ผู้เยี่ยมชม
7530
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/21
รหัสในเว็บไซต์ fa2088 รหัสสำเนา 14709
คำถามอย่างย่อ
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำถาม
มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
คำตอบโดยสังเขป

ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณียกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อล ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาป และต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่

แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-มิใช่ตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ- ทว่าได้รับการเลือกสรรโดยประชาชน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺจึงมาจากการเลือกตั้งของประชาชน, ด้วยสาเหตุนี้เองตามความเชื่อของพวกเขา ตำแหน่งอิซมัต (ผู้บริสุทธิ์) จึงไม่จำเป็นสำหรับเคาะลิฟะฮฺแต่อย่างใด

เหตุผลด้านภูมิปัญญาและอ้างอิงฝ่ายชีอะฮฺ :

1. สติปัญญาสมบูรณ์ตัดสินว่า, อิมามในฐานะที่เป็นผู้อธิบาย ผู้พิทักษ์บทบัญญัติศาสนา และสาส์นของเหล่าบรรดาศาสดา, ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและมั่นใจได้สำหรับประชาชน ซึ่งต้องมีความบริสุทธิ์จากความผิดพลาด และการเบี่ยงเบนทั้งหลาย, เพื่อว่าจะได้พิทักษ์ปกป้องศาสนาและบทบัญญัติของพระองค์ได้, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประทานเราะซูลและอิมามมาก็เพื่อ อบรมสั่งสอนประชาชาติ และสิ่งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ อันเป็นวิชาการซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่พวกเขา และความรู้ของพระเจ้านั้นต้องถูกประกาศ และถูกถ่ายทอดสู่ประชาชนโดยปราศจากข้อตำหนิ ความบกพร่อง และความไม่สมบูรณ์ อีกทั้งต้องบริสุทธิ์จากการเบี่ยงเบนและเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งนอกจากนี้แล้วจะเห็นว่าปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,ได้ระบุว่าต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วฝ่ายชีอะฮฺยังเชื่ออีกว่า อิมามะฮฺก็คือตัวแทนที่แท้จริงของท่านศาสดา (ซ็อล ) เหมือนกับตำแหน่งของศาสดาที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอัลลอฮฺ (ซบ.)-มิใช่การเลือกตั้งโดยประชาชน- อีกนัยหนึ่ง,มะอฺซูมหมายถึงบุคคลที่ไม่ว่าเขาจะอยู่ต่อหน้าสาธารณชน,หรือว่าลับสายตาคน (ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง) เขาก็จะไม่กระทำผิดอย่างเด็ดขาด เป็นที่ชัดเจนว่า นอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แล้วไม่มีผู้ใดสามารถกล่าวอธิบายถึงความบริสุทธิ์ของอีกคนหนึ่งได้, ดังนั้น การจำแนกตำแหน่งความบริสุทธิ์ (มะอฺซูม) ต้องมาจากหลักฐานการอ้างอิง หรือรายงานฮะดีซจากท่านเราะซูล (ซ็อล ) จึงจะสามารถยอมรับได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

1. อิมาม ความหมายตามสารานุกรมต่างๆ หมายถึงผู้นำ ซึ่งจะกล่าวเรียกบุคคลอื่นว่าเป็นอิมามได้ ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้นำและมีผู้อื่นปฏิบัติตามเขา

รอฆิบ กล่าวไว้ในหนังสือ มุฟรอดาตว่า:อิมามหมายถึงบุคคลที่ได้รับการปฏิบัติตามจากบุคคลอื่น[1]

2. อิมามในความหมายของนักปราชญ์ (นิยาม) ในภาควิชาศาสนศาสตร์มีการให้นิยามไว้แตกต่างกัน เช่น

นิยามคำว่า อิมาม ในมุมมองของชีอะฮฺกล่าวว่า : หมายถึงหัวหน้าผู้นำทั่วไปด้านศาสนจักร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจของประชาชน และปกป้องให้อยู่ในความปลอดภัย ทั้งปัญหาด้านศาสนจักรและอาณาจักร อีกทั้งช่วยเหลือพวกเขาให้ห่างไกลจากภยันตรายบนพื้นฐานของความถูกต้องดังกล่าว[2]

ส่วนคำว่าอิมามในทัศนะของซุนนีหมายถึง :อิมามหรือหัวหน้าผู้นำทั่วไปในความหมายกว้างๆ, เกี่ยวข้องกับปัญหาศาสนาและปัญหาทางโลกของประชาชน,ในฐานะเป็นตัวแทนของท่านศาสดา[3]

3.ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับ อิซมัต : คำว่า อิซมัต ตามหลักภาษาหมายถึง การระวังรักษา การกีดขวาง ส่วนความหมายของนักปราชญ์ด้านวิชาศาสนศาสตร์หมายถึง : ความเคยชินด้านจิตวิญญาณที่ระบุว่าจะต้องไม่กระทำความผิด หรือกระทำสิ่งขัดแย้งกับหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งความเคยชินด้านจิตวิญญาณนี้ จะปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และบาปกรรมต่างๆ

อิซมัต เป็นความเคยชินซึ่งกำกับว่าต้องไม่ประพฤติขัดแย้งกับหน้าที่จำเป็น, ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือพลั้งเผลอ ซึ่งการมีความเคยชินนี้เองที่ทำให้เขามีอำนาจต่อต้านความไม่ดี[4]

ฝ่ายชีอะฮฺ เชื่อโดยหลักการว่า : อิมามะฮฺก็คือผู้สืบสานเจตนารมณ์และปกป้องรักษาสาส์นของศาสดา,เว้นเสียแต่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) คือผู้วางรากฐานบทบัญญัติ และวะฮียฺได้ประทานลงมาที่ท่าน, ส่วนอิมามคือผู้อธิบายบทบัญญัติต่างๆ และเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ต่อไป, ด้วยเหตุนี้เอง, อิมามจึงอยู่ในฐานะเดียวกันทั้งหมดกับท่านศาสดา (ซ็อล ) เว้นเสียแต่ว่าไม่มีวะฮียฺถูกประทานลงมาที่อิมาม[5]

และเงื่อนไขจำเป็นทั้งหมดสำหรับท่านศาสดา (ซ็อล ), ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องหลักความศรัทธา และหลักปฏิบัติ และฯลฯ หรือบริสุทธิ์จากความผิดพลาดทั้งเปิดเผยและปิดบัง, ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดเหล่านี้ก็จำเป็นสำหรับอิมามด้วย แต่ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าการรู้จักความบริสุทธิ์ นอกจากโดยหนทางของการอธิบายของอัลลอฮฺแล้ว มิอาจเป็นไปได้, อิมามะฮฺเหมือนกับนบูวัตกล่าวคือต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวว่า : ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตำแหน่งนี้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ มีความคิดเห็นต่างไปจากชีอะฮฺว่า ตำแหน่งนี้อันยิ่งใหญ่นี้ซึ่งต้องแบกรับหน้าที่ทั้งศาสนจักรและอาณาจักร เป็นภารทางสังคมซึ่งประชาชนเป็นผู้มอบตำแหน่งตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ และเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งความหมายนี้ได้มาจากการให้นิยาม อิมาม จากทั้งสองฝ่าย (สุนียฺและชีอะฮฺ)

ลำดับต่อไปโปรดพิจารณษหลักฐานจากทั้งสองฝ่าย ดังนี้:

) เหตุผลด้านภูมิปัญญาถึงความจำเป็นว่าอิมาม (. ต้องเป็นมะอฺซูม

1.เนื่องจากอิมามคือผู้พิทักษ์ปกป้องและเป็นผู้อธิบายบทบัญญัติของอัลลอฮฺ และสาส์นของท่านศาสดา ดังนั้น ต้องเป็นผู้ได้รับความเชื่อถือ และไว้ใจได้จากประชาชน ด้วยเหตุนี้ ถ้าสมมุติว่าอิมามมิใช่มะอฺซูม ความหน้าเชื่อถือเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

2. ถ้าหากอิมามกระทำความผิด, แน่นอน ความเคารพและความรักที่มีต่ออิมามจะถูกถอดถอนออกไปจากจิตใจของประช่าชน และพวกเขาจะไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมามอีกต่อไป,เมื่อเป็นเช่นนั้นประโยชน์ของการแต่งตั้งอิมามก็จะสูญไปโดยปริยาย[6]

3.ถ้าหากอิมามมิได้เป็นมะอฺซูม และได้กระทำความผิด, ก็จำเป็นต้องถูกพิพากษา และวาญิบต้องถูกลงโทษตามหลักการของการกำชับความดี และห้ามปรามความชั่ว, ขณะที่การปฏิบัติทำนองนี้กับอิมาม ประการแรก : เป้าหมายในการแต่งตั้งอิมามเกิดความบกพร่อง และเป็นโมฆะโดยทันที สอง : ขัดแย้งกับโองการอัลกุรอาน (นิซาอฺ,59) ซึ่งกำชับให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอิมาม,เนื่องจากโองการข้างต้น,ถือว่าวาญิบต้องปฏิบัติตามอิมาม ตลอดจนการให้เกียรติและการแสดงความเคารพยกย่อง ซึ่งกล่าวไว้โดยสมบูรณ์[7]

4. บรรดาอิมาม เหมือนกับท่านศาสดา (ซ็อล ) ในแง่ที่ว่าเป็นผู้พิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติ, ด้วยเหตุนี้ต้องเป็นมะอฺซูม, เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการพิทักษ์ปกป้องคือ , การปกป้องด้านความรู้และการปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าการพิทักษ์ปกป้องบทบัญญัติทั้งในแง่ของความรู้และการกระทำ ไม่อาจเป็นไปได้เว้นเสียแต่ว่าต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ เนื่องจากบุคคลที่มิใช่มะอฺซูม เขาต้องกระทำสิ่งผิดพลาดแน่นอน แต่ถ้ายอมรับเขาได้ปกป้องบทบัญญัติบางส่วน อีกบางส่วนในทัศนะของอัลลอฮฺต้องถือว่าเชื่อถือไม่ได้ และถ้าในภาวะจำเป็นต้องตัดสินที่ตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกับความจริง, เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อล ) มาเพื่อสอนสั่งบทบัญญัติแก่ประชาชน

5.ปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม ดั่งที่กล่าวไปแล้วว่าเพื่อการชี้นำประชาชาติให้มีความสำรวมตนจากความผิด อันเป็นสาเหตุมาจากการเบี่ยงเบนทางความคิดและการกระทำ ฉะนั้น ถ้าอิมามกระทำความผิดเสียเอง หรือมิได้เป็นมะอฺซูม ตามปรัชญาของการแต่งตั้งอิมาม,เพื่อการชี้นำประชาชน ดังนั้น อิมามเองก็ต้องการอิมามอื่นเพื่อชี้นำตนเอง อันถือได้ว่าเป็นความจำเป็น เพื่อว่าจะได้รอดพ้นจากความผิดพลาด ดังนั้น อิมามท่านอื่นต้องเป็นมะอฺซูม เพราะถ้ามิได้เป็นมะอฺซูมแล้วละก็ จำเป็นต้องมีอิมามท่านอื่นอีก และ ....เมื่อเป็นเช่นนี้ความต้องการในอิมามก็จะไม่มีที่สิ้นสุด โดยหลักการแล้วถือว่าเป็นเหตุผลวน ซึ่งเหตุผลวนในทางปัญญาแล้วถือว่าเป็นไปไม่ได้ และบาฎิล ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจบตรงที่ว่าอิมามต้องเป็นมะอฺซูมเท่านั้น ซึ่งต้องมีความเคยชินในแง่ของความบริสุทธิ์ มีศักยภาพในการชี้นำสั่งสอนประชาชน โดยจะต้องไม่เห็นความผิดพลาดและการเบี่ยงเบนในตัวเขาเด็ดขาด

แปลคำถามภาษาต่างๆ