Please Wait
5782
คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามที่ได้ระบุไว้ในคำถาม
หนึ่ง. วิธีนมาซฆุฟัยละฮ์
นมาซฆุฟัยละฮ์เป็นนมาซมุสตะฮับประเภทหนึ่งที่ถือปฏิบัติกันช่วงระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ มีสองเราะกะอัต โดยเราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการต่อไปนี้แทนซูเราะฮ์:
وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِباً فَظَنَّ أَنْ لَنْ نَقْدِرَ عَلَيْهِ فَنادى فِي الظُّلُماتِ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ سُبْحانَكَ إِنِّي كُنْتُ مِنَ الظَّالِمِينَ فَاسْتَجَبْنا لَهُ وَ نَجَّيْناهُ مِنَ الْغَمِّ وَ كَذلِكَ نُنْجِي الْمُؤْمِنِينَ
และเราะกะอัตที่สอง หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการนี้แทน
وَ عِنْدَهُ مَفاتِحُ الْغَيْبِ لا يَعْلَمُها إِلَّا هُوَ وَ يَعْلَمُ ما فِي الْبَرِّ وَ الْبَحْرِ وَ ما تَسْقُطُ مِنْ وَرَقَةٍ إِلَّا يَعْلَمُها وَ لا حَبَّةٍ فِي ظُلُماتِ الْأَرْضِ وَ لا رَطْبٍ وَ لا يابِسٍ إِلَّا فِي كِتابٍ مُبِينٍ
และให้กล่าวขณะกุนูตว่า
اللَّهُمَّ إِنِّي اسْأَلُكَ بِمَفاتِحِ الْغَيْبِ الَّتِى لا يَعْلَمُهَا الَّا انْتَ انْ تُصَلِّيَ عَلَى مُحَمَّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ وَ انْ تَفْعَلَ بِي كَذا وَ كَذا
โดยให้เอ่ยความประสงค์ของเราแทนคำว่า กะซา วะกะซา แล้วจึงอ่านดุอาต่อไปนี้
اللَّهُمَّ انْتَ وَلِىُّ نِعْمَتِى وَ الْقادِرُ عَلَى طَلِبَتِى تَعْلَمُ حاجَتِى فَأسْأَلُكَ بِحَقِّ مُحَمّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ عَلَيْهِ وَ عَلَيْهِمُ السَّلامُ لَمَّا قَضَيْتَهَا لِي[1]
สอง. ผลบุญของการนมาซฆุฟัยละฮ์
มีฮะดีษมากมายในสายชีอะฮ์ที่กล่าวถึงผลบุญอันมหาศาลของนมาซฆุฟัยละฮ์ ในที่นี้เราจะขอนำเสนอบางฮะดีษดังต่อไปนี้
1. นมาซที่ขั้นกลางระหว่างมัฆริบและอิชาอ์มีความประเสริฐอย่างยิ่ง ซึ่งก็คือนมาซของเหล่าผู้เตาบะฮ์ บางฮะดีษระบุว่าชื่อ “ฆุฟัยละฮ์” มีสองเราะกะอัต เราะกะอัตแรก หลังจากฟาติฮะห์ให้อ่านโองการ وَ ذَا النُّونِ إِذْ ذَهَبَ مُغاضِبا และเราะกะอัตที่สอง หลังฟาติฮะห์ให้อ่านโองการ وَ عِنْدَهُ مَفاتِحُ الْغَيْبِ :ซึ่งในทัศนะของพระองค์ ผลบุญของนมาซประเภทนี้สูงส่งยิ่งกว่าการถือศีลอด[2]
2. อิมามศอดิก(อ.)รายงานจากบรรพบุรุษของท่านว่า ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวว่า “ควรนมาซสุหนัตในช่วงเวลาแห่งการหลงลืม แม้จะเป็นการนมาซสองเราะกะอัตธรรมดาๆก็ตาม เพราะสองเราะกะอัตนี้จะนำพาสู่เกียรติยศและสรวงสวรรค์” มีผู้ถามว่า “โอ้ท่านนบี ช่วงใดคือช่วงเวลาแห่งการหลงลืมขอรับ?” ท่านตอบว่า “ระหว่างมัฆริบและอิชาอ์” (นมาซฆุฟัยละฮ์)”[3]
3. ฮิชาม บิน ซาลิม รายงานจากท่านอิมามศอดิก(อ.)ว่า “ใครก็ตามที่ปฏิบัตินมาซนี้ระหว่างนมาซมัฆริบและอิชาอ์ โดยขอรับบาเราะกัตด้วยดุอาดังกล่าว และเอ่ยความจำนงกับอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงสนองความประสงค์ของเขา และจะเทิดเกียรติเขาตามที่เขาต้องการ”[4]
[1] อิมามโคมัยนี,รูฮุลลอฮ์,ประมวลปัญหาศาสนา(พร้อมภาคผนวก),เล่ม 1,หน้า 430 ปัญหาที่ 775,สถาบันเผยแพร่อิสลาม ญะมาอัตมุดัรริซีน,พิมพ์ครั้งที่แปด,กุม,ฮ.ศ.1424
[2] ดัยละมี,ฮะซัน,อิรชาดุ้ลกุลู้บ อิลัศเศาะว้าบ,ซิลกี นะฮอวันดี,อลี,เล่ม 1หน้า 232,สำนักพิมพ์นาศิร,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1376
[3] เศาะดู้ก,ษะวาบุ้ลอะอ์ม้าล วะอิกอบุ้ลอะอ์ม้าล,ฮะซันซอเดะฮ์,ศอดิก,หน้า 115,ฮะดีษที่1,สำนักพิมพ์อัรมะฆอเนฏูบา,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1382
[4] บะฮาอี,มินฮาญุนนะญ้าฮ์ ฟีตัรญิมะติ มิฟตาฮิลฟะล้าฮ์,บัสฏอมี,อลี บิน ฏ็อยฟู้ร,หน้า 309,ฮิกมัต,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่หก,ปี 1384