Please Wait
8270
สัตยาบัน(บัยอัต)มีสองด้าน ด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตาม ในเมื่อท่านนบีเป็นผู้นำ จึงถือเป็นฝ่ายได้รับสัตยาบัน มิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบัน แน่นอนว่าฮะดีษนี้ต้องการจะสื่อว่า ลำพังการรู้จักอิมามยังไม่ถือว่าเพียงพอ แต่จะต้องเจริญรอยตามด้วย อย่างไรก็ดี ฮะดีษข้างต้นมิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.)เนื่องจากเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังจากท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่าน รายละเอียดโปรดคลิกอ่านจากคำตอบแบบสมบูรณ์
เพื่อความกระจ่าง จำเป็นต้องชี้แจงประเด็นต่อไปนี้
1. ความหมายของสัตยาบัน
2. สถานภาพของท่านนบี(ซ.ล.)ในสังคมมุสลิม
3. ฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ที่ระบุถึงความจำเป็นที่จะต้องรู้จักอิมาม(อ.)
หนึ่ง. ความหมายของสัตยาบัน:
บางคนเชื่อว่ามุบายะอะฮ์ (สัตยาบัน) มาจากคำว่า “บัยอ์”(ค้าขาย) ในภาษาอรับ เพราะการให้สัตยาบันต่อท่านนบีหรืออิมามมักจะกระทำโดยการจับมือกัน ซึ่งคล้ายคลึงกับกริยาของคู่ค้าที่มักจะจับมือกันขณะค้าขาย แต่ในความเข้าใจทั่วไป สัตยาบันหมายถึงการให้สัญญากับท่านนบีหรืออิมาม ในลักษณะที่จะเชื่อฟังในทุกเรื่องโดยไม่คัดค้านใดๆ[1]
สอง. สัตยาบันมีสองด้านเสมอ
ด้านหนึ่งคือผู้นำ(นบี,อิมาม) อีกด้านหนึ่งคือผู้ตาม และเนื่องจากท่านนบีเป็นผู้นำ ดังที่อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า “มุฮัมมัดหาได้เป็นบิดาของบุรุษคนใดในหมู่สูเจ้าไม่ ทว่าเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์และเป็นปัจฉิมศาสดา และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง”[2] ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเป็นฝ่ายควรได้รับสัตยาบัน มิไช่ฝ่ายที่ต้องให้สัตยาบัน ดังที่กุรอานกล่าวว่า “ผู้ที่ให้สัตยาบันต่อเจ้า แท้จริงพวกเขาให้สัตยาบันต่ออัลลอฮ์เท่านั้น และพระหัตถ์ของพระองค์อยู่เหนือมือของพวกเขา แต่หากผู้ใดผิดสัญญาย่อมเป็นภัยแก่ตัวเขาเอง ส่วนผู้ที่รักษาสัญญากับพระองค์ พระองค์จะทรงประทานรางวัลอันยิ่งใหญ่แก่เขาในไม่ช้า”[3] และยังตรัสอีกว่า “อัลลอฮ์ทรงพึงพอพระทัยในผู้ศรัทธาเมื่อพวกเขาให้สัตยาบันต่อเจ้าใต้ต้นไม้ พระองค์ทรงทราบดีภายในหัวใจของพวกเขา จึงได้ประทานความสงบแก่ดวงใจพวกเขา และทรงมอบชัยชนะอันใกล้ให้เป็นรางวัลแก่พวกเขา”[4]
สาม. มีฮะดีษในตำราฝ่ายชีอะฮ์สนับสนุนข้อคิดที่เรานำเสนอดังนี้ “ผู้ใดเสียชีวิตไปโดยไม่รู้จักอิมามแห่งยุคสมัยตน เท่ากับว่าตายไปในสภาพญาฮิลียะฮ์”[5] แน่นอนว่าฮะดีษนี้มิได้รณรงค์ให้รู้จักอิมามเพียงเท่านั้น แต่ยังเน้นย้ำให้ต้องเจริญรอยตามหนทางของท่านนบีและอิมามด้วย
สรุปคือ ฮะดีษที่ถามมามิได้หมายรวมถึงท่านนบี(ซ.ล.) เนื่องจากท่านเป็นฝ่ายรับสัตยาบัน มิไช่ผู้ที่ต้องให้สัตยาบัน
ส่วนประเด็นการแต่งตั้งตัวแทนภายหลังท่านนบีนั้น เรามีหลักฐานที่ชัดเจนระบุว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นตัวแทนภายหลังจากท่าน ซึ่งเราได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว สามารถคลิกอ่านได้ที่ระเบียนในเว็บไซต์ของเราดังต่อไปนี้:
ตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในคุฏบะฮ์เฆาะดีร,คำถามที่ 6822 (ลำดับในเว็บไซต์ 6909)
ทัศนะของผู้รู้ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เกี่ยวกับเฆาะดี้รคุม, คำถามที่ 6889
โองการที่สาม ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ (الیوم اکملت لکم دینکم) และเหตุการณ์เฆาะดี้ร,คำถามที่ 7445 (ลำดับในเว็บไซต์ 8258)
การแสดงเหตุผลของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับสิทธิแห่งเคาะลีฟะฮ์ที่พึงได้รับ,คำถามที่ 3021 (ลำดับในเว็บไซต์ 3657)
สังเขปเกี่ยวกับตำแหน่งอิมามของท่านอลี(อ.)ที่ปรากฏในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คำถามที่ 6437(ลำดับในเว็บไซต์ 6650)
ตำแหน่งอิมามของอิมามอลี(อ.) , คำถามที่ 7277(ลำดับในเว็บไซต์ 7554)
[1] มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร,มิรอาตุ้ลอุกู้ล ฟี ชัรฮิ อัคบาริ อาลิรเราะซู้ล,เล่ม 20,หน้า 352, ดารุ้ลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์,เตหราน,อิหร่าน,พิมพ์ครั้งที่สอง,ฮ.ศ.1404
[2] อัลอะห์ซาบ, 40
[3] อัลฟัตฮ์,10
[4] เพิ่งอ้าง,18
[5] ฮุร อามิลี,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 16,หน้า 146,สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์,กุม,ฮ.ศ.1409