การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6652
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/07/15
 
รหัสในเว็บไซต์ fa8342 รหัสสำเนา 24238
คำถามอย่างย่อ
บรรดาอิมามและอุละมามีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับโคลงกลอน?
คำถาม
มีผู้รู้ท่านใดบ้างที่ทราบทัศนะของบรรดาอิมามเกี่ยวกับบทกวี หรือเชื่อว่าเป็นสิ่งต้องห้าม?
คำตอบโดยสังเขป

บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติเกี่ยวกับบทกลอนบทกวี แต่นี่เป็นเพียงความเข้าใจผิดเท่านั้น
ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที
เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย
บรรดาอิมามกล่าวถึงบทกวีที่มีเนื้อหาสาระบ่อยครั้ง อีกทั้งยังเคยขอดุอาหรือตบรางวัลมูลค่าสูงแก่เหล่านักกวี แต่หากจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ครบก็คงจะทำให้บทความเย่นเย้อโดยไช่เหตุ

คำตอบเชิงรายละเอียด

บางคนอาจจะคิดว่าอิสลามมีอคติต่อกาพย์โคลงกลอนและนักกวี ความเข้าใจผิดดังกล่าวเกิดจากการตีความโองการ وَ الشُّعَراءُ یَتَّبِعُهُمُ الْغاوُون [1]ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด ทั้งนี้เนื่องจากโองการข้างต้นมิได้มีจุดประสงค์ที่จะตำหนิทโคลงกลอนทุกประเภทในเชิงเหมารวม แต่ต้องการจะตำหนิโคลงกลอนบางประเภทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาของเรามักจะนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับกาพย์โคลงกลอน อาทิเช่นกรณีของตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ต่อไปนี้

กวีนิพนธ์ในทัศนะอิสลาม
ไม่เป็นที่สงสัยว่าพรสวรรค์ด้านกวีนิพนธ์ก็เปรียบเสมือนความสามารถด้านอื่นๆของมนุษย์ที่จะมีคุณค่าต่อเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดี แต่หากนำไปใช้บ่อนทำลายจริยธรรมในสังคม อันจะสร้างความเสื่อมทราม นำพาสู่ความไร้แก่นสารและจินตนาการอันเลื่อนลอย หรือหากใช้เป็นเครื่องบันเทิงที่ไร้สาระ บทกวีเหล่านี้ก็จะถือว่าไร้คุณค่าและมีอันตรายทันที
จากเนื้อหาข้างต้นทำให้ทราบข้อสรุปที่ว่าโองการข้างต้นสอนว่าการเป็นนักกวีเป็นเรื่องดีหรือเสื่อมเสียกันแน่? อิสลามยอมรับกวีนิพนธ์หรือไม่?

มาตรฐานของอิสลามเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ เป้าหมาย จุดประสงค์ และผลลัพธ์ ท่านอิมามอลีเคยปรารภแก่กลุ่มสหายของท่านยามที่กำลังพูดคุยเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ขณะกำลังละศีลอดในเดือนรอมฎอนว่า

اعلموا ان ملاک امرکم الدین، و عصمتکم التقوى، و زینتکم الادب، و حصون اعراضکم الحلم

“จงรู้ไว้ว่า ศาสนาคือมาตรฐานภารกิจของพวกท่าน ตักวาคือเกราะป้องกันของพวกท่าน มารยาทคือเครื่องประดับของพวกท่าน และความอดทนคือป้อมปราการของพวกท่านที่ตั้งตระหง่าน”[2]

สรุปคือ บทกลอนเปรียบเสมือนเครื่องมือ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากเป้าประสงค์ที่สร้างแรงจูงใจแก่กวีนิพนธ์

เป็นที่น่าเสียดายที่บทกวีถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดในหลายยุคหลายสมัย พรสวรรค์จากอัลลอฮ์ประเภทนี้ถูกสังคมที่ฟอนเฟะแปรสภาพเป็นเครื่องมือทำลายจริยธรรมในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคญาฮิลียะฮ์อันเป็นยุคแห่งความถดถอยทางความคิดของชนชาติอรับนั้น “บทกวี” “สุราเมรัย” และ “การปล้นสดมภ์”เป็นเรื่องที่ควบคู่กันเสมอมา แต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่าบทกวีที่มีเนื้อหาสูงส่งสามารถสร้างวีรกรรมบ่อยครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ บางครั้งสามารถทำให้กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นทะลวงฟันอริศัตรูได้อย่างอาจหาญไม่กลัวความตาย

สมัยที่การปฏิวัติอิสลามในอิหร่านร้อนแรงถึงขีดสุดนั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าบทกวีหรือคำขวัญที่มีสัมผัสสละสลวยสามารถปลุกเร้าความรู้สึกของประชาชนได้ถึงเพียงใด สามารถปลุกระดมสู่อุดมการณ์ได้เพียงใด ช่วยสร้างเอกภาพในหมู่นักปฏิวัติถึงเพียงใด
ในยุคนั้น กลอนบทง่ายๆมีอานุภาพพอที่จะเขย่าบัลลังก์ และทำให้เหล่าศัตรูพากันอกสั่นขวัญแขวน

ไม่มีใครปฏิเสธว่าบางครั้งบทกวีเชิงธรรมะสามารถหยั่งรากลึกในหัวใจผู้ฟังได้ดีกว่าตำรับตำราเล่มหนาๆเสียอีก

เป็นดังที่ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ว่า “ان من الشعر لحکمة، و ان من البیان لسحرا” บทกวีบางบทแฝงไว้ด้วยวิทยปัญญา และบางพจนารถมีอานุภาพดั่งมนตรา”[3]

บางครั้งบทกวีสามารถทิ่มแทงความรู้สึกของศัตรูได้ ดังที่มีฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)ระบุไว้เกี่ยวกับบทกวีประเภทนี้ว่า

و الذى نفس محمد بیده فکانما تنضهونهم بالنیل!

ขอสาบานต่อพระผู้ทรงกุมชะตากรรมของมุฮัมมัด(ซ.ล.) บทกวีเหล่านี้ประหนึ่งว่าพวกท่านกำลังยิงธนูใส่พวกเขา[4]

ท่านกล่าวฮะดีษบทนี้เมื่อครั้งที่ฝ่ายศัตรูพยายามร่ายบทกลอนเพื่อข่มขวัญฝ่ายมุสลิม ท่านนบี(ซ.ล.)จึงมีดำริให้มุสลิมแต่งบทกวีเพื่อตอบโต้ศัตรู

ท่านยังกล่าวแก่นักกวีท่านหนึ่งว่า  “จงร่ายกวีประณามพวกเขา แท้จริงญิบเราะอีลอยู่กับท่าน”[5]

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่กะอบ์ บิน มาลิก นักกวีผู้ศรัทธาที่มักแต่งบทกลอนส่งเสริมอิสลามได้เอ่ยถามท่านนบี(ซ.ล.)ว่า โอ้ท่านนบี กระผมจะวางตัวเช่นไรเมื่อมีบางโองการประทานลงมาเพื่อตำหนิโคลงกลอน ท่านตอบว่า

ان المؤمن یجاهد بنفسه و سیفه و لسانه “ผู้ศรัทธาจะต่อสู้ในหนทางของพระองค์ด้วยชีพ ดาบ และลิ้น”[6]

บรรดาอิมามเองก็กล่าวยกย่องบทกวีและนักกวีผู้มีเป้าหมาย อีกทั้งยังเคยขอพรและมอบรางวัลมูลค่ามากมาย ซึ่งหากจะกล่าวทั้งหมดในที่นี้ก็คงจะเยิ่นเย้อ

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่พฤติกรรมของคนบางกลุ่มเป็นเหตุให้ศิลปะที่ยิ่งใหญ่และงดงามแขนงนี้ตกต่ำ ทำลายความสูงส่งของบทกวีให้เหลือเพียงสารัตถะแห่งวัตถุด้วยการโกหกยกเมฆจนทำให้มีการกล่าวกันว่า “احسنه اکذبه” กลอนที่โป้ปดที่สุดคือกลอนที่สละสลวยที่สุด”

บ่อยครั้งที่บทกวีถูกนำไปใช้โอ้โลมปฏิโลมผู้มีอำนาจเพื่อหวังจะได้รับการปูนบำเหน็จเพียงเล็กน้อย และบ่อยครั้งที่มีการร่ายบทกวีพรรณาถึงสุราเมรัยและอิสตรีอย่างสุดโต่ง

หลายครั้งที่บทกวีกลายเป็นชนวนแห่งสงครามและความขัดแย้ง ส่งผลให้เกิดการหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์มากมาย

แต่ในทางตรงกันข้าม มีนักกวีที่เปี่ยมด้วยศรัทธาไม่น้อยที่ไม่ยอมก้มหัวให้แก่อามิจสินจ้าง แต่เลือกที่จะใช้พรสวรรค์ดังกล่าวเพื่อพัฒนาศีลธรรมจรรยาของมนุษย์ และใช้ในการต่อสู้กับผู้อธรรมอันทำให้สามารถบรรลุถึงเกียรติยศอันสมบูรณ์

บางรายได้ประพันธ์บทกวีเพื่อปกป้องสัจธรรมโดยสามารถแลกกลอนแต่ละบาทกับบ้านในสรวงสวรรค์[7] นักกวีบางคนสามารถขจัดบรรยากาศที่คละคลุ้งไปด้วยการกดขี่ในยุคแห่งอุมัยยาดและอับบาซิดด้วยการประพันธ์บทกวีเช่นบท “มะดาริส อาย้าต” ประหนึ่งว่าได้รับการดลใจจากเบื้องบนกระนั้น

บางครั้งบทกวีสามารถแปรความหวาดกลัวของผู้ถูกกดขี่ให้กลายเป็นความฮึกเหิมกล้าหาญได้อย่างน่าอัศจรรย์

กุรอานกล่าวถึงบุคคลเหล่านี้ไว้ว่า إِلَّا الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ وَ ذَکَرُوا اللَّهَ کَثِیراً وَ انْتَصَرُوا مِنْ بَعْدِ ما ظُلِمُوا.
ที่น่าสนใจก็คือว่า บางครั้งศิลปินนักกวีได้รังสรรค์ผลงานไว้ดีเยี่ยมถึงขั้นที่ผู้นำทางศาสนาอิสลามพยายามรณรงค์ให้ผู้คนท่องจำบทกวีของพวกเขา อาทิเช่นกรณีบทกวีของ “อับดี” ที่ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยกล่าวว่า یا معشر الشیعة علموا اولادکم شعر العبدى، فانه على دین اللَّه “จงสอนบทกวีของอับดีแก่ลูกหลานเถิด เพราะเขาอยู่ในหนทางของพระองค์”[8]

ด้วยเหตุนี้เราจึงขอส่งท้ายด้วยบทกวีของอับดีที่เกี่ยวกับตำแหน่งของตัวแทนของท่านนบี(ซ.ล.)ดังต่อไปนี้

و قالوا رسول اللَّه ما اختار بعده             اماما و لکنا لأنفسنا اخترنا!

اقمنا اماما ان اقام على الهدى             اطعنا، و ان ضل الهدایة قومنا!

فقلنا اذا انتم امام امامکم             بحمد من الرحمن تهتم و لا تهمنا

و لکننا اخترنا الذى اختار ربنا             لنا یوم خم ما اعتدینا و لا حلنا!

و نحن على نور من اللَّه واضح             فیا رب زدنا منک نورا و ثبتنا!

“พวกเขากล่าวว่าท่านนบี(ซ.ล.)มิได้เลือกผู้ใดเป็นผู้นำภายหลังจากท่าน แต่เราคือผู้คัดสรรเอง
เราเลือกอิมามที่ถ้าหากนำสู่ทางที่ถูกต้องจึงจะปฏิบัติตาม แต่หากนำสู่ความผิดพลาด เราจะดัดนิสัยเขา
หากเป็นเช่นนี้ พวกท่านก็คืออิมามของตัวเอง พวกท่านนั่นแหล่ะที่อยู่ในวังวน มิไช่เรา
แต่เรายึดมั่นในผู้นำที่ได้รับการคัดเลือกในวันเฆาะดี้รคุม และจะยืนหยัดอย่างไม่ผันแปร
เรายึดถือรัศมีอันเจิดจรัสแห่งพระผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงเพิ่มพูนรัศมีแก่เรา และช่วยให้เรายืนหยัดอย่างมั่นคง[9] [10]

ชะฮีด มุฮัมมัด ศอดิก ศ็อดร์ ได้นำเสนอรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับบทกวีและกวีนิพนธ์ในมุมมองของฟิกเกาะฮ์ ซึ่งหากผู้ใดสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้[11]

อมีนุลอิสลาม เชค เฏาะบัรซี ได้รายงานฮะดีษจากอิมามริฎอไว้ในหนังสือ “อัลอาดาบุดดีนียะฮ์ ลิลเคาะซานะติล มุอีนียะฮ์” โดยกล่าวภายหลังว่า บทสรุปที่ได้จากรายงานต่างๆที่กล่าวไปแล้วก็คือ การขับบทกลอนในช่วงเวลาหรือสถานที่อันมีเกียรติถือเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง(มักรูฮ์)[12] ส่วนฮะดีษที่มีเนื้อหาประณามอย่างเผ็ดร้อนก็ให้ถือว่าเป็นการตะกียะฮ์

สุดท้ายนี้ขอรายงานฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก(อ.)ที่ว่า “ไม่มีผู้ใดแต่งบทกวีเกี่ยวกับเราโดยมิได้รับการดลใจจากวิญญาอันบริสุทธิ์”[13]

 


[1] ซูเราะฮ์ อัชชุอะรอ,224 “และเหล่าผู้หลงทางจะคล้อยตามนักกวี”

[2] อิบนิ อบิลฮะดี้ด, ชัรฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 20,หน้า 461

[3] ฮะดีษข้างต้นได้รับการรายงานทั้งในสายชีอะฮ์และซุนหนี่ (อ่านในหนังสือ อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 9)

[4] มุสนัด อะห์มัด,เล่ม 3,หน้า 460

[5] เพิ่งอ้าง,เล่ม 4,หน้า 299

[6] ตัฟซี้รกุรฏุบี,เล่ม 7,หน้า 469

[7] รายงานจากอิมามศอดิก(อ.)ว่า من قال فینا بیت شعر بنى اللَّه له بیتا فى الجنة ผู้ใดที่ประพันธ์บทกวีเกี่ยวกับเรา อัลลอฮ์จทรงสร้างบ้านในสรวงสวรรค์สำหรับเขา (อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 3)

[8] นูรุษษะเกาะลัยน์, เล่ม 4,หน้า 71

[9] กุมี,อับบาส,อัลกุนา วัลอัลก้อบ,เล่ม 2,หน้า 455

[10] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 15,หน้า 382-386

[11] ดู: มาวะรออุลฟิกฮ์,เล่ม 10,หน้า 93

[12] บะฮ์รอนี,ยูซุฟ บิน อะห์มัด บิน อิบรอฮีม, อัลฮะกออิกุน นาฎิเราะฮ์ ฟี อะห์กามิล อิตเราะติฏ ฏอฮิเราะฮ์, เล่ม 13,หน้า 164,สำนักพิมพ์อิสลามี ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน,พิมพ์ครั้งแรก,กุม,ฮ.ศ.1405

[13] เชคเศาะดู้ก,อุยูน อัคบาริร ริฎอ(อ.),เล่ม 1,หน้า 7,สำนักพิมพ์ญะฮอน,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1378

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    8942 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ในทางศาสนาแล้ว สามารถรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ได้หรือไม่?
    9406 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/27
    การขอรับสินเชื่อจากธนาคารหรือสหกรณ์หากไม่นำสู่ธุรกรรมดอกเบี้ยและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนก็ถือว่ากระทำได้ต่อไปนี้คือข้อควรระวังเกี่ยวกับสินเชื่อโดยสังเขป1. การขอรับสินเชื่อหรือขอกู้ยืมจากธนาคารหรือสหกรณ์ต้องไม่มีการระบุเงื่อนไขว่าจะต้องฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนอายะตุ้ลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า: หากการชำระเงินแก่กองทุนเป็นไปในลักษณะที่ว่าให้กองทุนกู้ไว้เพื่อกองทุนดังกล่าวจะตอบแทนด้วยการให้เขากู้ยืมเงินในภายหลังหรือกรณีที่กองทุนจะให้กู้ยืมโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำฝากเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขเหล่านี้ถือเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามและเป็นโมฆะทว่าการกู้ยืมทั้งสองกรณีถือว่าถูกต้อง[1]อย่างไรก็ดีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสมาชิกหรือจะต้องมีภูมิลำเนาใกล้เคียงหรือเงื่อนไขอื่นๆที่จำกัดสิทธิในการยื่นขอกู้เงินนั้นถือว่าถูกต้องนอกจากนี้การสัญญาว่าจะให้สิทธิในการขอรับสินเชื่อเฉพาะผู้ที่จะเปิดบัญชีถือว่ากระทำได้แต่หากตั้งเงื่อนไขว่าจะมอบสินเชื่อในอนาคตเฉพาะผู้ที่เปิดบัญชีและวางเงินจำนวนหนึ่งเสียก่อนเงื่อนไขประเภทนี้เข้าข่ายผลประโยชน์เชิงนิติกรรมในการกู้ยืมซึ่งเป็นโมฆะ[2]2. จะต้องไม่ตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในการให้/รับเงินกู้ของธนาคารหรือสหกรณ์ฮุก่มของการให้ธนาคารกู้ไม่แตกต่างจากการกู้จากธนาคารฉะนั้นหากมีการตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลตอบแทนในสัญญาให้กู้ย่อมถือเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอันเป็นธุรกรรมต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นการฝากประจำหรือกระแสรายวันก็ตามแต่ในกรณีที่เจ้าของเงินมิได้ฝากเงินด้วยเจตนาที่จะได้รับผลกำไรในลักษณะที่หากธนาคารไม่ให้ผลตอบแทนเขาก็ไม่ถือว่าตนมีสิทธิทวงหนี้จากธนาคารกรณีเช่นนี้สามารถฝากเงินในธนาคารได้[3]3. การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัติถือว่าถูกต้องท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า: การรับสินเชื่อจากธนาคารในลักษณะการลงทุนร่วมกันหรือธุรกรรมประเภทอื่นที่ศาสนาอนุมัตินั้นไม่จัดอยู่ในประเภทการกู้ยืมหรือการให้ยืมและผลประกอบการที่ธนาคารได้รับก็ไม่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยฉะนั้นจึงสามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อซื้อเช่าหรือสร้างบ้านได้ส่วนกรณีที่เป็นการกู้ยืมและธนาคารได้ตั้งเงื่อนไขว่าต้องคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแม้การจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งต้องห้ามก็ตามแต่ตัวของการกู้ยืมถือว่าถูกต้องแล้วสำหรับผู้กู้ยืมและสามารถใช้เงินที่กู้มาได้[4]สรุปคือสินเชื่อที่รับจากธนาคารซึ่งต้องจ่ายคืนมากกว่าเงินต้นนั้นจะถือว่าถูกต้องตามหลักศาสนาก็ต่อเมื่อเข้าข่ายธุรกรรมประเภทใดประเภทหนึ่งที่อิสลามอนุมัติและไม่เป็นธุรกรรมดอกเบี้ยเท่านั้น[5]อนึ่งขอกล่าวทิ้งท้ายว่าหากไม่มีทางเลือกอื่นจริงๆและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำสิ่งต้องห้าม(กู้พร้อมดอกเบี้ย) ก็ถือว่าอนุโลมท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอีกล่าวไว้ว่า:
  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6633 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • อุมัรได้ทำทานบนหรือลงโทษอบูฮุร็อยเราะฮฺหรือไม่ ในฐานะที่อุปโลกน์ฮะดีซขึ้นมา?
    7027 ริญาลุลฮะดีซ 2555/04/07
    บุคอรียฺ,มุสลิม,ซะฮะบียฺ, อิมามอบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ, มุตตะกียฺ ฮินดียฺ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺที่ 2 ได้ลงโทษเฆี่ยนตีอบูฮุร็อยเราะฮฺอย่างหนักจนสิ้นยุคการปกครองของเขา เนื่องจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ปลอมแปลงฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จำนวนมากและกล่าวพาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ฯ) สามารถกล่าวได้ว่า สาเหตุที่อุมัรคิดไม่ดีต่ออบูฮุร็อยเราะฮฺ อาจเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้ หนึ่ง เขาชอบนั่งประชุมเสวนากับ กะอฺบุลอะฮฺบาร ยะฮูดียฺคนหนึ่ง และรายงานฮะดีซจากเขา สอง เขาได้รายงานฮะดีซโดยไม่มีรากที่มา ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรงกับฮะดีซที่อุปโลกน์ขึ้นมา และในความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดนอกจากการอุปโลกน์ สาม รายงานฮะดีซที่ขัดแย้งกับฮะดีซที่เล่าโดยเซาะฮาบะฮฺ สี่ เซาะฮาบะฮฺ บางคนเช่นอบูบักร์ และอิมามอะลี (อ.) จะขัดแย้งกับเขาเสมอ ...
  • มีหนทางใดบ้างสำหรับรักษาสายตาอันร้ายกาจ?
    6958 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/07/16
    สายตาอันร้ายกาจเกิดจากผลทางจิตวิญญาณ ซึ่งไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธแต่อย่างใด,ทว่ามีเหตุการณ์จำนวนมากมายที่เราได้เห็นกับตาตัวเอง มัรฮูมเชคอับบาส กุมมี (รฮ.) แนะนำให้อ่านโองการที่ 51 บทเกาะลัม เพื่อเยียวยาสายตาอันร้ายกาจ, ซึ่งเมื่อพิจารณาสาเหตุแห่งการประทานลงมาของโองการแล้ว เหมาะสมกับการรักษาสายตาอันร้ายกาจอย่างยิ่ง นอกจากโองการดังกล่าวแล้ว ยังมีรายงานกล่าวเน้นถึง การอ่านอัลกุรอานบทอื่นเพื่อรักษาสายตาอันร้ายกาจไว้อีก เช่น อัลกุรอานบท »นาส« »ฟะลัก« »ฟาติฮะฮฺ« »เตาฮีด« นอกจากนี้ตัฟซีรอีกจำนวนมากยังได้กล่าวเน้นให้อ่านอัลกุรอานบทที่กล่าวมา ...
  • คำอธิบายอัลกุรอาน บทอัฏฏีน จากตัฟซีรฟะรอต มีฮะดีซบทหนึ่งกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า ฏีน หมายถึงอิมามฮะซัน (อ.) และวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน คืออิมามฮุซัยนฺ (ฮ.) ถามว่าฮะดีซเหล่านี้ และฮะดีซที่คล้ายคลึงกันเชื่อถือได้หรือไม่?
    10313 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/20
    อัลกุรอาน นอกจากจะมีความหมายภายนอกแล้ว,เป็นไปที่ว่าอาจมีความหมายภายในซ่อนเร้นอยู่อีก เช่น ความหมายภายนอกของคำว่า ฏีนและซัยตูน ซึ่งอัลลอฮฺ กล่าวไว้ในโองการที่ 1 และ 2 ของบท ฏีนว่า ขอสาบานด้วยพวกเขาว่า, สามารถกล่าวได้ว่าอาจหมายถึงผลมะกอก และมะเดื่อตามที่ประชาชนทั้งหลายเข้าใจ กล่าวคือ ผลมะกอกและมะเดื่อ ที่มาจากต้นมะกอกและต้นมะเดื่อ, แต่ขณะเดียวกันก็สามารถกล่าวถึงความหมายด้านในของโองการได้ ซึ่งสองสิ่งที่ฮะดีซพาดพิงถึงคือ ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) เป็นผลไม้จากต้นวิลายะฮฺ[1] ทำนองเดียวกัน สามารถกล่าวได้ว่า โองการยังมีวัตถุประสงค์อื่นอีก, ดังที่รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงสิ่งนี้เอาไว้, ซึ่งวัตถุประสงค์จาก ฏีน หมายถึง เมืองแห่งเราะซูล ส่วนวัตถุประสงค์ของ ซัยตูน หมายถึง บัยตุลมุก็อดดิส กิบละฮฺแห่งแรกของมวลมุสลิม[2] ตัฟซีรกุมมีกล่าวว่า ...
  • เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่น,อิสลามมีทัศนะอย่างไรบ้าง?
    11860 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/06/22
    แนวคิดที่ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนเส้นทางช้างเผือกหรือดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือมีสิ่งมีสติปัญญาอื่นอยู่อีกหรือไม่, เป็นหนึ่งในคำถามที่มนุษย์เฝ้าติดตามค้นหาคำตอบอยู่จนถึงปัจจุบันนี้, แต่ตราบจนถึงเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่นอน. อัลกุรอานบางโองการได้กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตอื่นในชั้นฟ้าเอาไว้อาทิเช่น1. ในการตีความของคำว่า “มินดาบะติน” ในโองการที่กล่าวว่า :”และหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (อำนาจ) ของพระองค์คือการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและสิ่งที่ (ประเภท) มีชีวิตทั้งหลายพระองค์ทรงแพร่กระจายไปทั่วในระหว่างทั้งสองและพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพที่จะรวบรวมพวกเขาเมื่อพระองค์ทรงประสงค์”
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20750 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • มีเศาะฮาบะฮ์นบีกี่ท่านที่เป็นชะฮีดในกัรบะลา?
    12487 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2555/02/06
    ข้อสรุปที่นักวิจัยอาชูรอรุ่นหลังได้รับจากการค้นคว้าก็คือมีเศาะฮาบะฮ์นบี 5 ท่านอยู่ในกลุ่มสหายของอิมามฮุเซน(อ.) ในเหตุการณ์อาชูรอโดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้อนัสบิรฮัรซ์, ฮานีบินอุรวะฮ์, มุสลิมบินเอาสะญะฮ์, ฮะบีบบินมะซอฮิร, อับดุลลอฮ์บินยักฏิร ...
  • เพราะสาเหตุอันใด มนุษย์จึงลืมเลือนอัลลอฮฺ?
    8290 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การหยุแหย่ของชัยฏอนมารร้าย,เกี่ยวข้องทางโลกเท่านั้นอันเป็นความผิดที่เกิดจากความหลงลืมองค์พระผู้อภิบาลซึ่งในทางตรงกันข้ามนมาซ, กุรอาน, การใคร่ครวญในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้าการใช้ประโยชน์จากเหตุผลและข้อพิสูจน์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38392 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27110 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25180 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...