การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
33964
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/06/12
 
รหัสในเว็บไซต์ fa851 รหัสสำเนา 14463
คำถามอย่างย่อ
ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
คำถาม
ผลจากการศึกษาค้นคว้าทำให้ผมเชื่อว่า ญินมีอยู่ก่อนการสร้างนบีอาดัม และเคยอ่านพบว่า ทุกกลุ่มชนย่อมมีศาสนทูตของตนเอง แต่ในเมื่อศาสนทูตทุกท่านล้วนเป็นมนุษย์ คำถามคือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่กลุ่มญินจะดำเนินชีวิตโดยปราศจากศาสนทูต? ขอความคุ้มครองจากพระองค์หากประโยคดังกล่าวจะนำพาสู่อคติที่ว่าอัลลอฮ์ไม่ทรงเมตตาและไม่ยุติธรรมต่อฝ่ายญิน กรุณาไขข้อข้องใจของผมด้วยครับ.
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญิน รวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้
ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัด แต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:
1.
เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เรา แน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้
2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เรา ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อน และการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
3. โองการที่ว่า
"یا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ أَ لَمْ یَأْتِکُمْ رُسُلٌ مِنْکُمْ یَقُصُّونَ عَلَیْکُمْ آیاتی‏ وَ یُنْذِرُونَکُمْ لِقاءَ یَوْمِکُم‏ هذا...."
โอ้เหล่ามนุษย์และญินเอ๋ย ศาสนทูตในหมู่สูเจ้ามิได้มาเพื่อเล่าขานสัญลักษณ์ของข้าและเตือนภัยให้ทราบว่าสูเจ้าจะพบกับวันนี้ดอกหรือ?” เนื้อหาโองการนี้ย่อมครอบคลุมยุคก่อนการสร้างนบีอาดัมด้วย.
4. รายงานว่า ชายคนหนึ่งถามอิมามอลีว่าอัลลอฮ์เคยแต่งตั้งศาสนทูตในหมู่ญินหรือไม่?” ท่านตอบว่าแน่นอน ศาสนทูตญินที่ชื่อยูสุฟเคยเรียกร้องเชิญชวนเหล่าญินสู่อัลลอฮ์ แต่แล้วพวกเขาได้รวมหัวกันสังหารเสีย

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอานได้ยืนยันการมีอยู่ของญิน โดยอธิบายคุณลักษณะบางประการดังนี้:
1.
เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างจากไฟ ต่างจากมนุษย์ที่สร้างจากดิน.[1]
2. มีวิจารณญาณและมีความรู้ความเข้าใจ สามารถแยกแยะผิดถูกได้.[2]
3. มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ.[3]
4. จะต้องเข้าสู่กระบวนตัดสินพิพากษาในปรโลก.[4]
5. ในหมู่ญินมีทั้งผู้ศรัทธาและผู้ตั้งภาคี,ผู้ปฏิเสธ.[5]
6. ญินสามารถเจาะทะลวงชั้นฟ้าเพื่อดักฟังข่าวสาร แต่ถูกสกัดกั้นหลังจากท่านนบีมุฮัมมัดดำรงตำแหน่งศาสนทูต.[6]
7. ญินบางกลุ่มติดต่อกับมนุษย์เพื่อล่อลวง โดยแลกกับข่าวสารเร้นลับที่ตนมี[7]
8. ญินบางตนมีพลังมหาศาล.[8]
9. ญินสามารถทำงานอันเป็นที่ต้องการของมนุษย์ได้[9]
10. พระองค์สร้างญินบนพื้นพิภพก่อนจะสร้างมนุษย์[10]
11.
 ฐานันดรของมนุษย์เหนือกว่าญิน ด้วยเหตุนี้เองที่อัลลอฮ์บัญชาแก่อิบลีสให้ศิโรราบต่อมนุษย์ (อิบลีสคือหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลในหมู่ญิน)[11]
ส่วนข้อซักถามที่ว่าเหล่าญินมีศาสนทูตหรือไม่นั้น ดังที่เกริ่นข้างต้น เราคงต้องจำแนกยุคสมัยของญินออกเป็นสองยุค หนึ่ง ยุคก่อนการสร้างมนุษย์ และสอง ยุคหลังการสร้างมนุษย์.
ในยุคหลังการสร้างมนุษย์นั้น หากพิจารณาโองการกุรอานจะพบว่าญินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนทูตที่เป็นมนุษย์ จากจุดนี้ทำให้ญินบางกลุ่มศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮ์ แต่บางส่วนก็ปฏิเสธและกลายเป็นกาฟิร[12]
ประเด็นของเราอยู่ที่ยุคก่อนการสร้างมนุษย์ กล่าวคือ ในยุคที่อัลลอฮ์ยังไม่สร้างมนุษย์แต่ทว่าสร้างญินแล้วนั้น พระองค์ทรงแต่งตั้งให้มีผู้สั่งสอนชี้นำเหล่าญินหรือไม่? หากคำตอบคือไช่ คำถามต่อมาก็คือ แล้วศาสนทูตของญินเป็นญินด้วยหรือไม่?
คำตอบคือ สามารถยืนยันได้ว่าก่อนการสร้างนบีอาดัมนั้น ศาสนทูตของญินล้วนเป็นญินด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะ:
1.
กุรอานเผยถึงเหตุผลของการสร้างมนุษย์และญินว่าเป็นไปเพื่อการภักดีแน่แท้ข้าได้สร้างญินและมนุษย์เพื่อภักดีต่อข้า[13]มาตรฐานที่แท้จริงของการภักดีต่ออัลลอฮ์ล้วนใช้หน้าที่ทางศาสนาเป็นเครื่องชี้วัด ด้วยเหตุนี้เองที่เราเชื่อว่าเหล่าญินก็มีหน้าที่ทางศาสนาเช่นกัน[14] โดยมีโองการกุรอานยืนยันถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว[15]
เมื่อพิจารณาเพิ่มเติมจะพบว่า เป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์ผู้เปี่ยมด้วยวิทยปัญญาจะกำหนดหน้าที่ทางศาสนาให้เหล่าญินปฏิบัติโดยไม่ทรงแต่งตั้งผู้ที่จะประกาศหน้าที่ศาสนาในหมู่ญิน สรุปคือญินจะมีหน้าที่ก็ต่อเมื่อมีศาสนทูต และหากไม่มีศาสนทูต เหล่าญินก็ย่อมไม่มีภาระหน้าที่ใดๆต้องรับผิดชอบ.
2. อัลลอฮ์เป็นผู้ทรงธรรมและเปี่ยมด้วยวิทยปัญญา และผู้มีปัญญาย่อมไม่แสดงพฤติกรรมที่น่ารังเกียจอย่างแน่นอน ดังที่ทราบกัน อัลลอฮ์เคยตรัสว่าจะทรงลงโทษญินและมนุษย์ที่ละเลยหน้าที่และข้าจะเติมนรกให้เต็มไปด้วยมนุษย์และญิน(ผู้ประพฤติชั่ว)[16]จะเป็นไปได้อย่างไรที่พระองค์จะทรงลงโทษทั้งๆที่มิได้แต่งตั้งศาสนทูตเพื่อชี้แจงศาสนาให้หมดข้อสงสัยเสียก่อน แน่นอนว่ากรณีดังกล่าวไม่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการลงโทษฐานทำผิดวินัยทั้งที่มิได้แจ้งระเบียบวินัยให้ทราบเสียก่อนนั้น ถือเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และการกระทำที่น่ารังเกียจจะไม่เกิดขึ้นในวัตรปฏิบัติของผู้มีปัญญาอย่างแน่นอน กลุ่มญินเองก็อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันนี้ อัลกุรอานกล่าวว่าเราจะไม่ลงโทษ(กลุ่มชนใด)เว้นแต่จะส่งศาสนทูตมาก่อน[17]จึงสรุปได้ว่าญินก็มีศาสนทูตเช่นกัน.
3. โองการที่ว่า:
"یا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ أَ لَمْ یَأْتِکُمْ رُسُلٌ مِنْکُمْ یَقُصُّونَ عَلَیْکُمْ آیاتی‏ وَ یُنْذِرُونَکُمْ لِقاءَ یَوْمِکُم‏ هذا...."
โอ้เหล่ามนุษย์และญินเอ๋ย ศาสนทูตในหมู่สูเจ้ามิได้มาเพื่อเล่าขานสัญลักษณ์ของข้าและเตือนภัยให้ทราบว่าสูเจ้าจะพบกับวันนี้ดอกหรือ?[18]
ตรรกะที่ปรากฏในโองการนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งก่อนและหลังการสร้างมนุษย์ หรือแม้กระทั่งก่อนและหลังศาสนาอิสลาม เหล่าญินล้วนมีศาสนทูตมาโดยตลอด ทว่าเป็นธรรมดาที่ก่อนการสร้างมนุษย์ ศาสนทูตของญินคือญินด้วยกัน[19] อีกโองการที่ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าวก็คือโองการที่ว่า:
"إِنَّا أَرْسَلْناکَ بِالْحَقِّ بَشیراً وَ نَذیراً وَ إِنْ مِنْ أُمَّةٍ إِلاَّ خَلا فیها نَذیرٌ"
แท้จริงเราได้ส่งเจ้ามาโดยธรรม เพื่อให้เป็นผู้แจ้งข่าวดีและเตือนภัย และไม่มีกลุ่มชนใดนอกจากจะเคยมีผู้แจ้งเตือน[20]
4. รายงานว่า มีชายชาวแคว้นชามคนหนึ่งได้ซักถามท่านอิมามอลี()ว่า: อัลลอฮ์ทรงส่งศาสนทูตสู่กลุ่มญินหรือไม่?” ท่านตอบว่าแน่นอน อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งศาสนทูตที่มีนามว่ายูสุฟเพื่อชี้นำกลุ่มญิน ทว่าพวกเขารวมหัวกันสังหารท่าน[21]รายงานนี้บ่งชี้อย่างชัดเจนว่ากลุ่มญินเคยมีศาสนทูตสำหรับพวกตนโดยเฉพาะ
ข้อสรุปจากเนื้อหาทั้งหมดที่นำเสนอมาทั้งหมดก็คือ เหล่าญินมีหน้าที่ทางศาสนาไม่ต่างจากมนุษย์ และเคยมีศาสนทูตในหมู่ของตนเพื่อชี้นำทางศาสนาก่อนการสร้างมนุษย์ ทว่ารายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังเป็นที่คลุมเครือสำหรับเรา



[1] อัรเราะฮ์มาน, 15.

[2] โองการต่างๆในซูเราะฮ์ อัลญิน.

[3] โองการต่างๆในซูเราะฮ์ อัลญิน และ อัรเราะฮ์มาน.

[4] อัลญิน, 15.

[5] อัลญิน, 11.

[6] อัลญิน, 9.

[7] อัลญิน, 6.

[8] อันนัมลิ, 39.

[9] สะบะอ์, 12,13.

[10] อัลฮิจร์, 27.

[11] อัลกะฮ์ฟิ,50.

[12] อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ค่อนข้างจะชัดเจนในกรณีของท่านนบีมูซา()และท่านนบีมุฮัมมัด(..) ส่วนกรณีศาสนทูตท่านอื่นๆนั้น นักอรรถาธิบายกุรอานมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป.
โองการที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือโองการที่ 29-30 ซูเราะฮ์ อัลอะห์กอฟ:

"وَ إِذْ صَرَفْنا إِلَیْکَ نَفَراً مِنَ الْجِنِّ یَسْتَمِعُونَ الْقُرْآنَ فَلَمَّا حَضَرُوهُ قالُوا أَنْصِتُوا فَلَمَّا قُضِیَ وَلَّوْا إِلى‏ قَوْمِهِمْ مُنْذِرینَ قالُوا یا قَوْمَنا إِنَّا سَمِعْنا کِتاباً أُنْزِلَ مِنْ بَعْدِ مُوسى‏ مُصَدِّقاً لِما بَیْنَ یَدَیْهِ یَهْدی إِلَى الْحَقِّ وَ إِلى‏ طَریقٍ مُسْتَقیمٍ"

จงระลึกถึงเมื่อครั้งที่เราได้นำพาญินกลุ่มหนึ่งเพื่อสดับฟังอัลกุรอาน เมื่อพวกเขามาถึงต่างกล่าวแก่กันและกันว่าจงเงียบ(และตั้งใจฟัง)เถิด หลังจากฟังจนจบ พวกเขากลับสู่กลุ่มชนเพื่อเตือนสำทับโดยกล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของเรา เราได้สดับฟังคัมภีร์หนึ่งที่ประทานลงมาหลังจากมูซาซึ่งยืนยันเนื้อหาคัมภีร์เล่มก่อนๆ...” แม้ว่าในโองการนี้จะไม่เอ่ยถึงคัมภีร์อินญีล แต่นั่นก็เป็นเพราะว่าคัมภีร์เตารอตถือเป็นคัมภีร์หลักซึ่งชาวคริสต์เองก็ถือปฏิบัติตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน, ดู: ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 21, หน้า 370. ในส่วนของยุคหลังอิสลาม มีเหตุการณ์ยืนยันต่อไปนี้: ท่านร่อซูลได้เดินทางจากมักกะฮ์สู่ตลาดนัดอุกกาซในแคว้นตออิฟเพื่อจะเชิญชวนผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยให้สนใจอิสลาม ทว่าไม่มีใครใส่ใจท่าน ครั้นเมื่อท่านประสงค์จะกลับมักกะฮ์ ท่านได้หยุดพักแรมและอัญเชิญกุรอาน  สถานที่ๆเรียกว่า วาดี ญิน กระทั่งมีญินกลุ่มหนึ่งสดับฟังกุรอานและเกิดศรัทธา จึงกลับไปเชิญชวนพรรคพวกให้สนใจอิสลาม ดู: ตัฟซีรเนมูเนะฮ์, เล่ม 25, หน้า100, อธิบายโองการที่ 1,2 ซูเราะฮ์ อัลญิน.
อย่างไรก็ดี นักอรรถาธิบายกุรอานบางท่านเชื่อว่าศาสนทูตของญินคือญินด้วยกันทั้งก่อนและหลังยุคแห่งการสร้างมนุษย์ ทั้งนี้โดยอ้างถึงคำว่าศาสนทูตในหมู่สูเจ้าในโองการที่ว่า
"یا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ أَ لَمْ یَأْتِکُمْ رُسُلٌ مِنْکُمْ یَقُصُّونَ عَلَیْکُمْ آیاتی‏ وَ یُنْذِرُونَکُمْ لِقاءَ یَوْمِکُم‏ هذا...."
โอ้เหล่ามนุษย์และญินเอ๋ย ศาสนทูตในหมู่สูเจ้ามิได้มาเพื่อเล่าขานสัญลักษณ์ของข้าและเตือนภัยให้ทราบว่าสูเจ้าจะพบกับวันนี้ดอกหรือ?” แต่ยอมรับว่าท่านนบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตสำหรับทั้งมนุษย์และญิน ดู: ตัฟซีร รูฮุลบะยาน, เล่ม 3 หน้า 105 และ ตัฟซีร ระฮ์นะมอ, เล่ม 5, หน้า 354. แต่นักอรรถาธิบายกุรอานบางท่านปฏิเสธทัศนะข้างต้นโดยเชื่อว่า โองการในซูเราะฮ์ญินเพียงต้องการจะสื่อให้ทราบว่ากุรอานและอิสลามประทานมาเพื่อชี้นำทุกกลุ่มรวมถึงพวกญินด้วย และว่าท่านรอซู้ลได้รับการแต่งตั้งให้ชี้นำทุกหมู่เหล่า แต่ก็เป็นไปได้ที่ท่านรอซู้ลจะแต่งตั้งตัวแทนจากกลุ่มญินให้ทำหน้าที่เผยแผ่อิสลาม ฉะนั้น วลีที่ว่า มิงกุม(ในหมู่สูเจ้า) ไม่จำเป็นต้องสื่อว่ามนุษย์และญินต่างมีศาสนทูตที่แยกเป็นเอกเทศเสมอไป เนื่องจากเมื่อพิจารณาวลีดังกล่าวเทียบกับวลีที่ว่ากลุ่มหนึ่งจากพวกท่านกลุ่มหนึ่งในที่นี้เป็นไปได้ว่าอาจคัดเลือกจากเผ่าพันธ์ใดเผ่าพันธุ์หนึ่ง หรืออาจจะคัดเลือกจากทุกเผ่าพันธุ์ที่มีก็เป็นได้ ดู: ตัฟซีร เนมูเนะฮ์, เล่ม 5, หน้า 443, กล่าวคือ คำว่ามิงกุมในที่นี้ไม่อาจจะสื่อความหมายกว้างไปกว่าการที่ศาสนทูตได้รับการแต่งตั้งจากภาพรวมของทั้งญินและมนุษย์ โดยต้องการตัดประเด็นที่พระองค์อาจแต่งตั้งศาสนทูตจากทวยเทพมะลาอิกะฮ์ ทั้งนี้ก็เพราะความสะดวกโยธินในการติดต่อสื่อสารกับประชาชาติ แต่การที่จะชี้ชัดลงไปถึงการแต่งตั้งญินเป็นศาสนทูตสำหรับเหล่าญิน และแต่งตั้งมนุษย์เป็นศาสนทูตสำหรับมนุษย์นั้น โองการข้างต้นมิได้ชี้ชัดถึงนัยยะดังกล่าว ดู: ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 7, หน้า 540 และ ตัฟซีร มันฮะญุศศอดิกีน, เล่ม 3, หน้า 452.

[13] อัลอิสรออ์, 15.

[14] ดู: บิฮารุลอันวาร, เล่ม 60, หน้า 311.

[15] "أُولئِکَ الَّذِینَ حَقَّ عَلَیْهِمُ الْقَوْلُ فِی أُمَمٍ قَدْ خَلَتْ مِنْ قَبْلِهِمْ مِنَ الْجِنِّ وَ الْإِنْسِ إِنَّهُمْ کانُوا خاسِرِینَ" อัลอะห์กอฟ, 18

[16] สะญะดะฮ์, 13 และ ฮูด, 119.

[17] อัลอิสรออ์, 15.

[18] อัลอันอาม, 130.

[19] ข้อคิดดังกล่าวได้จากนัยยะของคำว่าเหล่าศาสนทูตในหมู่สูเจ้าซึ่งครอบคลุมทุกยุคสมัย ยกเว้นยุคสมัยนบีมูซา() และท่านนบีมุฮัมมัด(..) โดยยุคนี้ญินไม่มีศาสนทูตที่เป็นญินด้วยกัน.

[20] อัลฟาฏิร, 29.

[21] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 10, หน้า 76: "ل بعث الله نبیا الی الجنّ فقال نعم بعث الیهم نبیا یقال له یوسف فدعاهم الی الله فقتلوه".

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...