การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9649
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2951 รหัสสำเนา 10191
หมวดหมู่ รหัสยปฏิบัติ
คำถามอย่างย่อ
ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
คำถาม
ความใกล้ชิดกับพระเจ้าคืออะไร มีประเภทใดบ้าง ? และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

ค่าว่า กุรบุน หมายความว่าความใกล้กันของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง บางครั้งความใกล้ชิดนี้อาจเป็นสถานที่ใกล้เคียง และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น กุรบุน จึงอาจเป็นสถานที่หรือเวลาก็ได้ ส่วนในความในทัศนะทั่วไป คำว่า กุรบุน อาจใช้ในความหมายอื่นก็ได้ กล่าวคือ หมายถึงการมีคุณค่า ศักดิ์ศรีและฐานันดรใกล้เคียงกันในสายตาคนอื่น

ประเภทของ กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา :

คำว่า กุรบุน ในทัศนะของปรัชญา, แบ่งออกเป็น 3 ประเภทกล่าวคือ: ความใกล้ชิดด้านสถานที่และ (เวลา), ความใกล้ชิดด้านประเภทของสิ่งของ, ความใกล้ชิดของการมีอยู่ สวนความใกล้ชิดด้านสถานที่และเวลานั้น ได้จำกัดอยู่ในอวัยวะ ร่างกาย และส่วนประกอบของจักรวาล อันเนื่องจากว่าพระเจ้านั้นทรงบริสุทธิ์จากการมีร่างกาย จึงไม่สามารถกล่าวได้กับพระองค์ ส่วนความใกล้ชิดด้านประเภทของสิ่ง เช่น ความใกล้ชิดของซัยด์ อัมร์ และอะลี ในธรรมชาติของความมนุษย์ ซึ่งพวกเขามีความคล้ายเหมือนกันในสภาพของสัตว์ประเสริฐที่พูดได้ แต่สำหรับพระเจ้าผู้ทรงอนันต์ เนื่องจากการมีอยู่ของพระองค์ไม่มีที่สิ้นสุดและเป็นการมีอยู่ที่สัมบูรณ์ พระองค์จึงไม่มีองค์รูป ฉะนั้น ความใกล้ชิดเหล่านี้จึงไม่อาจกล่าวได้กับพระองค์

แต่ความใกล้ชิดในด้านของการมีอยู่ เนื่องจากพระเจ้านั้นคือ พระผู้ทรงให้ และเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง ประกอบกับเป็นไปไม่ได้ที่สาเหตุสัมบูรณ์จะแยกออกจากมูลเหตุของตนเอง และมูลแหตุนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับสาเหตุของตน ดังนั้น ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อสรรพสิ่ง ก็เนื่องจากความใกล้ชิดของการมีอยู่ของพระองค์ไปยังสรรพสิ่งเหล่านั้น

ความใกล้ชิดของอัลลอฮฺกับสรรพสิ่ง :

ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อเรานั้น โองการอัลกุรอานได้แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้

. โองการบางกลุ่มบ่งชี้ถึงรากที่มาของความใกล้ชิดว่า พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับเรา

. โองการกุล่มที่สองบ่งชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คนอื่นจะใกล้ชิด

ค. โองการกลุ่มที่สาม แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร เป็นผู้ใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าเส้นหลอดเลือดแดง (คอ) ของเขาเสีย

ง. โองการกลุ่มที่สี่, บ่งชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ ยิ่งกว่าตัวของเขาเองเสียอีก ฉะนั้น ในอาการอธิบายของโองการกลุ่มที่สี่ควรจะกล่าวว่า: การมีอยู่ของมนุษย์นั้นภายในว่างเปล่า ทว่าการมีอยู่ของเขาก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ตรงกลางว่างเปล่า ด้วยเหตุนี้ ระหว่างมนุษย์กับการมีอยู่ของตัวเอง จึงมีช่องว่างในการควบคุมการมีอยู่

วิธีการใกล้ชิดพระเจ้าในมุมมองทางปรัชญา :

เป็นที่ชัดเจนว่าพระเจ้านั้นทรงปราศจากด้านและทิศทาง เพื่อว่ามนุษย์จะได้ใกล้ชิดกับพระองค์ในหนทางเหล่านั้น ทว่าความใกล้ชิดของพระเจ้า เกิดจากการเสริมสร้างผลงานในการดำรงอยู่ของมนุษย์ เพื่อที่ว่าจะได้สามารถเป็นแห่งสำแดงพระนามอันไพจิตและคุณลักษณะของพระเจ้า และอยู่ในหนทางของความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้น ความสมบูรณ์แบบต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์มีมากเท่าใด ขั้นของความใกล้ชิดต่อพระเจ้าก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น

ความใกล้ชิดพระเจ้าและขั้นตอนจากมุมมองโองการและรายงาน : เพราะพระเจ้าอยู่ผู้ทรงยิ่งใหญ่อนันต์ ทรงใกล้ชิดกับทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ต้องพยายามกระทำสิ่งที่ดีงาม เพื่อให้ความใกล้ชิดของพระเจ้าบังเกิดขึ้น วิธีการนี้การงานของมนุษย์จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ

ข้อบังคับเหนือตัวและนาฟิละฮฺ การกระทำที่มีบทบาทและถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความใกล้ชิดคือ การรู้จักและความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจในการกระทำ, ส่วนการกระทำที่เหลือ เช่น: ความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีมารยาทดีงาม การกระทำดี และมีความเมตตา และการกระทำอื่นๆที่คล้ายคลึงกัน ถือว่าอยู่ในกฎของนาฟิละฮฺ

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า กุรบุน ในเชิงภาษาหมายถึง ความใกล้ชิดของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง ซึ่งความใกล้ชิดเหล่านี้บางครั้งอาจเป็นสถานที่ และบางครั้งก็อาจเป็นเวลา ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งหนึ่ง (ในมุมมองของสถานที่) ใกล้ชิดกับอีกสิ่งหนึ่งที่กำหนดแน่นอน และมีระยะห่างตายตัว หรือเมื่อวานนี้ (ในมุมมองของเวลา) กับวันนี้มีความใกล้กันยิ่งกว่าเมือสองวันที่แล้ว  อย่างไรก็ตามยังมีการใช้งานคำว่า กุรบุน ในความหมายของสามัญทั่วไป ซึ่งคำว่า กุรบุน ถูกใช้ในประเด็นที่เป็นความชื่นชอบส่วนบุคคล เช่น คุณค่าหรือมีศักดิ์ศรีหรือมีตำแหน่งใกล้กัน

ประเภทของความใกล้ชิดจากมุมมองของปรัชญา :

ความใกล้ชิดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท : ความใกล้ชิดในเชิงสถานที่ และ (เวลา) ความใกล้ชิดซึ่งมีการเชื่อมต่อกันในฐานะของการมีอยู่ หรือความใกล้ชิดในความหมายของการเชื่อมต่อกันขององค์รูป ความใกล้ชิดและความห่างไกล ซึ่งการเกิดขึ้นของทั้งสองมี 2 สิ่งที่จำเป็น ตัวอย่าง เช่น ต้องมี "A" และ"B" เสียก่อนจึงจะบังเกิดความใกล้ชิดระหว่าง A" และ"B หรือห่างไกลกันระหว่าง A" และ"B เป็นจริงได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นความใกล้ชิดในเชิงของสถานที่ ซึ่งสามารถกล่าวได้กับองค์ประกอบทางกายภาพของจักรวาลและร่างกาย หรือความใกล้ชิดในแง่ของเวลาซึ่งมีการระบุเวลาที่แน่นอน มีความใกล้ชิดกันยิ่งกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาอื่นที่ได้สัมพันธ์ไปยังเลาที่สาม และในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งบริสุทธิ์จากข้อบกพร่องและขอบเขตจำกัดในแง่ของกายภาพและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแก่นแท้ของการมีอยู่ การมีอยู่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด การมีอยู่บริสุทธิ์ การมีอยู่อย่างอนันต์ การมีอยู่อย่างสัมบูรณ์ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด (ไม่ทรงพึ่งพิงให้ผู้อื่นต้องรุบุชี้ถึงพระองค์ หรือสร้างจินตนาพระองค์ในความคิด และไม่มีใครที่จะไม่พึ่งพิงหรือไม่ปรารถนาในพระองค์)[1]

แต่ความใกล้ชิดในความหมายของการเชื่อมต่อขององค์รูป, ไม่อาจกล่าวได้กับพระเจ้า เนื่องจากองค์รูปในสถานภาพนี้เป็นไปโดยอาศัยเครื่องหมายของการมีอยู่ของ องค์รูปในความหมายอันเพราะ ซึ่งองค์ประกอบนั้นอยู่ในชั้นของสรรพสิ่ง และเรียกสิ่งนั้นว่า ชนิด หรือประเภท เป็นการแนะนำขอบเขตของการมีอยู่ ซึ่งพระเจ้านั้นบริสุทธิ์จากองค์รูป[2] หมายความว่าไม่มีขอบเขตสำหรับพระองค์ เพื่อว่าองค์รูปของสรรพสิ่งอื่นจะได้สัมพันธ์ด้านใกล้ชิดหรือห่างไกลไปยังองค์รูปของพระองค์ “ผู้ใดอ้างการมีเครื่องหมายแก่พระองค์ย่อมเท่ากับจำกัดขอบเขตแก่พระองค์ ผู้ใดจำกัดขอบเขตแก่พระองค์ย่อมนับจำนวนของพระองค์”[3]

คนสองคนที่มีส่วนร่วมในองค์รูปเดียวกัน ทั้งสองนั้นมีลักษณะเหมือนกัน เช่น ซัยด์ และอัมร์, ซึ่งมีส่วนร่วมในองค์รูปของความเป็นมนุษย์ ขณะที่พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จาก การต่อต้าน การคล้ายเหมือน และการแบ่ง

แต่การเชื่อมต่อด้านจิตวิญญาณในแง่การมีอยู่

แต่ความใกล้ชิดในด้านของการมีอยู่ เนื่องจากพระเจ้านั้นคือ พระผู้ทรงให้ และเป็นแหล่งกำเนิดของทุกสรรพสิ่ง ประกอบกับเป็นไปไม่ได้ที่สาเหตุสัมบูรณ์จะแยกออกจากมูลเหตุของตนเอง ดังเช่นการแยกตัวของมูลเหตุออกจากสาเหตุสมบูรณ์นั้นก็เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าความจริงข้างต้นจะกล่าวถึงสาเหตุสมบูรณ์และมูลเหตุก็ตาม เนื่องจากการไม่เท่าเทียมพระเจ้าคือเกียรติยศแห่งการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้น จึงไมมีสิ่งมีอยู่ใดมีความใกล้ชิดในแง่ของการเชื่อมต่อกับพระองค์ อัลกุรอานกล่าว่า “และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้”[4]

วาญิบตะอาลากับสิ่งไม่คล้ายเหมือนมีความจีรังถาวร มั่นคงและมีความสูงศักดิ์ ซึ่งสรรพสิ่งที่มีอยู่ในการมีอยู่ของตนนั้น[5] มีความความสัมพันธ์ต่อเนื่อง หมายถึงถ้าไม่รู้จักสาเหตุสมบูรณ์ มูลเหตุก็จุไม่ถูกรู้จักเช่นกัน ดังนั้น ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อสรรพสิ่ง ก็เนื่องจากความใกล้ชิดของการมีอยู่ของพระองค์ไปยังสรรพสิ่งเหล่านั้น ก็เนื่องจากความใกล้ชิดในการมีอยู่ ไม่มีความใกล้ชิดใดที่จะใกล้ชิดยิ่งไปกว่านี้ เนื่องจากมีอยู่ในทุกที่ พระเจ้าทรงเป็นผู้เริ่มต้น ทรงเป็นผู้ประทาน และทรงยืนหยัดแก่มูลเหตุของตน[6]

ความใกล้ชิดของพระเจ้ากับสรรพสิ่ง :

ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อเรานั้น สามารถจัดแบ่งโองการอัลกุรอานได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้

1) โองการบางกลุ่มบ่งชี้ถึงรากที่มาของความใกล้ชิดว่า พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับเรา เช่น โองการที่กล่าวว่า : “และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้”[7]

2) โองการกุล่มที่สองบ่งชี้ให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ใกล้ชิดกับเรามากกว่าที่คนอื่นจะใกล้ชิด เช่น โอกงการที่กล่าวว่า : “ขณะที่สูเจ้ากำลังจ้องมองดูอยู่ (แต่ไม่อาจทำสิ่งใดได้)”[8]

3) โองการกลุ่มที่สาม แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร เป็นผู้ใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าเส้นหลอดเลือดแดง (คอ) ของเขาเสีย เช่น โองการที่กล่าวว่า : “แน่นอน เราได้บังเกิดมนุษย์มา และเรารู้ดียิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก”[9]

4) โองการกลุ่มที่สี่, บ่งชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ ยิ่งกว่าตัวของเขาเองเสียอีก เช่น โองการที่กล่าวว่า: บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงตอบรับอัลลอฮฺ และเราะซูลเถิด เมื่อเขาได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา[10]

การวิพากษ์เกี่ยวกับโองการ 3 กลุ่มแรกนั้นไม่ยากจนเกินไป แต่โองการกลุ่มที่สี่นั้นไม่ง่ายเลยที่เดียว เนื่องจากเป็นไปได้อย่างไรที่พระเจ้าทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าตัวของพวกเขาเสียอีก ?

ดังนั้น จะเห็นว่ามีนักอรรถาธิบายกุรอานบางท่าน ได้ตีความไปตามปรากฏภายนอกของโองการ เช่น กล่าวว่า จุดประสงค์ของประโยคที่ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา” ว่าบางครั้งมนุษย์ตัดสินใจกระทำงานบางอย่าง หลังจากนั้นพระเจ้าทรงทำให้เขาสำนึก ซึ่งพระองค์ไม่ทรงปล่อยให้เขากระทำไปตามการตัดสินใจนั้น[11]

นี้เป็นเพียงความหมายปานกลางเท่านั้นเอง แต่เป็นถ้าเรามีเหตุผลทางด้านสติปัญญาที่ตรงกับโองการ และมีเหตุผลอื่นที่สนับสนุนเอาไว้ ซึ่งเราจะไม่กล่าวอ้างดังที่ภายนอกของโองการได้กล่าวว่า: อัลลอฮฺทรงปล่อยช่องว่างระหว่างมนุษย์กับพระองค์ เนื่องจากการมีอยู่ของมนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาและภายในนั้นว่างเปล่า ทว่ามนุษย์ก็เหมือนกับสรรพสิ่งอื่นที่มีความเป็นไปได้และมีความว่างเปล่า ดังที่มัรฮูมกุลัยนี ได้กล่าวรายงานไว้ว่า : จากท่านอลีญะอฺฟัร (อ.) กล่าวว่า:

ان الله عزوّجل خلق ابن ادم اجوف

“แท้จริงอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ ทรงสร้างมนุษย์จากความว่างเปล่า[12]"

ขณะที่มนุษย์นั้นมีแต่ความว่างเปล่า ฉะนั้น ระหว่างมนุษย์กับตัวตนของมนุษย์มีการล้อมรอบการดำรงอยู่ มีช่องว่าง ดังนั้น  พระเจ้าจึงมีความใกล้ชิดยิ่งกว่าผู้ใดทั้งสิ้น และถ้าพระเจ้าทรงอยู่ใกล้ ก็หมายถึงคุณลักษณะทั้งหมดของพระองค์อยู่ใกล้ เองคุณลักษณะของพระองค์ก็คืออาตมันของพระองค์ และถ้าคุณลักษณะแห่งอาตมันปรากฏ[13] คุณลักษณะแห่งการกระทำก็จะตามคุณลักษณะแห่งอาตมันปรากฏด้วยและยังก่อให้เกิดผล[14]

แนวทางความใกล้ชิดกับพระเจ้าในมุมมองของปรัชญา :

คำถามพื้นฐานที่ถามเกี่ยวกับความใกล้ชิดคือ เราจะใกล้ชิดกับพระเจ้าและสถานภาพของพระองค์ได้อย่างไร พระเจ้าผู้ทรงเปี่ยมด้วยรัศมีและทรงสร้างท้องฟ้า แผ่นดิน และสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์, ซึ่งรัศมีนั่นเองที่ก่อให้เกิดการรังสรรค์ ดังนั้น เราจะเข้าใกล้พระองค์จากด้านใด และเราจะวิงวอนขอต่อพระองค์จากทิศทางใด

เป็นที่ชัดเจนว่า พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกรไม่ทิศทาง ไม่มีด้าน ทว่าพระองค์อยู่ในทุกที่ ไม่ว่าสูเจ้าจะไปหรือมาจากด้านไหนทิศทางใดก็สามารถใกล้ชิดกับพระองค์ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากพัฒนาจิตใจอยู่ระหว่างการเติมเต็มความสมบูรณ์ให้แก่ตัวตน เป็นการเดินทางจากสิ่งถูกสร้างไปสู่พระผู้สร้าง ซึ่งอยู่ในชั้นของเหตุผลและสติปัญญา ได้เข้าถึงตำแหน่งของวิทยปัญญา[15]โดยการกระทำ และวิทยปัญญาในเชิงของคุณาประโยชน์ เขาได้ต่อเชื่อมกับสติปัญญาสมบูรณ์ และรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งสิ้นสุดระยะทาง ณ เจ้าของแห่งความรู้ เขาได้ประดับตนด้วยพระนามและคุณลักษณะอันดีงามของพระเจ้า หมายถึง ได้เข้าถึงความจำเริญแล้ว และสถานภาพการมีอยู่ของเขาจะมีความแข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งในการสำแดงอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า ได้เป็นเจ้าของวิลายะฮฺตักวีนี และจากสภาพนี่เอง จิตวิญญาณของตนก็จะได้เข้าใกล้ชิด[16]

ความใกล้ชิดกับพระเจ้าในมุมมองของโองการและริวายะฮฺ:

เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงครอบคลุมและห้อมล้อมทุกสรรพสิ่งเอาไว้ [17] ดังนั้น จึงไม่เหมาะสมที่พระองค์จะห่างไกลจากสรรพสิ่ง ด้วยเหตุนี้ ความใกล้ชิดของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะประสงค์หรือไม่ก็ตามพระองค์ทรงใกล้ชิดเขา

ด้วยเหตุนี้ หากมนุษย์ต้องการใกล้ชิดกับพระเจ้า พร้อมกับต้องการให้สิ่งเหล่านี้บังเกิดขึ้นเขาจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อฟังปฏิบัติตาม และการกระทำความดีงามความใกล้ชิดกับพระเจ้าจึงจะเกิดขึ้น ดังที่ทานอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า "ความใกล้ชิดกับพระเจ้าจะไม่บังเกิดขึ้นเว้นเสียแต่ว่าต้องมีการเชื่อฟังปฏิบัติตาม" และในกรณีนี้หมาย วิลายะฮฺก็จะเริ่มต้นขึ้นหมายถึง ด้วยการช่วยเหลือ และด้วยความรัก การปฏิบัติภารกิจที่นำไปสู่ความใกล้ชิด เช่น นมาซ ดังที่รายงานกล่าวว่า “นมาซคือความใกล้ชิดสำหรับผู้ยำเกรงทุกคน”[18]  ส่วนซะกาตหรือทานบังคับดังที่กล่าวว่า

انّ الزکاة جُعلتْ مع الصلاة قُرباناّ

“แท้จริงซะกาตได้จัดไว้เคียงข้างนมาซซึ่งทั้งสองคือความใกล้ชิด”[19] สิ่งเหล่านี้คือแนวทางที่สร้างใกล้ชิดกับพระเจ้า และเมื่อความใกล้ชิดได้บังเกิดขึ้นเมื่อนั้นมนุษย์คือมิตรของพระเจ้า และพระเจ้าคือมิตรของมนุษย์ อัลกุรอานบางโองการ เช่น

ان کنتم تحبون اللَّه فاتّبعونى یحببکم اللَّه

“หากสูเจ้ารักอัลลอฮฺ ก็จงปฏิบัติตามฉัน อัลลอฮฺก็จะทรงรักสูเจ้า”[20] หรือความรักลักษณะนี้แต่เป็นความรักทั้งสองด้าน[21]

วิธีการปฏิบัติในหนทางความใกล้ชิด :

การกระทำใด ๆ ที่ตัวของมันมีคุณสมบัติในการสร้างความใกล้ชิดกับพระเจ้า และผู้ปฏิบัติได้กระทำสิ่งนั้นเพื่อพระเจ้า หมายถึงได้ทั้งผู้กระทำและงานที่ได้กระทำล้วนเป็นดีทั้งคู เหล่านี้คือการสร้างความใกล้ชิดกับพระเจ้าได้ดียิ่งขึ้น และถ้าบ่าวมีความใกล้ชิดกับพระเจ้าแล้ว เขาก็จะได้รับประโยชน์จากความใกล้ชิดนั้น ฉะนั้น การงานที่มีคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กล่าวคือ : การงานบางส่วนเหล่านั้นเป็นข้อบังคับเหนือตัว และบางส่วนเป็นการงานทีสมัครใจ ดังเช่น การก้าวไปสู่สวรรค์นั้นมีทั้งการกระทำที่เป็นข้อบังคับเหนือตัวและสมัครใจ เช่นเดียวกันการไปถึงยังตำแหน่งของความเป็นมนุษย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็มีทั้งการงานที่เป็นข้อบังคับเหนือตัวและด้วยความสมัครใจ  แต่สิ่งที่เป็นความสำคัญมากที่จะได้รับการพิจารณา ซึงอยู่ในฐานะที่เป็นข้อบังคับเหนือตัวคือ ความบริสุทธิ์ใจและการรู้จักการกระทำนั้น และถ้าเขารู้จักมากเท่าใดความบริสุทธิ์ใจในการกระทำของเขาก็จะมีมากยิ่งขึ้น อัลกุรอานถือว่า การแสดงความเคารพภักดีคือ สื่อสำคัญที่จะช่วยให้เรารู้จักและมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น ดังกล่าวว่า

و اعبد ربّک حتى یأتیک الیقین

“จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของเจ้า จนกว่าความเชื่อมั่นจะมาหาเจ้า”[22] แน่นอน, ที่มาของความสงบหรือเชื่อมั่นประเภทนี้มิได้เป็นเหตุนำไปสู่ความเชื่อมั่นในพระเจ้า เนื่องจากความเชื่อมั่นประเภทนี้คือแหล่งที่มาของการแสดงความเคารพภักดี มิใช่เป็นผลของการแสดงความเคารพภักดี หรือมาจากตำแหน่งมวลมิตรของพระเจ้า ทว่าความเชื่อมั่นเช่นนี้คือ การเชื่อมั่นในพระเจ้าพระผู้ทรงบริสุทธิ์ และคุณลักษณะทั้งหมดของพระองค์[23]  ส่วนโปรแกมที่เหลืออยู่เช่น จริยธรรมในหนทางใกล้ชิดกับพระเจ้า อยู่ในฐานะของ นาฟิละฮฺ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : เรื่องที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพระเจ้าทรงดำรัสแก่ดาวูด (อ.) ว่า โอ้ ดาวูดเอ๋ย ดังที่บุคคลที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคนใกล้ชิดกับพระเจ้ามากที่สุด ขณะที่คนที่หยิ่งจองหองคือ คนที่ห่างไกลจากพระเจ้ามากที่สุด[24] เป็นที่ชัดเจนว่าความอ่อนน้อมถ่อมตน การมีมารยาทอันดีงาม หรือการทำความดีคือแนวทางที่นำไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้า ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกฎของนาฟิละฮฺทั้งสิ้น ซึ่งรากที่มาและพื้นฐานคือ ความรักและความรู้จักที่มีต่อพระเจ้า และการแสดงความเคารพที่มีต่อพระองค์ ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า :

"یا ابا ذر اعبُد اللَّه کانک تراه فان کنت لا تراه فانّه یراک"

โอ้ อบาซัรเอ๋ย จงแสดงความเคารพภักดีอัลลอฮฺ ประหนึ่งเจ้าได้เห็นพระองค์ ดังนั้น แม้เจ้าไม่ได้เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงมองเห็นเจ้า[25] และแน่นอนว่าการแสดงความเคารพภักดีเช่นนี้ อยู่บนพื้นฐานของการรู้จัก ซึ่งถือเป็นอิบาดะฮฺที่ประเสริฐที่สุด



[1] นะฮฺญุลบะลาเฆาะ, คำเทศนา 186

[2] มาฮียัต หมายความถึงขอบเขตของการมีอยู่ ซึ่งเฉพาะเจาะจงสำหรับสรรพสิ่งที่มีขอบเขตจำกัด ขณะที่พระเจ้าทรงสัมบูรณ์นิรันดรและไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับพระองค์ ด้วยเหตุ พระองค์จึงไม่มีองค์รูป

[3] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, บทเทศนา 1

[4] อัลกุรอานบทบะเกาะฮฺ 168

[5] หมายถึงสรรพสิ่งมีอยู่ในโลกของความเป็นไปได้ในการมีอยู่นั้น ต้องมีความสัมพันธ์หมายถึง ไม่มีสิ่งใดมีความมีอิสระในการมีอยู่ของตน ซึ่งแก่นแท้ทั้งหมดของสิ่งเหล่านั้นคือการมีอยู่ของพวกเขา การมีอยู่ของพวกเขาเหมือกับเงา และไม่มีเงาใดที่มีตัวตน ซึ่งการมีอยู่ของเขาอยู่ขึ้นอยู่กับ ดัชนีทั้งหมดและ สิ่งมีชีวิตเรานอกเหนือจากผู้ทรงอำนาจในคำตัดสินที่เหมาะสมสำหรับเงามีทั้ง หมด แน่ นอนเช่นนี้ความต้องการร่มเงาเพื่อสร้างดัชนีและวัสดุอุปกรณ์ต่อพ่วงเรื่อง ดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวชี้วัด

[6] ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี ฮะซัน, นุซุซุลฮิกัมบัรฟุซูซุลฮิกัม, หน้า 496

[7] อัลกุรอานบทบะเกาะฮฺ 168

[8]  อัลกุรอานบทวากิอะฮฺ 85

[9]  อัลกุรอานบทก็อฟ 16

[10] อัลกุรอานบทอัลอันฟาล 24

[11]   อบูอะลี ฟัฎลิบนิ ฮะซัน, ตัฟซีรมัจญ์มะอุลบะยาน เล่ม. 4,หน้า 820

[12] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอ์กูบ, กาฟีย์, เล่ม 6, หน้า 282

[13] ประเภทคุณลักษณะของพระเจ้า : 1) คุณลักษณะซาตียะฮฺ : การรู้จักคุณลักษณะนี้เพียงแค่พิจารณาถึงซาตก็เพียงพอแล้ว เช่น คุณลักษณะความสามารถ ความรู้ และ ชีวิต ... " 2) ลักษณะกริยา : ลักษณะเหล่านี้หากจะพิจารณาเฉพาะซาตเพียงอย่างเดียวถือว่าไม่เพียงพอ ทว่าต้องพิจารณาซาตในฐานของกิริยาหรือก่อให้เกิดกิริยา เช่น การสร้างสรรค์ การดำรงชีพ และการประทานปัจจัย และการ ...".

[14] ญะวาด ออมูลี อับดุลลอฮฺ, ฮิกมะฮฺ อิบาดี, หมวยดที่ 7, หน้า. 213

[15] บรรดานักปราชญ์ได้แบ่งสติปัญญาไว้ 4 ระดังด้วยกัน กล่าวคือ : อันดับแรกสติปัญญาถูกสัมพันธ์ไปยังความเข้าใจทั้งหมดโดยพลัง ซึ่งเรียกว่าสติปัญญาส่วนนี้ว่าสติปัญญาแห่งการจินตนาการ อันดับที่สอง : สติปัญญาด้วยเหตุผลที่เคยชิน ในส่วนนี้สติปัญญาจะคิดถึงเหตุผล จินตนาการรูปภาพ และยืนยันถึงความเป็นจริง ส่วนที่สาม : สติปัญญาด้วยการกระทำ ในระดับนี้สติปัญญาจะใคร่ครวญถึงเหตุผลที่แท้จริงคือ การจัดอันดับความคิดของเหตุผลเพราะสติปัญญาส่วนสามารถเข้าใจถึงสัจพจน์ ส่วนทีสี่ : เรียกว่าสติปัญญามุสตะฟาด หมายถึงทั้งหมดซึ่งปรากฏชัดในความเข้าใจและทฤษฎีนั้นตรงกับโลกเบื้องบน (ราชอาณาจักร) และโลกด้านล่างเมื่อได้รับแล้วจึงใคร่ครวญและทำความเข้าใจ ในลักษณะที่ว่าทั้งหมดได้ปรากฏอยู่ ณ ตัวเอง และได้พิจารณาสิ่งนั้นด้วยกระกระทำ

[16] ฮะซันซอเดะฮฺ ออมูลี ฮะซัน, นุซุซุลฮิกัมบัรฟุซูซุลฮิกัม, หน้า 502

[17]  อัลกุรอานฟุซิลัต 54

[18] เชค ซะดูก, มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุล ฟะกีฮฺ, เล่ม 1, หน้า 637

[19] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, เฟฎุลอิสลาม คำเทศนา 190

[20] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน 31

[21] ญะวาด ออมูลี, อับดุลลา, วิลายะฮฺในกุรอานน, หน้า 57, สำนักพิมพ์อัสรอ

[22] อัลกุรอาน บทอัลฮิจญร์ 99

[23] ญะวาด ออมูลี, อับดุลลา, วิลายะฮฺในกุรอานน, หน้า 112

[24] เรย์,ชะฮฺรีย์ มุฮัมมัด (ซัยยิดฮุซัยนี ซัยยิดฮะมีด) มุนตะค็อบมีซานอัลฮิกมะฮฺ , รายงานที่ 5212

[25] มัจญ์ลิซซีย์ บิฮารุลอันวาร, เล่ม 77, หน้า 74

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    11130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8073 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7630 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    8358 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    9029 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    6159 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11771 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    8084 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6957 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6860 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60183 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42262 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39469 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38986 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28054 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28039 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27877 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25861 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...