การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14566
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa884 รหัสสำเนา 14619
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
คำถาม
เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ อิสลามถือว่าทั้งหญิงและชายเกิดมาเท่าเทียมกันมิไช่หรือ? แล้วเหตุใดจึงกำหนดกฏเกณฑ์เฉพาะสตรี หากยอมรับว่าสองเพศมิได้แตกต่างกัน ผู้ชายก็ต้องคลุมฮิญาบด้วยมิไช่หรือ?
คำตอบโดยสังเขป

สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน และการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคม อาทิเช่น การศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการ ข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคม ทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงาม แต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหา ด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษ ทั้งนี้และทั้งนั้น หาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรี โดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่.

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อจะได้คำตอบที่ชัดเจน จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆดังต่อไปนี้
1. หญิงและชายมีความเสมอภาคกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน[1] และการที่ควรได้รับสิทธิทางสังคมอย่างเสมอภาค เช่นการสมรส, การศึกษาเล่าเรียน, การเรียกร้องสิทธิตามกฏหมาย, อิสรภาพทางความคิด...ฯลฯ
2. แม้ทั้งสองเพศจะมีความคล้ายคลึงบางประการ แต่ก็มีข้อแตกต่างหลายประการเช่นกัน
อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าแม้สุภาพสตรีจะมีส่วนคล้ายคลึงกับสุภาพบุรุษ แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างมากมายอันเกิดจากคุณลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันระหว่างสองเพศโดยเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นสมอง, หัวใจ, ระบบใหลเวียนของเลือด, ระบบประสาท น้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งนักกายวิพากษ์ได้ให้ทัศนะไว้ว่า มีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันระหว่างสองเพศ ภาวะดังกล่าวส่งผลให้ผิวพรรณของสุภาพสตรีทั่วไปมีลักษณะละเอียดและอ่อนนุ่มกว่า ในทางตรงกันข้าม ผิวพรรณของสุภาพบุรุษหยาบกร้านและมีสรีระที่บึกบึนกว่า สุภาพสตรีมีสภาวะทางจิตใจที่ละเอียดอ่อนกว่า ไม่ว่าจะในแง่ความรัก, ความสงสาร, ความรักสวยรักงาม, การแต่งกาย ส่วนสุภาพบุรุษจะโดดเด่นกว่าในด้านความรอบคอบเชิงเหตุและผล สรุปคือ วิถีชีวิตของสุภาพสตรีทั่วไปเน้นด้านอารมณ์ความรู้สึก ส่วนสุภาพบุรุษเน้นด้านตรรกะเป็นหลัก [2]
3. มิไช่สุภาพสตรีเท่านั้นที่ต้องระมัดระวังการแต่งกาย แต่สุภาพบุรุษก็ต้องระมัดระวังด้วยในระดับหนึ่ง[3]
4. เราเชื่อว่าปรัชญาหรือเหตุผลของการสวมฮิญาบสำหรับสุภาพสตรีขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการ ไม่ว่าจะปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยทางสถาบันครอบครัว และปัจจัยทางสังคม.
ในแง่จิตวิทยา ฮิญาบช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจแก่สังคม
ในแง่สถาบันครอบครัว ฮิญาบจะช่วยกระชับสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะระหว่างสามีภรรยา.
ในแง่สังคม ฮิญาบจะช่วยปกป้องและส่งเสริมให้ทรัพยากรบุคคลสามารถทุ่มเทกับการทำงานมากขึ้น

กล่าวได้ว่า อิสลามต้องการจะจำกัดความสุขทางกามารมณ์ไว้ในบรรยากาศครอบครัวที่เกิดจากการสมรสอันถูกทำนองคลองธรรม โดยส่งเสริมให้พื้นที่ทางสังคมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบอาชีพอย่างเต็มประสิทธิภาพ แนวคิดดังกล่าวสวนทางกับสังคมตะวันตกในปัจจุบันที่ผูกโยงอาชีพการงานไว้กับการปลุกเร้ากามารมณ์ อิสลามเพียงต้องการจะแยกพื้นที่ของสองปัจจัยนี้ออกจากกันเท่านั้น.[4]

5. นอกจากเหตุผลต่างๆข้างต้นแล้ว คุณสมบัติเฉพาะของสุภาพสตรีก็มีส่วนทำให้ต้องระมัดระวังการแต่งกายมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีภาพลักษณ์โดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงาม ส่วนสุภาพบุรุษโดดเด่นในแง่ของนักแสวงหา จึงควรเตือนให้สุภาพสตรีระมัดระวังการเผยสรีระมากกว่าจะเตือนสุภาพบุรุษ เพราะถึงแม้ศาสนาจะกำชับผู้ชายเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยกว่า แต่คุณสมบัติเฉพาะดังกล่าวทำให้ผู้ชายมักจะแต่งตัวปกปิดร่างกายมากกว่าผู้หญิง ทั้งนี้ก็เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายมักจะเอร็ดอร่อยกับการได้จ้องมองความงามของผู้หญิงมากกว่าที่จะเผยสรีระตนเอง และผู้หญิงก็มักจะมีความสุขที่ได้เผยความงามมากกว่าจะจ้องมองผู้ชาย และการที่ผู้ชายปรารถนาจะจ้องมองผู้หญิง มักจะกระตุ้นให้ฝ่ายหญิงสนองตอบด้วยการเผยความงามมากขึ้น เพราะเหตุนี้เองที่ตะบัรรุจ”(การเผยตน)ถือเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของผู้หญิง[5]
6. อีกเหตุผลที่สำคัญก็คือ การแต่งกายมิดชิดจะช่วยยกระดับคุณค่าของสุภาพสตรีในทัศนะของสุภาพบุรุษ ทั้งนี้เนื่องจากนับแต่โบราณ การกำหนดพื้นที่หวงห้ามทางสังคมที่สุภาพสตรีกระทำต่อเพศตรงข้าม ถือเป็นเคล็ดลับที่สุภาพสตรีมักใช้รักษาสถานภาพของตนเองให้แลดูสูงส่งเสมอในทัศนะของเพศตรงข้าม  อิสลามสนับสนุนให้รักษาวิธีดังกล่าวไว้ทุกยุคสมัย ด้วยเหตุนี้ หากอิสลามสอนให้สุภาพสตรีเดินเหิรให้แลดูสง่า มั่นคง และรักษาจริตแห่งกุลสตรี และสอนให้หลีกเลี่ยงการเผยสรีระในที่สาธารณะ ก็เนื่องจากอิสลามต้องการจะยกระดับคุณค่าของสุภาพสตรีให้สูงขึ้น และไม่ปล่อยให้เธอเป็นเพียงสินค้าไร้ค่าที่ใครๆก็หยิบฉวยได้ตามใจชอบ[6]

สรุปคือ วัตถุประสงค์ของการปกปิดเรือนร่างในลักษณะที่อิสลามกำหนดไว้ คือการเพิ่มพูนเกียรติภูมิของสุภาพสตรี เนื่องจากฮิญาบจะช่วยปกป้องเธอให้ปลอดภัยจากการแทะโลมของบุคคลที่มักมากในตัณหาราคะ จึงกล่าวได้ว่าฮิญาบมิไช่กรงขัง แต่เป็นรั้วรอบขอบชิดที่ปลอดภัย ทั้งสำหรับตัวเธอเอง และสำหรับสังคมโดยรวมที่จะรอดพ้นจากกิเลศตัณหา.

เพื่อศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่าน
1. อายะตุลลอฮ์ อะห์มัด มุห์ซินี โฆรฆอนี,ไข่มุกเลอค่าในฮิญาบ,สำนักพิมพ์อุลูมอิสลามี.
2. มุฮัมมัด เอชเทฮอรดี, ฮิญาบ:ภาพพจน์แห่งบุคลิกภาพ,พิมพ์ครั้งแรก,สำนักตำรวจฝ่ายบำบัดปัญหาสังคม.
3. อะห์มัด รอซซากี, สาเหตุอบายมุข, ฮิญาบไม่มิดชิด และวิธีแก้ปัญหา, พิมพ์ครั้งที่สี่, องค์การเผยแผ่อิสลาม.
4. มุฮัมมัด โชญออี, ไข่มุกและหอยมุข,พิมพ์ครั้งที่สาม.
5. อายะตุลลอฮ์ มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี, ประเด็นฮิญาบ,สำนักพิมพ์ศ้อดรอ.
6. มุฮซิน กิรออะตี, อาภรณ์สตรีในอิสลาม,พิมพ์ครั้งที่เก้า,สำนักพิมพ์นาศิร.
7. อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออโมลี, สตรีในภาพลักษณ์แห่งความสง่าและความงาม,พิมพ์ครั้งที่สอง, สำนักพิมพ์ระญอ.
8. ฟัตฮียะฮ์ ฟัตตาฮีซอเดะฮ์, ฮิญาบในปริทรรศน์กุรอานและซุนนะฮ์, พิมพ์ครั้งที่สอง, สนง.เผยแผ่อิสลาม.



[1] ซูเราะฮ์นิซาอ์,1:

یا ایها الناس اتقوا ربکم الذی خلقکم من نفس واحدة و خلق منها زوجها و بث منهما رجالا کثیرا و نساء و اتقوا الله الذی تسالون به و الارحام ان الله کان علیکم رقیبا

[2] อัลมีซานฉบับแปล, เล่ม 2 หน้า 416.

[3] เช่น..วาญิบต้องปกปิดเอาเราะฮ์ ส่วนบริเวณอื่นของร่างกายก็จำเป็นต้องปิดเฉพาะในกรณีที่หากเพศตรงข้ามเห็นแล้วจะเกิดความไคร่ ยกเว้นบริเวณที่เปิดโดยปกติ(เช่นใบหน้าและศีรษะ). ปัญหาฟิกเกาะฮ์ใหม่, เล่ม 3,หน้า 227,228.

[4] มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี, รวมงานประพันธ์,เล่ม 19, หน้า 432.

[5] มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี, รวมงานประพันธ์,เล่ม 19, ภาคประเด็นฮิญาบ,การปกปิดเอาเราะฮ์.

[6] ดู: อ้างแล้ว, แตกต่างเล็กน้อย.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
    8756 تاريخ بزرگان 2554/12/11
    ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรซึ่งมาจากเผ่า “นะเคาะอ์” และ “มิซฮัจ” ในเยเมนแต่อย่างใดสิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือเผ่านี้เป็นกลุ่มแรกๆในเยเมนที่เข้ารับอิสลามมาลิกอัชตัรมีบุตรชายสองคนคนหนึ่งมีนามว่าอิสฮากและอีกคนมีชื่อว่าอิบรอฮีมอิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (อ.) ในกัรบาลาและได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุดอิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตารษะเกาะฟีและได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถโดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (อ.) เช่นอิบนุซิยาดประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าอิบรอฮีมมีบุตร 5 คนนามว่านุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีมกอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา ...
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6250 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5375 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • กาสาบานต่อท่านศาสดาและอิมามในเดือนรอมฎอนคือ สาเหตุทำให้ศีลอดเสียหรือ?
    6926 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    การสาบาน มิใช่หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ศีลอดเสีย แต่ถ้าได้สาบานโดยพาดพิงสิ่งโกหกไปยังอัลลอฮฺ (ซบ.) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่านโดยตั้งใจ ซึ่งสาเหตุนี้เองที่กล่าวว่า เป็นการโกหกที่พาดพิงไปยังอัลลอฮฺ ศาสดา (ซ็อลฯ) และตัวแทนของท่าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสีย ส่วนคำสาบานต่างๆ ที่อยู่ในบทดุอาอฺไม่ถือว่าโกหก ทว่าเป็นการเน้นย้ำและอ้อนวอนให้ตอบรับดุอาอฺที่ขอต่ออัลลอฮฺ ซึ่งไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดเสียแต่อย่างใด ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    7671 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด เป็นจำนวนเท่าไหร่? ทุกวันนี้ค่าเงินดีนารและดิรฮัม, เทียบเท่ากี่ดอลลาร์?
    7543 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ค่าเงินดิรฮัมและดีนาร เป็นค่าเงินสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และอิมามมะอฺซูม (อ.) ซึ่งปัจจุบันภารกิจด้านชัรอียฺและกฎหมายก็ยังใช้อยู่ และปัจจุบันบางภารกิจยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่ ดีนาร, คือเหรียญซึ่งทำจากทองคำ ส่วนดิรฮัมทำด้วยเงิน, ดังนั้น ถ้ารู้น้ำหนักทองหรือเงินที่ใช้ทำเหรียญ ดินาร และดิรฮัม ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงราคาปัจจุบันของเหรียญทั้งสองทันที, ปกติดินารชัรอียฺ ประมาณ 4/42 กรัม แต่ทัศนะของบางคนกล่าวว่า 4/46 กรัม[1] ดังนั้น ถ้าคิดเทียบอัตราค่าทองและเงินในปัจจุบัน ก็สามารถกำหนดราคาทองคำและเงิน โดยคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับภารกิจบางอย่าง ซึ่งอยู่ในฐานะของ สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด จำเป็นต้องจ่ายออกไปเป็นดิรฮัมและดินาร ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกรณีดังนี้ : 1.ถ้าหากผู้ตายเป็นชาย เป็นมุสลิม ...
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    6701 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
    14425 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/29
    »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น : 1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด 2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม 3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ 4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี
  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7652 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • การบริโภคเนื้อเต่าคือมีฮุกุมอย่างไร? ฮะลาลหรือฮะรอม?
    6535 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/11
    การบริโภคเนื้อเต่าถือว่าเป็นฮะรอม[1]ในภาษาอาหรับเรียกเต่าว่า “ซุลฮะฟาต” และมีริวายะฮ์มากมายที่กล่าวว่าเป็นฮะรอม[2]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...