Please Wait
27724
บางคนเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อเน้นถึงความจำเป็นที่ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องเคียงคู่กับตักวาที่แท้จริงเสมอ และจะต้องปราศจากเจตนาแอบแฝง
แต่บางคนเชื่อว่าตักวาในท่อนแรกหมายถึงการงดดื่มสุราหลังมีคำสั่งห้าม ตักวาท่อนที่สองหมายถึงความหนักแน่นในการงดดื่มสุรา ตักวาท่อนที่สามหมายถึงการละเว้นบาปทุกประการและหันมาประกอบความดี
ในแวดวงวิขาการ มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการกล่าวย้ำคำว่าตักวาในโองการนี้
บ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของหลักตักวา อีหม่าน และอะมั้ลศอลิห์ จึงควรได้รับการเน้นย้ำเป็นพิเศษ แต่นักตัฟซี้รบางคนเชื่อว่าเนื้อหาแต่ละท่อนต่างก็สะท้อนถึงนัยยะที่ต่างกัน ซึ่งจะขอนำเสนอ ณ ที่นี้
1. นัยยะของตักวาในท่อนแรกหมายถึงการสำนึกระดับเบื้องต้นต่อหน้าที่ในการแสวงหาสัจธรรม ผ่านการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศาสนามุอ์ญิซาตของท่านนบี(ซ.ล.) อันจะกระตุ้นให้เกิดอีหม่านและแรงจูงใจในการประกอบอะมั้ลศอลิห์ กล่าวคือ ตราบใดที่คนเราไม่มีตักวาระดับพื้นฐานในหัวใจ ก็ย่อมไม่ประสงค์ที่จะค้นหาสัจธรรม ฉะนั้น ในท่อนแรกของโองการนี้จึงกล่าวถึงตักวาในระดับดังกล่าว ซึ่งก็มิได้ขัดต่อต้นโองการที่ว่า
لَیسَ عَلَى الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ เนื่องจากอีหม่านในประโยคนี้อาจหมายถึงการจำนนระดับผิวเผิน ทว่าอีหม่านที่เกิดจากตักวาเท่านั้นที่เป็นอีหม่านที่แท้จริง
ส่วนนัยยะของตักว่าในท่อนที่สองหมายถึง ตักวาที่หยั่งรากในหัวใจมนุษย์มากขึ้น ซึ่งจะเสริมสร้างให้เกิดอีหม่านที่มั่นคง อันมีอะมั้ลศอลิห์เป็นผลิตผลโดยปริยาย ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องกล่าวถึงอะมั้ลศอลิห์อีกครั้ง แต่กล่าวเพียง
ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا กล่าวคือ อีหม่านในขั้นนี้มั่นคงและมีประสิทธิผลในระดับที่ไม่ต้องจำแนกจากอะมั้ลศอลิห์อีกต่อไป
ส่วนตักวาในท่อนที่สาม คือตักวาระดับสูงสุด เพราะนอกจากเขาจะปฏิบัติตามข้อบังคับทางศาสนาอย่างไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว ยังประกอบกุศลกรรมภาอาสาอีกด้วย
สรุปคือ ตักวาในแต่ละท่อนของโองการนี้บ่งชี้ถึงความยำเกรงและความสำนึกแต่ละระดับขั้น อันได้แก่ ระดับพื้นฐาน ปานกลาง และระดับสูง ซึ่งแต่ละระดับได้รับการยืนยันจากนัยยะของโองการดังกล่าว[1]
2. อีกทัศนะหนึ่งเชื่อว่าจุดประสงค์ที่กล่าวซ้ำถึงสามครั้งโดยผนวกเข้ากับระดับขั้นของอีหม่าน อะมั้ลศอลิห์ และอิห์ซานก็คือ เพื่อให้เล็งเห็นถึงเพื่อเน้นถึงความจำเป็นที่ขั้นตอนดังกล่าวจะต้องเคียงคู่กับตักวาที่แท้จริงเสมอ และจะต้องปราศจากเจตนาอื่นๆแอบแฝง
ฉะนั้น นัยยะของโองการ لَیسَ عَلَى الَّذِینَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ جُناحٌ فِیما طَعِمُوا ก็คือ เหล่าผู้ศรัทธาที่ประกอบอะมั้ลศอลิห์ล้วนไม่ต้องรับกรรมที่เคยก่อไว้ก่อนหน้าที่จะมีศรัทธา แต่มีเงื่อนไขว่าศรัทธา (อีหม่าน) และอะมั้ลศอลิห์จะต้องมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของพวกเขาแล้วเท่านั้น โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับและงดเว้นข้อห้ามทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ถ้าหากเป็นไปตามนี้ อัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขาต่อบาปที่เคยก่อไว้ก่อนที่จะมีคำสั่งห้าม หรือก่อนที่จะรับรู้ถึงคำสั่งห้ามนั้นๆ[2]
3. บางทัศนะเชื่อว่า ตักวาในท่อนแรกหมายถึงการงดดื่มสุราหลังมีคำสั่งห้าม ตักวาท่อนที่สองหมายถึงความหนักแน่นในการงดดื่มสุรา ตักวาท่อนที่สามหมายถึงการละเว้นบาปทุกประการและหันมาประกอบความดี[3]
[1] ดู: มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์ล เล่ม 5,หน้า 78-79,ดารุ้ลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหราน
[2] เฏาะบาเฏาะบาอี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 6,หน้า 12, สำนักพิมพ์อิสลามี,กุม,ฮ.ศ.1417
[3] เฏาะบัรซี, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่ม 3,หน้า 372,นาศิร โคสโร,เตหราน,1372