การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
8355
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1640 รหัสสำเนา 19011
คำถามอย่างย่อ
หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
คำถาม
หนทางขจัดความรักลุ่มหลงโลกและสรรพสิ่งในโลกให้หมดไปจากใจทำได้อย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า «ادنی» มาจากคำว่า «دنیء» และคำว่า «دنائت» ซึ่งหมายถึงความต่ำทรามยิ่งกว่า หรือการไม่มีค่าอันใด (เมื่อเทียบกับการมีชีวิตในปรโลก) หรือถ้ามาจากคำว่า «دنو» หมายถึงความใกล้ชิดยิ่งกว่า (เมื่อเทียบกับชีวิตในปรโลก)

อัลกุรอาน และรายงานฮะดีซ,ได้แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน,อันได้แก่ โลกที่ได้รับการตำหนิ กับโลกที่ได้รับการสรรเสริญ.ส่วนใหญ่คำพูดของบรรดามะอฺซูม (.) เมื่อกล่าวถึงโลก และได้เตือนสำทับมนุษย์ว่าอย่างหลงกลโลก หรือออกห่างจากโลกแห่งความหลอกลวง, บ่งชี้ให้เห็นถึงโลกที่ได้รับการตำหนิและไม่ถูกยอมรับ,โลกซึ่งเจ้าของปรารถนามันเพื่อตัวเอง เขามองโลกด้วยความอิสระตามอำเภอใจ, ส่วนโลกที่ได้รับการสรรเสริญ, หมายถึงการมองโลกด้วยพ้นธสัญญามิใช่เสรีภาพ หมายถึงการใช้ประโยชน์จากอายุขัยที่มีอยู่ จากโอกาสที่ได้รับไปในหนทางอันเป็นที่พึงพอใจของอัลลอฮฺ และเป็นบันไดก้าวไปเพื่อแสวงหาความสมบูรณ์ด้านจิตวิญญาณ, และการมองโลกเช่นนี้,เป็นการมองด้วยความเสียสละ,และการให้ซึ่งเป็นความง่ายดายสำหรับมนุษย์ทั้งหลาย

ความรักและลุ่มหลงโลกคือแหล่งที่มาของความผิดพลาดทั้งปวง.ความสงบที่ยอดเยี่ยมที่สุดสำหรับมนุษย์คือ การปล่อยวางและการช่วยเหลือมนุษย์ให้พ้นจากความรัก ความลุ่มหลง และความโสโครกทั้งหลายของโลก การปรับปรุงแก้ไขจิตใจและการก้าวไปถึงยังตำแหน่งความเป็นบ่าวที่แท้จริงของพระเจ้า, นอกจากสองแนวทางนี้แล้ว อัลกุรอานยังได้กล่าวถึงแนวทางอื่นอีกมากมาย ซึ่งจะขอกล่าวพอสังเขปดังต่อไปนี้:

1.การรู้จักแก่นแท้และฐานภาพของตน เมื่อสัมพันธ์ไปยังโลก

2.จงคิดใคร่ครวญให้รอบคอบในตัวตนของโลก และผลกระทบไม่ดีเกี่ยวกับความรักและลุ่มหลงโลก

3.สนับสนุนส่งเสริมความศรัทธา พึงปฏิบัติคุณงามความดี มีความสำรวมตนจากบาป สร้างสรรค์ตนเอง,ขัดเกลาจิตวิญญาณและละทิ้งอำนาจฝ่ายต่ำ

4.รำลึกถึงความตายและวันฟื้นคืนชีพเสมอ

5.ศึกษาประวัติบรรพชนและบั้นปลายสุดท้ายของพวกเขา

6.อพยพและต่อสู้ดิ้นรน

7.หลีกเลี่ยงความอิจฉาริษยา การสั่งสมทรัพย์สมบัติจำนวนมากมาย ความหวังอันยาวนาน มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี รู้จักประมาณตน และมีความเพียงพอในสิ่งที่ต้องการและจำเป็น

8.อดทนอดกลั้นและมีขันติธรรมต่อความยากลำบาก

คำตอบเชิงรายละเอียด

โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า «ادنی» มาจากคำว่า «دنیء» และคำว่า «دنائت» ซึ่งหมายถึงความต่ำทรามยิ่งกว่า หรือการไม่มีค่าอันใด (เมื่อเทียบกับการมีชีวิตในปรโลก) หรือถ้ามาจากคำว่า «دنو» หมายถึงความใกล้ชิดยิ่งกว่า (เมื่อเทียบกับชีวิตในปรโลก)[1]

ก่อนที่จะอธิบายถึงคำถาม จำเป็นต้องกล่าวเกริ่นบางอย่างก่อน คือ :

ถูกแนะนำว่าความรักลุ่มหลงโลก คือ แหล่งที่มาของความผิดพลาดทั้งปวง[2]

ความรักและลุ่มหลงโลก ไม่ว่าจะเป็นความรักในทรัพย์สมบัติ, ตำแหน่ง,กิเลสตัณหา,ความสะดวกสบาย, ชีวิตที่ดีกว่า, ชัยชนะ, การล้างแค้น, และอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันนี้, ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาบางครั้งก่อให้เกิดพายุร้ายขึ้นในชีวิตและจิตวิญญาณของมนุษย์อย่างรุนแรง,อันเป็นสาเหตุทำให้มนุษย์มองเห็นชีวิตทางโลกนี้ดีกว่าและมาก่อนชีวิตในโลกหน้า[3]

แต่สิ่งจำเป็นที่ต้องพิจารณาคือ คำอธิบายของอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซที่ว่า, โลกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน อันได้แก่: โลกที่ถูกตำหนิกับโลกที่ได้รับการสรรเสริญ.

โองการอัลกุรอาน จำนวนมากมาย,กล่าวว่าชีวิตทางโลกนี้คือปัจจัยของความหยิ่งยโส และเล่ห์เพทุบาย ซึ่งได้เตือนสำทับมนุษย์เสมอว่า อย่าปล่อยให้ความสุขร่าเริง เครื่องยังชีพ ประกายแห่งความหลอกลวงของโลกนี้ ทำให้ท่านต้องลืมเลือนพระเจ้า[4] บางครั้งกล่าวว่า ชีวิตทางโลกนี้คือความไร้สาระและเป็นเพียงการละเล่น[5]

ทำนองเดียวกันวัฒนธรรมของอัลกุรอาน,ได้กล่าวเตือนเสมอว่าปัจจัยสำคัญที่หลอกลวงมนุษย์ให้หลงทางคือ, มีความหวังเลื่อนลอยอันยาวนานที่มีต่อโลกนี้และการดำเนินชีวิตแห่งโลกวัตถุ[6]

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    8857 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงไม่ลงโทษบรรดาพวกกลับกลอกเสียตั้งแต่แรก ทั้งที่ทราบถึงแผนการ การก่อกรรมชั่วของพวกเขาเป็นอย่างดี? ขณะที่ท่านคิเฎรสังหารเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อโตขึ้นเขาจะก่อความเสียหาย?
    6247 رفتار با پیروان 2555/08/22
    ถ้าหากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) สังหารพวกเขาตั้งแต่วันนั้นให้หมดไป ก่อนที่แผนการของพวกเขาจะถูกปฏิบัต และวันนี้ก็จะไม่มีคำพูดว่า แล้วทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก่อนที่จะดำเนินการไม่ประณาม หรือไม่ตักเตือนพวกเขาเสียก่อน ทำไมไม่ให้โอกาสพวกเขา บางทีพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีหน้าที่ปฏิบัติไปตามกฎภายนอก และท่านมิได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺให้ทำการเข้มงวดกับบุคคลที่เป็นผู้กลับกลอก หรือปฏิบัติกับพวกเขาโดยความเข้มงวดอย่างเปิดเผย ดั่งที่บางตอนของคำเทศนาเฆาะดีรได้กล่าวว่า »ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า วัตถุประสงค์ของอัลลอฮฺ จากโองการดังกล่าวคือ เซาะฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง ซึ่งท่านรู้จักทั้งนามและสถานภาพของเขา, แต่ท่านมีหน้าที่ปกปิดพวกเขาไปตามสภาพ« ...
  • กรุณาเล่าถึงพจนารถของอิมามอลี(อ.)ที่ว่า อะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่า อะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่า สิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่า สิ่งใดอยู่ใกล้ และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า?
    5996 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    อัลลามะฮ์มัจลิซีได้รายงานฮะดีษบทหนึ่งไว้ในหนังสือบิฮารุลอันว้ารว่า “มีผู้สอบถามอิมามอลีว่าอะไรคือสิ่งจำเป็นและอะไรคือสิ่งจำเป็นกว่าอะไรคือปัญหาและอะไรคือปัญหาที่ใหญ่กว่าสิ่งใดน่าฉงนใจและสิ่งใดน่าฉงนใจกว่าสิ่งใดอยู่ใกล้และสิ่งใดอยู่ใกล้กว่า? แต่ก่อนที่ชายผู้นั้นจะถามจนจบท่านอิมามได้ตอบด้วยบทกวีที่ว่า...توب رب الورى واجب علیهمو ترکهم للذنوب اوجب‏و الدهر فی صرفه عجیبو غفلة الناس فیه اعجب‏
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    3997 استغفار و توبه 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • จุดประสงค์ของโองการที่ 85-87 บทอัลฮิจญฺร์ คืออะไร?
    6384 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวในโองการโดยบ่งชี้ให้เห็นถึง, ความจริงและการมีเป้าหมายในการชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินของพระองค์ ทรงแนะนำแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า จงแสดงความรักและความห่วงใยต่อบรรดาผู้ดื้อรั้น, พวกโง่เขลาทั้งหลาย, บรรดาพวกมีอคติ, พวกบิดพลิ้วที่ชอบวางแผนร้าย, พวกตั้งตนเป็นปรปักษ์ด้วยความรุนแรง, และพวกไม่รู้, จงอภัยแก่พวกเขา และจงแสดงความหวังดีต่อพวกเขา ในตอนท้ายของโองการ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปลอบใจท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และให้กำลังใจท่าน ว่าไม่ต้องเป็นกังวลหรือเป็นห่วงในเรื่องความรุนแรงจากฝ่ายศัตรู ผู้คนจำนวนมากกว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีกว่า และทรัพย์สินจำนวนมากมายที่อยู่ในครอบครองของพวกเขา, เนื่องจากอัลลอฮฺ ทรงมอบความรัก ความเมตตา และเหตุผลในการเป็นศาสดาแก่ท่าน ซึ่งไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้จะดีและเสมอภาคกับสิ่งนั้นโดยเด็ดขาด ...
  • สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
    7209 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลามหลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลามปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้วได้แบ่งออกเป็น
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    6095 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • ฮะดีษนี้น่าเชื่อถือหรือไม่? : "เราได้บันดาลให้อลี(อ.)ลูกเขยของเจ้า(นบี)ได้รับการบันทึกไว้ในซูเราะฮ์อินชิร้อห์"
    6846 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/11/09
    เราไม่พบฮะดีษใดๆที่มีเนื้อหาเช่นนี้อย่างไรก็ดีในตำราตัฟซี้รเชิงฮะดีษมีฮะดีษหลายบทที่อรรถาธิบายโองการفإذا فرغت فأنصب وإلی ربک فارغب ว่า "เมื่อเจ้า(นบี)ปฏิบัติภารกิจศาสนทูตลุล่วงแล้วก็จงแต่งตั้งอลี(อ.)เป็นผู้นำเหนือปวงชน" หรือฮะดีษที่อธิบายโองการแรกของซูเราะฮ์นี้ที่รายงานจากอิมามศอดิก(
  • ท่านอับบาสอ่านกลอนปลุกใจว่าอย่างไรขณะกำลังนำน้ำมา
    8509 ชีวประวัตินักปราชญ์ 2554/12/25
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ปรัชญาของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คืออะไร?
    11274 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/28
    บทบัญญัติและข้อปฏิบัติทั้งหมดในศาสนาอิสลามนั้นตราขึ้นโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและคุณประโยชน์สำหรับทุกสิ่งมีชีวิตอย่างทั่วถึง บทบัญญัติของอิสลามประการหนึ่งที่เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ประกอบพิธีฮัจย์ก็คือการเชือดกุรบานในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา จุดเด่นของการทำกุรบานในพิธีฮัจญ์คือ “การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจย์ได้คำนึงถึงการเชือดเฉือนอารมณ์ไฝ่ต่ำของตนเอง ,การแสวงความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า, การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ฯลฯ ซึ่งแม้ว่าในบางกรณีจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเนื้อกุรบานก็จริง แต่ก็ทำให้ได้รับประโยชน์ทางจิตใจดังที่กล่าวไปแล้ว เป็นที่น่ายินดีที่ในหลายปีมานี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายตามโรงเชือดสัตว์ที่นครมักกะฮ์ โดยเฉพาะการแช่แข็งเนื้อสัตว์ทำให้สามารถแจกจ่ายเนื้อเหล่านี้ให้แก่ผู้ยากไร้ ซึ่งช่วยไม่ให้เนื้อสัตว์เหล่านี้สูญเสียไปอย่างเปล่าประโชน์ ถึงแม้ว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะไม่ส่งผลร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็เชื่อได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว โดยอีกไม่ช้ากระบวนการดังกล่าวอาจจะแล้วเสร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59028 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56447 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41350 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38131 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    37879 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33200 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27306 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    26921 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    26799 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    24887 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...