การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8662
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7672 รหัสสำเนา 19494
คำถามอย่างย่อ
"การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
คำถาม
คุณเชื่อหรือไม่ว่าการซิยารัตอิมามฮุเซน บิน อลี (หลานนบี) เปรียบเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช? (ดู: อัลมะซ้าร, เชคมุฟี้ด,หน้า 51)
คำตอบโดยสังเขป

ท่านฮุเซน บิน อลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมาย วัตรปฏิบัติ การเสียสละ และความอดทนต่อโศกนาฏกรรมต่างๆในหนทางของพระองค์ อัลลอฮ์จึงทรงประทานผลบุญแก่ท่านมากมาย ความยิ่งใหญ่ที่ท่านได้รับในโลกนี้มีมากมายถึงขั้นที่มีการรณรงค์ให้ผู้คนเดินทางไปซิยารัต(เยี่ยมเยียน)ท่าน โดยผู้ซิยารัตก็จะได้รับอานิสงส์เป็นผลบุญมหาศาล ตัวอย่างของผลบุญดังกล่าวปรากฏอยู่ในฮะดีษที่เชคมุฟี้ดและท่านอื่นๆรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ท่านอิมามศอดิก(.)เคยกล่าวไว้ว่า "...และผู้ใดที่ซิยารัตกุโบรของอิมามฮุเซนในวันอาชูรอ ประหนึ่งว่าเขาได้ซิยารัตพระองค์  อะรัช"
ทั้งนี้ มีฮะดีษทำนองนี้กล่าวถึงการซิยารัตกุโบรนบี(..)เช่นกัน อิมามริฏอ(.)กล่าวถึงความหมายของการซิยารัตอัลลอฮ์ว่า "เนื่องจากไม่สามารถจะเห็นและเยี่ยมเยียนอัลลอฮ์โดยตรงได้ อัลลอฮ์จึงกำหนดให้การซิยารัตนบี(..)ประหนึ่งการซิยารัตพระองค์เอง"
อย่างไรก็ดี การซิยารัตอิมามฮุเซน(.)คือปัจจัยที่ช่วยพิทักษ์เจตนารมณ์สูงสุดของท่าน ซึ่งก็คือการคงไว้ซึ่งศาสนาของอัลลอฮ์และคำสอนของอัลกุรอานนั่นเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

อิสลามเป็นศาสนาแห่งศีลธรรม ทุกผลบุญที่อัลลอฮ์สัญญาว่าจะประทานให้ ล้วนเป็นการตอบแทนคุณงามความดีที่มนุษย์กระทำทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์คือผู้ทรงยุติธรรมสูงสุดในการประทานรางวัล และไม่ทรงละเมิดผลตอบแทนของผู้ใด[1] ยิ่งมนุษย์ทำความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจเพียงใด และยิ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากเท่าใด ก็จะได้รับผลบุญ  พระองค์เพิ่มขึ้นเท่าทวีคูณ

ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานบีและอิมาม(.)จึงได้รับฐานันดรศักดิ์ที่สูงส่ง  พระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านฮุเซน บิน อลี(.) ผู้เป็นอิมามท่านที่สามของชีอะฮ์ ซึ่งได้รับความโปรดปรานพิเศษจากพระองค์นั้น มิได้เป็นเพราะท่านเป็นหลานของท่านนบี(..) แต่เกิดจากการที่ท่านมีเจตนารมณ์ คุณลักษณะ ความประพฤติอันงดงาม กอปรกับความอดทนต่ออุปสรรคนานัปการที่ต้องเผชิญในหนทางแห่งภารกิจพิทักษ์อิสลามและกุรอาน

ท่านฮุเซน บิน อลี (.) ต่อกรกับยะซีดและพลพรรคเพราะท่านมีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ์ หาไช่เพราะกิเลส ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า หากท่านอิมามฮุเซน(.)มิได้ยืนหยัดต่อต้านการบิดเบือนครั้งแล้วครั้งเล่าของบนีอุมัยยะฮ์ อิสลามก็คงเหลือเพียงชื่อเท่านั้น เนื่องจากบนีอุมัยยะฮ์จะสกัดกั้นมิให้แก่นแท้ของอิสลามตกทอดถึงรุ่นเรา ความเสียสละที่อุดมไปด้วยปัญญาและความรักของท่านอิมามฮุเซนช่วยให้อิสลามรอดพ้นจากเงื้อมมือของบนีอุมัยยะฮ์ในที่สุด[2]

อีกมุมหนึ่ง ท่านอิมามฮุเซน(.)ทราบดีว่าท่านไม่รอดชีวิตอย่างแน่นอน ทราบดีว่าศัตรูกระหายโลหิตของท่าน และทราบดีว่าชาวกูฟะฮ์ประพฤติกับพ่อและพี่ชายของท่านเช่นไร แต่กระนั้น ท่านก็พร้อมจะเสียสละตนเอง เครือญาติ บุตรหลานและมิตรสหาย ท่านยินดีที่จะรับลิขิตของพระองค์เพื่อปกป้องศาสนาอิสลาม และยอมสละเลือดพลีให้แก่ศาสนาด้วยความเต็มใจ

แม้ว่าบรรดานบีและเอาลิยาอ์ของพระองค์หลายท่านยอมพลีชีวิตเพื่อหนทางของพระองค์มาแล้ว แต่ไม่มีกรณีใดที่เทียบเท่าโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุเซนได้ ไม่ว่าในแง่จำนวนผู้เสียชีวิต วิธีสังหารโหด พฤติกรรมทรามต่อศพ ตลอดจนการปล้นสดมภ์และจับสตรีและเด็กเป็นเชลยศึกโดยกองทัพยะซีด

อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า "เราจะประทานรางวัลแก่ผู้อดทนโดยปราศจากการคำนวนนับ"[3]
ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มีโศกนาฏกรรมใด และมีการอดทนใดที่จะยิ่งใหญ่กว่าโศกนาฏกรรมของอิมามฮุเซนเล่า? ความปวดร้าวและการอดทนที่ท่านมี ล้วนเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ใจ ปราศจากซึ่งผลประโยชน์แอบแฝงใดๆทั้งสิ้น
จากปัจจัยข้างต้น คิดว่าพระองค์น่าจะตอบแทนท่านอิมามฮุเซนอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับการอดทนของท่าน และเหมาะแก่ความเอื้ออาทรของพระองค์ในฐานะจ้าวแห่งสากลจักรวาล?
ด้วยเหตุนี้เองที่พระองค์ตอบแทนท่านอย่างมหาศาล อาทิเช่น ประทานศักดิ์ศรีและเกียรติยศในโลกนี้ ถึงขั้นที่รณรงค์ให้ผู้คนเยี่ยมเยียน(ซิยารัต)กุโบรของท่าน โดยพระองค์สัญญาว่าจะประทานผลบุญมหาศาลสำหรับการนี้ ตัวอย่างเช่นผลบุญที่รายงานโดยเชคมุฟี้ดและท่านอื่นๆอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า ท่านอิมามญะฟัร ศอดิก(.)กล่าวว่า "... และผู้ใดที่เยี่ยมเยียนกุโบรของท่านอิมามฮุเซน(.)ในวันอาชูรอ เสมือนว่าได้เข้าเฝ้าอัลลอฮ์  อะรัชของพระองค์"[4]

เรื่องนี้มิไช่เรื่องเหลือเชื่อ เนื่องจากฮะดีษที่มีเนื้อหาคล้ายกันนี้ปรากฏในกรณีการเยี่ยมเยียนกุโบรนบี(..)เช่นกัน ท่านอิมามญะฟัร ศอดิก(.)กล่าวว่า "ผู้ใดที่เยี่ยมเยียนศาสนทูตของอัลลอฮ์(..) เสมือนได้เข้าเฝ้าพระองค์  อะรัช"[5]
ท่านอิมามริฎอ(.)อธิบายความหมายของการเยี่ยมเยียนอัลลอฮ์ว่า "เนื่องจากไม่สามารถจะเห็นและเยี่ยมเยียนอัลลอฮ์ได้ อัลลอฮ์จึงกำหนดให้การเยี่ยมเยียนนบีเทียบเท่ากับการเยี่ยมเยียนพระองค์"[6]

อย่างไรก็ดี การซิยารัตอิมามฮุเซน(.)คือปัจจัยที่ช่วยพิทักษ์เจตนารมณ์สูงสุดของท่าน ซึ่งก็คือการคงไว้ซึ่งศาสนาของอัลลอฮ์และคำสอนของอัลกุรอานนั่นเอง



[1] อาลิ อิมรอน, 171  أَنَّ اللَّهَ لا یُضیعُ أَجْرَ الْمُؤْمِنینَ"؛ توبه ،:"120إِنَّ اللَّهَ لا یُضیعُ أَجْرَ الْمُحْسِنینَ

[2] คัดจากคำถามที่ 4218 (เลขที่ในเว็บ 4456) ระเบียน:  "การกระทำของอิมามฮุเซน(.)ในวันอาชูรอเกิดจากปัญญาหรือความรัก?"

[3] อัซซุมัร, 10 قُلْ یا عِبادِ الَّذینَ آمَنُوا اتَّقُوا رَبَّکُمْ لِلَّذینَ أَحْسَنُوا فی‏ هذِهِ الدُّنْیا حَسَنَةٌ وَ أَرْضُ اللَّهِ واسِعَةٌ إِنَّما یُوَفَّى الصَّابِرُونَ أَجْرَهُمْ بِغَیْرِ حِساب

[4] جَعْفَرُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ قُولَوَیْهِ فِی الْمَزَارِ عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ الْمُوسَوِیِّ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ نَهِیکٍ عَنِ ابْنِ أَبِی عُمَیْرٍ عَنْ زَیْدٍ الشَّحَّامِ عَنْ جَعْفَرِ بْنِ مُحَمَّدٍ ع قَالَ مَنْ زَارَ الْحُسَیْنَ ع لَیْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ غَفَرَ اللَّهُ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَ مَا تَأَخَّرَ وَ مَنْ زَارَهُ یَوْمَ عَرَفَةَ کَتَبَ اللَّهُ لَهُ أَلْفَ حَجَّةٍ مُتَقَبَّلَةٍ وَ أَلْفَ عُمْرَةٍ مَبْرُورَةٍ وَ مَنْ زَارَهُ یَوْمَ عَاشُورَاءَ فَکَأَنَّمَا زَارَ اللَّهَ فَوْقَ عَرْشِهِ.

[5] ตะฮ์ซีบุ้ลอะห์กาม,เล่ม 6,หน้า 3 3 قاْلِ الصَّادِقِ ع مَنْ زَارَ رَسُولَ اللَّهِ ص کَمَنْ زَارَ اللَّهَ فَوْقَ عَرْشِهِ ؛ وسائل‏الشیعة ج : 14 ص : 335،حدیث 19340، وَ عَنْ عِدَّةٍ مِنْ أَصْحَابِنَا عَنْ سَهْلِ بْنِ زِیَادٍ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَیْنِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ إِسْمَاعِیلَ عَنْ صَالِحِ بْنِ عُقْبَةَ عَنْ زَیْدٍ الشَّحَّامِ قَالَ قُلْتُ لِأَبِی عَبْدِ اللَّهِ ع مَا لِمَنْ زَارَ رَسُولَ اللَّهِ ص قَالَ کَمَنْ زَارَ اللَّهَ فَوْقَ عَرْشِهِ الْحَدِیثَ

[6] - ید، [التوحید] ن، [عیون أخبار الرضا علیه السلام‏] لی، [الأمالی للصدوق‏] الْهَمْدَانِیُّ عَنْ عَلِیٍّ عَنْ أَبِیهِ عَنِ الْهَرَوِیِّ قَالَ قُلْتُ لِعَلِیِّ بْنِ مُوسَى الرِّضَا ع یَا ابْنَ رَسُولِ اللَّهِ مَا تَقُولُ فِی الْحَدِیثِ الَّذِی یَرْوِیهِ أَهْلُ الْحَدِیثِ أَنَّ الْمُؤْمِنِینَ یَزُورُونَ رَبَّهُمْ مِنْ مَنَازِلِهِمْ فِی الْجَنَّةِ فَقَالَ ع یَا أَبَا الصَّلْتِ إِنَّ اللَّهَ تَبَارَکَ وَ تَعَالَى فَضَّلَ نَبِیَّهُ مُحَمَّداً ص عَلَى جَمِیعِ خَلْقِهِ مِنَ النَّبِیِّینَ وَ الْمَلَائِکَةِ وَ جَعَلَ طَاعَتَهُ طَاعَتَهُ وَ مُبَایَعَتَهُ مُبَایَعَتَهُ وَ زِیَارَتَهُ فِی الدُّنْیَا وَ الْآخِرَةِ زِیَارَتَهُ فَقَالَ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ مَنْ یُطِعِ الرَّسُولَ فَقَدْ أَطاعَ اللَّهَ.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ฮะดีษที่ว่า "อิมามทุกท่านมีสถานะและฐานันดรเทียบเคียงท่านนบี(ซ.ล.)"(อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 270) เชื่อถือได้หรือไม่?
    6652 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้เหล่าผู้ปราศจากบาปทั้งสิบสี่ท่านจะบรรลุฐานันดรทางจิตวิญญาณอันสูงส่งแต่อย่างไรก็ดีท่านเราะซู้ล(ซ.ล.)คือผู้ที่มีสถานะสูงสุดและมีข้อแตกต่างบางประการที่อิมามมะอ์ศูมอื่นๆไม่มีดังที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า "บรรดาอิมามเปรียบดั่งท่านนบี(ซ.ล.) เพียงแต่มิได้มีสถานะเป็นศาสนทูตและไม่สามารถกระทำบางกิจเฉกเช่นนบี (
  • เมื่อคำนึงถึงการที่สตรีจะต้องมีประจำเดือน จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ เนื่องจากจะต้องถือศีลอดติดต่อกันเป็นเวลา 31 วัน
    7182 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการถือศีลอดที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องถืออย่างติดต่อกัน (เช่นการถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์หรือการถือศีลอดที่มีการบนบานเอาไว้) หากเขาไม่สามาถทำเช่นนี้ได้เนื่องจากป่วยหรือมีรอบเดือนหรือเป็นนิฟาซ (สำหรับสตรี) และผู้ถือศีลอดไม่สามารถถือศีลอดติดต่อกันได้ต่อเมื่อข้อจำกัดเหล่านั้นหมดไป (เช่นการป่วย, การมีรอบเดือนหรือการมีนิฟาซ) หากถือศีลอดต่อทันทีก็จะถือว่าถูกต้องและไม่จำเป็นต้องเริ่มถือศีลอดใหม่แต่อย่างใด[1][1]อิมามโคมัยนี, รูฮุลลอฮ์, ตะฮ์รีรุลวะซีละฮ์, แปล,เล่มที่
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8382 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • มีฮะดีษจากอิมามอลี(อ.)บทหนึ่งกล่าวถึงมัสญิดญัมกะรอนและภูเขานบีคิเฎร ซึ่งปรากฏในหนังสืออันวารุ้ลมุชะอ์ชิอีน ถามว่าฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้เพียงใด และนับเป็นอภินิหารของท่านหรือไม่?
    6932 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    แม้จะไม่สามารถปฏิเสธฮะดีษดังกล่าวอย่างสิ้นเชิงแต่ต้องทราบว่าหนังสือที่บันทึกฮะดีษนี้ล้วนประพันธ์ขึ้นหลังยุคอิมามอลีถึงกว่าพันปีหนังสือรุ่นหลังอย่างอันวารุลมุชะอ์ชิอีนก็รายงานโดยปราศจากสายรายงานโดยอ้างถึงหนังสือของเชคเศาะดู้ก (มูนิสุ้ลฮะซีน) ซึ่งนอกจากจะหาอ่านไม่ได้แล้วยังมีการตั้งข้อสงสัยกันว่าหนังสือดังกล่าวเป็นผลงานของเชคเศาะดู้กจริงหรือไมด้วยเหตุนี้ในทางวิชาฮะดีษจึงไม่สามารถใช้ฮะดีษดังกล่าวอ้างอิงในแง่ฟิกเกาะฮ์ประวัติศาตร์เทววิทยาฯลฯได้เลย ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6201 تاريخ بزرگان 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
    6451 تاريخ بزرگان 2554/08/08
    หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่าท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีนและเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(ซ.ล.) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(ซ.ล.) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขารท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชามและเสียชีวิตณที่นั่น ...
  • กรุณาอธิบายถึงแก่นอันเป็นพื้นฐานหลักของแนวคิดชีอะฮฺ พร้อมกับคุณลักษณะต่างๆ?
    18513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    พื้นฐานแนวคิดหลักของชีอะฮฺและวิชาการทั้งหมดของชีอะฮฺได้รับจากอัลกุรอาน อัลกุรอานไม่ว่าจะเป็นความหมายภายนอกโองการหรือภายใน,หรือแม้แต่การนิ่งเฉยหรือการแสดงออกของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ถือว่าเป็นข้อพิสูจน์และเหตุผลทั้งสิ้นและผลของสิ่งเหล่านี้,คำพูดการนิ่งเฉยและการกระทำของอิมาม (อ.) ก็เป็นเหตุผลด้วย นอกจากอัลกุรอานแล้วยังถือว่าการพิสูจน์ด้วยสติปัญญาก็เป็นเหตุผลด้วยเหมือนกันซึ่งการค้นคว้าได้รับการสนับสนุนและเน้นย้ำไว้อย่างยิ่ง แนวทางในการได้รับแนวคิดเช่นนี้สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ 1. มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งอาตมันบริสุทธิ์ของพระองค์บริสุทธิ์จากความบกพร่องและคุณลักษณะไม่สมบูรณ์ต่างๆ,พระองค์พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะสมบูรณ์ทั้งหลายทั้งปวง 2. มีความเชื่อในเรื่องความดีและความชั่วของภูมิปัญญากล่าวคือภูมิปัญญารับรู้ว่าพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากกระทำสิ่งชั่วร้าย 3. มีความเชื่อในเรื่องความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าและบรมศาสดาท่านสุดท้าย 4. มีความเชื่อว่าการแต่งตั้งและการกำหนดตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ต้องมาจากพระเจ้าเท่านั้นโดยผ่านศาสดาหรืออิมามคนก่อนหน้านั้นจำนวนตัวแทนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มี 12 คนบุคคลแรกจากพวกเขาคือท่านอิมามอะลีบุตรของอบีฏอลิบ (อ.) ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเขาคือท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่งณปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่รอคอยพระบัญชาจากพระเจ้าให้ปรากฏกายออกมา 5. มีความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายการได้รับรางวัลตอบแทนและการลงโทษในการกระทำ ...
  • ฮะดีษ“หากไร้ซึ่งฟาฏิมะฮ์...”มีสายรายงานอย่างไร? กรุณาชี้แจงความหมายด้วยครับ
    6892 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    ผู้เขียนหนังสือ“ญุนนะตุ้ลอาศิมะฮ์”ได้อ้างอิงฮะดีษนี้จากหนังสือ“กัชฟุ้ลลิอาลี”ประพันธ์โดย
  • มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
    6956 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/07/16
    สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา ...
  • ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คืออะไร?
    7426 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญและปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้:1. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59361 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56815 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41637 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38387 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38383 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33424 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27517 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27211 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27105 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25174 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...