การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7164
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1450 รหัสสำเนา 17289
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดท่านอิมามอลี(อ.)จึงวางเฉยต่อการหมิ่นประมาทท่านหญิงฟาฏิมะฮ์?
คำถาม
ชีอะฮ์เชื่อว่าท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ที่เปรียบประดุจส่วนหนึ่งของนบีได้ถูกทำร้ายร่างกายในสมัยเคาะลีฟะฮ์คนแรกเป็นเหตุให้ซี่โครงหักและเกือบจะถูกเผาบ้าน เธอถูกทุบตีจนกระทั่งแท้งบุตรที่ชื่อว่ามุห์ซิน คำถามก็คือ ในระหว่างนี้ท่านอลี(อ.)ไปอยู่ที่ใหน ทำไมไม่ปกป้องภรรยาตนเองทั้งๆที่ท่านมีชื่อเสียงในเรื่องความกล้าหาญ?
คำตอบโดยสังเขป

การที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ถูกทุบตีมิได้ขัดต่อความกล้าหาญของท่านอิมามอลี(.) เพราะในสถานการณ์นั้น ท่านต้องเลือกระหว่างการจับดาบขึ้นสู้เพื่อทวงสิทธิของครอบครัวที่ถูกละเมิด หรือจะอดทนสงวนท่าทีแล้วหาทางช่วยเหลืออิสลามด้วยวิธีอื่น
จากการที่การจับดาบขึ้นสู้ในเวลานั้นเท่ากับการต่อต้านและสร้างความแตกแยกในหมู่มุสลิม อันจะทำให้สังคมมุสลิมยุคแรกอ่อนเปลี้ย ส่งผลให้กองทัพโรมัน เหล่าศาสดาจอมปลอม และผู้ตกศาสนาจ้องตะครุบให้สิ้นซาก ท่านอิมามอลี(.)ยอมสละความสุขของตนและครอบครัว เพื่อผดุงไว้ซึ่งอิสลาม ศาสนาที่เป็นผลงานคำสอนทั้งชีวิตของท่านนบี(..)และการเสียสละของเหล่าชะฮีดในสมรภูมิต่างๆ

คำตอบเชิงรายละเอียด

ในขณะที่เศาะฮาบะฮ์นบี(..)จำนวนหนึ่งไม่ยอมให้สัตยาบันต่ออบูบักรและชุมนุมกันที่บ้านอิมามอลี(.)เพื่อคัดค้านมติจากสะกีฟะฮ์ บนีซาอิดะฮ์ อุมัรได้รับบัญชาจากอบูบักรเพื่อเค้นเอาสัตยาบันของคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะท่านอิมามอลี(.)ให้จงได้ ตำราทางประวัติศาสตร์ต่างบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติการครั้งนี้ของอบูบักรและอุมัร หากท่านใดสนใจ กรุณาอ่านเพิ่มเติมได้ในแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้[1] ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงจำนวนและความหลากหลายของสายรายงานก็ทำให้ไม่อาจปฏิเสธประวัติศาสตร์ช่วงนี้ได้เลย[2]
ส่วนที่สงสัยกันว่าเหตุใดท่านอิมามอลี(.)จึงไม่จับดาบขึ้นสู้ ทั้งๆที่เป็นผู้กล้าหาญชาญชัยมาทุกสมรภูมินั้น ต้องเรียนชี้แจงต่อไปนี้ว่า:
ท่านมีเพียงสองทางเลือก หนึ่ง ชักชวนมิตรสหายผู้จงรักภักดีต่อท่านร่วมก่อการทางการทหารเพื่อยึดตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คืน สอง อดทนต่อสภาวะที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งคอยช่วยแก้ไขปัญหาของมวลมุสลิมให้สำเร็จลุล่วง

ด้วยเหตุที่เหล่าผู้นำแห่งพระเจ้าไม่ถือว่าตำแหน่งลาภยศเป็นเป้าหมาย แต่ถือว่าเป้าหมายอยู่เหนือลาภยศบรรดาศักดิ์ทั้งมวล ท่านอิมามอลี(.)พิจารณาสภาวะการณ์ทางการเมืองและสังคมแล้วพบว่า หากมุ่งแต่จะแก้แค้นผู้ที่รังแกท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ผู้เป็นภรรยา ความเพียรพยายามทั้งหมดของท่านนบี(..)และเหล่าผู้เสียสละจะมลายหายไปอย่างแน่นอน ท่านจึงตัดสินใจช่วยปกป้องอิสลามทางอ้อมด้วยการกล้ำกลืนฝืนทนต่อสภาพสังคม [3]

หากท่านอิมามอลี(.)ตัดสินใจจับดาบขึ้นสู้กับผู้ที่กุมอำนาจในเวลานั้น แม้จะดูเหมือนท่านแสดงความกล้าหาญ แต่แน่นอนว่า ฝ่ายกุมอำนาจย่อมจัดการกำราบท่าน ผลก็คือการปะทุขึ้นของสงครามกลางเมืองระหว่างมุสลิมด้วยกัน โดยอาจจะนำมาซึ่งสภาวะการณ์ต่อไปนี้

1. ท่านจะสูญเสียชีวิตของมิตรสหายที่จงรักภักดีต่อท่านนบี(..)และรักไคร่กลมเกลียวกับท่านไป
2. จะเกิดความแตกแยกครั้งใหญ่ในประชาคมมุสลิม ส่งผลให้เหล่าเศาะฮาบะฮ์ที่เป็นกำลังพลต่อต้านศัตรูศาสนาต้องล้มตายจำนวนมาก สังคมมุสลิมก็จะถูกกัดกร่อนโดยความแตกแยก
3. มุสลิมใหม่จำนวนมากที่รับอิสลามช่วงบั้นปลายชีวิตนบี(..) ได้ตกมุรตัด(ออกศาสนา)ภายหลังการเสียชีวิตของท่าน และผนึกกำลังกันต่อต้านรัฐอิสลาม ในสถานการณ์เช่นนี้ หากท่านอิมามอลี(.)มุ่งจะโค่นล้มรัฐ ย่อมจะทำให้ประชาคมมุสลิมยุคนั้นเผชิญกับภัยอันใหญ่หลวง
4.
ภัยคุกคามของผู้อ้างตนเป็นนบีอย่างเช่น มุซัยละมะฮ์ และ สะญ้าห์ ก็ไม่อาจมองข้ามได้ ความแตกแยกที่คนเหล่านี้ก่อขึ้นจะโหมเล่นงานประชาคมมุสลิมอย่างรุนแรง

5. จักรวรรดิโรมันคือเป็นภัยคุกคามหนึ่งที่จ้องจะเขมือบศูนย์กลางรัฐอิสลาม ในสถานการณ์เช่นนี้ หากท่านอิมามอลี(.)จับดาบขึ้นสู้ ย่อมเปิดช่องให้ศัตรูอิสลามเข้าบดขยี้ตามใจหมาย

ทั้งหมดนี้ถือเป็นเหตุผลโดยสังเขปที่ทำให้ท่านอิมามอลี(.)เลือกที่จะอดทนแทนการลุกขึ้นสู้ อันเอื้ออำนวยให้ประชาคมมุสลิมรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกามาได้ แน่นอนว่าจุดประสงค์หลักของท่านอิมามอลี(.)ก็คือการผดุงไว้ซึ่งอิสลามและหลักเอกภาพในสังคม[4]

ท่านอิมามอลี(.)ได้ระบายความเจ็บปวดรวดร้าวในรูปของคุฏบะฮ์ ชิกชิกียะฮ์[5] ในหนังสือนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ โดยท่านกล่าวว่า:
ฉันเคยครุ่นคิดว่าจะลุกขึ้นต่อสู้ด้วยมือเปล่า หรือจะยอมอดทนต่อบรรยากาศอันมืดมน บรรยากาศที่บั่นทอนสังขารคนชรา และทำให้คนหนุ่มชราภาพ และทำให้ผู้ศรัทธาทนทุกข์ทรมานชั่วชีวิต สุดท้ายฉันเห็นว่าการอดทนสอดคล้องกับวิทยปัญญามากกว่า จึงได้อดทนในสภาพที่เสมือนมีหนามคมบาดทิ่มดวงตา และมีเศษกระดูกขัดในคอ ฉันเห็นเต็มสองตาว่ามีการโจรกรรมมรดกของฉันไป"[6]

อีกเหตุการณ์หนึ่ง ท่านอิมามอลีได้กล่าวตอบญาติมิตรที่เชิดชูท่านตั้งแต่เหตุการณ์ที่สะกีฟะฮ์และตัดพ้อผู้คนที่ไม่ใหการสนับสนุนท่านอิมาม โดยกล่าวว่า

"สำหรับเราแล้ว การอยู่รอดของศาสนาสำคัญกว่าสิ่งใดทั้งสิ้น"[7]
สำนวนดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้ท่านอิมามอลี(.)เลือกที่จะอดทนนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าเหตุร้ายที่เกิดขึ้น เนื่องจากท่านยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้ภรรยาและบุตรธิดาเพื่อพิทักษ์รักษาต้นกล้าอิสลามที่เพิ่งงอกเงยในสังคม

ท่านอิมามอลี(.)ได้อธิบายถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านต้องนิ่งเงียบไว้ในหนังสือ"นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์"ว่า
"
หาได้มีสิ่งใดสร้างความฉงนและความกังวลแก่ฉันยิ่งไปกว่าการร่วมกันให้สัตยาบันแก่คนบางคน ฉันระงับมือ(ไม่ยอมให้สัตยาบัน) กระทั่งเห็นว่ามีผู้ผินหลังแก่อิสลามระดมผู้คนให้ทำลายล้างศาสนาแห่งนบีมุฮัมมัด(..) ฉันจึงเกรงว่าหากไม่รุดเข้าช่วยเหลืออิสลามและมวลมุสลิม คงได้เห็นช่องโหว่หรือความวิบัติของอิสลามอย่างแน่นอน ซึ่งย่อมเจ็บปวดยิ่งกว่าการสูญเสียการปกครองเหนือพวกท่าน (การปกครองที่)เปรียบเสมือนภาพลวงตาหรือปุยเมฆที่อันตรธานไปก่อนที่จะรวมตัวกัน ฉันจึงยืนประจันหน้ากับความระส่ำระส่าย เพื่อให้อธรรมมลายสิ้น และเพื่อให้ศาสนาตั้งตระหง่านมั่นคง"[8]



[1] ตารี้คเฎาะบะรี, เล่ม 3, หน้า 202 สำนักพิมพ์ดารุ้ลมะอาริฟ, สำนวนของเฏาะบะรีคือ
:اتی عمر بن خطاب منزل علی(ع)  فقال : لاحرقن علیکم او لتخرجن الی البیعة.
อิบนิ อบิ้ลฮะดี้ดก็รายงานสำนวนดังกล่าวจากหนังสือสะกีฟะฮ์ของเญาฮะรีไว้ในหนังสือของตนเช่นกัน(เล่ม 2, หน้า 56), อัลอิมามะฮ์วัสสิยาซะฮ์,เล่ม 2,หน้า 12, ชัรฮ์นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์อิบนิอบิ้ลฮะดี้ด,เล่ม 1,หน้า 134, อะอ์ลามุ้นนิซาอ์,เล่ม 3,หน้า 1205 รายงานว่า
بعث الیهم ابوبکر عمر بن خطاب لیخرجهم من بیت فاطمة و قال له ان ابوا فقاتلهم. فاقبل بقبس من النار علی ان یضرم علیهم الدار. فلقیته فاطمة فقالت‏ یابن الخطاب ا جئت لتحرق دارنا؟ قال:نعم او تدخلوا فیما دخلت فیه الامة
อุ้กดุ้ลฟะรี้ด,เล่ม 4,หน้า 260, และ ดู: ตารีคอิบนิกะษี้ร,เล่ม 1,หน้า 156, อะอ์ลามุ้นนิซาอ์,เล่ม 3,หน้า 1207, อิษบาตุ้ลวะศียะฮ์,หน้า 124 รายงานว่า
 
فهجموا علیه و احرقوا بابه و استخرجه منه کرها و ضغطوا سیدة النساء بالباب حتی اسقطت محسنا
(อ้างจากมิห์นะตุ้ลฟาฏิมะฮ์,หน้า 60), มิลัลวันนิฮั้ล,เล่ม 2,หน้า 95, ตัลคีศุ้ชชาฟี,เล่ม 3,หน้า 76, ฟุรู้ฆวิลายัต,หน้า 186

[2] ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 1. หนังสือตอบข้อครหาชะฮาดัต เขียนโดย ซัยยิดญะว้าด ฮุซัยนี เฏาะบาเฏาะบาอี 2. เว็บไซต์ประตูตอบปัญหาศาสนา. 3. เว็บไซต์ บะล้าฆ

[3] วิถีชีวิตของเหล่าผู้นำศาสนา,มะฮ์ดี พีชวออี,หน้า 65

[4] อ้างแล้ว,หน้า 71

[5] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,คุฏบะฮ์ที่สาม

[6] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,ศุบฮี ซอและฮ์,คุฏบะฮ์ที่สาม(ชิกชิกียะฮ์)

[7] ดู: นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์, เล่ม 6 หน้า 23-45

[8] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,แปลโดยชะฮีดี,หน้า 347, สาส์นที่62 จากท่านอิมามอลีถึงชาวเมืองอิยิปต์

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59385 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56837 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41665 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38415 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33444 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27231 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27126 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25202 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...