจะคู่ควรเป็นอิมามะฮฺได้อย่างไร, เนื่องจากบุคคลที่มีความสามารถจึงคู่ควรกับอิมาม เพราะเขาจะเป็นผู้แบกรับผิดชอบตำแหน่งอิมาม. แต่ถ้าพูดว่าอิมามมีความสามารถ เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้ความสามารถของตน สิ่งนี้ถือว่าเป็นการทรยศ ดังนั้น คนทรยศไม่อาจเป็นอิมามได้ และประชาชนไม่อาจเชื่อมั่นในการเป็นผู้นำของเขาได้ ซึ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ห่างไกลจากการเป็นผู้ทรยศ และสะอาดจากสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องของท่านคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม

ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้

ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด

ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู

คำตอบเชิงรายละเอียด

เมื่อพิจารณาประวัติศาสตร์ในยุคแรกของอิสลามเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า :

หนึ่ง : ยังไม่ทันที่เรือนร่างบริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะถูกฝัง การชุมนุมกันที่สะกีฟะฮฺบนีซาอิดะฮฺ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นทันที พวกเขาได้ให้สัตยาบันกับคนอื่นที่นอกเหนือไปจากท่าน อิมามอะลี (อ.) ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) กำลังยุ่งอยู่กับการกะฟั่นเรือนร่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)[1] และมีเซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งพร้อมกับหัวหน้าเผ่า เช่น อับบาซ บิน อับดุลมุฏ็อลลิบ, ฟัฎลฺ บิน อับบาซ, ซุเบร บิน อะวาม, คอลิด บิน สะอีด, มิกดาร บิน อัมรฺ, ซัลมาล ฟาร์ซียฺ, อบูซัร ฆัฟฟารียฺ, อัมมาร บินยาซีร, อัลบัรรออฺ บิน อาซิบ และอบี บิน กะอฺบ์ มิได้ให้สัตยาบัน ซึ่งพวกเขาได้สนับสนุนท่านอิมามอะลี (อ.)[2] หนังสือมุซนัดอะฮฺมัด 1/55 และฏ็อบรียฺ 2/466 กล่าวว่า บุคคลกลุ่มนี้ได้รวมตัวกันที่บ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) พวกเขาหลีกเลี่ยงไม่ให้สัตยาบันกับอบูบักรฺ[3]

ประวัติศาสตร์กล่าว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ตอบข้อสงสัยของบุคคลที่มารวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่าน ซึ่งพวกเขาต้องการให้สัตยาบันกับท่าน ท่านอิมามกล่าวว่า : “พรุ่งให้พวกท่านมาอีกครั้ง ในสภาพที่เกรียนผมสั้น แต่พอวันรุ่งขึ้นมีเพียง 3 คนเท่านั้นได้มาหาท่านอิมามอะลี (อ.)[4]

ในทำนองเดียวกันประวัติศาสตร์บันทึกว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) มิได้ให้บัยอัตกับอบูบักรฺ ตลอดระยะเวลาที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) ยังมีชีวิตอยู่ แต่หลังจากนั้นเมื่อท่านอิมามเริ่มเห็นว่าสังคมนับวันจะยิ่งเลวร้ายลง ท่านจึงจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกับอบูบักรฺ[5]

ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม

บิลาซัรรียฺ กล่าวถึงสาเหตุของการให้บัยอัตของท่านอิมามอะลี (อ.) กับอบูบักรฺว่า : » หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปมีชนเผ่าอาหรับจำนวนหนึ่งตกมุรตัด (ออกนอกศาสนา) อุสมานได้มาหาท่านอิมามอะลี (อ.) พร้อมกับกล่าวว่า : โอ้ บุตรชายของท่านอา ตราบที่ท่านยังไม่มอบสัตยาบัน จะไม่มีผู้ใดออกไปสงครามกับศัตรูแน่นอน ซึ่งพวกเขาได้พูดเช่นนี้กับท่านอิมามอะลี (อ.) เสมอ จนกระทั่งในที่สุดท่านอิมามได้ให้สัตยาบันกับอบูบักรฺ«[6] ซึ่งการให้สัตยาบันของท่านอิมามอยู่ในยุคสมัยของอบูบักรฺเท่านั้น หลังจากนั้นท่านได้ทักท้วงเรื่องการปกครองเสมอ

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า : “พึงสังวรเถิด ฉันขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ แน่นอนที่สุดชายคนนั้น (อบูบักรฺ) ได้สวมเสื้อแห่งเคาะลิฟะฮฺ ทั้งที่ความเป็นจริงเขารู้ดีถึงฐานภาพของฉัน กับการปกครองอิสลามว่า มีความสัมพันธ์กันเฉกเช่นเดือยโม่กับโม่ เขารู้ดีถึง ความประเสริฐและกระแสคลื่นแห่งความรู้ ที่ไหลหลากออกจากฉัน หมู่มวลวิหคมันไม่สามารถบินต่อไปได้ ฉะนั้น ฉันจึงปล่อยเสื้อแห่งคิลาฟะฮฺไป และลดตัวเองสวมอาภรณ์อีกตัวหนึ่ง ฉันครุ่นคิดด้วยความปวดร้าวว่า ฉันควรกระโจนลงไปยึดสิ่งนั้นกลับมาด้วยมือเปล่า (ปราศจากผู้ช่วยเหลือ) หรือว่าจะอดทนอยู่กับความมืดมิดที่เข้าปกคลุมอยู่อย่างนี้ต่อไป และอยู่ในสภาพเช่นนั้นจนผู้ใหญ่ผ่านวัยสู่ความร่วงโรย เด็กผ่านเข้าสู่วัยหนุ่ม  และผู้ศรัทธาคนหนึ่งต้องอดทนกล้ำกลืนอย่างเจ็บปวด จนกระทั่งกลับคืนไปสู่พระผู้อภิบาลของตน ดังนั้น ฉันพิจารณาแล้วเห็นว่า การอดทนกับสภาพทั้งสองย่อมเหมาะสมมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงยอมอดทนทั้งที่ในดวงตาเต็มไปด้วยเศษขยะ และในลำคอมีกระดูกทิ่มติดอยู่”[7]

แต่สำหรับประเด็นที่กล่าวว่า ท่านอิมามอะลี (อ.) มีความกล้าหาญเพียงนั้น แล้วทำไมท่านไม่ยืนหยัด หรือไม่ยอมกระทำสิ่งใดเลย จำเป็นต้องกล่าวว่า ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมือและวิธีการอันเหมาะแก้ไขปัญหาได้ การมีอำนาจ กำลัง ความสามารถ และความกล้าหาญในสนามรบ ก็จะมิถูกนำไปใช้กับภารกิจต่างๆ ที่ไร้ประโยชน์แต่อย่างใด

ดังที่ท่านฮารูน เมื่อเห็นว่าหมู่ชนของมูซา (อ.) หันไปเคารพบูชารูปปั้นวัว ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นตัวแทนของศาสดามูซา (อ.) แต่ท่านก็มิได้ลงมือกระทำสิ่งใด นอกจากการว่ากล่าวตักเตือนและแนะสำสิ่งดีๆ แก่พวกเขา อัลกุรอาน ได้กล่าวถึงคำพูดของฮารูนที่ตอบข้อท้วงติงของศาสดามูซา (อ.) ที่มีต่อท่าน เนื่องจากท่านมิได้ห้ามปรามพวกเขา หรือขัดขวางมิให้วงศ์วานอิสราเอล มิให้เคารพรูปปั้นบูชาแต่อย่างใด กล่าวว่า : »ฮารูนกล่าวว่า "โอ้ ลูกของแม่ฉันเอ๋ย! อย่าดึงเคราและศีรษะของฉัน แท้จริงฉันกลัวว่า เจ้าจะกล่าวว่า เจ้าได้ก่อความแตกแยกขึ้นในหมู่วงศ์วานอิสรออีล และเจ้าไม่เชื่อฟังคำสั่งของฉัน«[8]

อัลกุรอานกล่าวถึง การปลีกตัวของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) จากการเคารพรูปปั้นบูชาว่า  : »ครั้นเมื่อเขา (อิบรอฮีม) ปลีกตัวออกไปจากพวกเขาและสิ่งที่พวกเขาเคารพสักการะ นอกจากอัลลอฮฺแล้ว«[9]

ทำนองเดียวกันการปลีกตัวของเยาวชนกลุ่มหนึ่ง หรือชาวถ้ำจากกลุ่มชนที่อธรรมพวกเขา อัลกุรอานกล่าวว่า : »เมื่อพวกท่านปลีกตัวออกห่างจากพวกเขา (มุชริก) และจากสิ่งที่พวกเขาสักการะ นอกจากอัลลอฮฺ ดังนั้น จงหลบเข้าไปในถ้ำเถิด เพื่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านจะทรงแผ่ความเมตตาของพระองค์แก่พวกท่าน และจะทรงทำให้กิจการของพวกท่าน ดำเนินไปอย่างสะดวกสบาย«[10]

ดังนั้น ถูกต้องไหมถ้าเราจะกล่าวถึงการปลีกตัวของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และชาวถ้าว่า เกิดจากความหวาดกลัว หรือทรยศ ขณะที่ในช่วงเวลานั้น หนทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมคือ ต้องทำตามวิธีการดังกล่าว

ถ้าหากท่านอิมามอะลี ได้ปฏิบัติสิ่งที่มีความเหมาะสมยิ่งกว่า เพื่อปกป้องรักษาศาสนาของพระเจ้า และความลำบากตรากตรำของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านได้ให้สัตยาบันกับคนบางคน นั่นมิได้หมายความว่านั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงสาเหตุที่ท่านไม่ยืนหยัดต่อสู้ เพื่อช่วงชิงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปแล้ว ข้าพิจารณาดูแล้วก็เห็นทันทีว่า (การเรียกร้องสิทธิ์ของข้า) ไม่มีผู้ช่วยแต่อย่างใดนอกจากสมาชิกครอบครัวของข้า ดังนั้น ข้าไม่พอใจต่อความตายของพวกเขา ข้าต้องหลับตาขณะที่มันเต็มไปด้วยเศษปฏิกูล ข้ากล่ำกลืนเหตุการณ์ที่แสนขมขื่น (ประหนึ่งลำคอที่ถูกหนามทิ่มแทง) ข้าต้องอดทนอย่างสุดแสนกล้ำกลืน และดื่มความขมขื่นของรสชาติที่สุดแสนจะขม[11]

ในอีกที่หนึ่งท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ดังนั้น ถ้าฉันพูดอะไรออกมาคนเหล่านั้นก็จะกล่าวว่า “เขาทะยานอยากในอำนาจการปกครอง” แต่ถ้าฉันนิ่งเงียบไม่พูดอะไร พวกเขาก็จะกล่าวว่า “เขากลัวตาย”[12]

สรุป การให้สัตยาบันของท่านอิมามอะลี (อ.) มิได้เกิดจากความหวาดกลัว (เนื่องจากทั้งมิตรและศัตรูต่างทราบดีถึงความกล้าหาญชาญชัยของท่าน) ทว่าเนื่องจากการปราศจากผู้ช่วยเหลือในวิถีทางความจริง และต้องการรักษาความสมานฉันท์ในสังคมอิสลาม ซึ่งเป็นหน้าที่ของเหล่าบรรดาผู้นำที่แท้จริงแห่งพระเจ้า แม้แต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน เนื่องจากท่านมีสหายผู้ช่วยเหลือเพียงน้อยนิด และต้องการรักษาอิสลามให้มั่นคง ท่านจำเป็นต้องปลีกตัวออกไปจากหมู่ชน และอพยพไปยังมะดีนะฮฺ จนกระทั่งว่าผู้ช่วยเหลือมีจำนวนมากขึ้น ท่านจึงได้กลับมาพิชิตมักกะฮฺในภายหลัง

ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามอะลี (อ.) ทั้งที่รู้ว่าท่านคือตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แต่เพื่อความสงบของสังคมและมุสลิม ท่านถือว่าการอดทนคือวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับท่าน เนื่องจากท่านอิมาม (อ.) ทราบดีว่าเมื่อใดจึงจะสามารถใช้กำลัง และอาวุธเข้าห้ำหั่นกับศัตรู แต่สังคมหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จากไปแล้ว ท่านเห็นว่าความอดทนและการนิ่งเงียบนั้นดีกว่าการต่อสู้ ในสถานการณ์เช่นนั้น ท่านและครอบครัวตลอดจนสหายของท่าน ได้นิ่งเงียบและจะใช้กำลังสู้รบกับศัตรูที่จ้องจะทำลายล้างอิสลาม ดังนั้น การนิ่งเงียบและการประนีประนอมของท่านอิมาม (อ.) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

 


[1] กันซุลอุมาล 5/552

[2] ซุยูฎียฺ, ตารีคคุละฟาอฺ, หน้า 62, พิมพ์ ดารุลฟิกฮฺ, เลบานอน, ตารีคยะอฺกูบียฺ,2/124-125, ฏ็อบรียฺ, ตารีคอัลอุมัม วัลมะลูก, 2, เล่ม 2, หน้า 443, พิมพ์ที่อิสติกอมัต, กอเฮเราะฮฺ, มุซนัดอะฮฺมัด, เล่ม 3, หน้า 156, (ฮาชิม), พิมพ์ที่ ดารุลซอดิร

[3] อ้างแล้ว

[4] มะอาลิม อัลมัดเราะสะตัยนฺ,อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 162.

[5] ฏ็อบรียฺ, ตารีคอัลอุมัมวัลมัมลูก, 2/448, พิมพ์ที่อิสติกอมะฮฺ, กอเฮเราะฮฺ

[6] อินซาบ อัลอัชรอฟ 1/587.

[7] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 3, หน้า 45.

[8] قالَ يَا بْنَ أُمَّ لا تَأْخُذْ بِلِحْيَتي‏ وَ لا بِرَأْسي‏ إِنِّي خَشيتُ أَنْ تَقُولَ فَرَّقْتَ بَيْنَ بَني‏ إِسْرائيلَ وَ لَمْ تَرْقُبْ قَوْلي‏อัลกุรอาน บทฏอฮา, 94.

[9] فَلَمَّا اعْتزََلهَُمْ وَ مَا يَعْبُدُونَ مِن دُونِ الله‏อัลกุรอาน บทมัรยัม, 49.

[10] وَ إِذِ اعْتزَلْتُمُوهُمْ وَ مَا يَعْبُدُونَ إِلَّا اللَّهَ فَأْوُاْ إِلىَ الْكَهْفِ يَنشُرْ لَكمُ‏ْ رَبُّكُم مِّن رَّحْمَتِهِ وَ يُهَيئّ‏ِْ لَكمُ مِّنْ أَمْرِكمُ مِّرْفَقًا.อัลกุรอาน บทกะฮฺฟิ, 16.

[11] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 76, หน้า 73.

[12] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 5, หน้า 51.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14391 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8679 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่านซูเราะฮ์ต่าง ๆ ที่มีสุญูดวาญิบในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถทำการสุญูดได้อย่างไร?
    6930 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
     มัรญะอ์ตักลีดทุกท่านมีความเห็นว่าเป็นวาญิบสำหรับทุกคนที่จะต้องสุญูดหลังจากการอ่านหรือฟังอายะฮ์ที่วาญิบจะต้องสุญูดท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “ในซูเราะฮ์ “อันนัจม์, อัลอะลัก, อลีฟลามมีมตันซีลและฮามีมซัจดะฮ์” จะมีหนึ่งอายะฮ์ที่หากใครก็ตามได้อ่านหรือฟังอายะฮ์เหล่านี้จะต้องทำการสุญูดทันทีหลังจากที่อายะฮ์ดังกล่าวจบลงและหากหลงลืมจะต้องทำการสุญูดเมื่อนึกขึ้นได้[1]มัรญะอ์บางท่านได้กล่าวว่า “แม้หากได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจหรือได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวอย่างผิวเผินเป็นอิฮ์ติญาดวาญิบที่จะต้องทำการสุญูด[2]อนึ่งในการสุญูดวาญิบของกุรอานไม่สามารถสุญูดบนอาหารหรือเครื่องแต่งกายแต่ไม่จำเป็นที่จะทำตามเงื่อนไขข้ออื่นๆ[3]ของการสุญูดในนมาซเช่นไม่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำละหมาดหรือหันหน้าไปทางกิบลัตอีกทั้งไม่วาญิบที่จะต้องอ่านอะไรและหากกระทำเพียงแตะหน้าผากบนพื้นโดยมีเจตนาที่จะสุญูดโดยไม่ได้อ่านอะไรก็ถือว่าเพียงพอแล้ว[4]ดังนั้นหากไม่สามารถสุญูดเช่นนี้ได้จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเช่นขอร้องไม่ให้นักกอรีอ่านซูเราะฮ์ที่มีสุญูดวาญิบในงานเช่นนี้หรือผู้จัดงานจะต้องหาสถานที่จัดงานที่ผู้เข้าร่วมในงานสามารถทำสุญูดได้เมื่อมีการอันเชิญอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบและหากไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้ฟังจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะได้ยินอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบเองเช่นเมื่อจะมีการอ่านอายะฮ์หรือซูเราะฮ์ดังกล่าวให้รีบเดินออกจากงานทันทีเพื่อไม่ต้องสุญูด[1]
  • การตัดขาดการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม โดยปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษ มีกฎเกณฑ์เป็นเช่นไร
    12594 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิดการถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง
  • เกิดอะไรขึ้นกับม้าของอิมามฮุเซน (อ.) ที่กัรบะลา
    7702 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    สายรายงานไม่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของม้าของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่มีนามว่า "ซุลญะนาฮ" อย่างละเอียดนักแต่สายรายงานที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่ระบุว่าหลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้วม้าตัวนี้ได้เกลือกกลั้วขนแผงคอกับเลือดอันบริสุทธิ์ของท่านแล้วมุ่งหน้าไปยังกระโจมและส่งเสียงร้องโหยหวนบรรดาผู้ที่อยู่ในกระโจมเมื่อได้ยินเสียงของซุลญะนาฮก็รีบวิ่งออกมาจากกระโจมจึงได้รับรู้ว่าอิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้ว[1]แต่ทว่าสายรายงานและหนังสือบางเล่มที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่เช่นหนังสือนาซิคุตตะวารีคได้กล่าวถึงเหตุการณ์อื่นๆนอกเหนือจากนี้เช่นกล่าวไว้ว่าม้าตัวนั้นได้โขกหัวกับพื้นบริเวณหน้ากระโจมจนตายหรือควบตะบึงไปยังแม่น้ำฟูรอตและกระโดดลงในแม่น้ำ[2][1]ซิยาเราะฮ์นาฮิยะฮ์
  • หากต้องการรับประทานอาหาร จะต้องขออนุญาตจากเจ้าของบ้านก่อนหรือไม่?
    5255 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    ในทัศนะของอิสลามแน่นอนว่าอาหารที่เราจะรับประทานนั้นนอกจากจะต้องฮะลาลและสะอาดแล้วจะต้องมุบาฮ์ด้วยกล่าวคือเจ้าของจะต้องยินยอมให้เรารับประทานและเราจะต้องรู้ว่าเขาอนุญาตจริงการรับประทานอาหารของผู้อื่นโดยที่เขาไม่อนุญาตถือว่าเป็นฮะรอมแต่ในกรณีที่เจ้าบ้านได้เชิญแขกมาที่บ้านเพื่อเลี้ยงอาหารโดยอำนวยความสะดวกให้และจัดเตรียมอาหารไว้ต้อนรับ
  • ความรุ่งเรืองและความสมบูรณ์แบบของมนุษย์อยู่ในอะไร
    5749 จริยธรรมปฏิบัติ 2553/10/21
    คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
  • เงื่อนไขถูกต้องสำหรับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ เป็นเช่นไร?
    6176 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับศาสนาอื่นที่มองเห็นความต้องการของมนุษย์เพียงด้านเดียวและให้ความสนใจเฉพาะด้านวัตถุปัจจัยหรือด้านจิตวิญาณเพียงอย่างเดียว, อิสลามได้เลือกสายกลาง. เพื่อเป็นครรลองดำเนินชีวิตถูกต้องแก่ประชาชาติโดยให้มนุษย์เลือกใช้ความโปรดปรานต่างๆจากพระเจ้าอย่างถูกต้องและถูกวิธี
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7077 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    9794 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59309 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56759 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41585 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38351 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38325 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33397 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27491 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27173 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27061 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25140 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...