การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
11287
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/29
คำถามอย่างย่อ
อัลลอฮฺคือสาเหตุที่แท้จริงของการอธรรม และผู้อธรรมหรือ?
คำถาม
เพราะเหตุใด บนโลกนี้จึงมีอิมามโคมัยนีเพียงคนเดียว ซัดดำ จอร์ชบูช และอะฮฺมัดดี เนฌอดเพียงคนเดียว? เหล่านี้มิใช่การงานอันพึงประสงค์ของอัลลอฮฺดอกหรือ? และภารกิจเหล่านี้ มิได้บ่งบอกให้ว่าอัลลอฮฺ ทรงอธรรมดอกหรือ? ท่านจะตอบอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับคำตอบคำถามเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญเหล่านี้ก่อน

1.รากที่มาของการอธรรมของผู้อธรรมทั้งหลาย สามารถสรุปได้ใน 4 ประเด็นดังนี้คือ 1.ความโง่เขลา 2. การเลือกสรร 3. ความประพฤติอันเลวทราม 4. ความอ่อนแอไร้สามารถ, แต่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด ไม่ความอธรรมใดๆ ในพระองค์ ด้วยเหตุนี้ สำหรับพระองค์แล้วคือ ผู้ยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยเนื้อเดียวกันกับความยุติธรรม และเนื่องจากพระองค์ทรงรอบรู้ และทรงยุติธรรม ภารกิจของพระองค์จึงวางอยู่บนความยุติธรรม และวิทยปัญญาเท่านั้น

2.อัลลอฮฺ ทรงสร้างมนุษย์มาในลักษณะเดียวกัน และได้ประทานแนวทางแห่งการชี้นำทางแก่พวกเขา และทั้งหมดมีสิทธิที่จะเลือกสรรด้วยตนเอง ซึ่งมีบางกลุ่มด้วยเหตุผลนานัปการ หรือมีปัจจัยหลายอย่างเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม บางกลุ่มพยายามต่อสู้ชนิดขุดรากถอนโคนการอธรรม ที่แฝงเร้นอยู่ในใจของตนเอง พวกเขามุ่งไปสู่หนทางแห่งการชี้นำ และความยุติธรรม พยามประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี ไม่ว่าอย่างไรก็ตามรากที่มาของคำถามเหล่านี้ ล้วนมาจากความคิดที่ว่ามนุษย์ได้รับการบีบบังคับให้เป็นเช่นนั้น หรือที่เรียกว่าพรหมลิขิต ทั้งที่เหตุผลของพรหมลิขิตมิเป็นที่ยอมรับแต่อย่างใด เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ มีหลายประเด็นต้องกล่าวถึง :

ก. การอธรรมคือความเลวทราม ขณะที่อัลลอฮฺ ทรงปรีชาญาณยิ่ง พระองค์จะไม่กระทำสิ่งเลวทรามต่ำช้า เนื่องจากการอธรรมนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ปัจจัยและตัวการสำคัญของการอธรรม

1.ความต้องการ บุคคลที่อธรรม ก็เพื่อต้องการจะก้าวไปให้ถึงยังเป้าหมาย หรือภารกิจของตน ซึ่งต้องอธรรมเท่านั้นจึงจะไปถึงเป้าหมาย

2.ความโง่เขลา บุคคลที่อธรรม เนื่องจากไม่รู้ถึงความเลวทรามต่ำช้าของการอธรรม

3.ความประพฤตไม่ดี บุคคลที่อธรรมเนื่องจากภายในจิตใจของเขามี อคติ ความชิงชัง ความอิจฉา การเป็นศัตรู ความเห็นแก่ตัว และอำนาจฝ่ายต่ำ

4.ความไร้สามารถ บุคคลที่อธรรม เนื่องจากต้องการกำจัดอันตราย และตัวเขาไร้ความสามารถที่จะกระทำ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่มีหนทางอื่นใด นอกจากการอธรรม

ทุกการอธรรมที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เป็นผลมาจากหนึ่งในปัจจัยสำคัญตามที่กล่าวมา ถ้าหากไม่มีปัจจัยนี้ก็จะไม่มีการอธรรมเกิดขึ้นบนโลกนี้ ไม่ว่าที่ใดก็ตาม ขณะที่ปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด ไม่อาจเกิดขึ้นกับอัลลอฮฺได้เด็ดขาด เนื่องจาก

ก. พระองค์ทรงมั่งคั่ง และทรงปราศจากความต้องการโดยสมบูรณ์

ข. การงานของพระองค์ไม่มีความจำกัด และไม่มีที่สิ้นสุด

ค.พระองค์ทรงบริบูรณ์ด้วยคุณสมบัติสมบูรณ์ และทรงบริสุทธิ์จากสิ่งบกพร่อง และความโสโครกทั้งปวง

ง.พระองค์ทรงเดชานุภาพ ทรงอำนาจอย่างล้นเหลือ ไม่มีขอบเขตจำกัดสำหรับพระองค์ ดังนั้น พระองค์ทรงยุติธรรม การอธรรมไม่อาจเกิดขึ้นกับพระองค์ได้ ซึ่งมิใช่ว่าการอธรรมเป็นสิ่งเลวทราม พระองค์จึงไม่ปฏิบัติ ทว่าเนื่องจากปัจจัยของการอธรรมและรากที่มาของมัน ไม่มีอยู่ในพระองค์

อีกด้านหนึ่ง พระผู้อภิบาลทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะเดียวกัน พระองค์ทรงเมตตาต่อมนุษย์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงประทานความโปรดปรานต่างๆ ชนิดไม่จำกัดแก่พวกเขา เช่น พระองค์ประทานเราะซูล และบรรดาศาสดาผู้มีจิตเมตตาแก่มนุษย์ พร้อมด้วยหลักฐานอันแจ้งชัดและคัมภีร์ อีกทั้งทรงกำหนดแนวทางแห่งการชี้นำทางสำหรับพวกเขา ทรงให้การเลือกสรรโดยสมบูรณ์ไว้ในอำนาจของมนุษย์ เพื่อว่ามนุษย์จะได้ยืนหยัดขึ้นเพื่อความยุติธรรม[1] แต่ในระหว่างนั้นมีบางกลุ่มชนได้เลือกหนทางหลงผิด และการอธรรม ด้วยเหตุผลนานัปการ และมีบางกลุ่มได้ต่อสู้กับรากที่มาของการกดขี่ ยึดมั่นอยู่บนหนทางแห่งการชี้นำ ความยุติธรรม และประพฤติแต่สิ่งดีงาม

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺทรงพิพากษากิจการงานทั้งดีและไม่ดีของมนุษย์ บนพื้นฐานของความยุติธรรมของพระองค์ และทรงตอบแทนผลรางวัล หรือการลงโทษไปตามที่พวกเขาได้กระทำ ดังที่กุรอานกล่าวว่า “เราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใด และแม้ว่ามันเป็นเพียงน้ำหนักเท่าเมล็ดพืชเล็ก เราก็จะนำมันมาแสดง และเป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเราที่เป็นผู้ชำระสอบสวน”[2]

ตามความเป็นจริงแล้วรางวัลตอบแทนของแต่ละคน คือผลที่มาจากการงานของเขา หรือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้ด้วยการงานของตนเอง ด้วยเหตุนี้เองสิ่งที่กล่าวมา แม้ว่าอัลอฮฺทรงรอบรู้ถึงการงานทั้งหมดของมนุษย์ แต่ทว่าความประสงค์ของพระองค์จะไม่ครอบคลุมเหนือการอธรรมและการประพฤติผิดของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนต้องรับผิดชอบสิ่งที่ตนได้กระทำไว้

ข.แต่อีกประเด็นหนึ่งคือ ในทัศนะของอิสลาม ระบบที่มีอยู่นี้เป็นระบบที่ดี สวยงามยิ่งกว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นเป็นไปไม่ได้[3] เนื่องจากสิ่งจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์แท้จริงของมนุษย์ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่ที่ขั้นตอน ความต้องการ และการเลือกสรรของมนุษย์เอง และสิ่งจำเป็นสำหรับการเลือกสรรของมนุษย์ทั้งหมดคือ การที่เขาจะไม่เลือกทุกสิ่งที่เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าหากอัลลอฮฺ ทรงบังคับให้มนุษย์เลือกสิ่งที่ดีทั้งหมด สิ่งที่ตามมาคือ ระบบที่ดีก็จะไม่มีความหมายอีกต่อไป

อีกมุมมองหนึ่ง หนึ่งในความจำเป็นของระบบที่ดีคือ ด้านหนึ่งต้องดึงดูดและโน้มน้าวไปสู่สิ่งไม่ดี และความเลวทรามทั้งหลาย ตลอดจนความไม่ยุติธรรม อีกด้านหนึ่งความยากลำบาก อุปสรรคปัญหา และการเรียกร้องไปสู่สัจธรรมความจริง และความยุติธรรม ความสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อว่าจะได้เป็นทั้งพลังผลักไส และพลังดึงดูดความจริงและความยุติธรรม เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนสำหรับผู้ที่กล่าวอ้างความโกหก ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จะแยกแยะได้มากเท่าใด ก็ขึ้นอยู่กับผู้คนที่เป็นคนดีและคนเลว

อย่างไรก็ตาม ระบบที่ดีงามนั้น การกดขี่ข่มเหงต่างๆ การไร้ซึ่งความยุติธรรม และความทุกข์โศก อีกด้านหนึ่ง เช่น การคาดโทษทัณฑ์สำหรับผู้อธรรมในโลกนี้และโลกหน้า และผลบุญของผู้ที่ประกอบกรรมดี ทั้งหมดจะได้รับการตอบแทนทั้งสิ้น

แต่อย่างไรก็ตาม แหล่งที่มาของคำถามคือ การพิจารณาที่พรหมลิขิต ที่มีต่อมนุษย์ ขณะที่เหตุผลเรื่องพรหมลิขิตนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ[4]เราเชื่อตามคำสอนของศาสนา และอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่ว่า การงานอยู่ท่ามกลางคำสั่งทั้งสอง กล่าวคือ แม้ว่าภารกิจทั้งหมดของมนุษย์จะอยู่ภายใต้การกำหนดกฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺก็ตาม แต่บนพื้นฐานดังกล่าวนั้นความต้องการของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุในการเกิดภารกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อย มนุษย์คือผู้รับผิดชอบการงานของตน และการงานเหล่านั้นในทัศนะของ การกำหนดบทบัญญัติ อยู่ในประสงค์ของอัลลอฮฺเช่นกัน[5]

 


[1] บทฮะดีด,25.

[2] บทอันบิยาอฺ 47.

[3] อัดล์ อิลาฮี,ชะฮีดมุเฏาะฮะรีย, หน้า 141, 142

[4] คำถามที่ 528, (ไซต์ 576)

[5] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำถามที่ 58, (ไซต์ 294)

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
    7761 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/01
    หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้นมีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกันเพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่จะต้องสอดคล้องกับกุรอานตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้รส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือเพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี ...
  • เพราะเหตุใดท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่ขัดวาง การห้ามมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม?
    7225 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    การขัดขวางหรือห้ามมิให้นำปากกาและกระดาษมาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (เพื่อที่จะเขียนพินัยกรรมบางอย่างก่อนที่ท่านจะจากไป) เป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, การนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว มิได้เป็นเหตุผลที่มายืนยันหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท่านอิมามมีเหตุผลอะไรถึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านอิมามขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่? เมื่อศึกษาเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสืออื่นๆ ทำให้ได้บทสรุปว่า 1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถูกกล่าวร้ายว่า เป็นคนพูดจาเพ้อเจ้อ ศาสดาผู้ซึ่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า: »ท่านจะไม่พูดจากด้วยอารมณ์ ทว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นวะฮฺยูที่ได้ประทานลงมายังท่านเท่านั้น« ขณะที่เรื่องพินัยกรรม ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการประกาศสาส์นของท่าน 2.การเริ่มต้นความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประกอบกับท่านป่วยอยู่ด้วยในขณะนั้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง ...
  • มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
    7972 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณี –ยกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาปและต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    7086 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7165 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7421 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
    6909 تاريخ بزرگان 2554/08/08
    หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่าท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีนและเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(ซ.ล.) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(ซ.ล.) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขารท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชามและเสียชีวิตณที่นั่น ...
  • ด้วยการประกอบอิบาดะฮฺนานหลายพันปีของชัยฏอน แล้วมารไม่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺเลยหรือ?
    7927 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    จากคำกล่าวของอัลกุรอาน ชัยฏอนมาจากหมู่ญิน ซึ่งญินนั้นมีภารกิจหน้าที่เช่นเดียวกับมนุษย์ตามคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) : ชัยฏอนได้อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนานถึง 6,000 ปี ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นปีทางโลกหรือปีของปรโลก (ซึ่งหนึ่งวันของปรโลกเท่ากับ 1,000 ปี).ซึ่งความกรุณาอันยิ่งใหญ่และความการุณย์ที่มีต่ออิบลิสก็คือ ประการแรก มารได้ประสบความสำเร็จในการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ สอง เนื่องจากอิบาดะฮฺอย่างมากมายมหาศาลทำให้มารได้ยกระดับชั้นเทียบเท่ามลาอิกะฮฺ ซึ่งสิทธิพิเศษที่มารได้รับการช่วยเหลือก็คือ มารได้นั่งในชั้นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งเงื่อนไขของความสะอาดของพวกเขา และเป็นหนึ่งในระบบทางโลกก็คือ บุคคลใดก็ตามที่รู้จักมากระดับชั้นของหน้าที่ก็จะสูงตามไปด้วย, แต่ถ้าผิดพลาดเมื่อใดก็จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง
  • ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน?
    8360 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    คำถามข้างต้นแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ซึ่งเราขอตอบทีละส่วนดังนี้ 1. ระหว่างการปฏิบัติตามพินัยกรรมและการแบ่งมรดก ควรกระทำสิ่งใดก่อน? กุรอานและฮะดีษระบุว่าให้สะสางหนี้สินและปฏิบัติตามพินัยกรรมของผู้ตายก่อนที่จะแบ่งมรดก มีสี่โองการเป็นอย่างน้อยที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน مِنْ بَعْدِ وَصِيَّةٍ يُوصي‏ بِها أَوْ دَيْن(...ภายหลังจากจำแนกส่วนที่ระบุในพินัยกรรมและหนี้สินออก และส่วนของมรดก...)[1] จะเห็นได้ว่าโองการนี้ต้องการจะสื่อว่าการปฏิบัติตามพินัยกรรมกระทำก่อนการแบ่งมรดก[2] 2. สามารถทำพินัยกรรมในทรัพย์สินทั้งหมดโดยไม่เหลือเป็นมรดกเลยได้หรือไม่? บุคคลที่มีสติสัมปชัญญะและบรรลุนิติภาวะย่อมมีอิสระในการบริหารทรัพย์สินของตนในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นต้นว่าสามารถวะกัฟ หรือนะซัร หรือมอบให้ผู้อื่นตามแต่จะเห็นสมควร แต่หากเสียชีวิตไปแล้วก็จะสูญเสียสิทธิบางส่วนเหนือทรัพย์สินของตนไป แม้ผู้ตายระบุขอบเขตของพินัยกรรมเกินเศษหนึ่งส่วนสามของทรัพย์สินที่มี พินัยกรรมดังกล่าวก็จะมีผลเพียงเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น สำหรับส่วนที่เกินจากนี้ หากทายาททุกรายบรรลุนิติภาวะแล้วและให้อนุญาตก็สามารถกระทำตามพินัยกรรมได้ทั้งหมด แต่หากทายาทที่บรรลุนิติภาวะบางรายให้อนุญาต ก็ให้ปฏิบัติตามพินัยกรรมตามสัดส่วนจำนวนของผู้ที่อนุญาต มิเช่นนั้นก็ให้ปฏิบัติเพียงกรอบเศษหนึ่งส่วนสามเท่านั้น[3] ส่วนหนี้สินของผู้ตายก็ให้สะสางให้เรียบร้อยก่อนที่จะแบ่งมรดกในหมู่ทายาท ไม่ว่าผู้ตายจะทำพินัยกรรมให้ชำระหรือไม่ก็ตาม 3. ทายาทสามารถจะปฏิเสธพินัยกรรมของผู้ตายที่เกี่ยวกับประเด็นมรดกได้หรือไม่? ทายาทจะต้องปฏิบัติตามในกรอบสิทธิพินัยกรรม (เศษหนึ่งส่วนสาม) และไม่มีสิทธิจะเพิกเฉยเด็ดขาด
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    6294 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    มีอยู่ 12 ประการที่ทำให้นมาซบาฏิล (เสีย) ซึ่งเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า มุบฏิลลาตของนมาซ 1.สูญเสียหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญระหว่างนมาซ 2.สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺ หรือฆุซลฺบาฏิล (เสีย) ได้เล็ดรอดออกมาขณะนมาซ 3. กอดอกขณะนมาซ 4.กล่าวคำว่า “อามีน” หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺจบ 5. ผินหน้าออกจากกิบละฮฺ ขณะนมาซ 6.กล่าวคำพูดบางคำขณะนมาซ 7.หัวเราะโดยมีเสียดังออกมาหรือกระทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน 8.ตั้งใจร้องไห้เพื่อภารกิจทางโลก โดยมีเสียงดังออกมา 9. กระทำบางภารกิจอันเป็นเหตุทำให้สูญเสียสภาพนมาซ 10.กินและดื่ม

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60182 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57642 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42260 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39465 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38986 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34045 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28053 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28038 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27874 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25859 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...