การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6971
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/03/08
 
รหัสในเว็บไซต์ fa861 รหัสสำเนา 12545
คำถามอย่างย่อ
มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
คำถาม
มนุษย์ธรรมดาทั่วไปสามารถเป็นผู้บริสุทธิ์ได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

 คำว่าอิซมัตหมายถึ่งความสะอาดบริสุทธิ์ หรือการดำรงอยู่ในความปอดภัย หรือการเป็นอุปสรรคต่อการหลงลืมกระทำความผิดบาป ความบริสุทธิ์นั้นมีระดับชั้น ซึ่งแน่นอนว่าระดับชั้นหนึ่งนั้นสูงส่งเฉพาะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา (.) และบรรดาอิมามผู้เป็นตัวแทนของพระองค์ ซึ่งตำแหน่งผู้บริสุทธิ์ที่เป็นของท่านเหล่านั้น ซึ่งพิสูจน์ด้วยเหตุที่อัลกุรอานและรายงานได้ยืนยันไว้ ประกอบกับท่านเหล่านั้นได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อชี้นำมวลมนุษย์ชาติ ในฐานะของเคาะลิฟะฮฺ ส่วนเกี่ยวกับบุคคลอื่นนั้นแม้ว่าจะพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งและสามารถรู้จักได้ก็ตาม แต่ก็มิได้อยู่ในระดับหรือแถวเดียวกันกับบรรดามะอฺซูมเหล่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าพวกเขาไม่สามารถไปถึงขั้นนั้นได้แน่นอน การพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของคนทั่วไปไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลของอัลกุรอาน รายงาน และการแต่งตั้งก็ตาม ทว่าเราสามารถรู้จักได้ว่าสัญลักษณ์ เช่น การกระทำความดี หรือจากเนียต (เจตคติ) และอีกหลายประการ ซึ่งสมารถจำแนกได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

มนุษย์คือสรรพสิ่งที่มีอยู่ด้วยเจตคติหรือมีเจตนารมณ์เสรี ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่าเขาถูกประดับประดาด้วยพลังความศรัทธา และการกระทำความดี และด้วยการหลีกเลี่ยงจากความหลงลืมในคำสั่งใช้ และคำสั่งห้ามของพระเจ้า ซึ่งสามารถไปถึงยังตำแหน่งของ เคาะลิฟะตุลลอฮฺได้ หมายถึงเขาได้พบกับความสมบูรณ์ทั้งหมดที่เหมาะสมสำหรับการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง และบริสุทธิ์จากการหลงลืม ข้อบกพร่องทั้งทางโลกและทางธรรม มีอำนาจวิลายะฮฺตักวีนียะฮฺในหัวใจ[1]

การเลือกสรรที่ถูกต้องบนพื้นฐานความรู้และความปรารถนาที่แข็งแรงของเขา ต้องเป็นไปตามสติปัญญาและธรรมชาติของศาสนา และแน่นอน ถ้าหากความรู้และความปรารถนาของเราแข็งแรงมากเท่าใด เขาก็จะปลอดภัยจากความผิดพลาดมากเท่านั้น เนื่องจากสาเหตุของการหลงลืมนั้นเกิดจากการที่เราไม่มีความเชื่อ และไม่สนใจ ถ้าหากปัจจัยของการกำชับความดีและการห้ามปรามความชั่วมีความสำคัญต่อเขาจริง และเป็นคำย้ำเตือนต่อเขาด้วยดีเสมอมาแล้วละก็ เขาจะไม่ลืมและจะไม่ผิดพลาดอย่างเด็ดขาด และนี่ก็คือตำแหน่งที่เรียกว่า อิซมัต หรือความบริสุทธิ์นั้นเอง ซึ่งตำแหน่งนี้นั่นเองที่ได้ส่งเสริมเขาให้ขึ้นไปสู่ ตำแหน่งวิลายะฮฺและเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ ในที่สุด บรรดาศาสดาและผู้เป็นตัวแทนของพระเจ้าคือ ผู้รักษาวะฮฺยูทีซื่อสัตย์ของพระองค์ และในฐานะที่เป็นอิมามและเป็นแบบอย่างสำหรับมวลมนุษย์ชาติทั้งหลาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านเหล่านั้นต้องพัฒนาตนไปสู่ตำแหน่งดังกล่าว จนกระทั่งว่า

1) พวกเขาจะได้สามารถนำเอาข่าวสารของพระเจ้าประกาศแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง และสมบูรณ์ที่สุด

2) เพื่อว่าประชาชนจะได้มั่นใจในคำพูดและความประพฤติของพวกเขา

3) เพื่อว่าประชาชนจะได้นำเอาความประพฤติและจริยธรรมของพวกเขามาเป็นแบบอย่าง และอบรมสั่งสอนตัวเองและบุตรหลานให้เป็นเช่นนั้น เพื่อว่าตนจะได้ก้าวเดินไปสู่ความสมบูรณ์ในการเป็นเคาะลีฟะฮฺของพระเจ้า สามารถโน้นน้าวแนวทางอันเป็นวัตถุประสงค์ของพระเจ้ามาแนบติดตัวไว้ได้ตลอดเวลา และจนกระทั่งตนสามารถพบอัลลอฮฺได้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง ด้วยความเมตตาการุณย์ของพระเจ้า พร้อมกับเจตคติเสรีนับตั้งแต่วัยเด็กจนถึงบั้นปลายสุดท้ายของชีวิต เขาไม่เคยกระทำความผิด ไม่เคยละเมิด และไม่เคยละเว้นคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามแต่อย่างใด จนกระทั่งว่าประชาชนได้เลื่อมใสและเชื่อถือเขาถึงขั้นสูงสุด ข้อพิสูจน์สำหรับประชาชนก็เสร็จสมบูรณ์ อีกทั้งยังได้แนะนำบุคคลอื่นให้เชื่อปฏิบัติตามเช่นนั้นอีกด้วย

ดังนั้นมนุษย์ทุกคนสามารถก้าวเดินไปบนหนทางของ อิซมัต ได้จนกระทั้งไปถึงยังตำแหน่งวิลายะฮฺและคิลาฟะฮฺ และไม่ว่าเขาจะพยายามมากเท่าใด มีความเคร่งครัดในเรื่องตักวา (ความสำรวมตนจากบาป) มากเท่าใด เขาก็จะได้รับความเมตตาการุณย์จากพระเจ้ามากท่านั้น เนื่องจาก พระองค์ทรงสัญญาว่าจงสำรวมตนต่ออัลลอฮฺเถิด แล้วพระองค์จะทรงสอนสั่งเจ้า[2] ทำนองเดียวกันอัลกุรอานกล่าวว่าส่วนบรรดาผู้ต่อสูดิ้นรนในหนทางของเรา (ด้วยความบริสุทธิ์ใจ) แน่นอน เราจะชี้แนะหนทางอันถูกต้องของเราแก่พวกเขา แท้จริง อัลลอฮฺทรงอยู่ร่วมกับผู้กระทำความดีทั้งหลาย[3] พระองค์ตรัสอีกว่าบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากสูเจ้าสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ พระองค์จะทรงให้สิ่งจำแนกแก่สูเจ้า ระหว่างความจริงและความเท็จ และจะทรงลบล้างบรรดาความผิดของสูเจ้าออกจากสูเจ้าและจะทรงอภัยโทษให้แก่สูเจ้าด้วย อัลลอฮฺ คือผู้ทรงมีบุญคุณอันใหญ่หลวง[4] อีกโองการหนึ่งกล่าวว่าผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี แน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้[5]

รายงาน (ฮะดีซ) กุดซีย์กล่าวว่า บุคคลใดจากปวงบ่าวของข้า ถ้าเขามุ่งมานะอยู่กับการอิบาดะฮฺต่อข้า ข้าจะเติมเต็มความสุขในการรำลึกถึงข้าแก่เขา และเขาจะกลายเป็นผู้ที่รักข้า และข้าก็จะรักเขา ข้าจะปลดเปลื้องม่านกันสายตาระหว่างข้ากับเขาออกไป ดังนั้น เมื่อประชาชนคนอื่นตกอยู่ในวิกฤตของการหลงลืม เพิกเฉย เขาจะปลอดภัยจากสภาพนั้น (เขาจะไม่มีวันลืมเลือน) ฉะนั้น เมื่อเขาพูด คำพูดของเขาจะเหมือนคำพูดของบรรดาศาสดาทั้งหลาย พวกเขาทั้งหลายคือคุณาประโยชน์แก่ชาวโลก ข้าได้กำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิด แต่ยามที่ข้านึกถึงพวกเขา ข้าได้ถอดถอนการลงโทษไปจากชาวดิน เนื่องจากพวกเขา[6]

ฉะนั้น อิซมัต หรือความบริสุทธิ์ ที่มีอยู่ในบรรดาศาสดาทั้งหลายนั้น สามารถพิสูจน์ได้ด้วยโองการต่างๆ และรายงานอีกจำนวนมากมาย ประกอบกับเหตุผลทางสติปัญญาก็ยืนยันให้เห็นถึงสิ่งเหล่านั้น[7] แต่ทว่าไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะท่านเหล่านั้น เนื่องจากบุคคลใดก็ตามถ้าหากได้ขวนขวายพยายามที่จะสร้างความสำรวมตน ด้วยความรู้และความปรารถนาของตนสามารถ เขาก็สามารถไปถึงระดับดังกล่าวได้เช่นกัน

ในบรรดาศาสดาและตัวแทนของท่านนอกจากจะมีสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์อยู่ในตัวแล้ว พวกท่านยังได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้าให้เป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน บางท่านได้ดำรงตำแหน่งศาสดา และบางท่านได้ตำแหน่งวิลายะฮฺ แน่นอน การแต่งตั้งของพระเจ้าย่อมเป็นเหตุผลทีชี้ชัดเจนว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากบาป และอยู่ในตำแหน่งสูงส่ง มิเช่นนั้นแล้วการที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเลือกพวกเขาให้เป็นผู้ชี้นำสั่งสอนคนอื่น หรือให้การอบรมฝึกฝนคนอื่นให้เป็นคนดี หรือมีหน้าที่ปกป้องศาสนาของพระองค์ ทั้งที่ตัวเองยังมีบาปและความผิดอยู่ จะเข้ากันได้อย่างไรกับตำแหน่งการเป็นตัวแทนของพระเจ้า[8] แต่หนทางในการจำแนกตำแหน่งหรือการเข้าถึงสถานภาพดังกล่าวคือ

1) ผู้บริสุทธิ์หลีกเลี่ยงจากความผิดและพฤติกรรมเลวร้าย อันเป็นสภาพการดำรงชีวิตของคนทั่วไปในสังคม เนื่องจากพวกเขาต้องเผชิญกับการกระทำความผิด เช่น การล่วงถลำเข้าไปในความชั่วร้ายต่างๆ การหลงในตำแหน่งหน้าที่ กิเลส ทรัพย์สิน และอื่นๆ

2) กระทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่บางครั้งอาจเหนือธรรมชาติด้วยซ้ำไป เช่น การล่วงรู้ในความรู้ เจตคติ และความคิดของคนอื่น การเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วย การขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีให้พ้นไปจากตัวคนอื่น ซึ่งภารกิจเหล่านี้คนอื่นไม่อาจกระทำได้

3) ดุอาอ์และการสาปแช่งของพวกเขาได้รับการตอบรับจากพระเจ้า

4) มีอิทธิพลกับจิตใจของคนอื่น ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงจิตใจของคนนั้นให้เป็นคนดีได้

5) มีใจกว้างและอภัยให้สังคมเสมอ และรู้จักสถานภาพของตนเองตลอดเวลาทั้งในแง่ปัจเจกบุคคลและส่วนรวม

6) พวกเขาคือผู้อำนวยความการุณย์ของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้เห็นความจำเริญและความโปรดปรานของพระองค์หลั่งไหลลงมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการลงโทษก็ถูกถอดถอนไปจากสังคม

แน่นอน เมื่อเราพิจารณาทีท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) และตัวแทนของท่านเราก็ได้ประจักษ์ชัดว่า ท่านเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องเป็นไปได้ที่บุคคลอื่นจะเข้าถึงยังตำแหน่งดังกล่าว ในระหว่างบรรดาศาสดาด้วยก้นก็ยังมีระดับขั้นของความบริสุทธิ์ ซึ่งบรมศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ถือว่ามีตำแหน่งสูงสุด รองลงมาเป็นบรรดาอิมาม (.) ผู้เป็นตัวแทนของศาสดา และรองลงมาเป็นบรรดาศาสดาท่านอื่นๆ จนกระทั่งไปถึงประชาชนคนธรรมดา หมายถึงการดำเนินไปสู่ความเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือคิลาฟะฮฺของอัลลอฮฺนั้น มีระดับชั้นและขั้นตอนที่ต่างกันออกไปทั้งในแนวตั้งและในแนวนอน ซึ่งทั้งหมดไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน แน่นอนว่าการจำแนกตำแหน่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความรู้ที่พระเจ้าทรงประทานให้มา 

 

แหล่งอ้างอิง :

1.อัลกุรอานกะรีม

2.ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ ตะฮฺรีร ตัมฮีดุล กะวาอิด สำนักพิมพ์ อัซซะฮฺรอ (.) พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1372 เตหะราน

3. ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ วิลายะฮฺในกุรอาน สำนักพิมพ์อัสรอ พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1379 กุม

4.ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ ฮิกมะฮฺ อิบาดะฮฺ สำนักพิมพ์อัสรอ พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 1378 กุม

5. ฮุซัยนฺ เตหะรานี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ เตาฮีด อิลมีวะอัยนีย์ นัชร์ อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี .. 1417 มัชฮัด

6. อายะตุลลอฮฺ ซ็อดร์ ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร คิลาฟะฮฺ อินซาน วะ กะวาฮี พียัมบะรอน แปลโดย ญะมาล มูซาวี ปี 1359 เตหะราน

7. ฆิยอ ชะโมชะกีย์ อบุลฟัฎล์ วิลายะดัรเอรฟาน ดารุลซอดิกีน พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 1378 เตหะราน

8. มุเฏาะฮะรีย์ มุรตะฎอ อินซานกามิล สำนักพิมพ์ ซ็อดร์ พิมพ์ครั้งที่ 8 ปี 1372 กุม

9. มุเฏาะฮะรีย์ มุรตะฎอ วะลาฮอ วะวิลายะฮฺฮอ ตัฟตัรอินติชารอต อิสลามี กุม

10. มะลิกีย์ ตับรีซีย์ ญะวาด ริซาละฮฺ ลิกออุลลอฮฺ ตุรบัต พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 1379 เตหะราน



[1]  เนะมอเยะฮฺฮอเยะ มะฮฺบูบโคดาชุดัน สะอาดัตวะกะมาลอินซาน กุรบ์อิลาฮี และ ...

[2]  อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ 282, บทตะฆอบุน 11

[3] อัลกุรอาน บทอังกะบูต 69

[4] อัลกุรอาน บทอัลฟาล 29

[5] อัลกุรอาน บทอันนะฮฺลิ 97

[6]  คัดลอกมาจาก ฮุซัยนี เตหะรานี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ เตาฮีดอิลมีวะอัยนี หน้า 337

[7]  มิซบาฮฺ ยัซดีย์ มุฮัมมัด ตะกีย์ เราะฮฺวะเราะเนะมอชะนอซีย์ หน้า 147,212

[8] อ้างแล้วเล่มเดิม

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    6341 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • จนถึงปัจจุบันมีผู้ใดบ้างได้ยืนหยัดต่อสู้กับชัยฎอน และแนวทางการต่อสู้ของเขาเป็นอย่างไร?
    8486 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/04/07
    ตามทัศนะของอัลกุรอาน ชัยฏอนไม่อาจมีอิทธิพลเหนือปวงบ่าวที่บริสุทธิ์ของพระเจ้าได้ ปวงบ่าวที่เป็น มุคลิซีน หมายถึง บุคคลที่ได้ไปถึงยังตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งชัยฏอนไม่อาจมีอำนาจเหนือพวกเขาได้ แน่นอน การต่อสู้กับชัยฏอนจำเป็นต้องมีสื่อและอุปกรณ์จำเป็นประกอบการต่อสู้ ซึ่งการมีอุปกรณ์เหล่านี้สามารถยืนหยัดต่อสู้กับชัยฏอนได้ และจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์บางอย่างเหล่านั้น ได้แก่ 1.อีมาน : อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อีมาน คือ ตัวการหลักที่ขัดขวางการมีอิทธิพลของชัยฏอนเหนือผู้ศรัทธา 2. ตะวักกัล : อีกหนึ่งตัวการที่สามารถเอาชนะชัยฏอนและพลพรรคได้ คือการตะวักกัลป์ มอบหมายภารกิจแด่อัลลอฮฺ 3. อิสติอาซะฮฺ : หมายถึงการขอความช่วยเหลือ หรือสถานพักพิงต่ออัลลอฮฺ 4. การรำลึกถึงอัลลอฮฺ : การรำลึกถึงอัลลอฮฺ จะให้ความสว่างแก่มนุษย์ ...
  • บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
    9733 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม อบูดัรดาอฺ คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.), ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน เพื่อสงครามการนองเลือดจะได้สิ้นสุดลง แล้วทั้งสองก็กลับมาหาท่านอิมามอะลี แต่ท่านมาลิกอัชตัรได้พบกับพวกเขาก่อน และได้ประณามพวกเขาอย่างรุนแรง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลีแล้ว, วันที่สองเมื่อความต้องการของพวกเขาได้แจ้งให้ท่านอิมามอะลี ได้รับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน ...
  • เพราะเหตุใดจึงได้เลือก อัดลฺ ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระเจ้า เป็นหลักศรัทธา?
    7203 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/08/22
    หลักอุซูลของชีอะฮฺประกอบด้วย เตาฮีด, อัดลฺ, มะอาด, นะบูวัต, และอิมามะฮฺ. อัดลฺ แม้ว่าจะเป็นซิฟัตหนึ่งของอัลลอฮฺ แต่ในหลักการศรัทธาแล้วก็เหมือนกับ ซิฟัตอื่นๆ ของพระองค์ จำเป็นต้องวิพากในเตาฮีด แต่เนื่องจากความสำคัญของอัดลฺ จึงได้แยกอธิบายไว้ต่างหาก สาเหตุที่ อัดลฺ มีความสำคัญเนื่องจาก อัดลฺ คือสาเหตุของการแยกระหว่างหลักเทววิทยาของฝ่าย อัดลียะฮฺ (ชีอะฮฺและมุอฺตะซิละฮฺ) ออกจากฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ซิฟัตหนึ่งถ้าพิสูจน์ว่ามีหรือไม่มี จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและตรงข้ามกัน แน่นอน จำเป็นต้องกล่าวว่าฝ่ายอะชาอิเราะฮฺ ปฏิเสธไม่ยอมรับเรื่องความยุติธรรมของพระเจ้า ทว่ากล่าวว่า ความยุติธรรม หมายถึงอัลลอฮฺกระทำภารกิจของพระองค์ แม้ว่าในแง่ของสติปัญญา สิ่งนั้นจะเป็นความอธรรมก็ตาม ...
  • มีหลักฐานระบุว่าควรกล่าวตักบี้รและหันหน้าซ้ายขวาหลังกล่าวสลามหรือไม่?
    6268 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/19
    การผินหน้าไปทางขวาและซ้าย ถือเป็นมุสตะฮับภายหลังให้สลามสุดท้ายของนมาซ โดยตำราฮะดีษก็ให้การยืนยันถึงเรื่องนี้  อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:1. ในกรณีของอิมามญะมาอัต ภายหลังให้สลามแล้ว ก่อนที่จะผินหน้าขวาซ้าย ให้มองไปทางขวาก่อน2. ในกรณีของมะอ์มูม ให้กล่าวสลามแก่อิมามขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ หลังจากนั้นจึงให้สลามทางด้านขวาและซ้าย ทั้งนี้ การสลามด้านซ้ายจะกระทำต่อเมื่อมีมะอ์มูมหรือมีกำแพงอยู่ด้านซ้าย ส่วนด้านขวาจะกระทำทุกกรณี ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมะอ์มูมด้านขวาก็ตาม3. ในกรณีที่นมาซฟุรอดา (คนเดียว) ให้กล่าวสลามครั้งเดียวขณะอยู่ในทิศกิบละฮ์ว่า อัสลามุอลัยกุม และหันด้านขวาในลักษณะที่ปลายจมูกเบนไปด้านขวาเล็กน้อย[1]จากที่นำเสนอมาทั้งหมด ทำให้เข้าใจได้ว่าสิ่งที่เป็นมุสตะฮับสำหรับผู้ที่นมาซคนเดียวก็คือการเบนหน้าไปทางขวาให้ปลายจมูกหันทางขวาเล็กน้อย และสำหรับผู้ที่นมาซญะมาอัต ...
  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    11124 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • เพราะเหตุใดกุญแจสู่สรวงสวรรค์คือ นมาซ?
    7727 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/17
    เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อ การแสดงความเคารพภักดีและการรู้จักพระเจ้า, ซึ่งการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านั้น จะทำให้มนุษย์ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ และตำแหน่งอันใกล้ชิดต่อพระเจ้า, นมาซ คือภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามที่สุดของการแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้า หรือการแสดงความเป็นบ่าวที่ดีต่อพระผู้ทรงสร้าง, ความเคร่งครัดต่อนมาซ 5 เวลาคือสาเหตุของความประเสริฐและเป็นพลังด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้มนุษย์ละเว้นการทำความผิดบาป หรือการแสดงความประพฤติไม่ดี อีกด้านหนึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้พลังแห่งความสำรวมตน ภายในจิตใจมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้น, ในกรณีนี้ เข้าใจได้ทันทีว่า เพราะอะไรนมาซ, จึงเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์ ต้องไม่ลืมที่จะกล่าวว่า, นมาซคือหนึ่งในภาคปฏิบัติที่เป็นอิบาดะฮฺ อันมีผลบุญคือ เป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์, เนื่องจากรายงานฮะดีซ,เกี่ยวกับความรักที่มีต่อบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) คือ การกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ, ความอดทน ...ก็ถือว่าเป็นกุญแจแห่งสรวงสวรรค์เช่นกัน, และเช่นกันสิ่งที่เข้าใจได้จากรายงานที่ว่า นมาซพร้อมกับความศรัทธามั่นที่มีต่ออัลลอฮฺ ความเป็นเอกะของพระองค์ ขึ้นอยู่กับความรักที่มีต่อบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องที่มีความพิเศษยิ่งต่อกัน ...
  • ฮะดีษร็อฟอ์ (เพิกถอน) คืออะไร?
    7402 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/04
    ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภทรวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่มฮะดีษแรกแม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้างแต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลังโดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้ “ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้หนึ่ง. ความผิดพลาดสอง.การหลงลืมสาม. สิ่งที่ไม่รู้สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือกหก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำเจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดีแปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลกเก้า. ความริษยาตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ลและมุบัยยันในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่าمالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
  • การรู้พระเจ้าเป็นไปได้ไหมสำหรับมนุษย์ ขอบเขตและคุณค่าของการรู้จักมีมากน้อยเพียงใด ?
    7193 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์สามารถรู้พระเจ้าด้วยวิธีการที่แตกต่างกันหลายวิธีซึ่งเป็นไปได้ที่การรู้จักอาจผ่านเหตุผล (สติปัญญา)หรือผ่านทางจิตใจบางครั้งอาจเป็นเหมือนปราชญ์ผู้ชาญฉลาดซึ่งรู้จักโดยผ่านทางความรู้ประจักษ์หรือการช่วยเหลือทางความรู้สึกและสิตปัญญาในการพิสูจน์จนกระทั่งเกิดความเข้าใจหรือบางครั้งอาจเป็นเหมือนพวกอาริฟ (บรรลุญาณ),รู้จักเองโดยไม่ผ่านสื่อเป็นความรู้ที่ปรากฏขึ้นเองซึ่งเรียกว่าจิตสำนึกตัวอย่างเช่นการค้นพบการมีอยู่ของไฟบางครั้งผ่านควันไฟที่พวยพุ่งขึ้นทำให้เกิดความเข้าใจหรือเวลาที่มองเห็นไฟทำให้รู้ได้ทันทีหรือเห็นรอยไหม้บนร่างกายก็ทำให้รู้ได้เช่นกันว่ามีไฟ
  • ฏอยยุลอัรฎ์คืออะไร?
    6800 รหัสยทฤษฎี 2554/06/11
    ทักษะพิเศษดังกล่าวมีการอธิบายที่หลากหลายอาทิเช่นทฤษฎี “สูญสลายและจุติ”ที่นำเสนอโดยอิบนิอะเราะบีทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่าผู้ที่มีทักษะฏอยยุลอัรฎ์สามารถสูญสลายจากสถานที่หนึ่งและจุติขึ้นณจุดหมายปลายทางได้. แต่อีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าฏอยยุลอัรฎ์คือพลวัตความเร็วสูงของร่างกายภายใต้แรงขับเคลื่อนของจิตวิญญาณอันทรงพลัง.แต่แม้เราจะยอมรับทฤษฎีใดก็ตามข้อเท็จจริงก็คือบุคคลทั่วไปไม่สามารถมีทักษะพิเศษนี้ได้นอกจากเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60171 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57628 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42248 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39449 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38977 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34037 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28046 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28030 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27864 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25850 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...