การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10565
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/16
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1926 รหัสสำเนา 27469
คำถามอย่างย่อ
จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
คำถาม
จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน

มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม

ด้านหนึ่งสตรีคือมิตรร่วมทุกข์สุข, ภรรยา, คู่ครอง, ผู้ให้ความสัมพันธ์ลึกซึ้งด้านการมีเพศมสัมพันธ์

อีกด้านหนึ่ง สตรีคือผู้ดูแลบ้าน ความสะอาดเรียบร้อย จัดระบบงานในบ้าน และวิถีการดำเนินชีวิตภายในบ้าน

อีกด้านหนึ่ง สตรีคือมารดาผู้ให้การอมบรมเลี้ยงดู สั่งสอน และปกป้องบุตร

อีกด้านหนึ่ง สตรีคือผู้เติมเต็มความสุขสมบูรณ์ด้านกามรมย์ และเป็นที่สงบมั่นของบุรุษ และเพื่อให้บรรลุความรื่นรมย์ ความรัก และความสุขสันต์ สตรีคือผู้ช่วยเหลือและมีบทบาทสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดความพร่องต่างๆ ให้หมดไปจากชีวิต และ ... ดังนั้น ถ้าหากจะให้ความหมายของคำว่า “حرث” ว่าหมายถึง ไร่นา ส่วนคำว่า “أنّى” หมายถึง สถานที่ และคำว่า “إتيان” หมายถึง ความใกล้ชิดและการมีเพศสัมพันธ์ ถือว่าขัดแย้งกับสิ่งที่โองการต้องการจะกล่าวถึง[3]

 

 


[1] อัลมีซาน, ฉบับแปลฟาร์ซียฺ ,เล่ม 2, หน้า 317

[2] ตฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 141.

[3] มุซเฏาะฟะวียฺ, ฮะซัน ตัฟซีร โรชั่น, เล่ม 3, หน้า 156, มัรกัซ นัชรฺ กิตาบ

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    7273 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • มะลาอิกะฮ์และญินรุดมาช่วยอิมามฮุเซน(อ.)จริงหรือไม่ และเหตุใดท่านจึงปฏิเสธ?
    8314 تاريخ بزرگان 2554/12/03
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5848 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ตะวัสสุ้ลทำให้หลงทางหรือไม่ เราพิสูจน์หลักการนี้ด้วยเหตุผลใด?
    7892 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    การตะวัสสุ้ลไม่ไช่ความหลงผิด ในทางตรงกันข้ามยังถือเป็นวิธีแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลอฮ์อีกด้วย ส่วนการที่ท่านอิมามริฎอ(อ.)ช่วยให้คนป่วยหายดีนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุผลหลักในการยืนยันความถูกต้อง หากแต่เป็นเหตุผลรองที่สนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทศาสนา ทั้งนี้ กลไกของโลกเป็นกลไกแห่งเหตุแลผล บุคคลคนจะต้องขวนขวายหามูลเหตุหรือวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ในทางจิตวิญญาณก็มีกลไกคล้ายกันนี้ ดังที่กุรอานปรารภแก่เหล่าผู้ศรัทธาว่า “จงยำเกรงต่อคำบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาหนทางสู่ความใกล้ชิดยังพระองค์” ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7411 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ข้อแตกต่างระหว่างมะอ์นะวียัตในอิสลามและคริสตศาสนา
    6889 เทววิทยาใหม่ 2554/10/24
    คุณค่าของมะอ์นะวียัตของแต่ละศาสนาขึ้นอยู่กับคุณค่าของศาสนานั้นๆคำสอนของคริสตศาสนาบางประการขัดต่อสติปัญญาโดยที่ชาวคริสเตียนเองก็ยอมรับเช่นนั้นมะอ์นะวียัตที่ได้จากคำสอนเช่นนี้ก็ย่อมมีข้อผิดพลาดเป็นธรรมดาและนี่คือข้อแตกต่างหลักระหว่างมะอ์นะวียัตของอิสลามและคริสตศาสนากล่าวคือโดยพื้นฐานแล้วมะอ์นะวียัตของคริสต์ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เมื่อพิจารณาถึงแหล่งเนื้อหาที่มีบางจุดขัดต่อสติปัญญาทำให้ไม่สามารถจะนำพาสู่ความผาสุกได้อย่างไรก็ดีสภาพมะอ์นะวียัตของตะวันตกในปัจจุบันย่ำแย่ไปกว่ามะอ์นะวียัตดั้งเดิมของคริสตศาสนาเสียอีกในขณะที่มะอ์นะวียัตของอิสลามนั้นได้รับอิทธิพลจากคำสอนจากวิวรณ์
  • นามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรและนามของบิดาของพวกเธอคืออะไร ?
    6098 تاريخ بزرگان 2554/09/25
    ท่ามกลางหมู่มิตรของอัลลอฮฺและหมู่กัลญาณชนตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพวกเขาได้เสียสละในแนวทางของความเป็นเอกะและเป้าหมายของพระเจ้าอย่างมากมายนามชื่อของพวกเขาได้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษย์แต่ท่ามกลางหมู่ชนแหล่งอ้างอิงและรายงานในอิสลามได้จารึกนามของสตรีสี่ท่านที่ได้รับการเลือกสรรเอาไว้ว่าเป็นสตรีที่ดีที่สุดมีเกียรติและฐานันดรสูงส่งที่สุดในฐานะที่เป็นสตรีที่ดีที่สุดและเป็นสตรีชาวสวรรค์ที่ดีที่สุดด้วยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวแก่ท่านอมีรุลมุอฺมินีน ...
  • อิมามมะฮ์ดีสมรสแล้วหรือยัง?
    8062 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/09
    แม้จะเป็นไปได้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจมีคู่ครองและบุตรหลาน เนื่องจากภาวะการเร้นกายมิได้จำกัดว่าจะท่านต้องงดกระทำการสมรสอันเป็นซุนนะฮ์แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราไม่พบเหตุผลใดๆที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ประเด็นดังกล่าวไม่เป็นที่เปิดเผยนั้น อาจเป็นผลพวงมาจากความจำเป็นที่พระองค์ทรงเร้นกายท่านจากสายตาผู้คนนั่นเอง ...
  • เหตุใดกุรอานจึงใช้สำนวน فبشّرهم بعذاب الیم ทั้งๆที่คำว่าข่าวดีมีความหมายเชิงบวก?
    8055 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    กุรอานใช้คำว่า “บิชาเราะฮ์” เพื่อสื่อความหมายถึงทั้งข่าวดีและข่าวร้ายแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสำนวนแวดล้อมจะกำหนดความหมายใดกุรอานใช้คำว่าบิชาเราะฮ์ในความหมายเชิงลบในลักษณะอุปลักษณ์เพื่อสื่อว่าไม่มีสิ่งใดจะมอบแก่พวกเขาแล้วนอกจากการลงทัณฑ์ทั้งนี้ก็เพราะเหล่ากาฟิรมุชริกีนไม่ฟังคำตักเตือนใดๆทั้งสิ้นอัลลอฮ์จึงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)แจ้งว่าพวกเขาจะถูกลงทัณฑ์อย่างแสนสาหัส ...
  • ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
    7346 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/11/09
    เราไม่พบฮะดีษใดๆที่มีเนื้อหาเช่นนี้อย่างไรก็ดีในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษมีฮะดีษหลายบทที่อรรถาธิบายโองการفإذا فرغت فأنصب وإلی ربک فارغب ว่า "เมื่อเจ้า(นบี)ปฏิบัติภารกิจศาสนทูตลุล่วงแล้วก็จงแต่งตั้งอลี(อ.)เป็นผู้นำเหนือปวงชน" หรือฮะดีษที่อธิบายโองการแรกของซูเราะฮ์นี้ที่รายงานจากอิมามศอดิก(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60166 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57625 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42245 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39444 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38974 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34033 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28042 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28026 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27860 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25847 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...