Please Wait
8237
คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า
1) คำว่า อิซมัต เป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์ อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรม พฤติกรรมชั่วร้าย และความผิดต่างๆ โดยสิ้นเชิง อีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้น ให้รอดพ้นจากความผิดพลาด และการหลงลืม โดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรี หรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์
2. ความเร้นลับแห่งความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาก็คือสติสัมปชัญญะ ความเชื่อมั่น ความศรัทธาสมบูรณ์ และความรักที่มีต่ออาตมันบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺ พร้อมกับการยึดมั่นอยู่กับความยิ่งใหญ่ของพระองค์ และคุณลักษณะอันสูงส่งและสง่างามของพระองค์ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ในการปกป้องบรรดาศาสดาให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของชัยฏอนมารร้าย และอำนาจฝ่ายต่ำแห่งตัวตน
3. เหตุผลด้านสติปัญญาจำนวนมากที่บ่งบอกถึงความจำเป็นที่ว่า บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่
4. กรณีที่ถ้าเพื่อว่าโองการอัลกุรอานกับเหตุผลของสติปัญญาเกิดความขัดแย้งกันขึ้น จำเป็นต้องพิจารณาโองการอย่างละเอียด เพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันก็จะไม่มองข้ามความหมายภายนอกของโองการในตอนแรก
5. มีโองการจำนวนมากมายที่บ่งบอกถึงความจำเป็นที่บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าคำว่า อิซมัต จะไม่ได้กล่าวไว้ในโองการเหล่านั้นก็ตาม เช่น
5.1- อัลกุรอาน มีหลายโองการที่ระบุว่าบรรดาศาสดาทั้งหลาย (อ.) ล้วนได้รับการทำให้สะอาดบริสุทธิ์แล้วทั้งสิ้น เช่น โองการที่ 45 – 48 บทซ็อด กล่าวว่า ผู้ที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ หมายถึงบุคคลที่จะไม่ถูชัยฏอนล่อลวงให้หลงทางได้อีก
5.2- โองการที่อธิบายถึงการมีอยู่ของ การชี้นำของพระเจ้า ในบรรดาศาสดาทั้งหลาย ซึ่งโองการเหล่านี้มีจำนวนมากมาย เช่น โองการที่ 84 – 90 บทอันอาม กล่าวว่า บุคคลที่ได้รับการชี้นำจากพระเจ้าแล้วการหลงทางและความหวาดกลัวไม่มีความหมายอันใดสำหรับพวกเขา
5.3 – อัลลอฮฺ (ซบ.) มีคำสั่งอยู่ในหลายโองการให้เชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาศาสดา โดยกำชับให้ประชาชนเชื่อฟังปฏิบัติตามท่านเหล่านั้นโดยปราศจากเงือนไข เช่น โองการที่ 31 , 32 บทอาลิอิมรอน, โองการที่ 80 บทนิซาอ์, โองการที่ 52 บทนูร เป็นที่ชัดเจนว่าการเชื่อฟังปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไขใดทั้งสิ้นจากบุคคลหนึ่ง ย่อมเป็นเหตุผลที่บ่งชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ของบุคคลดังกล่าว
5.4- โองการที่ 26 – 28 บทญิน ได้บ่งชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปกป้องท่านศาสดาในทุกๆ ด้าน
5.5- โองการตัฏฮีร (บทอะฮฺซาบ 33) บ่งไว้อย่างชัดเจนถึงความบริสุทธิ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)
6. โองการที่ไม่เข้ากันกับความบริสุทธิ์ บางทีมาในรูปของประโยคเงื่อนไข ซึ่งไม่ได้ระบุถึงการกระทำความผิดหรือบาปกรรม หรือบางทีระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่กำลังกล่าวถึงคือประชาชนผู้ศรัทธาโดยทั่วไป มิใช่บรรดาศาสดา
7. กรณีเกี่ยวกับศาสดาอาดัม (อ.) ซึ่งมีความคลางแคลงใจอย่างมากมายเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของท่าน ดังที่กล่าวว่า
ประการแรก การห้ามของโองการเกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าวถึง เป็นการห้ามกระทำสิ่งที่ดีกว่า หรือห้ามในเชิงแนะนำ มิใช่เป็นการห้ามแบบ เมาลาวีย์ หมายถึงปฏิเสธไม่ให้ทำโดยเด็ดขาด
ประการที่สอง แม้ว่าจะเป็นการห้ามแบบเมาลาวียฺ ก็มิได้เป็นการห้ามชนิดที่เป็นฮะรอม เพียงแค่เป็นการละเว้นสิ่งที่ดีกว่าเท่านั้น มิใช่ความผิดแต่อย่างใด
ประการที่สาม แหล่งกำเนิดหรือโลกที่อาดัม (อ.) พำนักอยู่ในนั้น มิใช่โลกแห่งการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ดังนั้น การปฏิบัติสิ่งขัดแย้งในโลกที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการปฏิบัติ จึงไม่ถือว่ามีความผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น
8. ถ้าหากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสรุนแรงกับบรรดาศาสดาทั้งหลาย ก็เป็นเพราะว่าท่านเหล่านั้นก็เป็นมนุษย์เหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ที่ยังมีอารมณ์ธรรมชาติ มีความต้องการ มีความโกรธ และมีพลังอำนาจฝ่ายต่ำอยู่ในตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการคำแนะนำจากพระเจ้าทั้งสิ้น ฉะนั้น ถ้าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปล่อยให้มนุษย์อยู่กับตัวเองเพียงชั่วเวลาอันเล็กน้อย เขาก็จะพบกัยความหายนะทันที
คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวนี้ อันดับแรกสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือความหมายของคำว่า อิซมัต ท่านอัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของเราจากคำว่า อิซมัต ก็คือสภาพหนึ่งที่มีอยู่ในตัวของบรรดาผู้ที่เป็นมะอฺซูม ซึ่งสภาพดังกล่าวนั้นจะเป็นอุปสรรกีดขวางไม่ให้เขาประพฤติในภารกิจที่ไม่อนุญาต เช่น การทำความผิด หรือบาปกรรม เป็นต้น[1]
ฟาฎิล มิกดาร เป็นนักเทววิทยาที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของฝ่ายชีอะฮฺ ได้อธิบายคำนี้ได้สมบูรณ์มากกว่า โดยกล่าวว่า อิซมัต คือความการุณย์ประเภทหนึ่ง ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกระทำแก่ปวงบ่าวคนหนึ่งในลักษณะที่ว่า การมีอิซมัตอยู่ในตัว ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่มีอำนาจในการกระทำความผิดอีกต่อไป ทว่าเขามีอำนาจในการควบคุมความผิด ซึ่งสิ่งนี้นับว่าเป็นความการุณย์ประกอบกับเป็นความเคยชินของบุคคลนั้น ที่จะคอยห้ามหรือยับยั้งไม่ให้เขากระทำความผิด นอกจากนี้ ผลบุญจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามและการลงโทษที่เกิดจากการฝ่าฝืนยังเป็นที่รับรู้อย่างชัดเจน และเขายังหวั่นเกรงในเรื่องการลงโทษกรณีที่ละเว้นสิ่งที่ดีกว่า หรือการกระทำที่เกิดจากการหลงลืม[2]
ประเด็นที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในที่นี้คือ อิซมัต จะไม่บังคับให้บุคคลที่เป็นมะอฺซูม (ผู้บริสุทธิ์) กระทำการเชื่อฟังปฏิบัติตาม หรือบังคับให้ละเว้นสิ่งที่เป็นบาปกรรมแต่อย่างใด มิใช่ว่าผู้ที่เป็นมะอฺซูม ไม่มีอำนาจที่จะกระทำความผิด หรือเจตนารมณ์เสรีได้ถูกปฏิเสธไปจากเขาโดยสิ้นเชิง ทว่าพลังศรัทธาสมบูรณ์ ความรู้ และความสำรวมตนของเขาอยู่ในระดับสูง ซึ่งกล่าวได้ว่าเขาผู้นี้ได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และเข้าใจอย่างลึกซึ่งในความสมบูรณ์ และความสูงส่งของพระองค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคกีดขวางมิให้เขาได้ล่วงละเมิดกระทำความผิด หรือละเว้นการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์ นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีที่เกี่ยวกับบรรดาศาสดา (อ.) หรือบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) มีรายงานจำนวนมากมายที่บ่งบอกว่าบรรดาท่านเหล่านั้นสนับสนุนส่งเสริมพระดำรัสของพระเจ้าเสมอ และอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้กล่าวเรียกพวกเขาว่า รูฮุลกุดส์ หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์[3]
เหตุผลที่บ่งบอกว่าบรรดาศาสดาเป็นผู้บริสุทธิ์ : ก่อนที่เราจะเข้าไปในรายละเอียดของโองการ จำเป็นต้องพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนกล่าวคือ ระหว่างสิตปัญญาและวะฮฺยูไม่มีความขัดแย้งกันแน่นอน ดังนั้น จำเป็นต้องตีความอัลกุรอานในลักษณะที่ว่า ความหมายของอัลกุรอานไม่ขัดแย้งกับสติปัญญา
เกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา จะขอกล่าวเหตุผลในเชิงของสติปัญญาสักประการหนึ่ง กล่าวคือ เชคฏูซีย์ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ความบริสุทธิ์ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาศาสดา เพื่อจะได้มั่นใจในตัวพวกเขาได้ อีกอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่[4] ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นในการเป็นผู้บริสุทธิ์ของบรรดาศาดาคือ เหตุผลที่บ่งบอกถึงความสัตย์จริงของท่าน
บางคนกล่าวถึงเหตุผลแห่งการเป็นผู้บริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาว่า “เมื่อการมีอยู่ของพระเจ้า ประกอบไปด้วยคุณลักษณะอันสูงส่งมากมาย ได้พิสูจน์ไห้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการมีอยู่ของวะฮฺยู และสภาะการเป็นศาสดาโดยทั่วไป อีกประเด็นหนึ่งที่สติปัญญาได้ตัดสินเรื่องนี้ก็คือ ความบริสุทธิ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบรรดาศาสดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำเป็นในการรับวะฮฺยู และการเผยแผ่ออกไปแก่ประชาชน กล่าวคือ อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประทานศาสดาลงมาเพื่อทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติ ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาศาสดาของพระองค์ต้องปราศจาการหลงลืม หรือพลั้งเผลอใดๆ ทั้งสิ้น แล้วจะนับประสาอะไรกับการทำความผิดบาป ซึ่งสิ่งนี้ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างทางธรรมชาติของมนุษย์ วิทยปัญญาในการเลือกสรรศาสดาคือ การชี้นำประชาชาติ สั่งสอนประชาชนและสิ่งนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมือผู้นำสาส์นของพระเจ้า ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่หลงลืม และมีความบริสุทธิ์ในการรับวะฮฺยูมาสั่งสอน
ซึ่งรากที่มาของคำพูดนี้อยู่ในคุณลักษณะของพระเจ้า เช่น ความรู้ อำนาจ และวิทยปัญญาในการสร้างสรรค์ของพระองค์ วิทยปัญญาในการวางกฎระเบียบ ซึ่งในที่สุดแล้วพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากความไม่ดี ความไร้สาระ และการกดขี่ทั้งปวง ดังนั้น ถ้าหากเราะซูลที่รับวะฮฺยูและนำไปเผยแผ่แก่ประชาชนเป็นผู้มีความผิดพลาดแล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้บริบาลก็เป็นผู้โง่เขลา เสียสติ ไม่มีความเหมาะสม ด้วยเช่นกัน หรือถ้าหากศาสดามิได้เป็นมะอฺซูม หรือมีความผิดพลาดในการชี้นำทางโดยตั้งใจ หรือพลั้งเผลอ อย่างน้อยที่สุดประชาชาติก็จะไม่มีความเชื่อมั่นต่อเขา ต่อคำสอนที่อ้างว่าเป็นของพระเจ้า ในส่วนแรกแสดงให้เห็นความโง่เขลาและการทำให้ประชาชนหลงทาง ส่วนในกรณีที่สอง ถือว่าการงานของศาสดาไร้ประโยชน์ แน่นอน พระผู้อภิบาลทรงบริสุทธิ์จากทั้งสองกรณี[5]
บัดนี้ เราได้รับทราบแล้วว่าอิซมัตหมายถึงอะไร และความเร้นลับของอิซมัตนั้นอยู่ตรงไหน บางคนได้พิสูจน์ความจำเป็นของอิซมัตด้วยเหตุผลของสติปัญญา แต่ในส่วนทีจะกล่าวต่อไปนี้จะกล่าวในมุมมองของอัลกรอาน ในส่วนแรกโองการต่างๆ ที่กล่าวเกี่ยวกับ อิซมัต ของบรรดาศาสดา ส่วนที่สอง จะกล่าวถึงโองการต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา และท้ายสุดจะกล่าวถึงคำตอบในเชิงสรุปที่ชัดแจ้งต่อไป
ส่วนที่หนึ่ง โองการต่างๆ ที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ (อิซมัต) ของบรรดาศาสดา ซึ่งมีโองการจำนวนมากมายที่กล่าวถึงความเคยชินของจิตใจในนามว่า อิซมัต ที่มีอยู่ในบรรดาศาสดาทั้งหลาย แม้ว่าคำว่า อิซมัต มิได้ปรากฏอยู่ในตัวของพวกท่าน ทว่าความหมายและความเข้าใจ หรือความจำเป็นของความเคยชินนั้น สามารถเข้าใจได้จากโองการต่างๆ เหล่านั้น และเราสามารถแบ่งออกการออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 โองการที่ยกย่องว่าเหล่าบรรดาศาสดาล้วนเป็นผู้ถูกทำให้บริสุทธิ์ คำว่ามุคละซีน หมายถึงกลุ่มชนที่ซาตานมารร้ายไม่อาจลวงล่อพวกเขาได้ ฉะนั้น ในบทสรุปบุคคลที่มิได้อยู่ในบ่วงกรรมของชัยฎอน เขาจึงมีความบริสุทธิ์หรือเรียกว่า มะอฺซูม นั่นเอง
อัลกุรอาน บทซ็อด กล่าวว่า “และจงรำลึกถึงปวงบ่าวของเรา อิบรอฮีม อิสหาก และยะอฺกูบ ผู้ที่เข้มแข็งและสายตาไกล (ในเรื่องศาสนา) เราได้เลือกพวกเขาโดยเฉพาะเพื่อเตือนให้รำลึกถึงปรโลก แท้จริงในทัศนะของเรา พวกเขาอยู่ในหมู่ผู้ได้รับเลือกเพราะพวกเขาเป็นคนดี และจงรำลึกถึงอิสมาอีล และอัลยะซะอฺ และซุลกิฟลิ และทุกคนอยู่ในหมู่ผู้ดีเลิศ[6]
โองการข้างต้นได้เอ่ยนามของบรรดาศาสดาบางท่านว่าเป็น มุลละซีน และเป็นผู้มีสายตายาวไกล ซึ่งถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งมุคลิซีน คือบุคคลที่มิได้ถูกชัยฎอนหลอกลวง ดังที่อัลกุรอาน ได้กล่าวอ้างถึงคำพูดของชัยฏอนว่า “ดังนั้น (ขอสาบาน) ด้วยพระอำนาจของพระองค์ แน่นอนข้าฯจะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้น”[7] หรืออีกโองการหนึ่งกล่าวว่า “เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขา ที่ได้รับการคัดสรรเท่านั้น”[8]
กลุ่มที่ 2 โองการที่อธิบายว่า การชี้นำของพระเจ้า อยู่ในบรรดาศาสดา เช่น โองการที่กล่าวว่า “และแก่เขา เราได้ให้อิสฮากและยะอฺกูบ ทั้งหมดนั้นเราได้นำทางแล้ว และนูฮฺเราก็ได้นำทางแล้วก่อนหน้านั้น และจากลูกหลานของเขานั้น คือ ดาวูด และสุลัยมาน