การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
57596
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1087 รหัสสำเนา 14940
คำถามอย่างย่อ
ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
คำถาม
ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
คำตอบโดยสังเขป

มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้
1. ดุอาตะวัซซุ้ล
2
. ดุอาฟะร็อจ
3. ดุอา อิสมุลอะอ์ซ็อม
4. ดุอา มุกอติล บิน สุลัยมาน (รายงานจากอิมามซัยนุ้ลอาบิดีน(อ.)
5. ดุอาสะรีอุ้ล อิญาบะฮ์ (รายงานจากอิมามมูซา อัลกาซิม(อ.)
6. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งว่า“ยาอัลลอฮ์”สิบครั้ง จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”
7. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งคำว่า“ยาร็อบ ยาอัลลอฮ์”เรื่อยๆจนกว่าจะสุดลมหายใจ จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”
ทั้งหมดนี้อยู่ในหมวดของ“ดุอาที่เห็นผลตอบรับรวดเร็ว”ในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ดุอา คือการสื่อสารอย่างนอบน้อมของบ่าวต่ออัลลอฮ์ เพื่อให้ทรงสนองความจำเป็นในโลกนี้และโลกหน้า
การตอบรับดุอาไม่แตกต่างจากปรากฏการณ์อื่นๆ ที่จะต้องครบถ้วนด้วยเงื่อนไขและมารยาทต่างๆ แต่หากเงื่อนไขเหล่านี้บกพร่อง หรือมีอุปสรรคอื่นใดที่เราไม่อาจทราบได้ ต่อให้เป็นดุอาที่ทรงพลังเพียงใด ท้ายที่สุดก็อาจไม่เป็นที่ตอบรับ[1] อย่างไรก็ดี เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้
ดุอาตะวัซซุ้ล
:
มุฮัมมัด บิน บาบะวัยฮ์ รายงานบทดุอานี้จากบรรดาอิมาม(อ.) โดยเผยว่า “ไม่มีสักครั้งที่ฉันขอดุอาบทนี้แล้วเห็นผลล่าช้าตามที่ต้องการ” ดุอานี้นับเป็นดุอาที่มีชื่อเสียง และนิยมอ่านกันในค่ำวันอังคาร เนื้อหาของดุอานี้กล่าวถึงการขอให้สิบสี่มะอ์ศูม(ผู้ไร้บาป)ช่วยวอนขออัลลอฮ์อีกทอดหนึ่ง ช่วงท้ายของดุอาก็เป็นการวอนขอพระองค์โดยตรงให้ทรงสนองในสิ่งที่ต้องการ โดยเริ่มต้นด้วยประโยคนี้
اللهم انی اسئلک و اتوجه الیک بنبیک نبی الرحمة...»  (โอ้อัลลอฮ์ ข้าฯวอนต่อพระองค์ และเพ่งจิตสู่พระองค์ผ่านนบีของพระองค์ ผู้เป็นศาสดาแห่งเมตตาธรรม) และลงท้ายด้วยประโยคนี้ یا وجیها عندالله اشفع لنا عندالله (โอ้ผู้มีเกียรติ ณ อัลลอฮ์ กรุณาช่วยวอนขอให้เรา ณ อัลลอฮ์)[2]

2. ดุอาฟะร็อจ
กัฟอะมี รายงานดุอาหนึ่งจากอิมามอลี(อ.)ในหนังสือ“บะละดุ้ลอะมีน”ว่า หากผู้ใดประสบปัญหา หวาดกลัว กังวลใจ หรือโศกเศร้า ให้อ่านดุอานี้ อัลลอฮ์จะทรงแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ดุอานี้เริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า یا عماد من لا عماد له... (โอ้ผู้ให้การพึ่งพา ที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด) และจบด้วยประโยคที่ว่า وافعل بی ما انت اهله (ขอทรงบันดาลให้ด้วยเกียรติของพระองค์)[3] จากนั้นให้เอ่ยความจำนงหลังจบดุอา

3. ดุอา อิสมุ้ลอะอ์ซ็อม:
ซัยยิด อลีคาน ชีรอซี รายงานไว้ในหนังสือ“กะลิมุฎฎ็อยยิบ”ว่า อิสมุลอะอ์ซ็อม(พระนามอันเปี่ยมฤทธานุภาพ)ของอัลลอฮ์คือประโยคที่ขึ้นต้นด้วย الله และลงท้ายด้วย هو และผู้ใดเปล่งประโยคดังกล่าววันละสิบเอ็ดจบ อุปสรรคปัญหาที่ยากลำบากจะง่ายดายลง พระนามดังกล่าวปรากฏในห้าซูเราะฮ์ดังต่อไปนี้ อัลบะเกาะเราะฮ์ อาลิอิมรอน อันนิซาอ์ ฏอฮา อัตตะฆอบุน โดยประโยคดังกล่าวไม่มีจุดพยัญชนะ และมีสระที่คล้ายคลึงกันทุกซูเราะฮ์ ดังนี้:
الله لا إله إلا هو الحی القیوم... กระทั่งจบอายะฮ์กุรซี
الله لا اله الا هو ...نزل علیک الکتاب ...
الله لا إله الا هو لیجمعنکم ...
الله لا إله الا هو له الاسماء ...
الله لا إله الا هو و علی إلله...[4]

4. ดุอา มุกอติล บิน สุลัยมาน (รายงานจากอิมามซัยนุลอาบิดีน)
อิมามได้สอนดุอาบทนี้แก่ มุกอติล บิน สุลัยมาน โดยเขาเผยว่าหากผู้ใดอ่านดุอาบทนี้ร้อยจบ เขาจะได้ในสิ่งที่เอ่ยขอ ประโยคเริ่มต้นของดุอานี้คือ
الهی کیف ادعوک و انا... (โอ้นายข้าฯ ข้าฯจะวอนขอพระองค์อย่างไรดี ขณะที่ข้านั้น...) และจบด้วยประโยคที่ว่า
تفرج عنی فرجا عاجلا غیر اجل نفسک و رحمتک یا ارحم الراحمین (ขอทรงแก้ไขปัญหาของข้าฯอย่างรวดเร็ว ด้วยพระเมตตาของพระองค์ โอ้ผู้เปี่ยมเมตตาเหนือผู้ใด)[5]

5. ดุอา สะรีอุ้ลอิญาบะฮ์:
กัฟอะมีรายงานดุอาบทหนึ่งจากท่านอิมามมูซา อัลกาซิม(อ.)ว่า“เป็นดุอาที่ล้ำค่าและได้รับการสนองอย่างรวดเร็ว” เริ่มต้นด้วย
 
اللهم انی اطعتک فی احب الاشیاء الیک و هو التوحید (โอ้อัลลอฮ์ ข้าฯเชื่อฟังพระองค์ในสิ่งอันเป็นที่รักยิ่งของพระองค์ นั่นคือ หลักเตาฮีด...) และสิ้นสุดด้วย و ارزقنی من حیث احتسب و من حیث لا احتسبه، انک ترزق من تشاء بغیر حساب (ขอทรงประทานแก่ข้าฯทั้งสิ่งที่ข้าฯคาดคิดและไม่คาดคิด เพราะแท้จริงพระองค์ทรงประทานริซกีแก่ผู้ที่ทรงประสงค์โดยไม่คำนวนนับ) หลังจบดุอาให้ขอตามที่ต้องการ.[6]

6. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งว่า“ยาอัลลอฮ์”สิบครั้ง จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”[7]
7. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ใดเปล่งคำว่า“ยาร็อบ ยาอัลลอฮ์”เรื่อยๆจนกว่าจะสุดลมหายใจ จะมีการตอบรับว่า เธอต้องการสิ่งใด?”[8]

ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในบทที่ห้าในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินานของมัรฮูม เชคอับบาส กุมี

อย่างไรก็ดี ควรทราบว่าในแต่ละอุปสรรคปัญหาจะมีดุอาที่เจาะจงไว้โดยเฉพาะ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษารายละเอียดได้ในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินาน.



[1] ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาอ่านดัชนีต่อไปนี้: เงื่อนไขจำเป็นสำหรับการตอบรับดุอา คำถามที่983, วิธีทราบถึงความเหมาะสมในดุอา คำถามที่764

2] มะฟาตีฮุ้ลญินาน(ฉบับเต็ม),ดุอาตะวัสสุ้ล,หน้า 225.

[3] อ้างแล้ว,ดุอาฟะร็อจ.

[4] อ้างแล้ว,โองการอิสมุ้ลอะอ์ซ็อม,หน้า 224.

[5] อ้างแล้ว,ดุอามุกอติล บิน สุลัยมาน,หน้า 236.

[6] อ้างแล้ว,ดุอาสะรีอุ้ลอิญาบะฮ์,หน้า 237,754.

[7] อุศูลุลกาฟี,หมวดดุอา: ผู้ใดกล่าวยาอัลลอฮ์สิบครั้ง...

[8] อ้างแล้ว,ผู้ใดกล่าวยาอัลลอฮ์ยาร็อบจนสุดลมหายใจ...

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะเหตุใดจึงต้องกลัวความตายด้วย?
    6979 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/20
    ความกลัวตายสามารถกล่าวได้ว่า มีสาเหตุและปัจจัยหลายประการ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวโดยสรุปถึงปัจจัยเหล่านั้น กล่าวคือ 1.ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดและอธิบายว่า ความตายคือการสูญสิ้น หรือการดับสลาย ไม่มีอีกต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่าปกติแล้วมนุษย์มักกลัวการสูญสิ้น ไม่มี. ดังนั้น ถ้ามนุษย์อธิบายความตายว่า มีความหมายตามกล่าวมา แน่นอนเขาก็จะเป็นคนหนึ่งที่หลีกหนีและกลัวตาย, ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าจะมีสภาพชีวิตที่ดีที่สุด,ถ้าคิดถึงความตายเมื่อใด, เหมือนกับสภาพชีวิตของเขาจะช็อกไปชั่วขณะ ในมุมมองนี้เขาจึงเป็นกังวลตลอดเวลา 2.มีมนุษย์บางกลุ่มเชื่อว่า ความตาย มิใช่จุดสิ้นสุดชีวิต, และเขายังเชื่อเรื่องการฟื้นคืนชีพ แต่ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาได้กระทำการงานไม่ดี จึงกลัวความตายและหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้นเสมอ, เนื่องจากความตายคือการเริ่มต้นไปถึงยังผลลัพธ์อันเลวร้าย และการงานของตน ด้วยเหตุนี้, เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจสอบจากพระเจ้า และการลงโทษของพระองค์ พวกเขาจึงต้องการให้ความตายล่าช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บุคคลหนึ่งได้ถามท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า : เพราะเหตุใดฉันจึงไม่ชอบความตายเอาเสียเลย? ท่านศาสดา กล่าวว่า : ...
  • ถ้าหากเป็นการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และฝ่ายชายได้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง เพื่ออ่านอักด์ แต่มิได้บอกกำหนดเวลาและจำนวนมะฮฺรียะฮฺ ถือว่าอักด์ถูกต้องหรือไม่?
    9553 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำตอบจากมัรญิอฺตักลีดบางท่านกล่าวว่า ..สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8423 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • ฮะดีษที่กล่าวว่า ท่านศาสดา (ซ.ล.) กล่าวว่า “จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในช่วงเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” เป็นฮะดีษที่ถูกต้องหรือไม่?
    10693 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/06/23
    แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นอกจากจะมีประโยชน์ทางด้านสารอาหารแล้ว ยังมีสรรพคุณทางด้านการรักษาและเป็นยาอีกด้วย ซึ่งเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งสมัยก่อนและสมัยใหม่ได้กล่าวและเขียนเกี่ยวกับมันมากมาย เกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของแอปเปิ้ล นอกจากทัศนะของเหล่าบรรดาแพทย์ทั้งหลายแล้ว เราจะพบฮะดีษบางบทจากบรรดามะอ์ศูมีนในหนังสือทางประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือฮะดีษที่ได้กล่าวมาในคำถามข้างต้นที่กล่าวว่า “و قال النبی (ص) کلوا التفاح علی الريق فإنه وضوح المعده”[1] จงทานแอปเปิ้ลเมื่อท้องว่าง (ในยามเช้า) เพราะจะช่วยชำระล้างกระเพาะ” และฮะดีษนี้รายงานจากอิมามอลี (อ.) โดยมีเนื้อหาดังนี้ “كُلُوا التُّفَّاحَ فَإِنَّهُ يَدْبُغُ الْمَعِدَةَ” จงกินแอปเปิ้ล เนื่องจากแอปเปิ้ลจะช่วยชำระล้างกระเพาะ ฮะดีษดังกล่าวนอกจากจะปรากฏในหนังสือมะการิมุลอัคลากแล้ว ยังจะพบได้ในหนังสือบิฮารุลอันวารของท่านมัจลิซีย์และมุสตัดร็อกของท่านนูรีย์อีกด้วย นอกจากนี้ท่านอิมามศอดิก (อ.) ก็ได้กล่าวถึงสรรพคุณของแอปเปิ้ลว่า “หากประชาชนได้รู้ถึงสรรพคุณที่มีอยู่ในแอปเปิ้ล พวกเขาจะใช้แอปเปิ้ลรักษาผู้ป่วยของตนเพียงอย่างเดียว”
  • เกี่ยวกับวิลายะฮฺที่มีเหนือมุอฺมิน ซึ่งอยู่ในอำนาจของอะอิมมะฮฺ, ท่านมีทัศนะอย่างไร?
    5915 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/01/23
    คำตอบของท่านอายะตุลลอฮฺ มะฮฺดี ฮาดะวี เตหะรานนี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครอง) มีรายละเอียดดังนี้ :บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) มีวิลายะฮฺทั้งวิลายะฮฺตักวีนีและตัชรีอียฺเหนือบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แต่การปฏิบัติวิลายะฮฺขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ...
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    17088 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • การนั่งจำสมาธิคืออะไร? ชีอะฮฺมีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับการนั่งจำสมาธิ?
    8945 รหัสยปฏิบัติ 2557/05/20
    วัตถุประสงค่ของการนั่งจำสมาธิ (การอิบาดะฮฺ 40 วัน) คือการเดินจิตด้านใน, การจาริกจิต, การคอยระมัดระวังตนเองภายใน 40 วัน, เพื่อยกระดับและพัฒนาจิตด้านในของบุคคล เพื่อเตรียมพร้อมที่จำเป็น สำหรับการรองรับวิทยญาณและวิชาการของพระเจ้า ซึ่งนักเดินจิตด้านใน และปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของโองการและรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ การอิบาดะฮฺและการตั้งเจตนาด้วยความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ ภายใน 40 วัน จึงถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่สิ่งที่นักเดินจิตด้านในตักเตือนไว้คือ จงอย่าให้การนั่งจำสมาธิกลายเป็นเครื่องมือละทิ้งสังคม ปลีกวิเวกจนกลายเป็นความสันโดษ ...
  • กรุณาอธิบายวิธีตะยัมมุมแทนที่วุฎูอฺและฆุซลฺ ว่าต้องทำอย่างไร?
    10458 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    จะทำตะยัมมุมอย่างไร การตะยัมมุมนั้นมี 4 ประการเป็นวาญิบ: 1.ตั้งเจตนา, 2. ตบฝ่ามือทั้งสองข้างลงบนสิ่งที่ทำตะยัมมุมกับสิ่งนั้นแล้วถูกต้อง, 3. เอาฝ่ามือทั้งสองข้างลูบลงบนหน้าผากตั้งแต่ไรผม เรื่อยลงมาจนถึงคิ้ว และปลายมูก อิฮฺติยาฏวาญิบ, ให้เอาฝ่ามือลูบลงบนคิ้วด้วย, 4. เอาฝ่ามือข้างซ้ายลูบหลังมือข้างขวา, หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือข้างขวาลูบลงหลังมือข้างซ้าย คำวินิจฉัยของมัรญิอฺบางท่าน กล่าวถึงการตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ และฆุซลฺ ไว้ดังนี้: หนึ่ง. การตะยัมมุมแทนทีฆุซลฺ, อิฮฺยาฏมุสตะฮับ หลังจากทำเสร็จแล้วให้เอาฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนฝุ่นอีกครั้ง (ตบครั้งที่สอง) หลังจากนั้นให้เอาฝ่ามือลูบลงที่หลังมือข้างขวาและข้างซ้าย[1] มัรญิอฺ บางท่านแสดงความเห็นว่า สิ่งที่เป็นมุสตะฮับเหล่านี้ สมควรทำในตะยัมมุม ที่แทนที่ วุฎูดฺด้วย
  • ท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) จะนำศาสนาใหม่และคัมภีร์ที่นอกเหนือจากอัลกุรอานลงมาหรือไม่?
    6059 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    6184 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60140 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57594 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42230 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39397 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38963 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34013 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28030 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27989 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27823 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25814 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...