Please Wait
27966
เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกัน
แหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้ เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้ กราบสุญูดอาดัม แต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบ
บางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่า เนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้น อิบลิส ต้องมาจากมวลมะลาอะกะฮฺแน่นอน
คำตอบ : การยกเว้นอิบลิสซาตานไว้ในหมู่มลาอิกะฮฺ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าชัยฎอนเป็นพวกเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ แต่ในที่สุดโน้มนำไปสู่เหตุผลว่า อิบลิสซาตาน (เป็นผู้นมัสการพระเจ้านานหลายปี) อยู่ในหมู่มลาอิกะฮฺในระดับต้นๆ แต่ต่อมาเพราะความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นและไม่เชื่อฟังพระเจ้าเขา,จะถูกขับออกจากสวนสวรรค์
คำยืนยันบนคำกล่าวอ้างดังกล่าวคือ
1. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลกะฮฺฟิว่า “ชัยฏอน (ซาตาน) มาจากญิน”
2. พระเจ้าทรงขจัดบาปและความผิดออกไปจากมลาอิกะฮฺโดยทั่วไป ดังนั้น มลาอิกะจึงเป็นสิ่งมีชีวิตที่บริสุทธิ์ และไม่เคยทำบาป, ไม่เคยปองร้าย, ไม่เคยหลงตัวเอง, ไม่เคยหยิ่งยโสและ ...ฯลฯ
3. อัลกุรอานบางโองการกล่าวถึง บรรพบุรุษของชัยฏอน ซึ่งประเด็นดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ชัยฏอน นั้นมีความเหมาะสมและมาจากหมู่มวลของญินแน่นอน ในขณะที่มลาอิกะเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทจิตวิญญาณ (ภาวะนามธรรม) จึงไม่มีปัญหาด้านการกินการดื่มแต่อย่างใด
4. อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในบางโองการว่า ทรงมอบให้บรรดามลาอิกะฮ์เป็นเราะซูลของพระองค์ เราะซูล หมายถึง ผู้ที่ถูกส่งมาจากพระเจ้า และผู้ที่เป็นเราะซูลของพระองค์นั้นจะไม่กระทำความผิดอย่างแน่นอน ดังนั้น ชัยฏอนได้กระทำบาปอันยิ่งใหญ่ขนาดนั้น แล้วจะเป็นมลาอิกะฮฺได้อย่างไร
นอกเหนือจากนี้ ความเห็นพร้องกันของบรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่ ตลอดจนรายงานที่เชื่อได้จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ที่มาถึงมือเราแสดงให้เห็นว่า : ซาตานไม่ได้มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ และเป็นที่เรารู้กันดีว่าความหน้าเชื่อถือ (ตะวาตุร) เป็นหนึ่งในสื่อที่สำคัญที่สุดสำหรับการค้นหาความถูกต้องของรายงาน
องค์รวมและสาเหตุหลักของคำถามนี้ อยู่ที่เรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เมื่อพระเจ้าทรงประสงค์ที่จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา มลาอิกะฮฺได้ทูลถามพระองค์ด้วยความเคารพและความสุภาพที่สุดว่า : พวกเราเคารพและถวายสดุดีต่อพระองค์ยังจะไม่เพียงพออีกหรือ แน่นอน พระองค์จะทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อการใด ครั้นเมือพระองค์สาธยายความลึกลับของการสร้างมนุษย์ แล้วตรัสว่า มนุษย์คือตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน มวลมลาอิกะฮฺจึงได้น้อมรับคำเชิญ (ให้ก้มกราบอาดัม (อ.)) ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและด้วยความจริงใจ และทั้งหมดได้ก้มกราบสุญูดต่ออาดัม ในหมู่บรรดามลาอิกะฮฺ หรือดีกว่าที่จะพูดว่าชัยฏอนได้อยู่ในแถวของมลาอิกะฮฺด้วยในเวลานั้น ซึ่งเขาได้นมัสการพระเจ้ามาอย่างช้านาน แต่ความเร้นลับที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของชัยฏอนไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ยกเว้นผู้ทรงอำนาจยิ่ง ความลับที่ถูกซ่อนเร้นมาอย่างยาวนาน แต่บัดนี้มันได้ถูกเปิดเผยออกแล้วในระหว่างการสร้างของอาดัม (อ.) การปฏิเสธศรัทธาของชัยฏอนนั่นเอง แน่นอน เขาได้กลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธามาอย่างช้านานแล้ว แต่ความหยิ่งยโสและความดื้อรั้นได้ถูกเปิดเผยขณะที่ไม่ยอมก้มกราบอาดัม (อ.) ซึ่งการปฏิเสธศรัทธาที่ซ่อนไว้ก็ถูกเปิดเผยออกมาด้วย
เมื่ออัลลอฮฺตรัสแก่มลาอิกะฮฺทั้งหมดและอิบลิส (ผู้เป็นหนึ่งในพวกเขาซึ่งได้แสดงความเคารพบูชามาอย่างช้านาน) ว่า : พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด มลาอิกะฮฺทั้งหมดได้เชื่อฟังปฏิบัติตาม ยกเว้นอิบลิสผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่สุญูด ซึ่งอิบลิสได้อ้างว่า: ฉันได้ถูกสร้างขึ้นจากไฟส่วนเขาถูกสร้างขึ้นจากดิน แล้วจะให้สิ่งที่ดีกว่าก้มกราบสิ่งที่ด้อยกว่าได้อย่างไร ?
ประหนึ่งว่า ซาตาน ไม่รู้แก่นแท้ความจริงของอาดัม ! ว่าอันที่จริงแล้วจิตวิญญาณจากพระเจ้าได้ถูกเป่าเข้าไปบนอาดัม ซึ่งแก่นแห่งเป็นมนุษย์ และคุณค่าของสำคัญของโลกแห่งความเร้นลับซึ่งมาจากพระผู้อภิบาลของเขาได้ถูกเป่าไปบนอาดัมทั้งสิ้น แน่นอน ในความคิดของซาตานจึงคิดว่าธาตุไฟนั้นดีกว่าธาตุดิน กระนั้นแม้ในการเปรียบเทียบของเขาก็ยังมีความผิดพลาดอยู่ดี แต่จะยังไม่อธิบายในที่นี้ – เนื่องจากเขาเห็นอาดัมแต่เพียงทางกายภาพของความเป็นมนุษย์ แต่หลงลืมด้านจิตวิญญาณของอาดัม ด้วยเหตุนี้เอง ชัยฎอนจึงได้แดสง 2 ปฏิกิริยาที่ตรงกันข้ามกับสองการกระทำ เขาจึงได้ถูกขับออกจากสวนสวรรค์เนรมิตของพระเจ้า ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ปฏิกิริยาแรกของชัยฏอนคือ ความภาคภูมิใจของตนที่มีต่อการสร้างมนุษย์ ส่วนปฏิกิริยาที่สอง, ความหยิ่งยโส, และขั้นสุดท้ายของความดื้อรั้นในการฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า
สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ พวกเขาได้เชื่อฟังปฏิบัติตามพระเจ้ามากน้อยเพียงใด มีความมั่นคงในพฤติกรรมมากน้อยแค่ไหน กล่าวคือลำดังต่อไปจะขออธิบายคำบางคำก่อ :
(ก) ชัยฏอน (ข) อิบลิส (ค) มลาอิกะฮฺ (ง) ญิน
ก) ชัยฏอนซาตานมารร้าย : คำว่า ชัยฏอน มาจากคำว่า ชะฏะนะ และ ชาฏินะ หมายถึง สิ่งที่เป็นความชั่วร้ายและเกเรดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังดื้อดึง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ญิน หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ก็ตาม หรือให้ความหมายว่า จิตวิญญาณชั่วร้ายที่ออกห่างจากจริงก็มี ซึ่งหมายความว่าในแง่ที่เป็นจุดร่วม จะให้ความหมายควบคุมทั่วไปทั้งหมด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในแง่นี้ทั้งหมดเหมือนกัน
ดังนั้น คำว่า ชัยฏอน จึงเป็นคำนามหนึ่ง (เพศคำนาม) ซึ่งหมายถึงเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและอันตรายและก่อให้เกิดการหลงผิด ใช้ได้ทั้งกับทุกสิ่งที่มีอยู่ (ไม่ว่าจะมนุษย์หรือไม่ใช่มนุษย์ก็ตาม)
ในพระคัมภีร์อัลกุรอานและคำกล่าวของบรรดาอิมามมะอ์ซูม (อ.) กล่าวว่า ชัยฏอนซาตานมารร้าย ไม่ได้ระบุเจาะจงเฉพาะว่าเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทว่าบางครั้งหมายถึงมนุษย์ที่ชั่วร้าย หรือมีมารยาทหยาบคาย เช่น อิจฉาริษยา, ก็เรียกว่า ชัยฏอน เหมือนกัน[1]
ข) อิบลิส : เป็นคำนามเฉพาะ (อะลัม) ซึ่งมีเพียงสิ่งเดียวที่ตรงกับความเป็นจริง เขาเป็นคนแรกบนโลกนี้ที่ได้ฝ่าฝืนและก่อบาปกรรมขึ้น และ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าเขาได้วิวาทเพื่อเรียกร้องความเป็นอิสระ เขาได้หลงตนเองและแสดงความหยิ่งจองหอง และปฏิเสธคำสั่งของพระเจ้า และในที่สุดก็ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตรนั้น
นามอื่นของ อิบลิส คือคือ อะซาซีล[2] ส่วนคำว่า อิบลิส มาจากคำว่า "อิบลาส" ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็น ฉายานามหนึ่ง อิบลาส คือการสิ้นหวัง ซึ่งบางทีอาจเป็นไปได้ว่า เนื่องจากอิบลิส สิ้นหลังในความเมตตาของพระเจ้า จึงได้รับฉายานามนี้
ค) มลาอิกะฮฺ : เพียงพอแล้วที่จะกล่าวถึงคุลักษณะบางส่วนที่เหมาะสมของมลาอิกะฮฺ เพื่อที่เราจะได้รับบทสรุปว่า มวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย ไม่มีวันที่จะกระทำความผิดและบาปกรรมใด ๆ ได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ชัยฏอนซาตานมารร้ายจึงไม่สามารถมาจากประเภทของมลาอิกะฮฺได้เด็ดขาด[3]
มลาอิกะฮฺ คือการมีอยู่ประเภทหนึ่ง ซึ่งพระเจ้าได้อธิบายถึงคุณลักษณะทีดีเกี่ยวกับพวกเขาไว้ในอัลกุรอาน เช่นบางโองการกล่าวว่า :
بَلْ عِبادٌ مُکْرَمُون، لا یَسْبِقُونَهُ بِالْقَوْلِ وَ هُمْ بِأَمْرِهِ یَعْمَلُون
" (มะลาอิกะฮ์) เป็นบ่าวผู้มีเกียรติ พวกเขาจะไม่ชิงกล่าวคำพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์"[4]
ซึ่งจะเห็นว่าจนกระทั้งถึงวินาทีสุดท้าย มลาอิกะฮฺก็จะไม่กระทำสิ่งที่ขัดต่อสัจธรรมความจริง พวกอยู่ในสภาพของการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระผู้อภิบาลเสมอ เป็นสิ่งที่มีอยู่ที่สะอาดบริสุทธิ์ ตัวตนของมลาอิกะฮฺสะอาด ฉะนั้นจึงไม่มีวันที่พวกเขาจะเกลือกกลั้วกับบาปกรรมอย่างแน่นอน สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านี้การเชื่อฟังพระเจ้าอยู่ในสายเลือดของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจะไม่แสดงความอ่อนแอและไร้ความสามารถในสิ่งที่ตนไม่รู้ ไม่แสดงความยโสโอหังต่อสิ่งที่ตนรู้เด็ดขาด เนื่องจาก พวกเขาเชื่อมั่นว่า การมีอยู่ของพวกเขาล้วนมาจากพระผู้อภิบาลทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าพวกเขาฝ่าฝืนคำสั่งแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งที่พวกเขารู้ก็จะเปลี่ยนกลายเป็นความโง่เขลาทันที
ดังนั้น ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างมลาอิกะฮฺ กับชัยฏอนอยู่ที่เรื่องราวการสร้างและการก้มกราบอากดัม เนื่องจากมลาอิกะฮฺได้ล่วงรู้อย่างชัดเจนด้วยจิตเบื้องลึกว่า พวกตนไม่เข้าใจและไม่รู้เกี่ยวกับพระนามอันไพจิตรของพระเจ้า หมายถึงพวกเขาทราบเป็นอย่างดีว่า พวกเขาไม่รู้ แต่ส่วนชัยฏอนนั้นด้วยความดื้อรั้นและความยโสโอหังที่มีอยู่ในสายเลือด จึงได้คิดว่าตนรู้ดีทุกอย่าง ฉะนั้น ชัยฏอน จึงไม่เข้าใจคำสั่งของพระเจ้า ที่สั่งให้ก้มกราบอาดัมเนื่องจากความรู้ของพระเจ้าที่เพิ่มเติมไปบนอาดัม ความคิดที่มืดมิดของชัยฏอนจึงได้ปิดกั้นไม่เปิดโอกาสให้เขาได้เข้าใจในวิชาการเหล่านั้น ในความหมายก็คือ ความอคติ ความจองหองอวดดีคืออุปสรรคสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจ และในที่สุดแล้วชัยฏอนก็ไม่ได้ก้มกราบอาดัม มันเป็นการปฏิเสธของผู้มีความยโสโอหัง ไม่ใช่ว่าเขาไม่สามารถก้มกราบได้!
ด้วยคำอธิบายดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า มวลมลาอิกะฮฺ ทั้งหลายเป็นผู้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ความผิดบาปไม่อาจปรากฏในหมู่พวกเขาได้อย่างแน่นอน เมื่อไม่มีทางกระทำความผิด ดังนั้นผลงานทั้งหมดของพวกเขาจึงได้กระทำไปเพื่อการภักดีในพระเจ้าทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อการเชื่อฟังคำสั่งเป็นวาญิบและมีสำคัญยิ่งแล้ว ความผิดบาปก็จะถูกสั่งห้ามและถูกปิดกลั้นไปโดยปริยาย (นี่เป็นเหตุผลแรก ทางสติปัญญาที่ยืนยันให้เห็นความแตกต่างระหว่างชัยฏอนกับมลาอิกะฮฺ)
แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเหตุผลและหลักฐานอื่น ๆ ทางปัญญา จะอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับ ญิน เสียก่อน
ง) ญิย : ญิน ตามรากเดิมแล้วหมายถึง สรรพสิ่งนั้นที่ถูกปกปิดไปจากความรู้สึกของมนุษย์ อัลกุรอานยืนยันถึงการการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตประเภท ญิน เอาไว้ ซึ่งอัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า พวกเขาเช่นกันเป็นสรรพสิ่งหนึ่งที่มาจากไฟ ส่วนมนุษย์นั้นถูกสร้างขึ้นจากดิน อย่างไรก็ตามการสร้างญินนั้นมีมาก่อนการมนุษย์[5]
นักวิชาการบางคน อธิบายว่า ญิน เป็นจิตวิญญาณประเภทหนึ่งที่มากด้วยสติปัญญา ปราศจากภาวะวัตถุ แต่ไม่ได้เป็นภาวะนามธรรมสมบูรณ์แต่อย่างใด เนื่องจากบางสิ่งบางอย่างที่สร้างขึ้นจากไฟ มีสภาพเป็นวัตถุและเป็นกึ่งสภาวะของนามธรรม, หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าเป็นชนิดของวัตถุที่ละเอียดอ่อน[6]
จากโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่า ญิน ก็เป็นประเภทหนึ่งที่คล้ายเหมือนมนุษย์เช่นกัน มีสติปัญญา มีความต้องการ และความรู้สึก สามารถทำงานหนักได้ ญินมีทั้งผู้ศรัทธาและปฏิเสธศรัทธา ญินบางคนเป็นบ่าวบริสุทธิ์ บางคนก็เป็นผู้ก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินเช่นเดียวกับมนุษย์, ญินมีชีวิต ความตาย และมีการคืนชีพเช่นเดียวกัน ... มีเพศชายและเพศหญิง มีการแต่งงานและมีการขยายเผ่าพันธุ์เหมือนกัน
แต่ประเด็นหลักในที่นี้คือ อิบลิส มาจากมลาอิกะด้วยหรือไม่ ในหมู่นักวิชาการมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ซึ่งที่มาของข้อพิพาทนี้ บางที่อาจเป็นการยึดถืออัลกุรอานบางโองการและการตีความที่ต่างกันออกไป
บางคนกล่าวว่า ซํยฏอนมารร้าย (อิบลีส) มาจากมลาอิกะฮฺ เหตุผลหลักของพวกเขาก็คืออัลกุรอานบางโองการที่กล่าวว่า
واذ قلنا للملایکة اسجدوا لآدم فسجدوا الا ابلیس
"จงรำลึกถึง ขณะที่เรากล่าวแก่มลาอิกะฮฺว่า พวกเจ้าจงก้มกราบอาดัมเถิด แล้วพวกเขาก็ก้มกราบยกเว้นอิบลีส"[7] เนื่องจากโองการนี้ ได้ยกเว้นอิบลิสออกไปจากการก้มกราบ ส่วนผู้ที่ถูกยกเว้นไปจากพวกเขาคือ มลาอิกะฮฺ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า อิบลิส มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺ
แต่ตามความเป็นจริงแล้ว อิบลิส ไม่อาจมาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺได้ รายงานที่เชื่อถือได้ (มุตะวาติร) จากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งบรรดาอิมามมีความเห็นพร้องต้องกัน และเน้นย้ำว่า อิบลิส นั้นมาจากหมู่ญินไม่ใช่มลาอิกะฮฺ ซึ่งประเด็นดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้หลายเหตุผลด้วยกันกล่าวคือ
1. อัลลอฮ์ ผู้ทรงอำนาจยิ่งตรัสว่า "อิบลีสอยู่ในจำพวกญิน”[8]
2. อัลลอฮ์ ผู้ทรงอำนาจยิ่งตรัสว่า
لایعصون اللَّه ما اَمَرهم و یفعلون ما یؤمرون
“พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา”[9] พระเจ้าตรัสเกี่ยวกับมลาอิกะฮฺว่า : ไม่มีทางที่พวกเขาจะฝ่าฝืนพระบัญชาของพระเจ้า หมายถึงโดยทั่วไปแล้วพระองค์ปฏิเสธบาปกรรมให้พ้นไปจากมลาอิกะฮฺ ซึ่งเข้าใจได้ว่าประการแรก ไม่มีมลาอิกะฮฺองค์ใด และประการที่สอง ไม่มีการทำความผิดบาปใด ๆ ทั้งสิ้น
3. อัลลอฮฺ ตรัสว่า
افتتخذونه وذُرتیه اولیاء من دونى وهُمُ لکم عدو
"พวกเจ้าจะยึดเอามันและวงศ์วานของมัน เป็นผู้คุ้มครองอื่นจากข้ากระนั้นหรือหรือ? ทั้งๆ ที่พวกมันเป็นศัตรูกับพวกเจ้า”[10] ประเด็นดังกล่าวนี้บ่งชี้ให้เห็นว่าในหมู่ญินและวงศ์วานของเขา หรืออีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ในหมู่พวกเขามีการสืบสกุลวงศ์ ขณะที่ในหมู่มลาอิกะฮฺมีการสร้างในลักษณะของจิตวิญญาณ ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะไม่มีในหมู่พวกเขา
4. อัลลอฮฺ ตรัสว่า "ผู้ทรงแต่งตั้งมะลาอิกะฮฺให้เป็นผู้นำข่าว”[11] และเราทราบเป็นอย่างดีว่าการปฏิบเสธและการทำความผิดสำหรับเราะซูลแล้วเป็นไปไม่ได้ และไม่อนุญาตให้กระทำ
แต่คำตอบสำหรับบุคคลที่กล่าวว่า อิบลิสได้รับการยกเว้นจากหมู่มลาอิกะฮฺ จำเป็นต้องกล่าวว่า การยกเว้น ชัยฏอน ออกไปจากมลาอิกะฮฺไม่ได้บ่งบอกเลยว่า ทั้งสองมลาอิกะฮฺและญินเป็นประเภทเดียวกัน สิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากโองการก็คือ อิบลิส อยู่ในแถวเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ และอยู่ในหมู่พวกเขาซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการก้มกราบเฉกเช่นเดียวกันกับมลาอิกะฮฺ บางคนกล่าวว่า การยกเว้นในโองการดังกล่าว เป็นการยกเว้นประเภทไม่ต่อเนื่อง (มุงกะฏิอ์) หมายถึง สิ่งที่ได้รับการเว้นไปจากพวกเขาไม่ได้ถูกกล่าวไว้ในประโยค[12]
ขณะที่มีคำกล่าวถึงอิบลิสว่า พวกเขาแสดงความเคารพภักดีต่อพระเจ้านานถึง 6000 ปี ดังนั้น การจัดให้การมีอยู่ประเภทนี้ร่วมกับมลาอิกะฮฺ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด และมีความเป็นไปได้
ท่านอิมามซอดิก (อ.) ได้ถูกถามว่า อิบลิสมาจากมวลมลาอิกะฮฺหรือไม่ หรือเป็นประเภทหนึ่งจากมวลสรรพสิ่งทั้งหลายแห่งฟากฟ้า ท่านกล่าวว่า : ไม่ได้มาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในฟากฟ้าแต่อย่างใด ทว่าอิบลิสมาจากหมู่มวลของญิน เพียงแต่ได้อยู่ร่วมกับมลาอิกะฮฺ ซึ่งมลาอิกะฮฺเองก็คิดว่าเขามาจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺเช่นกัน แต่อัลลอฮฺ ทรงทราบว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น และเรื่องนี้ได้ดำเนินมาจนถึงกาลเวลาที่พระองค์ได้มีบัญชาให้มวลมลาอิกะฮฺ ทั้งหมดก้มกราบต่ออาดัม ความลับของอิบลิสที่ซ่อนอยู่อย่างช้านานก็ได้เปิดเผยออกมา[13]
แหล่งอ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติม :
1. มัรฮูม เฏาะบัรระซีย์ มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 1 หน้า 163 ตอนอธิบายโองการ 34 บทบะเกาะเราะฮฺ
2 . อัลลามะฮฺ มูฮัมมัดฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอีย์, ตัฟซีรอัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 122 เป็นต้นไป และเล่ม 8 , หน้า 20 เป็นต้นไป
3. อับดุลอฮฺ ญะวาด ออมูลีย์,ตัฟซีรเมาฏูอีย์, เล่ม 6, ตอนอธิบายเกี่ยวกับการสร้างอาดัม
4. อายะตุลลอฮฺ มุฮัมมัด มิซบาฮฺ ยัซดี, มะอาริฟกุรอาน เล่ม 1-3, หน้า 297 เป็นต้นไป
5. ตัฟซีร เนะมูเนะฮฺ เล่ม 1, ตอนอธิบายโองการที่ 34 บทบะเกาะเราะฮ, เล่มที่ 11 หน้า 8 เป็นต้นไป
[1] รอฆิบ เอชฟาฮานี, มุฟฟะรอดอต คำว่า ชัยฏอน
[2] ฏูซีย์, มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 1 หน้า 165 พิมพ์ที่เบรุต
[3] โองการได้ใช้คำว่า มลาอิกะอฺ ในรูปของพหูพจน์ ซึ่งมี อลีฟกับลาม ควบคู่มาด้วยเสมอ เช่น มวลมลาอิกะฮฺทั้งหมด มีหน้าที่ก้มกรามอาดัม
[4] อัลกุรอาน บทอันบิยาอ์ โองการ 26-27
[5] อัลกุรอาน บทอัลฮิจร์ โองการที่ 27 กล่าวว่า “และญินนั้น เราได้สร้างมันมาก่อนจากไฟของลมร้อน”
[6] นักวิชาการกล่มหนึ่ง ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ เล่ม 11 หน้า 79-80
[7] อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ โองการ 34
[8] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟิ โองการ 50
[9] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม โองการ 6
[10] อัลกุรอาน บทอัลกะฮฺฟิ โองการ 50
[11] อัลกุรอาน บทฟาฏิร 1 และบทฮัจญฺ 75
[12] แต่ยังมีการบ่งชี้อย่างอื่นอีก ซึ่งสามารถศึกษาได้จาก ตักซีร มัจญฺอุลบะยาน ตอนอธิบาย โองการที่ 34 บทอับบะเกาะเราะฮฺ
Tabarsi, บาหยัน Assembly, C 1, p 163, เผยแพร่ในเบรุต
[13] เฏาะบัรเราะซีย์ มัจญฺมะอุล บะยาน เล่ม 1 หน้า 163 พิมพ์ที่เบรุต