การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13149
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/09
คำถามอย่างย่อ
การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
คำถาม
โองการที่ 65 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์กล่าวว่า “แน่แท้สูเจ้าทราบดีว่ากลุ่มหนึ่งจากสูเจ้ามิได้เกรงข้อบังคับเกี่ยวกับวันเสาร์ เราจึงได้สาปโดยตรัสว่าจงเป็นลิงเถิด” ถามว่าเหมาะสมแล้วหรือที่ผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการจับปลาในวันเสาร์ควรจะถูกสาปเป็นลิง ถามว่าอัลลอฮ์ทรงให้ความสำคัญแก่การหิวโหยและเกียจคร้านในวันหยุดมากกว่าการทำมาหากินกระนั้นหรือ? ทั้งที่ในยุคนั้นเองก็ไม่มีสิ่งบันเทิงใจเสมือนยุคปัจจุบัน
คำตอบโดยสังเขป

ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน”
สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้เกิดความกระจ่างในประเด็นนี้ ไคร่ขอเกริ่นนำว่า
หนึ่ง. นอกจากโองการที่ถามมาเกี่ยวกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวันเสาร์แล้ว อัลลอฮ์ยังทรงกล่าวไว้ในโองการที่ ซูเราะฮ์อะอ์ร้อฟว่า “และจงสอบถามพวกเขาเกี่ยวกับ (ความเป็นมา) ของเมืองชายทะเลแห่งหนึ่ง (และจงรำลึก)เมื่อครั้งที่พวกเขาได้กระทำการละเมิด(บทบัญญัติของพระองค์)ในวันเสาร์ โดยในครานั้นฝูงปลาได้ปรากฏในวันเสาร์ (อันเป็นวันหยุดพักผ่อนของพวกเขา) แต่ไม่ปรากฏในวันอื่นๆ เช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาด้วยสิ่งที่พวกเขามักจะละเมิดเสมอมา”

สอง. เกี่ยวกับกรณีที่ว่าพวกเขาละเมิดอย่างไรนั้น มีสองทัศนะด้วยกัน
ก. เนื่องจากฝูงปลาชุกชุมในวันเสาร์เหตุเพราะไม่อนุญาตให้จับ ทำให้มีคนฉลาดแกมโกงขุดบ่อดักปลาในวันเสาร์และลงไปจับในวันอาทิตย์
ข. พวกเขาละเมิดกฏด้วยการจับปลาด้วยวิธีปกติในวันเสาร์[1]

สาม. ด้วยเหตุที่ชนเผ่ายิวละเมิดคำบัญชาของอัลลอฮ์และศาสนทูตด้วยการสร้างความเสื่อมเสียในศาสนา ทำให้ต้องประสบกับละอ์นัตของพระองค์ ส่งผลให้คนส่วนใหญ่สูญเสียแรงศรัทธาทีละน้อย อัลลอฮ์ได้ทรงเตือนว่าถ้าหากยังดื้อดึงและฝ่าฝืนเช่นนี้ต่อไป จะประสบกับพลังกริ้วของพระองค์อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการสาปแช่งหรือ “ฎ็อมส์” อันหมายถึงการลงโทษที่ไม่เหลือร่องรอยใดๆ พระองค์จะจัดการกับพวกเขาด้วยสองสิ่งดังกล่าวโดยไม่ละเว้นโทษอย่างแน่นอน[2]

หลังจากทราบประเด็นข้างต้นแล้ว เราจะเริ่มพิจารณาคำถามที่ได้ถามมา และเนื่องจากสำนวนคำถามตั้งอยู่บนสมมุติฐานอันคลาดเคลื่อน เราจึงขอตอบคำถามด้วยการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องดังต่อไปนี้

การจับปลาหาเลี้ยงชีพเป็นเหตุให้พวกเขาถูกสาปเป็นลิงกระนั้นหรือ?

รายงานของฝ่ายมุสลิมระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับชาวบนีอิสรออีลกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ริมทะเลแห่งหนึ่ง (คาดว่าจะเป็นแถบชายฝั่งทะเลแดง) ณ เมืองท่าที่ชื่อ “อีละฮ์” (ปัจจุบันเรียกว่าท่าอีลาต) โดยอัลลอฮ์ได้ทดสอบพวกเขาด้วยการห้ามไม่ให้จับปลาในวันเสาร์ ทว่าคนกลุ่มนี้ฝ่าฝืนคำสั่ง ทำให้ต้องประสบกับชะตากรรมอันเจ็บปวด[3] ด้วยเหตุนี้การที่พวกเขาถูกสาปมิได้เกิดจากการออกหาปลาเพื่อประทังชีวิตโดยปกติ เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วย่อมไม่ทำให้ถูกสาปอย่างแน่นอน มีฮะดีษที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้สองบทด้วยกัน

หนึ่ง. ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ซื้อเนื้อเลี้ยงครอบครัวแม้เพียงดิรฮัมเดียว ประหนึ่งได้ปล่อยทาสจากวงศ์วานนบีอิสมาอีลให้เป็นไท”[4]
สอง. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่มีวิริยะอุตสาหะหาเลี้ยงครอบครัวของตน เสมือนดั่งนักต่อสู้ในหนทางของพระองค์ที่ฟาดฟันอยู่กลางสนามรบ”[5]

เหล่านี้ทำให้ทราบว่าการจับปลาโดยสุจริตมิไช่เหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้พวกเขาถูกสาป แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุผลที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “เช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาเคยฝ่าฝืนมาโดยตลอด”[6] เมื่อพิจารณาโองการนี้ประกอบกับฮะดีษต่างๆที่คล้ายคลึงกันทำให้ทราบว่า บททดสอบดังกล่าวคล้ายกับเหตุการณ์ที่นบีอิบรอฮีมรับบัญชาให้เชือดพลีนบีอิสมาอีล[7] หรือการระงับมิให้กองทัพของฏอลู้ตดื่มน้ำ[8] ซึ่งล้วนเป็นการทดสอบชนชาติบนีอิสรออีลบางกลุ่มทั้งสิ้น แต่เนื่องจากคนกลุ่มนี้ดื้อแพ่งละเมิดบทบัญญัติ ทำให้ต้องประสบกับความกริ้วของพระองค์โดยการถูกสาปเป็นลิง

สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا [9]และ یعدون (ละเมิด)[10] ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้

การงดกระทำการใดๆในวันเสาร์เป็นการส่งเสริมให้เกียจคร้านหรือไม่?
การหยุดงานในวันเสาร์ถือเป็นประกาศิตจากคัมภีร์เตาร้อต(โตร่าห์) อีกทั้งยังเป็นขนบจำเพาะสำหรับชนชาวยิว ซึ่งถือเป็นข้อบังคับสำคัญระดับต้นๆ โดยพวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าทรงบันดาลโครงสร้างของโลกเสร็จสิ้นและพักผ่อนในวันเสาร์ และเชื่อว่าชนชาติยิวลี้ภัยจากอิยิปต์สำเร็จในวันนี้ ชาวยิวจึงต้องละเว้นทุกกิจกรรมและทำบุญกุศลในวันเสาร์[11] ด้วยเหตุนี้เอง การหยุดงานในวันนี้จึงถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านแต่อย่างใด

แน่นอนว่าศาสนามิได้ปิดกั้นกิจกรรมสันทนาการ เพราะมีบางกรณีที่ศาสนาส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ อย่างไรก็ดี มิไช่ว่าวันหยุดจะเป็นวันแห่งกิจกรรมสันทนาการเพียงอย่างเดียว เพราะชาวบนีอิสรออีลเองก็มีหน้าที่จะต้องหยุดหาปลาและหยุดงานเพื่อประกอบกิจทางศาสนา ทว่าพวกเขาละเมิดบทบัญญัติดังกล่าว[12]

อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า ในเมื่อพวกเขามิได้ยกอวนในวันเสาร์ ก็แสดงว่ามิได้ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามจับปลาในวันเสาร์ แล้วเหตุใดจึงถูกสาปในที่สุด?
ตอบได้ว่า เนื่องจากคนเหล่านี้ละเมิดบทบัญญัติของอัลลอฮ์ด้วยการขังปลาในวันเสาร์แล้วจับปลาในวันอาทิตย์ (อันถือเป็นการเลี่ยงบาลี) พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการละเมิดบทบัญญัติ เหตุเพราะการกักบริเวณปลาที่ชุกชุมในวันเสาร์ก็มิได้แตกต่างอะไรกับการจับปลา เปรียบเสมือนการจับปลาแม่น้ำมาใส่ในบ่อที่เตรียมไว้เพื่อจับในภายหลัง

ข้อสังเกตุ.
น่าฉงนใจที่คัมภีร์โตร่าห์อันอุดมไปด้วยการยกยอปอปั้นชนชาติบนีอิสรออีลนั้น มิได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเสมือนอีกหลายเหตุการณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์กุรอาน และเหตุการณ์ต่างๆที่ปรากฏในสองคัมภีร์นี้ก็มีสำนวนที่แตกต่างกันเป็นอย่างยิ่ง[13]

 


[1] เฏาะบัรซี, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, คณะผู้แปล,เล่ม 1,หน้า 204-205, สำนักพิมพ์นาศิรโคสโร,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สาม,ปี 1372

[2] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซาน,มูซะวี ฮะมะดอนี และซัยยิดมุฮัมมัด บากิร,เล่ม 4,หน้า 584,สำนักพิมพ์อิสลามี ญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันศึกษาศาสนาแห่งเมืองกุม,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,ปี1374

[3] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 6,หน้า 418,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1374

[4] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 75,หน้า 32,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,เลบานอน,ฮ.ศ.1404

[5] กุลัยนี,อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 88,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี1365

[6] อัลอะอ์ร้อฟ,163

[7] “เมื่อเขา(อิสมาอีล)ถึงวัยอันควร (อิบรอฮีม)ได้กล่าวแก่เขา(อิสมาอีล)ว่า โอ้ลูกรัก พ่อฝันว่าพ่อกำลังเชือดลูก ลูกมีความเห็นเช่นไร? เขากล่าวว่า โอ้พ่อจ๋า ทำในสิ่งที่ได้รับบัญชาเถิด ในไม่ช้าพ่อจะได้เห็นว่าผมเป็นผู้อดทน” อัศศ้อฟฟ้าต,103

[8] “เมื่อครั้งที่ฏอลู้ตกรีฑาทัพพร้อมกับเหล่าทหาร เขาได้กล่าวว่าพระองค์ทรงทดสอบพวกท่านด้วยธารน้ำ ผู้ใดที่ดื่มน้ำในลำธารนี้ไม่ไช่พวกฉัน ผู้ที่ไม่ดื่มคือพรรคพวกของฉัน เว้นแต่จะจิบเพียงฝ่ามือ หลังจากนั้นปรากฏว่าส่วนน้อยเท่านั้นที่งดดื่มน้ำ และเมื่อฏอลู้ตและเหล่าผู้ศรัทธาได้ข้ามลำธารดังกล่าวแล้ว เหล่าผู้คัดค้านพากันกล่าวว่า เราไม่มีเรี่ยวแรงจะต่อสู้กับญาลู้ตและกองทัพได้อีกต่อไป” อัลบะเกาะเราะฮ์,249

[9] อัลบะเกาะเราะฮ์,65

[10] อัลอะอ์ร้อฟ,163

[11] ทอเลกอนี,ซัยยิดมะห์มู้ด,วงรัศมีจากกุรอาน,เล่ม1,หน้า186, ห้างหุ้นส่วนการพิมพ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สี่,ปี1362

[12] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์(ปรับเนื้อหาเล็กน้อย),เล่ม6,หน้า419

[13] ทอเลกอนี,ซัยยิดมะห์มู้ด,วงรัศมีจากกุรอาน,เล่ม1,หน้า186

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • เมื่อคำนึงถึงการที่สตรีจะต้องมีประจำเดือน จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์ เนื่องจากจะต้องถือศีลอดติดต่อกันเป็นเวลา 31 วัน
    7216 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ในการถือศีลอดที่มีเงื่อนไขว่าจะต้องถืออย่างติดต่อกัน (เช่นการถือศีลอดกัฟฟาเราะฮ์หรือการถือศีลอดที่มีการบนบานเอาไว้) หากเขาไม่สามาถทำเช่นนี้ได้เนื่องจากป่วยหรือมีรอบเดือนหรือเป็นนิฟาซ (สำหรับสตรี) และผู้ถือศีลอดไม่สามารถถือศีลอดติดต่อกันได้ต่อเมื่อข้อจำกัดเหล่านั้นหมดไป (เช่นการป่วย, การมีรอบเดือนหรือการมีนิฟาซ) หากถือศีลอดต่อทันทีก็จะถือว่าถูกต้องและไม่จำเป็นต้องเริ่มถือศีลอดใหม่แต่อย่างใด[1][1]อิมามโคมัยนี, รูฮุลลอฮ์, ตะฮ์รีรุลวะซีละฮ์, แปล,เล่มที่
  • เพราะเหตุใด อัลลอฮฺทรงรังเกลียดการหย่าร้างอย่างรุนแรง?
    11028 ปรัชญาของศาสนา 2555/04/07
    ถ้าหากพิจารณาสิ่งตรงข้ามกันระหว่างการหย่าร้าง กับการแต่งงาน,เพื่อค้นคว้าปรัชญาของความน่ารังเกลียดในการหย่าร้าง, อันดับแรกจำเป็นต้องกล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานก่อน[1] อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นมาเป็นคู่ มนุษย์ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายและเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้า อันเป็นเหตุของความสงบและความสันติ[2] รายงานฮะดีวจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานไว้ว่า เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง, ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการแต่งงานว่า : ไม่มีรากฐานอันใดได้ถูกวางไว้ในอิสลาม ซึ่งเป็นทีรักและมีเกียรติยิ่ง ณ พระองค์อัลลอฮฺ เหนือไปจากการแต่งงาน”[3] หนึ่งในประโยชน์อันสำคัญยิ่งของการแต่งงานคือ การขยายและดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ, ด้วยเหตุนี้เอง การหย่าร้างคือการทำลายการแต่งงาน ทำให้ครอบครัวต้องแตกแยก เด็กๆ ที่เกิดมาสมควรได้รับการดูแลจากมืออันอบอุ่นของบิดามารดา ร่มเงาของทั้งสองสมควรที่จะถอดเบียดบังพวกเขาให้ได้รับความปลอดภัย และมีความรู้สึกว่าได้รับความอบอุ่นเสมอ การปราศจากผู้ปกป้องดูแลคือ การขาดที่พำนักพักพิง ...
  • ความหมายของประโยคที่กล่าวว่า «السلام علیک یا حجة الله لا تخفی» คืออะไร?
    7189 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    เป็นประโยคหนึ่งจากซิยาเราะฮ์ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งได้บันทึกไว้ในหนังสือฮะดีษและดุอาอ์ต่าง ๆ[1] เกี่ยวกับประโยคดังกล่าวสามารถสันนิษฐานได้ 2 ประการ อิมามมะฮ์ดี(อ.) เป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และการเป็นฮุจญะฮ์ได้รับการพิสูจน์โดยเหตุผลทางสติปัญญาและฮะดีษแล้ว[2] ดังนั้นการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ชัดเจนแน่นอน และเป็นที่ยอมรับสำหรับทุกคนที่มีความคิดและสติปัญญาที่สมบูรณ์ อิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งเป็นฮุจญะฮ์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) อยู่ในหมู่พวกเรา และไม่ได้จากไปไหน แต่ทว่าเรามองไม่เห็นท่าน เสมือนดวงอาทิตย์ที่อยู่หลังก้อนเมฆ[3] ดังนั้น แม้ว่าร่างกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) จะไม่ปรากฏให้สาธารณะชนเห็นเนื่องด้วยภัยคุกคามหรือเหตุผลอื่นๆ แต่การรู้จักท่าน ตลอดจนภาวะการเป็นอิมามของท่านเป็นที่ประจักษ์สำหรับผู้คนอย่างชัดเจน และทุกคนรับรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี ท่านอยู่ในดวงใจของผู้ศรัทธามิเสื่อมคลาย และประชาชนต่างดำเนินชีวิตอยู่ด้วยคำแนะนำและภายใต้การดูแลของท่านเสมอมา อ่านเพิ่มเติมได้ที่
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6508 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7123 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • แนวทางที่ถูกต้อง และง่ายในการเลือกมัรญิอฺตักลีดที่มีความรู้สูงสุด สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และไม่สามารถแยกแยะอุละมาอฺได้คืออะไร?
    12662 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุด หมายถึงมิได้จำกัดอยู่แค่บุคคลที่มีความเชื่ยวชาญพิเศษเฉพาะปัญหาฟิกฮฺ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักชัรอียฺของตนนั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ สมบูรณ์ในเรื่องฟิกฮฺ และต้องเป็นผู้รู้ที่มีความรู้มากกว่ามุจญฺตะฮิดด้วยกัน ในสมัยของตน และมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงสุดสามารถรู้จักได้จากหนึ่ง 3 วิธีดังนี้ : หนึ่ง : ตัวเราต้องมั่นใจด้วยตัวเอง สอง : มีผู้รู้สองคนที่ยุติธรรมยืนยันในความรู้ของมุจญฺตะฮิดท่านนั้น สาม : ผู้รู้กลุ่มหนึ่งได้ยืนยันและรับรองการเป็นมุจญฺตะฮิด และการเป็นผู้มีความรู้สูงสุดของเขา น่ายินดีว่าปัจจุบันบรรดาคณาจารย์ระดับสูงของสถาบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม ได้แนะนำผู้รู้ที่มีคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดสมบูรณ์ ในฐานะของมัรญิอฺตักลีดไว้หลายคนด้วยกัน ซึ่งมุสลิมทุกคนสามารถเลือกปฏิบัติตามอุละมาอฺเหล่านั้น ในฐานะมัรญิอฺตักลีด ท่านหนึ่งท่านใดก็ได้ และกิจการงานของตนให้ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของท่าน ที่มีอยู่ในริซาละฮฺ เตาฎีฮุลมะซาอิล ในกรณีนี้ท่านจะมั่นใจได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ทางชัรอียฺของท่านแล้ว และปัจจุบันเนื่องจากการติดต่อสื่อสารนั้นสะดวกสบาย และเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ มีหลายภาษาให้เลือก ดังนั้น สำหรับบุคคลที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม สามารถรับรู้ข้อมูลนี้ได้อย่างง่ายดาย ...
  • ผมเป็นชาวฟิลิปินส์ ในสถานการณ์ที่ผมไม่สามารถไปหามุจตะฮิดคนใดคนหนึ่งได้ และในกรณีที่ผมไม่มั่นใจว่ามีผู้ที่เป็นซัยยิด (เป็นลูกหลานของท่านศาสดา (ซ.ล.) ที่เป็นผู้ยากไร้อาศัยอยู่ในประเทศของผมหรือไม่นั้น ผมจะต้องจ่ายคุมุสแก่ผู้ใด?
    6202 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบที่ได้รับมาจากสำนักงานต่างๆของบรรดามัรยิอ์มีดังนี้สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์ซิซตานี–คุณสามารถที่จะแยกเงินคุมุสของท่านไว้และเก็บไว้ก่อนจนกว่าจะมีโอกาสที่จะนำเงินดังกล่าวไปมอบให้กับตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์มะการิมชีรอซี–สามารถจ่ายทางเว็บไซต์ของมัรญะอ์ดังกล่าวได้คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ฮาดาวีย์เตหะรานีเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวคือคุณสามารถจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้โดยโอนเงินให้กับมุจตะฮิดหรือตัวแทนของท่านและทางที่ดีควรจ่ายให้กับผู้นำรัฐหรือตัวแทนของท่านในทุกกรณีไม่สามารถจ่ายเงินคุมุสให้กับผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือตัวแทนของท่านเสียก่อน ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    16963 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • อะไรคือตาบู้ตที่อัลลอฮ์สั่งให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบแก่ท่านอิมามอลี(อ.)ในวันเฆาะดี้ร?
    7579 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ในฮะดีษเฆาะดี้รมีคำว่าตาบู้ตอยู่จริงซึ่งกุรอานก็กล่าวถึงเช่นกัน... أَنْ یَأْتِیَکُمُ التَّابُوتُ فیهِ سَکینَةٌ مِنْ رَبِّکُمْ ... โองการนี้ต้องการจะสื่อว่า  แม้ศาสนทูตอิชมูอีลจะแจ้งแก่บนีอิสรออีลว่าตอลู้ตได้รับภารกิจจากอัลลอฮ์แต่พวกเขาก็ยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่และขอให้ศาสนทูตระบุหลักฐานให้ชัดเจนศาสนทูตจึงกล่าวว่าสัญลักษณ์การปกครองของเขาก็คือเขาจะมายังพวกท่านพร้อมกับตาบู้ต(หีบบรรจุพันธะสัญญา)ส่วนที่ว่าตาบู้ตหรือหีบแห่งพันธะสัญญาของบนีอิสรออีลคืออะไรใครเป็นคนสร้างขึ้นบรรจุสิ่งใดบ้างนั้นมีคำอธิบายมากมายจากฮะดีษตัฟซี้รและบทพันธะสัญญาเดิม (โตร่าห์) แต่ที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือคำอธิบายที่ได้จากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์และทัศนะของนักตัฟซี้รบางท่านที่ว่า:   ตาบู้ตเป็นหีบไม้ที่มารดาของท่านนบีมูซา(อ.)ได้ใช้วางทารกไว้ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์และปล่อยไปตามกระแสของแม่น้ำไนล์ สามารถเชื่อมโยงสองเหตุการณ์ระหว่างการที่บนีอิสรออีลเรียกร้องให้ตอลู้ตแสดงหีบตาบู้ตให้เห็นกับการที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งมอบศาสตราวุธและหีบตาบู้ตให้แก่ท่านอิมาม(อ.)ในวันเฆาะดี้รโดยได้ข้อสรุปว่าอุปกรณ์เหล่านี้คือสิ่งที่ส่งมอบกันมาจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงอิมามท่านสุดท้ายและอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะแสดงหีบและศาสตราวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกประจักษ์ ...
  • จริงหรือไม่ที่อิมามฮุเซน (อ.) สมรสกับชะฮ์รบานู?
    8857 تاريخ بزرگان 2554/12/19
    เกี่ยวกับประเด็นการสมรสระหว่างอิมามฮุเซน (อ.) กับชะฮ์รบานูซึ่งเป็นเชลยศึกของกองทัพมุสลิมนั้นมีหลายทัศนะด้วยกันเนื่องจากบางรายงานเล่าว่าหญิงคนนี้ถูกจับเป็นเชลยในสมัยการปกครองของอุมัรบ้างกล่าวว่าสมัยอุษมานอีกทั้งยังระบุนามของท่านและบิดาของท่านไว้แตกต่างกันด้วยเหตุนี้ยากที่จะฟันธงว่าภรรยาขอของอิมามฮุเซน (อ.) และมารดาของอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.) เป็นชาวอิหร่าน ( อีกทั้งการที่มีนามว่าชะฮ์รบานู) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59438 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56891 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41704 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38461 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38451 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33484 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27563 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27278 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27178 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25252 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...