การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6412
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa861 รหัสสำเนา 12545
คำถามอย่างย่อ
มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
คำถาม
มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

 คำว่าอิซมัตหมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์ หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัย หรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาป ความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้น ซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา (.) และบรรดาอิมามผู้เป็นตัวแทนของพระองค์ ซึ่งตำแหน่งผู้บริสุทธิ์ที่เป็นของท่านเหล่านั้น ซึ่งพิสูจน์ด้วยเหตุที่อัลกุรอานและรายงานได้ยืนยันไว้ ประกอบกับท่านเหล่านั้นได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อชี้นำมวลมนุษย์ชาติ ในฐานะของเคาะลิฟะฮฺ ส่วนเกี่ยวกับบุคคลอื่นนั้นแม้ว่าจะพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งและสามารถรู้จักได้ก็ตาม แต่ก็มิได้อยู่ในระดับหรือแถวเดียวกันกับบรรดามะอฺซูมเหล่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าพวกเขาไม่สามารถไปถึงขั้นนั้นได้แน่นอน การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของคนทั่วไปไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลของอัลกุรอาน รายงาน และการแต่งตั้งก็ตาม ทว่าเราสามารถรู้จักได้ว่าสัญลักษณ์ เช่น การกระทำความดี หรือจากเนียต (เจตคติ) และอีกหลายประการ ซึ่งสมารถจำแนกได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

มนุษย์คือสรรพสิ่งที่มีอยู่ด้วยเจตคติหรือมีเจตนารมณ์เสรี ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่าเขาถูกประดับประดาด้วยพลังความศรัทธา และการกระทำความดี และด้วยการหลีกเลี่ยงจากความหลงลืมในคำสั่งใช้ และคำสั่งห้ามของพระเจ้า ซึ่งสามารถไปถึงยังตำแหน่งของ เคาะลิฟะตุลลอฮฺได้ หมายถึงเขาได้พบกับความสมบูรณ์ทั้งหมดที่เหมาะสมสำหรับการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และบริสุทธิ์จากการหลงลืม ข้อบกพร่องทั้งทางโลกและทางธรรม มีอำนาจวิลายะฮฺตักวีนียะฮฺในหัวใจ[1]

การเลือกสรรที่ถูกต้องบนพื้นฐานความรู้และความปรารถนาที่แข็งแรงของเขา ต้องเป็นไปตามสติปัญญาและธรรมชาติของศาสนา และแน่นอน ถ้าหากความรู้และความปรารถนาของเราแข็งแรงมากเท่าใด เขาก็จะปลอดภัยจากความผิดพลาดมากเท่านั้น เนื่องจากสาเหตุของการหลงลืมนั้นเกิดจากการที่เราไม่มีความเชื่อ และไม่สนใจ ถ้าหากปัจจัยของการกำชับความดีและการห้ามปรามความชั่วมีความสำคัญต่อเขาจริง และเป็นคำย้ำเตือนต่อเขาด้วยดีเสมอมาแล้วละก็ เขาจะไม่ลืมและจะไม่ผิดพลาดอย่างเด็ดขาด และนี่ก็คือตำแหน่งที่เรียกว่า อิซมัต หรือความบริสุทธิ์นั้นเอง ซึ่งตำแหน่งนี้นั่นเองที่ได้ส่งเสริมเขาให้ขึ้นไปสู่ ตำแหน่งวิลายะฮฺและเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ ในที่สุด บรรดาศาสดาและผู้เป็นตัวแทนของพระเจ้าคือ ผู้รักษาวะฮฺยูทีซื่อสัตย์ของพระองค์ และในฐานะที่เป็นอิมามและเป็นแบบอย่างสำหรับมวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านเหล่านั้นต้องพัฒนาตนไปสู่ตำแหน่งดังกล่าว จนกระทั่งว่า

1) พวกเขาจะได้สามารถนำเอาข่าวสารของพระเจ้าประกาศแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ที่สุด

2) เพื่อว่าประชาชนจะได้มั่นใจในคำพูดและความประพฤติของพวกเขา

3) เพื่อว่าประชาชนจะได้นำเอาความประพฤติและจริยธรรมของพวกเขามาเป็นแบบอย่าง และอบรมสั่งสอนตัวเองและบุตรหลานให้เป็นเช่นนั้น เพื่อว่าตนจะได้ก้าวเดินไปสู่ความสมบูรณ์ในการเป็นเคาะลีฟะฮฺของพระเจ้า สามารถโน้นน้าวแนวทางอันเป็นวัตถุประสงค์ของพระเจ้ามาแนบติดตัวไว้ได้ตลอดเวลา และจนกระทั่งตนสามารถพบอัลลอฮฺได้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง ด้วยความเมตตาการุณย์ของพระเจ้า พร้อมกับเจตคติเสรีนับตั้งแต่วัยเด็กจนถึงบั้นปลายสุดท้ายของชีวิต เขาไม่เคยกระทำความผิด ไม่เคยละเมิด และไม่เคยละเว้นคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามแต่อย่างใด จนกระทั่งว่าประชาชนได้เลื่อมใสและเชื่อถือเขาถึงขั้นสูงสุด ข้อพิสูจน์สำหรับประชาชนก็เสร็จสมบูรณ์ อีกทั้งยังได้แนะนำบุคคลอื่นให้เชื่อปฏิบัติตามเช่นนั้นอีกด้วย

ดังนั้นมนุษย์ทุกคนสามารถก้าวเดินไปบนหนทางของ อิซมัต ได้จนกระทั้งไปถึงยังตำแหน่งวิลายะฮฺและคิลาฟะฮฺ และไม่ว่าเขาจะพยายามมากเท่าใด มีความเคร่งครัดในเรื่องตักวา (ความสำรวมตนจากบาป) มากเท่าใด เขาก็จะได้รับความเมตตาการุณย์จากพระเจ้ามากท่านั้น เนื่องจาก พระองค์ทรงสัญญาว่าจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด แล้วพระองค์จะทรงสอนสั่งเจ้า[2] ทำนองเดียวกันอัลกุรอานกล่าวว่าส่วนบรรดาผู้ต่อสูดิ้นรนในหนทางของเรา (ด้วยความบริสุทธิ์ใจ) แน่นอน เราจะชี้แนะหนทางอันถูกต้องของเราแก่พวกเขา แท้จริง อัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับผู้กระทำความดีทั้งหลาย[3] พระองค์ตรัสอีกว่าบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากสูเจ้าสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงให้สิ่งจำแนกแก่สูเจ้า ระหว่างความจริงและความเท็จ และจะทรงลบล้างบรรดาความผิดของสูเจ้าออกจากสูเจ้าและจะทรงอภัยโทษให้แก่สูเจ้าด้วย อัลลอฮฺ คือผู้ทรงมีบุญคุณอันใหญ่หลวง[4] อีกโองการหนึ่งกล่าวว่าผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี แน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้[5]

รายงาน (ฮะดีซ) กุดซีย์กล่าวว่า บุคคลใดจากปวงบ่าวของข้า ถ้าเขามุ่งมานะอยู่กับการอิบาดะฮฺต่อข้า ข้าจะเติมเต็มความสุขในการรำลึกถึงข้าแก่เขา และเขาจะกลายเป็นผู้ที่รักข้า และข้าก็จะรักเขา ข้าจะปลดเปลื้องม่านกันสายตาระหว่างข้ากับเขาออกไป ดังนั้น เมื่อประชาชนคนอื่นตกอยู่ในวิกฤตของการหลงลืม เพิกเฉย เขาจะปลอดภัยจากสภาพนั้น (เขาจะไม่มีวันลืมเลือน) ฉะนั้น เมื่อเขาพูด คำพูดของเขาจะเหมือนคำพูดของบรรดาศาสดาทั้งหลาย พวกเขาทั้งหลายคือคุณาประโยชน์แก่ชาวโลก ข้าได้กำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิด แต่ยามที่ข้านึกถึงพวกเขา ข้าได้ถอดถอนการลงโทษไปจากชาวดิน เนื่องจากพวกเขา[6]

ฉะนั้น อิซมัต หรือความบริสุทธิ์ ที่มีอยู่ในบรรดาศาสดาทั้งหลายนั้น สามารถพิสูจน์ได้ด้วยโองการต่างๆ และรายงานอีกจำนวนมากมาย ประกอบกับเหตุผลทางสติปัญญาก็ยืนยันให้เห็นถึงสิ่งเหล่านั้น[7] แต่ทว่าไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะท่านเหล่านั้น เนื่องจากบุคคลใดก็ตามถ้าหากได้ขวนขวายพยายามที่จะสร้างความสำรวมตน ด้วยความรู้และความปรารถนาของตนสามารถ เขาก็สามารถไปถึงระดับดังกล่าวได้เช่นกัน

ในบรรดาศาสดาและตัวแทนของท่านนอกจากจะมีสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์อยู่ในตัวแล้ว พวกท่านยังได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้าให้เป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน บางท่านได้ดำรงตำแหน่งศาสดา และบางท่านได้ตำแหน่งวิลายะฮฺ แน่นอน การแต่งตั้งของพระเจ้าย่อมเป็นเหตุผลทีชี้ชัดเจนว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากบาป และอยู่ในตำแหน่งสูงส่ง มิเช่นนั้นแล้วการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเลือกพวกเขาให้เป็นผู้ชี้นำสั่งสอนคนอื่น หรือให้การอบรมฝึกฝนคนอื่นให้เป็นคนดี หรือมีหน้าที่ปกป้องศาสนาของพระองค์ ทั้งที่ตัวเองยังมีบาปและความผิดอยู่ จะเข้ากันได้อย่างไรกับตำแหน่งการเป็นตัวแทนของพระเจ้า[8] แต่หนทางในการจำแนกตำแหน่งหรือการเข้าถึงสถานภาพดังกล่าวคือ

1) ผู้บริสุทธิ์หลีกเลี่ยงจากความผิดและพฤติกรรมเลวร้าย อันเป็นสภาพการดำรงชีวิตของคนทั่วไปในสังคม เนื่องจากพวกเขาต้องเผชิญกับการกระทำความผิด เช่น การล่วงถลำเข้าไปในความชั่วร้ายต่างๆ การหลงในตำแหน่งหน้าที่ กิเลส ทรัพย์สิน และอื่นๆ

2) กระทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่บางครั้งอาจเหนือธรรมชาติด้วยซ้ำไป เช่น การล่วงรู้ในความรู้ เจตคติ และความคิดของคนอื่น การเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วย การขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้พ้นไปจากตัวคนอื่น ซึ่งภารกิจเหล่านี้คนอื่นไม่อาจกระทำได้

3) ดุอาอ์และการสาปแช่งของพวกเขาได้รับการตอบรับจากพระเจ้า

4) มีอิทธิพลกับจิตใจของคนอื่น ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของคนนั้นให้เป็นคนดีได้

5) มีใจกว้างและอภัยให้สังคมเสมอ และรู้จักสถานภาพของตนเองตลอดเวลาทั้งในแง่ปัจเจกบุคคลและส่วนรวม

6) พวกเขาคือผู้อำนวยความการุณย์ของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้เห็นความจำเริญและความโปรดปรานของพระองค์หลั่งไหลลงมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการลงโทษก็ถูกถอดถอนไปจากสังคม

แน่นอน เมื่อเราพิจารณาทีท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) และตัวแทนของท่านเราก็ได้ประจักษ์ชัดว่า ท่านเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องเป็นไปได้ที่บุคคลอื่นจะเข้าถึงยังตำแหน่งดังกล่าว ในระหว่างบรรดาศาสดาด้วยก้นก็ยังมีระดับขั้นของความบริสุทธิ์ ซึ่งบรมศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ถือว่ามีตำแหน่งสูงสุด รองลงมาเป็นบรรดาอิมาม (.) ผู้เป็นตัวแทนของศาสดา และรองลงมาเป็นบรรดาศาสดาท่านอื่นๆ จนกระทั่งไปถึงประชาชนคนธรรมดา หมายถึงการดำเนินไปสู่ความเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือคิลาฟะฮฺของอัลลอฮฺนั้น มีระดับชั้นและขั้นตอนที่ต่างกันออกไปทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน ซึ่งทั้งหมดไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน แน่นอนว่าการจำแนกตำแหน่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความรู้ที่พระเจ้าทรงประทานให้มา 

 

แหล่งอ้างอิง :

1.อัลกุรอานกะรีม

2.ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ ตะฮฺรีร ตัมฮีดุล กะวาอิด สำนักพิมพ์ อัซซะฮฺรอ (.) พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1372 เตหะราน

3. ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ วิลายะฮฺในกุรอาน สำนักพิมพ์อัสรอ พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1379 กุม

4.ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ ฮิกมะฮฺ อิบาดะฮฺ สำนักพิมพ์อัสรอ พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 1378 กุม

5. ฮุซัยนฺ เตหะรานี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ เตาฮีด อิลมีวะอัยนีย์ นัชร์ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี .. 1417 มัชฮัด

6. อายะตุลลอฮฺ ซ็อดร์ ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร คิลาฟะฮฺ อินซาน วะ กะวาฮี พียัมบะรอน แปลโดย ญะมาล มูซาวี ปี 1359 เตหะราน

7. ฆิยอ ชะโมชะกีย์ อบุลฟัฎล์ วิลายะดัรเอรฟาน ดารุลซอดิกีน พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1378 เตหะราน

8. มุเฏาะฮะรีย์ มุรตะฎอ อินซานกามิล สำนักพิมพ์ ซ็อดร์ พิมพ์ครั้งที่ 8 ปี 1372 กุม

9. มุเฏาะฮะรีย์ มุรตะฎอ วะลาฮอ วะวิลายะฮฺฮอ ตัฟตัรอินติชารอต อิสลามี กุม

10. มะลิกีย์ ตับรีซีย์ ญะวาด ริซาละฮฺ ลิกออุลลอฮฺ ตุรบัต พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 1379 เตหะราน



[1]  เนะมอเยะฮฺฮอเยะ มะฮฺบูบโคดาชุดัน สะอาดัตวะกะมาลอินซาน กุรบ์อิลาฮี และ ...

[2]  อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 282, บทตะฆอบุน 11

[3] อัลกุรอาน บทอังกะบูต 69

[4] อัลกุรอาน บทอัลฟาล 29

[5] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลิ 97

[6]  คัดลอกมาจาก ฮุซัยนี เตหะรานี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ เตาฮีดอิลมีวะอัยนี หน้า 337

[7]  มิซบาฮฺ ยัซดีย์ มุฮัมมัด ตะกีย์ เราะฮฺวะเราะเนะมอชะนอซีย์ หน้า 147,212

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    6967 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7200 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)
  • ความหมายของเตาฮีดคอลิกียะฮฺคืออะไร?
    9594 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    เตาฮีด หมายถึงความเป็นเอกะหรือเอกเทศ, เตาฮีดคอลิกียะฮฺ หมายถึงจักรวาลและสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีผู้ใดสร้างขึ้นมา นอกจากอัลลอฮฺ ผู้ทรงพิสุทธิ์ยิ่ง, สรรพสิ่งที่มีอยู่, ร่องรอยและกิจการงานของพวกเขา, แม้แต่มนุษย์และผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมดของเขา หรือสิ่งที่พวกเขาค้นพบ โดยความเป็นจริงแล้วและมิได้เป็นการกล่าวอย่างเลยเถิด ทั้งหมดเหล่านั้นคือ สิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น ดังนั้น ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกใบนี้คือ สิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้น เพียงแต่ว่าบางสิ่งปราศจากสื่อและบางสิ่งมีสื่อในการสร้าง ...
  • มีหลักฐานอะไรที่จะบ่งบอกว่าชิมร์ได้บั่นศีรษะท่านอิมามฮุเซน (อ.) จากด้านหลังบ้าง?
    5772 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    มีการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ในหลายๆเหตุการณ์ด้วยกันอาทิเช่น1.           ท่านหญิงซัยนับ (อ.) กล่าวว่า ".... یا محمداه بناتک سبایا و ذریتک مقتلة تسفی علیهم ریح الصبا و هذا حسین مجزوز الرأس من القفا .." (...โอ้ท่านตาขณะนี้หลานสาวของท่านล้วนถูกจับเป็นเชลย,บุตรหลานของท่านถูกเข่นฆ่า, สายลมพัดผ่านเรือนร่างของพวกเขา, และนี่คือฮูเซน (อ.) ที่ถูกบั่นศีรษะจากด้านหลัง...)  
  • อิสลามมีทัศนะอย่างไร เกี่ยวกับใบยาสูบ?
    8919 สิทธิและกฎหมาย 2555/07/16
    อิสลามได้ห้ามการบริโภค ดื่ม และการใช้สิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และสุขภาพ และถ้าอันตรายยิ่งมีมากเท่าใด การห้ามโดยสาเหตุก็ยิ่งหนักหน่วงและรุนแรงขึ้นไปตามลำดับ, จนถึงระดับของการ ฮะรอม ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) กล่าวว่า : “การบริโภคสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ถือว่า ฮะรอม”[1] เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า เกณฑ์ของฮะรอม, ขึ้นอยู่กับอันตราย กล่าวคือไม่ว่าอันตรายจะเกิดจากการบริโภค หรือเกิดจากแนวทางอื่นก็ตาม, มิได้มีการระบุไว้ตายตัวแน่นอน. บุหรี่เป็นหนึ่งในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่อันตรายนั้นจะถึงขั้นที่ว่า การสูบบุหรี่เป็นฮะรอมหรือไม่? บรรดาแพทย์ส่วนใหญ่และผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้, ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า บุหรี่เป็นอันตรายสำคัญและผลเสียเกิดขึ้นตามมามากมาย หนังสือและตำราต่างๆ จำนวนมากได้กล่าวอธิบายถึงอันตรายและผลเสียต่างๆ ที่เกิดจากการใช้ใบยาสูบ,โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุหรี่,ซึ่งได้กลายเป็นสาขาหนึ่งที่มีการวิเคราะห์วิจัยออกมาอย่างกว้างขวาง[2] ...
  • ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
    6975 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1] ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ...
  • มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
    6411 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/03/08
     คำว่า “อิซมัต” หมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัยหรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาปความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้นซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา ...
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7093 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • มีความจำเป็นอะไรที่บรรดาอิมามต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และจะรู้ได้อย่างไรว่าอิมามเป็นมะอฺซูม?
    7502 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    ฝ่ายชีอะฮฺมีความเชื่อขัดแย้งกับฝ่ายซุนนียฺว่า, บรรดาอิมามในทุกกรณี –ยกเว้นเรื่องวะฮียฺ- มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ด้วยเหตุนี้เอง, บรรดาอิมามต้องเหมือนกับศาสดาตรงที่ว่าไม่ผิดพลาด, ไม่พลั้งเผลอกระทำบาปและต้องเป็นมะอฺซูม. ดั่งที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาศาสดาท่านอื่นเป็นอยู่แต่ฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ, เชื่อว่าตำแหน่งตัวแทนของท่านศาสดาเป็นเพียงตำแหน่งธรรมดาทางสังคมเท่านั้น-
  • สรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ แตกต่างกันอย่างไร?
    8497 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/02/18
    ความหมายของสรรเสริญ ยกย่อง และขอบคุณ ในพจนานุกรมอรับและความหมายเฉพาะทางคือ:1. คำว่า “ฮัมด์” (สรรเสริญ) หมายถึงการสดุดีและสรรเสริญ[1] ส่วนความหมายเฉพาะทางก็คือ การกระทำที่เหมาะสม หรือคุณลักษณะดีเด่นที่กระทำโดยสมัครใจ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33447 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...