การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10377
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa748 รหัสสำเนา 14410
คำถามอย่างย่อ
ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
คำถาม
ชายชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศ จากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่าฮูรุลอัยน์คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์ น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงาน ส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้น ตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.
ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้น จากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่า หากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น

คำตอบเชิงรายละเอียด

สวรรค์และความโสภาอันนิรันดร์ถือเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ ที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลแด่บ่าวผู้ยำเกรงและเปี่ยมศรัทธา อย่างไรก็ดี ความรื่นรมย์ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือความพึงพอพระทัยของพระองค์อันถือเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับมนุษย์  ประเด็นสำคัญก็คือ ความศรัทธาและการบำเพ็ญกุศลเท่านั้นที่จะนำพาสู่สรวงสวรรค์ ยิ่งศรัทธาแรงกล้าและกุศลกรรมมากมายเท่าใด ก็ยิ่งอำนวยให้ได้รับฐานันดรที่สูงขึ้นในสวรรค์ ซึ่งในการนี้ไม่มีข้อจำกัดทางเพศ หญิงและชายสามารถบรรลุระดับขั้นต่างๆได้เท่าเทียมกัน ดังกุรอานกล่าวว่า: ชายและหญิงคนใดที่ประกอบกุศลกรรมและเป็นผู้ศรัทธา แน่แท้จะได้ย่างเข้าสู่สรวงสวรรค์ และจะได้รับปัจจัยโดยไร้การคำนวนนับ.[1]
สวรรค์ย่อมปราศจากกฏเกณฑ์ใดๆ เพราะหากในสวรรค์มีกฏเกณฑ์เหมือนโลกนี้ ก็ย่อมจะต้องมีสวรรค์และนรกอีกชั้นหนึ่งเพื่อตอบแทนหรือลงทัณฑ์ในสิ่งที่ทำในสวรรค์ และจะเป็นบ่วงลูกโซ่เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุด ในขณะที่จริงๆแล้ว อัลลอฮ์กำหนดให้สวรรค์เป็นรางวัลสำหรับกุศลกรรมและความศรัทธาในโลกนี้ และหากพิจารณาจากโองการกุรอานและฮะดีษจะพบว่า ชาวสวรรค์จะได้รับทุกสิ่งที่หมายปอง[2] ซึ่งฮูรุลอัยน์ก็นับเป็นความรื่นรมย์หนึ่งที่ชายชาวสวรรค์จะได้เชยชม.
คำว่าฮูรเป็นพหูพจน์ของเฮารออ์ซึ่งแปลว่า หญิงสาวที่ตาดำของเธอดำขลับ และตาขาวของเธอขาวหมดจด หรืออีกความหมายหนึ่งคือ หญิงสาวที่นัยน์ตาของเธองามดุจนัยน์ตาของกวาง ส่วนอัยน์เป็นพหูพจน์ของอัยนาอ์ซึ่งแปลว่าผู้มีนัยน์ตากลมโต สันนิษฐานว่าฮูรุลอัยน์มีความแตกต่างจากหญิงสาวทั่วไปในโลกนี้[3] โดยพระองค์ทรงกล่าวว่าเราได้สมรสพวกเขากับฮูรุลอัยน์[4]ประเด็นนี้นักอรรถาธิบายกุรอานเห็นพ้องกันว่าในสวรรค์ย่อมไม่จำเป็นต้องมีการสมรสตามรูปแบบทั่วไปในโลก ฉะนั้นสมรสในที่นี้จึงหมายถึงการบันดาลฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชายหนุ่มในสวรรค์.[5]
จากการพิจารณาถึงคุณสมบัติของฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานและฮะดีษบางบท ทำให้เข้าใจได้ว่าฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีเพียงคนเดียวเท่านั้น ดังที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า:“...ไม่มีมนุษย์คนใดหรือญินตนใดจะได้สัมผัสนางมาก่อน(ที่จะได้พบคู่ครองในสวรรค์)[6]”.
อัลลามะฮ์ มัญลิซี กล่าวอธิบายคำว่ากอศิรอตุต ฏ็อรฟ์ที่ปรากฏช่วงแรกของโองการดังกล่าวว่าพวกนางคือคู่รักที่สงวนนัยน์ตาไว้เพื่อมองคู่ครองของตนโดยเฉพาะ และจะไม่ปรารถนาผู้ใดนอกจากคู่ครอง[7].
ส่วนกรณีของสตรีที่ได้เข้าสวรรค์เล่า จะปรารถนาคู่ครองที่หลากหลายดังเช่นชายชาวสวรรค์หรือไม่? คงต้องชี้แจงว่า ถึงแม้ชาวสวรรค์จะได้รับทุกสิ่งที่หมายปองก็จริง แต่ทว่าสตรีชาวสวรรค์ไม่ปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคน สังเกตุได้จากการที่สตรีผู้ศรัทธาในโลกนี้ก็มิได้ปรารถนาชายอื่นที่นอกเหนือจากสามี แน่นอนว่าในสวรรค์อันเป็นที่พำนักของผู้มีจิตผ่องแผ้ว สตรีชาวสวรรค์ก็มิได้ปรารถนาจะมีสามีหลายคนแต่อย่างใด.
มีรายงานว่า มีผู้ซักถามท่านอิมามศอดิกเกี่ยวกับการสมรสระหว่างคู่สามีภรรยาที่ได้เข้าสวรรค์ทั้งสองคน ท่านตอบว่า:หากระดับขั้นของภรรยาสูงกว่าสามี ภรรยาสามารถมีสิทธิเลือกครองรักกับสามีคนเดิมได้(โดยสามีไม่มีสิทธิเลือก) แต่หากระดับขั้นของสามีสูงกว่าภรรยา สามีก็มีสิทธิเลือกภรรยาเดิมของตน(แต่ภรรยาไม่มีสิทธิเลือก) ซึ่งในกรณีที่เลือก ภรรยาเดิมก็จะเป็นหนึ่งในกลุ่มภรรยาของสามี[8]ชัดเจนว่าภรรยาจะเป็นหนึ่งในกลุ่มภรรยาของสามี ในขณะที่สามีจะเป็นสามีหนึ่งเดียวของภรรยา.
อีกฮะดีษหนึ่งรายงานจากท่านนบี(..)ว่าหากสตรีในโลกนี้ผ่านการสมรสกับผู้ชายมากกว่าหนึ่งคน ในโลกหน้านางจะเลือกอดีตสามีคนใดก็ตามที่นางเห็นชอบ(ในแง่จรรยามารยาท)ให้เป็นสามีต่อไป[9] จะเห็นได้ว่านบีมิได้กล่าวว่านางจะเลือกทั้งสองคน แต่ชี้ชัดว่านางเลือกคนที่ดีที่สุดเพียงคนเดียว.
ท้ายนี้ขอกล่าวเสริมว่า ในสวรรค์มีฆิลมานที่จะปรนนิบัตรับใช้ทั้งชายและหญิงชาวสวรรค์
กุรอานกล่าวว่าจะมีเด็กหนุ่มสาละวนรับใช้อยู่รายรอบ ประหนึ่งมุขงามในเปลือกหอย[10]
ความหมายทั่วไปของโองการดังกล่าวบ่งชี้ว่า เด็กหนุ่มเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปรนนิบัติรับใช้เท่านั้น.



[1] ซูเราะฮ์ ฆอฟิร, 40.

[2] ซูเราะฮ์ ฟุศศิลัต, 31.

[3] คำแปลอัลมีซาน, เล่ม 18 , หน้า 228 .

[4] ซูเราะฮ์ อัดดุคอน, 54

[5] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8 ,หน้า 99 และ คำแปลอัลมีซาน, เล่ม 18 , หน้า 220.

[6] "فیهِنَّ قاصِراتُ الطَّرْفِ لَمْ یَطْمِثْهُنَّ إِنْسٌ قَبْلَهُمْ وَ لا جَان‏" ซูเราะฮ์ อัรเราะฮ์มาน, 59

[7] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8 , หน้า 97 .

[8] อ้างแล้ว, หน้า 105.

[9] อ้างแล้ว, เล่ม 8 หน้า 119

[10] "وَ یَطُوفُ عَلَیْهِمْ غِلْمانٌ لَهُمْ کَأَنَّهُمْ لُؤْلُؤٌ مَکْنُونٌ"، อัตฏูร, 24.

ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59362 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56817 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41639 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38389 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38385 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25176 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...