Please Wait
21058
วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัส หรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ที่มีมายังมนุษย์ ถ้าพิจารณาในแง่ของรูปลักษณ์ลักษณะแล้วไม่แตกต่างกัน แต่ในระดับชั้นนั้นมีความแตกต่างกัน ระดับชั้นที่ต่ำที่สุดเป็นระดับของสิ่งที่ไม่มีชีวิตและพืชทั้งหลาย ขณะที่ระดับสูงสุดนั้นเป็นของบรรดา ศาสดา อันดับที่สอง : กรณีที่วะฮฺยูถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น ถูกใช้ในความหมายของการบ่งชี้ การอ้างอิง, การกระซิบกระซาบ, การดลในความเข้าใจจากทางสัญชาติญาณ หรือการดลชนิดมองเห็น ซึ่งระดับชั้นที่สูงที่สุดคือ การตรัสของพระเจ้าที่มีต่อศาสดาและเราะซูลของพรองค์
คุณลักษณะของวะฮฺยูมีดังนี้ : 1) บังเกิดภายใน 2) มีครูสอนสั่ง 3) ซ่อนในจิตใจ 4) การรับรู้ผ่านแรงบันดาลใจ ขณะเดียวกันวิธีการประทานวะฮฺยูแก่บรรดาศาสดามีอยู่ 3 แบบ (แม้ตามคำกล่าวของท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอี ทั้งสามแบบนั้นจะย้อนกลับไปสู่วิธีการเดียว นั่นก็คือการดลใจโดยปราศจากสื่อกลางจากอัลลอฮฺ) ซึ่งประกอบไปด้วย :
(1) การสนทนาของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อ (2) การสนทนาหลังม่านปกคลุม (3) การสนทนาผ่านทูตสวรรค์หรือมลาอิกะฮฺที่ประทานลงมา ปรัชญาของการประทานวะฮฺยูและศักดิ์ศรีของมลาอิกะฮฺ สิ่งที่ย้ำเตือนให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า การที่มลาอิกะฮฺเป็นสื่อกลางนั้นไม่ได้หมายถึงว่า มลาอิกะฮฺได้รับสิทธิ์จากพระเจ้า หลังจากนั้นได้ถ่ายทอดให้ศาสดาด้วยภาษาอันเฉพาะ ทว่ามลาอิกะฮฺคือภาพประจักษ์แห่งสารของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ คำว่าสื่อกลางจึงไม่ได้หมายถึงภาษาอันเฉพาะ หรือมีข้อความศักดิ์สิทธิ์อยู่ระหว่างนั้น เพื่อว่าจะได้เกิดความผิดพลาดขณะพูด ในประการแรก จึงไม่มีสื่อกลางระว่างทั้งสอง, และประการที่สองและสาม ถ้าศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ใส่ใจผ่านสื่อหรือผ้าคลุม ก็เท่ากับว่าท่านได้รับวะฮฺยูโดยปราศจากสื่อ ประเด็นสุดท้าย วะฮฺยู เป็นชนิดหนึ่งของความรู้ประจักษ์ จึงมีความแตกต่างกับความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ความรู้ประจักษ์ปราศจากความผิดพลาดและไม่เป็นเท็จ ดังนั้น มนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นไปจนไปถึงขั้นที่ว่า มนุษย์สามารถได้รับความรู้จากพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อ ตรงนี้เอง ที่ส่วนใหญ่จะห่างไกลและอิสระต่อการย้อนไปหาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และได้รับการคุ้มกันจากความผิดพลาด และนี่ก็คือตำแหน่งมะอฺซูมนั่นเอง
วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัส หรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน[1]
คำๆ นี้ถูกใช้ในอัลกุรอานบ่อยครั้ง แบบฟอร์มการใช้คำ ๆ นี้ มีลักษณะแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าอัลกุรอานนั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับมนุษย์เท่านั้น ทวาควบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้ การสร้างรวงรังของผึ้งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวะฮฺยู ซึ่งจะเห็นว่าวะฮฺยูได้ชี้นำทางสรรพสิ่งมีชีวิตที่ตัวตนและสัญชาติญาณ เพื่อให้สรรพสิ่งนั้นไปถึงยังจุดหมาย ประเด็นนี้ย่อมเป็นหนึ่งในเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า โลกนั้นมีจุดหมาย มวลสรรพสิ่งทั้งหลายไปถึงยังเป้าหมายของตนได้ไม่ใช่เพราะความบังเอิญ ทว่าด้วยการชี้นำที่เป็นตักวีนีของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นก็คือการวะฮีของพระองค์ที่มีมายังสรรพสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตามวะฮีย์ของพระเจ้ามีระดับชั้นที่แตกต่างกัน วะฮีย์ที่มีมายังพืช สรรพสัตว์ และฯลฯ นั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ทำนองเดียวกันการชี้นำที่มีต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่เหมือนกับสิ่งไม่มีชีวิต[2]
ดังนั้น วะฮฺยูระดับสูงที่สุดก็คือวะฮฺยูที่ถูกประทานแก่ท่านศาสดา ซึ่งจุดประสงค์จากสิ่งนั้นคือ การดลความหมายบนจิตใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากพระเจ้าและการสนทนาของพระเจ้ากับนบี[3] วะฮีย์นี้วางอยู่บนพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการคำชี้นำจากพระเจ้า เพื่อชี้นำไปถึงจุดหมายปลายทาซึ่งอยู่เบื้องหลังเส้นขอบฟ้าแห่งความรู้สึกและวัตถุ อีกด้านหนึ่งความต้องการในการดำรงอยู่ทางสังคม ที่ประกอบด้วยของการมีกฎหมายพระเจ้าอันเป็นที่ตอบรับ ดังนั้น วะฮฺยู ก็คือการได้รับการชี้นำจากพระเจ้านั่นเอง โดยการเชื่อมต่อของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับอาณาจักรเร้นลับ ท่านศาสดาคือสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์กับโลกเร้นลับ (ซึ่งจะอธิบายต่อไปว่ามนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์ ก็มีสิทธิ์ได้รับความวะฮีย์บางระดับเช่นกัน)[4]
จากคำพูดของท่านนบี (ซ็อล ฯ) ก็สามารถเข้าใจได้ว่าพื้นฐานของวะฮีย์ กับการดลอย่างอย่างอื่นที่มีแก่มนุษย์ในแง่ของแก่นสารไม่แตกต่างกัน แต่ในระดับชั้นนั้นแตกต่างกันไป ตัวอย่าง เช่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขณะที่กล่าวฮะดีซได้กล่าวว่า: การมองเห็นสัจธรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบ 70 ส่วนของสภาวะการเป็นนบี[5] ฮะดีซบทนี้บ่งบอกให้เห็นว่า วะฮฺยู ที่ประทานแก่ศาสดามีระดับชั้นที่สูงส่งทีสุดและเปี่ยมไปด้วยความรุ่งโรจน์ ซึ่งทั้งหมดได้รับประโยชน์จากรัศมีและปัจจัยยังชีพ ดังนั้นมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะพิจารณาความหมายของวะฮฺยู ตามทีอัลกุรอานได้ใช้ [6] ในดำรัสของพระเจ้า วะฮียฺ ถูกใช้ในความหมายเหล่านี้ :
ถูกใช้ในความหมาย การดล ในความเข้าใจของสัตว์จากวิธีของสัญชาติญาณ “และพระผู้อภิบาลของเจ้า ทรงดลใจแก่ผึ้ง”[7] (หมายถึงพระองค์ทรงสอนผึ้งว่าเจ้าควรจะสร้างรวงรังและดูดน้ำหวานอย่างไร)
วะฮฺยู หมายถึงการกดลด้วยการมองเห็น :"และเราได้ดลใจแก่มารดาของมูซา”[8]
วะฮฺยู หมายถึง การกระซิบกระซาบ :แท้จริง บรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหายของมัน”[9]
วะฮฺยู หมายถึง การดลในแง่ของการบ่งชี้ : และเขาได้ชี้ใบ้แก่พวกของเขาว่า พวกท่านจงกล่าวสดุดีในยามเช้าและยามเย็น”[10]
และชนิดที่ดีที่สุดของวะฮฺยูคือ ในความหมายของการสนทนาของพระเจ้ากับษศาสดาและเราะซูล :"และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮฺตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะ ฮียฺ”[11]
ส่วนคุณสมบัติของวะฮฺที่ประทานแก่บรรดาศาสดามี 3 ประเภทกล่าวคือ : 1) บังเกิดภายใน 2) มีครูสอนสั่ง 3) ซ่อนในจิตใจ 4) การรับรู้ผ่านแรงบันดาลใจ
คำอธิบาย : วัตถุประสงค์ของการบังเกิดภายใน หมายถึงบรรดาศาสดา, ไม่ได้รับวะฮฺยูโดยผ่านความรู้สึกภายนอก ทว่าได้รับโดยผ่านจากด้านใน อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้โดยเรียกว่า จิตใจ ตรัสว่า
نزل به الروح الامین على قلبک[12]
จิตใจ ในที่นี้หมายถึง ภายใน กล่าวคือคือตัวตนและจิตวิญญาณ อีกด้านหนึ่งเนื่องจาก วะฮฺยู คือติดต่อกับโลกอื่นเรียกว่าวะฮฺยูด้านนอก ส่วนจุดประสงค์ของครู หมายถึงวะฮฺยูที่ลงแก่นบี เช่น ไม่เหมือนสัญชาตญาณของสัตว์ที่ไม่มีด้านการศึกษาและไม่ใช่ชนิดของแรงบันดาลใจชนิด (อิลฮามที่เกิดในมนุษย์หรือนักวิชาการบางคน) เพราะอิลฮาม (แรงบันดาลใจ) ของมนุษย์ก็เพียงแค่รู้สึกว่า เขาไม่รู้ทันใดนั้นมีสิ่งหนึ่งปรากฏบนจิตใจของเขา แต่ไม่มีความรู้สึกว่ากำลังได้รับสิ่งนั้นจากครู แต่บรรดาศาสดาจะมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้พบกับครู อัลกุรอานกล่าวว่า :
علمه شدید القوى"[13] "علمّک مالم تکن تعلم"[14].
วัตถุประสงค์ ความรู้สึก กล่าวคือ เมื่อพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับวะฮฺยู ท่านตระหนักว่า นี่คือเนื้อหาที่ได้รับจากที่อื่น เหมือนกับเรา มีความรู้สึกว่าเรากำลังเรียนอยู่กับครูผู้สอน เรามีความรู้สึกว่า เรากำลังนั่งอยู่ต่อหน้าคุณครูและฟังครูสอน จะมีความแตกต่างกันตรงที่ว่า คุณครูของท่านนบีไม่ได้อยู่ในจักรวาลนี้ ส่วนจุดประสงค์ของ การรับรู้โดยผ่านสื่อของวะฮฺยูนั้น บางครั้งวะฮฺยู ได้ถูกดลแก่นบีโดยสิ่งอื่น ไม่ได้มาโดยตรงจากพระเจ้า สิ่งนั้นบางครั้งเรียกว่า "รูฮุลอามีน" บางครั้งเรียกว่า "รูฮุลกุดส์" บางครั้งก็เป็น "ญิบรออีล" ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) รับรู้และรู้สึกได้กับสิ่งนั้น ขณะที่ในสัญชาติญาณส่วนบุคคลมิได้เป็นเช่นนี้ และผู้นั้นก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเขามีครู ดังนั้น เมื่อวะฮฺยูเป็นที่ชัดเจนแล้ว จะขออธิบายในส่วนที่สองของคำถาม และจะขอจบด้วยการอธิบายประเด็นเหล่านี้
พระมหาคัมภีร์กุรอาน กล่าวถึงรูปลักษณ์สามแบบของการประทานวะฮฺยูลงมายังมนุษย์ :
(1) การสนทนาของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อ หมายถึงระหว่างพระเจ้ากับพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่มีสิ่งใดเป็นสื่อกลาง หรือมีม่านกั้นแต่อย่างใด ซึ่งท่านศาสดาได้รับวะฮฺยูจากแหล่งอันงดงาม (2) การสนทนาหลังม่านปกคลุม (3) การสนทนาผ่านทูตสวรรค์หรือมลาอิกะฮฺ เป็นที่ชัดเจนว่าในสองส่วนหลังนี้ แตกต่างไปจากส่วนแรก เนื่องจากมีม่านหรือสื่อหรือระหว่างพระเจ้าและศาสดา (ซ็อล ฯ) แน่นอน ความหมายของม่านปกปิดนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้ได้รับวะฮฺยูนั้นไม่ได้สนทนาโดยตรงกับพระเจ้า ทว่าเป็นที่ชัดเจนว่าผู้พูดคือ พระเจ้า แต่เนื่องจากวิทยปัญญาและพระประสงค์ของพระเจ้า, ซึ่งท่านศาสดาได้หันไปสู่ม่านหรือสื่อกลางนั้น และได้รับสารของพระเจ้าจากเบื้องหลังม่านหรือจากภาษาของสื่อกลาง เป็นที่ชัดเจนว่าท่านศาสดก็ได้รับข้อความของพระเจ้าโดยตรงเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากท่านศาสดาหันหน้าไปสู่ม่าน, จึงได้กล่าวว่าท่านได้รับวะฮฺยูจากเบื้องหลังม่าน แต่ถ้าท่านไม่ได้หันหน้าไปยังม่านนั้น ก็เท่ากับว่าท่านได้รับวะฮฺยูโดยตรง เช่นเดียวกันการที่กล่าวว่า วะฮฺยูได้ผ่าน ญิบรออีล (อ.) นั้น ถ้าหากผู้รับไม่ใส่ใจต่อสื่อก็เท่ากับว่า ท่านได้รับวะฮฺยูโดยตรงจากพระเจ้าเชนกัน
ในความเป็นจริงแล้ว มลาอิกะฮฺวะฮฺยู ก็คือการสำแดงวะฮฺยูของพระเจ้า ไม่ได้หมายความว่าท่านได้รับรู้ข้อความหรือสารผ่านชั้นบรรยากาศ หลังจากนั้นท่านได้อธิบายโดยผ่านสื่อของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่ามลาอิกะฮฺวะฮฺยูอะมีน หมายความว่า ท่านเป็นผู้รักษาอะมานะฮฺ ซึ่งไม่ได้เหมือนกับการรักษาอะมานะฮฺในหมู่มนุษย์ด้วยกัน กล่าวคือผู้ที่ถืออะมานะฮฺพยายามนำเอาอะมานะนั้นไปส่งคืนให้เจ้าของ ทว่าในที่นี้แม้ว่าผู้รักษาอะมานะฮฺจะบริสุทธิ์และไม่ได้ทรยศ หรืออาตมันนั้นไม่สามารถทรยศและหักหลังได้, ทว่าสิ่งนี้เมื่อกล่าวกับมลาอิกะฮฺแล้วจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น โดยหลักการแล้วไม่ได้หมายถึงท่านเป็นผู้รับและเป็นผู้ส่งวะฮฺยู ท่านไม่ได้เป็นสื่อกลางระหว่างอัลลอฮฺกับนบี ทว่าท่านคือการสำแดงวะฮฺยูและเป็นแหล่งปรากฏวิชาการของพระเจ้า ประหนึ่งว่าลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าได้ปรากฏบนท่าน ถ้าหากท่านศาสดาได้หันไปสู่การสำแดงนั้น ก็จะกล่าวว่า อัลลอฮฺได้สนทนากับเราะซูลโดยผ่านสือมลาอิกะฮฺ ถ้าท่านเราะซูล แม้ว่าจะมีความรู้ของพระเจ้าหรือความรู้โดยทั่วไปของพระเจ้าได้วิวัฒนาการในสิ่งนั้นก็ตาม โดยที่ท่านไม่ได้ใส่ใจในสิ่งนั้น แต่ท่านใส่ใจในแห่ล่งวะฮฺยูเท่านั้น ดังนั้น วะฮฺยูเมื่อสัมพันธ์ไปยังศาสดาถือว่าไม่มีสื่อกลาง ประหนึ่งบุคคลหนึ่งได้ดูภาพในกระจกเขามองแต่ภาพโดยที่ไม่ได้สนใจต่อกระจก[15]
จากประเด็นนี้ ท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอีกล่าวว่า ทุกการประทานวะฮฺยูนั้นปราศจากสื่อกลางที่มาจากพระเจ้า[16] ด้วยเหตุนี้ ในโองการต่างๆ วะฮฺยูได้สัมพันธ์ทุกกรณีกับพระเจ้า ซึ่งการสัมพันธ์ทำนองนี้ถือว่าไม่อนุญาต เช่น อัลกุรอานกล่าวว่า:
انا اوحینا الیک کما اوحینا الى نوح والنبیین من بعده
“แท้จริงเราได้มีโองการแก่เจ้าเช่นเดียวกับที่เราได้มีโองการแก่นูฮ์ และบรรดานะบีหลังจากเขา”[17]
หมายเหตุ : วะฮฺยูไม่ได้เป็นวิชาการประเภทของการเรียนรู้ ทว่าเป็นหนึ่งในความรู้ประจักษ์ การค้นพบนี้ด้วยเหตุที่ความสัจจริงได้ปรากฏชัด ณ ผู้ทำการค้นพบ ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วไม่สามารถเป็นจริงหรือเท็จได้ และไม่สามารถคิดได้ว่าสิ่งนั้นจะผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย เพราะเท่ากับเป็นการปฏิเสธพื้นฐานของวะฮฺยู หรือขาดหลักการแห่งความจริง ดังนั้น ด้วยการ หลักฐานทางด้านปรัชญา และระดับของโลกทัศน์และวิชาการ ประกอบกับวิวัฒนาการของมนุษย์สามารถสรุปผลได้ว่า มนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นไปจนไปถึงขั้นที่ว่า มนุษย์สามารถได้รับความรู้จากพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อ พระเจ้าทรงสนทนากับมนุษย์ โดยไม่ต้องการคำหรืออักษรหรือพระสุระเสียงแต่อย่างใด ในระดับชั้นนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ที่ยิ่งใหญ่ของจิตวิญญาณ ที่ส่วนใหญ่จะห่างไกลและอิสระต่อการย้อนไปหาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และได้รับการคุ้มกันจากการกระซิบกระซาบ การหลงทาง และความผิดพลาด และนี่ก็คือตำแหน่งมะอฺซูมของบรรดาศาสดานั่นเอง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้จะไปถึงยังประเด็นสำคัญกล่าวคือ :
1) พื่นฐานของวะฮฺยู อาจเป็นหนึ่งในระดับของความรู้
2) แก่นแท้ของวะฮฺยู คือการได้รับความรู้ประจักษ์ และในความเป็นจริงนี้ข้อผิดพลาดจึงไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น
3) มนุษย์นั้นในการวิวัฒนาการและความสมบูรณ์ของตน สามารถเข้าถึงขั้นที่ว่าวะฮฺยูได้ประทานมาที่เขา และเขาได้ไปสู่ตำแหน่งของการเป็นผู้บริสุทธิ์
สามารถศึกษาเพื่มเติมได้จาก,: Hadavi Tehrani, Mehdi, ตะอัมมุลาต ดัร อิลมุอุซูลฟิกฮฺ , เล่ม 4, บทความ : วะฮฺคือการประจักษ์เร้นลับ
[1] รอฆิบ เอซฟะฮานี, มุฟรอดาต , หน้า 515, หมวดวะฮฺยู
[2] Morteza Motahari การเก็บรวบรวมผลงานเล่มที่ 4, หน้า 410
[3] ถึง แม้ว่าการรับรู้ที่แท้จริงถึงแก่นแท้ของวะฮฺยู และขั้นตอนการลงวะฮฺยูจะเป็นภารกิจที่ง่ายดาย แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้
[4] แม้ว่า Allameh Tabatabai (RA) ได้กล่าวไว้ : วรรณกรรมทางศาสนาว่า วะฮีย์ ไม่สามารถใช้ในคำพูดอื่นได้ยกเว้นว่าคำพูดที่ดลแด่ศาสดาและเราะซูล, ตัฟซีรมีซาน,เลม 12,หน้า 423
[5] มุรตะฎอมุเฏาะฮะรีย, มัจญ์มุอ์อาซาร เล่ม 4,หน้า 411
[6] เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ,ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 12, หน้า 423
[7] อัล-กุรอาน บทอันนะฮฺลุ 68
[8] อัล-กุรอาน บทเกาะซ็อซ 7
[9] อัล-กุรอาน บทอันอาม 121
[10] อัล-กุรอาน บทมัรยัม 11
[11] อัลกุรอาน บทชูรอ 51
[12] อัลกุรอาน บทชุอ์รอ 193 “อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ได้นำมันลงมา ยังหัวใจของเจ้า”
[13] อัลกุรอาน บทนัจญ์มุ 5 “ผู้ทรงพลังอำนาจอันมากมาย (ญิบรีล) ได้สอนเขา”
[14] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 113 “และได้ทรงสอนเจ้าในสิ่งที่เจ้าไม่เคยรู้มาก่อน”
[15] Mahdi Hadavi Tehrani, มะบานีกะลามี อิจญ์ติฮาด, หน้า 76-77
[16] อัลลามะฮฺ ฮุซัยน์เฏาะบาเฏาะบาอี, อัลมีซาน เล่ม 4 หน้า 149-150
[17] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 163