การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6295
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4459 รหัสสำเนา 19922
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
คำถาม
เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
คำตอบโดยสังเขป

มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนัก ได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.)

ฉะนั้น เมื่อวิเคราะห์และนำคำว่ามัซลูมไปใช้กับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ก็จะได้รับบทสรุปว่า การถูกกดขี่ที่ได้ถูกวาดขึ้นสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มิใช่เป็นการถูกกดขี่อันเกิดจากความอ่อนแอ หรือท่านอิมามเป็นผู้ยอมรับการกดขี่นั้น, ทว่าเป็นการกดขี่ที่เปี่ยมไปด้วยเกียรติยศ ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านแต่อย่างใด ตามความเป็นจริงแล้วสำหรับการเล่าเรื่องหรือสาธยายถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมาม (.) ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงการถูกกดขี่และความอธรรมต่างๆ ที่ศัตรูได้กระทำกับท่านอิมาม และลูกหลานของท่าน. เป็นที่ชัดเจนว่าถ้าหากการจินตนาภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามเพื่อบรรยายถึงการอธรรมของศัตรูที่ได้กดขี่ท่าน ถือว่าเป็นที่ยอมรับ  อัลลอฮฺ ทว่าสิ่งนี้เป็นความจำเป็นเสียด้วยซ้ำไปที่ต้องกระทำ แต่ถ้าจุดประสงค์ของการจินตนาภาพการถูกกดขี่ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและการยอมรับการถูกกดขี่ของท่านอิมามแล้วละก็ ถือว่าการจินตนาภาพนั้นไม่ถูกต้องและเป็นฮะรอมแน่นอน

ด้วยเหตุนี้เอง, การได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) แสดงให้เห็นถึงการสาธยายภาพการกดขี่ต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม (.) ครอบครัว และสหายของท่านแล้ว ถือว่าสิ่งนี้ไม่มีความขัดแย้งกับเกียรติยศ และบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมามแต่อย่างใด, ทว่ายิ่งจะทำให้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของซัยยิดุชชุฮะดา และผู้ร่วมทางไปกับท่านนั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากจุดนี้เองเราจึงมีความเชื่อว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตามการจินตนาการภาพใบหน้าของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในฐานะมนุษย์ผู้ได้รับการกดขี่, ยังมีเหตุผลอื่นอีก, ซึ่งเป้าหมายก็เพื่อการฟื้นฟูและการตื่นตัวทางความคิดทั่วไปของประชาคมโลก และเป็นการเป่าประกาศความชั่วร้ายของศัตรู เพื่อให้สิ่งนี้เป็นประทีปชี้นำทางแก่เยาวชนรุ่นต่อไปในอนาคต

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนหน้าที่จะตอบคำถาม, จำเป็นต้องกล่าวเกริ่นก่อนว่า, หนึ่ง : มีรายงานจำนวนมากที่นำคำว่ามัซลูมไปใช้กับอิมามท่านอื่น, เช่น รายงานฮะดีซบทหนึ่งจากท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า: “... แน่นอน ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่าในเวลานั้น,ฉัน และอะลี, ฟาฏิมะฮฺ, ฮะซัน, ฮุซัยนฺ และบรรดาอิมามอีก 9 ท่านจากบุตรหลานของฮุซัยนฺ ซึ่งทั้งหมดคือ มัซลูม แห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน, และทั้งหมดจะได้รวมอยู่ในที่เดียวกัน[1]

สอง : ท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) ได้ใส่ใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยน (.) , กล่าวคือทั้งหมดจะกล่าวถึงการได้รับการกดถูกกดขี่ของท่านอิมาม ได้มีการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนั้น จนกระทั่งว่าพี่ชายของท่านคือ ท่านอิมามฮะซัน (.) ได้กล่าวถึงความสัตย์จริงที่จะเกิดกับท่านอิมามฮุซัยนฺว่า :

«لا یوم کیومک یا ابا عبد اللّه».

ไม่มีวันใดจะเหมือนวันของเจ้าอีกแล้ว โอ้ อะบาอับดิลลาฮฺเอ๋ย[2]

พวกเขาได้เติมคำว่ามัซลูมต่อท้ายนามของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.)[3] ดังนั้น จำเป็นต้องรับรู้ว่ามีรายงานฮะดีซบทหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (.) อัลกุรอานโองการ 33 บทอัลอิสรออฺ, ได้กล่าวถึงการได้รับการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.)[4] สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า การจินตนาภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ย่อมเป็นที่ยอมรับของท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาอิมามทั้งหลาย

เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าคำว่ามัซลูมได้ถูกกล่าวโดยบรรดาอิมาม โดยใช้คำนี้กับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ซึ่งท่านเหล่านั้นประสงค์ให้ใบหน้าแห่งการถูกกดขี่ของท่านอิมาม (.) ถูกจินตนาการเป็นภาพจริงขึ้นมา, แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาตรงนี้ก็คือความหมายตามประสงค์ จากการถูกกดขี่ของท่านอมามฮุซัยนฺ (.) ในคำพูดของบรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นคืออะไร? จากจุดนี้เอง เราจึงขอกล่าวว่า การถูกมัซลูมนั้นมี 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ :

1.การกดขี่ ที่เกิดกับท่านอิมามนั้น เราได้จินตนาให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือการยอมจำนนต่อการกดขี่ ซึ่งทำให้ท่านต้องถูกตัดขาดจากอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

2. การกดขี่ ที่เกิดกับอิมามนั้น เรามิได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ, ทว่าเป็นการบรรยายถึงโศกนาฏกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เราต้องกล่าวถึงการอธรรมของศัตรูที่มีต่ออิมาม ครอบครัว และสหายของท่าน

ดังเช่นที่ท่านชะฮีดมุรตะฎอ มุเฎาะฮะรียฺ ได้กล่าวถึงความหมายของการได้รับการกดขี่ว่า, คำๆ นี้มี 2 ความหมายด้วยกันกล่าวคือ : หนึ่งอธรรมแล้วสังหาร, สอง : การได้รับความอธรรม, มีมนุษย์ตั้งมากมายซึ่งมีความอ่อนแอด้านจิตใจภายใน, พวกเขาได้ยอมรับการกดขี่และเป็นผู้โน้มน้าวการอธรรมมาสู่ตน และยังมีชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชีวิตทรัพย์สินและสิทธิของเขาได้รับการกดขี่ข่มเหง, แต่มิได้เกิดจากความอ่อนแอภายใน, ทว่าเป็นเพราะพวกเขาได้รักษาสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าบุคลิกภาพและชีวิตของตน หรือสิทธิของพวกเขาได้รับการละเมิด,พวกเขามองเห็นความอธรรมที่เกิดขึ้น แต่อดทนอดกลั้น ดังเช่นที่อิมามอะลี (.) กล่าวว่า : ฉันจึงยอมอดทนทั้งที่ในดวงตาเต็มไปด้วยเศษขยะ และในลำคอมีกระดูกทิ่มติดอยู่[5] ซึ่งการถูกดขี่ของบรรดาอิมาม (.) นั้นอยู่ในประเภทที่สอง และโศกนาฏกรรมทั้งหลายที่ได้ประดังถาถมเข้ามานั้น ฉันได้อดทนอดกลั้น เนื่องจากเป็นเกียรติยศของมวลประชาชาติมุสลิม และศาสนาอิสลาม

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ การได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในความหมายที่ว่าเป็นการสาธยายถึงการกดขี่ต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านและเหล่าสหาย โดยท่านได้อดทนต่อสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ไม่ถือว่าการกระทำของท่านขัดแย้งกับศักดิ์ศรีและเกียรติยศอันสูงส่งของท่านแต่อย่างใด, ทว่ายิ่งเป็นการทำให้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของซัยยิดุชชุฮะดาและเหล่าสหายของท่านปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการสาธยายถึงการกดขี่ของศัตรู และการเผชิญหน้ากับศัตรูที่ท่านอิมามได้แสดงออก และการอธิบายถึงมุมมองของการกดขี่ที่ได้เกิดกับท่าน ยิ่งจะทำให้มองเห็นจิตวิญญาณอันแข็งแกร่งของเหล่าบรรดาลูกหลาน และเหล่าสหายของท่านอิมามว่าเป็นอย่างไร อยู่ในสภาพเฉกเช่นไร และพวกเขาได้ยืนหยัดต่อความอธรรมอย่างไร

อย่างไรก็ตามการจินตนาการภาพของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในฐานะของมนุษย์ผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหงนั้น ยังมีเหตุผลอื่นอีก ซึ่งสามารถกล่าวอธิบายได้ดังต่อไปนี้ :

1.โศกนาฏกรรมที่ได้เกิดก่อนชะฮาดัต[6] และโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังชะฮาดัต[7]อันเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีความโหดร้ายและหน้ากลัวอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมาก่อนในสมัยญาฮีลลียะฮฺ (ยุคทมิฬโง่เขลา)[8] อีกด้านหนึ่งความโหดร้ายและความทารุณกรรมเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับท่านอิมาม ที่เพียบพร้อมไปด้วยเกียรติยศและความประเสริฐ ซึ่งทุกสิ่งได้เกิดขึ้นภายในวันเดียว ดังนั้น ความอธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นยังมิเป็นพยานยืนยันอีกหรือ? และโดยตัวของมันแล้วมิได้แสดงให้เห็นถึงการได้รับการกดขี่ข่มเหงดอกหรือ?

2. เพื่อเป็นการปลุกความคิดของประชาคมโลกให้ตื่นขึ้นมา จำเป็นต้องกล่าวถึงความประเสริฐและสาธยายให้เห็นถึงการถูกกดขี่ และความอธรรมที่ศัตรูได้กระทำบนสิทธิของท่าน เพื่อว่าประชาชนจะได้มีปฏิกิริยาตอบโต้ เฉกเช่น การแสดงออกของมุคตาร ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจินตนาการภาพการได้รับการกดขี่ข่มเหงของท่านอิมาม ให้ประจักษ์แก่สายตา

3. การร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (.) หรือการไว้อาลัยในช่วงการเป็นชะฮาดัตของท่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับการสนับสนุส่งเสริมจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย, มุฮัมมัด บิน มุสลิมกล่าวว่า : ท่านอิมามบากิร (.) กล่าวว่า : ท่านอิมาม อะลี บิน ฮุซัยนฺ (.) กล่าวว่า : มุอฺมินทุกคนที่ได้ร่ำไห้หลั่งน้ำตาให้แก่การถูกสังหารของฮุซัยนฺ (.) อัลลอฮฺ จะประทานที่พำนักแก่เขาในสรวงสวรรค์ และเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นอย่างยาวนาน[9] และเนื่องจากว่าเขาได้หลั่งน้ำตาเพื่อโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) จึงไม่มีหนทางอื่นใดอีก นอกจากการสาธยายถึงความประเสริฐและความอธรรมกดขี่ข่มเหงทั้งหลายที่ได้เกิดกับท่านอิมาม, ในกรณีนี้สิ่งจำเป็นก็คือ การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามเพื่อสาธยายถึงการได้รับการกดขี่ของท่าน, ขณะที่การกดขี่เหล่านี้มิได้บ่งบอกให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือความไร้สามารถของท่านอิมามแต่อย่างใด ทว่าเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความกล้าหาญ และเกียรติยศของท่านอิมามเสียด้วยซ้ำ

4. การสาธยายถึงการได้รับการกดขี่ข่มเหงของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ซึ่งการกล่าวถึงความชั่วร้ายของศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) เท่ากับเป็นการจุดดวงประทีปแห่งทางนำไว้สำหรับเยาวชนรุ่นต่อไป, เพื่อว่าพวกเขาจะได้สามารถจำแนกแยกแยะได้ระหว่างผู้เป็นมิตรกับศัตรู, ด้วยเหตุนี้เอง การกล่าวรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) โดยเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และการจินตนาภาพของการถูกกดขี่ข่มเหงของท่านจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ

จากเหตุผลที่กล่าวอ้างมานั้นเข้าใจได้ว่า เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า การสาธยายหรือการจินตนาการถึงภาพการได้รับการกดขี่ข่มเหงของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในความหมายที่สอง[10]จึงเป็นที่ยอมรับ  อัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นเสียด้วยซ้ำ, แต่การจินตนาการภาพของการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในความหมายแรก[11] ซึ่งในบางที่ได้ตั้งใจกระทำ หรืออาจพลั้งเผลอกระทำสิ่งนี้ขึ้นมา, แน่นอน การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นบิดอะฮฺและฮะรอมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 



[1] มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 25, หน้า 7, สถาบันอัลวะฟาอฺ, เบรูต, เลบานอน, 1404 .. ดะวอนียฺ,อะลี,มะฮฺดียฺ เมาอูด,ฉบับแปล, เล่ม 13, บิฮารุลอันวาร, หน้า 1237, พิมพ์ครั้งที่ 28, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1378.

[2] อัซซะดูก, อัลอะมาลียฺ, หน้า 115

[3] มีกล่าวไว้เป็นจำนวนมากใน หนังสือซิยาเราะฮฺ, ดุอาอฺและฮะดีซ ซึ่งได้ใช้คำนี้ต่อท้ายนามของท่านอิมาม

[4] "مَن قُتِل‌َ مَظْلُومًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِیِّه‌ِ سُلْطاناً".และผู้ใดถูกฆ่าอย่างอยุติธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครองของเขา (ดำเนินคดีและลงโทษ)

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 3,มันชูรอต ดารุลฮิจญฺเราะฮฺ, กุม

[6] เช่น การเป็นชะฮีดของบรรดาบุตรหลาน, พี่น้อง, สหาย, และการทนต่อสภาพความหิวกระหายที่ได้เกิดกับท่าน เหล่าบรรดาเด็ก และสตรีทั้งหลาย

[7] เช่น การทำลายและการไม่ให้เกียรติต่อบรรดาลูกหลานที่อยู่ภายในค่ายที่พัก การไม่ให้เกียรติต่อศีรษะของท่านอิมาม ต่อครอบครัวของท่านทั้งในกูฟะฮฺ และชาม และ ...

[8] ท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวถึง โศกนาฏกรรมดังกล่าวไว้ว่า : มุฮัรรอม คือ เดือนซึ่งบรรดาญาฮิลลียะฮฺถือว่าการทะเลาะวิวาท และการนองเลือดในเดือนนี้เป็นสิ่งต้องห้ามและฮะรอม แต่บรรดาศัตรูได้หลั่งเลือดลูกหลานนบีภายในเดือนนี้ ได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเรา ได้จับเหล่าสตรีและลูกหลานของเราร้อยโซ่ตรวนเป็นเชลย” (บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44. หน้า 283, บาบ 34, ผลบุญแห่งการร้องไห้บนโศกนาฏกรรม ฮะดีซที่ 17.

[9] อันซอรียฺ มะฮัลลาตตียฺ, มุฮัมมัด ริฏอ, ษะวาบุลอะอฺมาล, ฉบับแปล, อันซอรียฺ, หน้า 163, พิมพ์ครั้งแรก, สำนักพิมพ์นะซีมเกาซัร, กุม ปี 1382.

[10] ความอธรรมกดขี่ที่ไม่ได้บ่งบอกให้เห็นถึงความอ่อนแอของท่านอิมาม, ทว่าเป็นการสาธยายถึงโศกนาฏกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม ครอบครัว และเหล่าสหาย จึงจำเป็นต้องเอ่ยถึงการอธรรมของศัตรูที่มีต่ออิมามและครอบครัว

[11] การกดขี่ข่มเหงที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ และการยอมจำนนต่อการอธรรม อันเป็นสาเหตุทำให้ท่านถูกตัดขาดความสัมพันธ์ ที่มีต่ออำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระผู้อภิบาล

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซนเคยจำแนกระหว่างอรับและชนชาติอื่น หรือเคยกล่าวตำหนิชนชาติอื่นหรือไม่?
    5542 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/10/11
    ฮะดีษที่อ้างอิงมานั้นเป็นฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)มิไช่อิมามฮุเซน(อ.) ฮะดีษกล่าวว่า "เราสืบเชื้อสายกุเรชและเหล่าชีอะฮ์ของเราล้วนเป็นอรับแท้ส่วนผองศัตรูของเราล้วนเป็น"อะญัม"(ชนชาติอื่น) ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่สายรายงานหรือเนื้อหาจะพบว่าฮะดีษนี้ปราศจากความน่าเชื่อถือใดๆทั้งสิ้นทั้งนี้เพราะสายรายงานของฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือ(เฎาะอี้ฟ)ปรากฏอยู่ส่วนเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษนี้นอกจากขัดต่อสติปัญญาแล้วยังขัดต่อโองการกุรอานฮะดีษมากมายที่ถือว่าอีหม่านและตักวาเท่านั้นที่เป็นมาตรวัดคุณค่ามนุษย์หาไช่ชาติพันธุ์ไม่ทั้งนี้ท่านนบีได้ให้หลักเกณฑ์ไว้ว่า "หากฮะดีษที่รายงานจากเราขัดต่อประกาศิตของกุรอานก็จงขว้างใส่กำแพงเสีย(ไม่ต้องสนใจ)"อย่างไรก็ดีเราปฏิเสธที่จะรับฮะดีษดังกล่าวในกรณีที่ตีความตามความหมายทั่วไปเท่านั้นแต่น่าสังเกตุว่าคำว่า"อรับ"และ"อะญัม"หาได้หมายถึงชาติพันธุ์เท่านั้นแต่ในทางภาษาศาสตร์แล้วสองคำนี้สามารถสื่อถึงคุณลักษณะบางอย่างได้สองคำนี้สามารถใช้กับสมาชิกเผ่าพันธุ์เดียวกันก็ได้อาทิเช่นคำว่าอรับสามารถตีความได้ว่าหมายถึงการ"มีชาติตระกูล" และอะญัมอาจหมายถึง"คนไร้ชาติตระกูล" ในกรณีนี้สมมติว่าฮะดีษผ่านการตรวจสอบสายรายงานมาได้ก็ถือว่าไม่มีปัญหาในแง่เนื้อหาทั้งนี้ก็เพราะเรามีฮะดีษมากมายที่ยกย่องชาติพันธุ์ที่ไม่ไช่อรับเนื่องจากมีอีหม่านอะมั้ลที่ดีงามและความอดทน ...
  • ท่านบิลาลแต่งงานหรือยัง? ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ท่านมีลูกหลานหรือไม่?
    8624 تاريخ بزرگان 2554/11/17
    ตำราประวัติศาสตร์กล่าวถึงการแต่งงานของบิลาลเอาไว้เช่นเล่าว่าท่านนบี (ซ.ล.)เสนอแนะและสนับสนุนให้ท่านแต่งงานกับสตรีผู้หนึ่งจากเผ่าบนีกะนานะฮ์[1]และบ้างก็กล่าวว่าท่านแต่งงานกับสตรีจากเผ่าบะนีซุฮเราะฮ์[2]อีกทั้งได้มีการกล่าวว่าท่านเดินทางพร้อมกับพี่ชายเพื่อไปสู่ขอหญิงชาวเยเมนคนหนึ่ง
  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    7241 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    7638 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6430 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10135 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    6783 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    13524 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • จะมีวิธีการจำแนก ระหว่างการกรุการมุสาหรือพูดจริง สำหรับบุคคลที่กล่าวอ้างถึงวะฮฺยู (อ้างการลงวะฮฺยูและการเป็นนบี) ได้อย่างไร?
    6730 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    1- วะฮฺยูในความหมายของคำหมายถึง "การถ่ายโอนเนื้อหาอย่างรวดเร็วอย่างลับๆ" แต่ในความหมายทางโวหารหมายถึง "การรับรู้ด้วยสติอันเป็นความพิเศษของศาสดาการได้ยินพระวจนะของพระเจ้าโดยไม่มีสื่อกลาง
  • อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
    9158 เทววิทยาใหม่ 2554/07/07
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59367 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56820 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38394 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38388 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33427 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27522 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27214 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27111 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25181 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...