Please Wait
6837
จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เอง โดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษ พระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์ พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่า อิสมุ้ลมักนูน หรืออิสมุ้ลมัคซูน อีกด้วย
คำว่า "อิสตีษ้าร" แปลว่าการเลือกเฟ้นเพื่อตนเอง ส่วนคำว่า "มุสตะอ์ษิเราะฮ์" แปลว่าสิ่งที่ได้รับการเลือกสรร
ท่านรอฆิบ อิศฟะฮานีกล่าวไว้ในหนังสืออัลมุฟร่อด้าตว่า "อัลอิสตีษ้าร คือการเจาะจงสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ตนเอง[1]" ส่วนหนังสือบิฮารุลอันว้ารระบุว่า "การอิสตีษ้ารสิ่งใดสิ่งหนึ่งหมายถึงการเจาะจงสิ่งนั้นเพื่อตนเอง"[2]
ฮะดีษหลายบทอธิบายว่าอัสมาอ์(พระนาม)ที่เป็นมุสตะอ์ษิเราะฮ์คือด้านเร้นลับของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมที่ไม่มีใครหยั่งรู้ ท่านอิมามบากิร(อ.)กล่าวไว้ว่า "เจ็ดสิบสองอักขระของอิสมุลอะอ์ซ็อมอยู่ ณ เรา(อะฮ์ลุลบัยต์หยั่งรู้) มีเพียงอักขระเดียวที่เหลืออยู่ ณ อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงสงวนไว้ (ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้)[3]
และเนื้อหาฮะดีษในหมวด"การจุติขึ้นของพระนาม" ในหนังสืออุศูลกาฟีบ่งชี้ว่า พระนามประเภทมุสตะอ์ษิ้ร หรือที่เรียกกันว่า"มักนูน"และ"มัคซูน"นั้น ก็คือด้านเร้นลับของปฐมนามของพระองค์ พระนามประเภทนี้มีทั้งด้านแห่งการจำกัดในฐานะที่เป็นพระนาม และมีทั้งด้านเร้นลับในฐานะที่เป็นฐานสนับสนุนให้พระนามอื่นๆเผยอย่างชัดเจน [4]
ด้วยเหตุนี้ ท่านอิมามโคมัยนีจึงกล่าวอธิบายเกี่ยวกับระดับชั้นของอิสมุ้ลอะอ์ซ็อมไว้ว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รคืออิสมุ้ลอะอ์ซ็อมในระดับเร้นลับ ท่านกล่าวว่า "อิสมุ้ลอะอ์ซ็อมโดยลักษณะอันเร้นลับที่ไม่มีใครหยั่งรู้นอกจากพระองค์แล้ว หมายถึงอักขระที่เจ็ดสิบสามที่พระองค์ทรงทราบแต่เพียงองค์เดียว"[5]
ตำรับตำราด้านอิรฟานสอนว่า จากการที่ระดับความเร้นลับของอาตมันพระองค์มีสูง จึงจำเป็นต้องมีสื่อกลางในการเผยเป็นพระนามและคุณลักษณะภายนอก สื่อกลางที่เผยความไพบูลย์ของพระองค์เหล่านี้มีสองด้าน ก. ด้านที่เชื่อมโยงกับความเร้นลับของอาตมันพระองค์ซึ่งเป็นด้านแห่งความเร้นลับ ข. ด้านที่เชื่อมโยงกับพระนามซึ่งเป็นมิติที่ชัดเจนและเผยในรูปของพระนาม[6]
อิมามโคมัยนีขนานนามสื่อกลางที่เผยสู่พระนามของอัลลอฮ์ว่า "เคาะลีฟะฮ์ของพระองค์" และ "หลักแห่งเคาะลีฟะฮ์" ส่วนตำราด้านอิรฟานได้ขนานนามว่าเป็น "เอกานุภาพที่แท้จริง" ส่วนภาคจำแนกที่เกิดกับพระองค์เมื่อพิจารณาถึงเอกานุภาพดังกล่าวเรียกว่า "ภาคจำแนกปฐมภูมิ" หรือ "สัจธรรมแห่งมุฮัมมัด"[7] ภาคจำแนกขั้นแรกที่เป็นฐานสำหรับการเผยพระนามของพระองค์ให้พ้นจากมิติลี้ลับก็คือ เอกานุภาพอันไร้เงื่อนไข หรือเอกานุภาพที่แท้จริงนั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะแห่ง "อะฮะดียัต"จากด้านมิติลี้ลับ และเป็น "วาฮิดียัต"หรือมิติแห่งการเผยพระนามจากด้านที่เปิดเผย และสถานะอะฮะดียัตแห่งอาตมันซึ่งเป็นด้านลี้ลับของภาวะจำแนกปฐมภูมิของพระองค์ก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รนี่เอง[8]
ส่วนที่ว่าเป็นมุสตะอ์ษิ้ร(ได้รับเลือก)หมายความว่าอย่างไร? การที่พระนามเหล่านี้ได้รับเลือก แสดงว่ามิได้เผยให้ประจักษ์ หรือมีภาพลักษณ์ที่รับรู้ได้กระนั้นหรือ? หรือหมายความว่าภาพลักษณ์ของพระนามเหล่านี้ก็ได้รับเลือกเสมือนตัวพระนาม ซึ่งไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้
โดยทั่วไปแล้ว นักอาริฟถือว่าพระนามมุสตะอ์ษิ้รเป็นพระนามที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งไม่มีร่องรอยใดๆ ตลอดจนไม่มีภาพลักษณ์ใดๆในโลก
ศ็อดรุดดีน กูนะวี ได้จำแนกพระนามทางอาตมันของพระองค์ไว้สองส่วนในหนังสือ มิฟตาฮุ ฆ็อยบิ้ลญัมอิ วั้ลวุญูด"ดังนี้
ส่วนแรกมีร่องรอยและภาพลักษณ์ในโลก ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเผยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บำเพ็ญความดี หรืออาจจะปรากฏแก่นักอาริฟผู้แก่กล้าในระหว่างเห็นนิมิตรชุฮู้ด
พระนามทางอาตมันประเภทที่สองก็คือพระนามที่ไม่ปรากฏร่องรอยใดๆในโลก ทำให้ไม่มีผู้ใดสามารถประจักษ์ได้ และพระนามประเภทนี้แหล่ะที่เรียกว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้ร[9] แม้ไม่ปรากฏในโลก แต่ลักษณ์ของพระนามเหล่านี้มีอยู่ในชั้นแห่งอะอ์ยาน ษาบิตะฮ์ (ชั้นแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ตามทัศนะของนักอาริฟ) ด้วยเหตุนี้เองที่เราเรียกลักษณ์ในชั้นดังกล่าวว่า "มุมตะนิอ้าต"
ความหมายของมุมตะนิอ์ในแวดวงอิรฟานกว้างกว่าแวดวงปรัชญาเมธี ตามทัศนะของนักอาริฟแล้ว มุมตะนิอ้าตหมายถึงลักษณ์ที่ไม่เผยให้ประจักษ์แม้จะมีอยู่จริงในชั้นแห่งอะอ์ยาน ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้มข้นเชิงการมีอยู่ (ดังกรณีลักษณ์ของพระนามมุสตะอ์ษิ้ร) หรืออาจเป็นเพราะไม่อาจจะเกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงได้ (เช่นการผนวกสองสิ่งที่หักล้างสุดขั้ว)
ส่วนมุมตะนิอ์ในมุมของปรัชญาเมธีหมายถึงประเภทที่สองเท่านั้น[10] จากทัศนะดังกล่าวทำให้ทราบว่า เนื่องจากพระนามเหล่านี้เบนไปสู่ภาวะลี้ลับ จึงไม่เผยหรือมีภาพลักษณ์ใดๆภายนอก ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ และยังคงเป็นที่เลือกสรรของพระองค์ดังเดิม
การใช้พระนามมุสตะอ์ษิ้รเพื่อสื่อถึงอาตมันของพระองค์
อิมามโคมัยนีได้อธิบายประโยคหนึ่งในดุอาสะฮัรที่ว่า اللهم انی اسئلک من اسمائک باکبرها โดยเกริ่นไว้ก่อนว่า"พระนามและคุณลักษณะของพระองค์เปรียบเสมือนฉากกั้นอาตมัน ซึ่งอาตมันพระองค์จะเผยปรากฏด้วยช่องทางแห่งพระนามและคุณลักษณะต่างๆเท่านั้น ส่วนในมุมลี้ลับแล้ว พระองค์ปราศจากซึ่งพระนามหรือการตั้งพิกัดใดๆทั้งสิ้น" แล้วท่านอิมามโคมัยนีก็กล่าวว่า "หนึ่งในข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คือ หมายถึงสถานะอาตมันอันลี้ลับนั่นเอง ส่วนที่เรียกว่าพระนามก็เพราะอาตมันของพระองค์นั่นแหล่ะ ที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับอาตมันเอง[11]
ท่านประพันธ์ตำราอธิบายหนังสือ "มิศบาฮุ้ลอุ้นซ์" หลังจากทัศนะของกูนะวีว่าด้วยการจำแนกพระนามทางอาตมัน และการที่พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากซึ่งภาพลักษณ์ใดๆ ท่านอิมามได้ยกทัศนะของอาจารย์ของท่าน (อายะตุลลอฮ์ ชอฮ์ออบอดี)ว่า "สังเขปทัศนะของกูนะวีก็คือ พระนามมุสตะอ์ษิ้รปราศจากภาพลักษณ์ใดๆในโลก ส่วนอาจารย์อาริฟผู้สมบูรณ์ของเรากล่าวว่า พระนามมุสตะอ์ษิ้รก็คืออาตมันเชิงอะฮะดีดั้งเดิมของพระองค์ เนื่องจากอาตมันของพระองค์จะเป็นบ่อเกิดของพระนามด้วยกับภาวะจำแนก แต่อาตมันที่ปราศจากภาวะจำแนกย่อมไม่รองรับการเผยพระนาม ส่วนการใช้คำว่าพระนามกับอาตมันก็เป็นการกล่าวอย่างอนุโลมเท่านั้น มิไช่การกล่าวระบุอย่างจริงจัง[12]
ประเด็นที่เกี่ยวกับพระนามมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์ถือเป็นประเด็นระดับสูงของวิชาอิรฟาน ซึ่งจะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อมีพื้นฐานด้านอิรฟานและปรัชญาเสียก่อน
หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่านบทความ ภาวะเผยของพระนามมุสตะอ์ษิ้รในทัศนะของอิมามโคมัยนี เขียนโดย ซัยยิดกิวามุดดีน ฮุซัยนี นิตยสารมะตีน ฉบับที่ห้า
[1] รอฆิบอิศฟะฮานี,อัลมุฟเราะด้าต ฟีเฆาะรออิบิ้ลกุรอาน,หน้า 10
[2] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 85, ฮะดีษที่ 1, หน้า 255
[3] อุศู้ลกาฟีย์,เล่ม 1, บทว่าด้วยฮุจญัต, หน้า 334, หมวด ما اعطی الائمه - علیهم السلام – من اسم الله الاعظم :
و نحن عندنا من الاسم الاعظم اثنان و سبعون حرفا و حرف واحد عند الله تعالی استأثر به فی علم الغیب عنده นักตัฟซี้รมักจะยกฮะดีษนี้มาเพื่ออธิบายโองการ قال الذی عنده علم من الکتاب ดู: บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 27, ใต้หมวดว่าด้วย ان عندهم الاسم الاعظم به یظهر منهم الغرایب โดยอ้างถึงฮะดีษเหล่านี้ไว้
[4] อุศูลกาฟีย์, เล่ม1, บทว่าด้วยฮุดูษุสสะมาอ์,หน้า 152, " عن ابیعبدالله(ع) قال: ان الله تبارک و تعالی خلق اسما... فجعله کلمة تامة علی اربعة اجزاء معا لیس منها واحد قبل الآخر، فاظهر منها ثلاثة اسماء لفاقة الخلق الیها و حجب منها واحدا و هو الاسم المکنون المخزون... و هذه الاسماء الثلاثة ارکان و حجب الاسم الواحد المکنون المخزون بهذه الاسماء الثلاثة
[5] อรรถาธิบายดุอาสะฮัร,อิมามโคมัยนี,แปลโดยซัยยิดอะหมัด ฟะฮ์รี, หน้า 11, " اما الاءسم الاءعظم بحسب الحقیقة الغیبیة التی لایعلمها الا هو و لا استثناء فیه، فبالاعتبار الذی سبق ذکره، و هو الحرف الثالث و السبعون المستاثر فی علم غیبه
[6] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 16-17, ان الاسماء و الصفات الالهیة ایضا غیر مرتبطة بهذا المقام الغیبی بحسب کثراتها العلمیة غیر قادرة علی اخذ الفیض من حضرته بلاتوسط شیء... فلابد لظهور الاسماء و بروزها و کشف اسرار کنوزها من خلیفة الهیة غیبیة یستخلف عنها فیالظهور فیالاسماء و ینعکس نورها فی تلک المرایا... هذه الخلیفة الالهیة و الحقیقة القدسیه التی هی اصل الظهور لابد ان یکون لهاوجه غیبی الی الهویة الغیبیة ولایظهر بذلک الوجه ابدا، و وجه الی عالم الاسماء والصفات بهذا الوجه یتجلی فیه
[7] อัลก่อวาอิ้ด, ศออินุดดีน อลี อัตตัรกะฮ์,หน้า 79
[8] อัรริซาละฮ์ อัตเตาฮีดียะฮ์,อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอี,หน้า 47
[9] มิศบาฮุลอุ้นส์,มุฮัมมัด บิน ฮัมซะฮ์ อัลฟะนารี,หน้า 14 บทที่สี่ จากบทฟาติฮะห์
[10] อารัมภบทก็อยซะรีเพื่ออธิบายฟุศูศุ้ลฮิกัม, ดาวู้ด บิน มุฮัมมัด ก็อยซะรี, หน้า18-19 و هی الممتنعات قسمان، قسم یختص بفرض العقل ایاه کشریک الباری و قسم لایختص بالفرض، بل هی امور ثابتة فی نفس الامر، موجودة فی العلم، لازمة لذات الحق، لانها صور للاسماء الغیبیة المختصة بالباطن من حیث هو ضد الظاهر، او للباطن وجه یجتمع مع الظاهر و وجه لا یجتمع معه... و تلک الاسماء هی التی قال(رض) فی فتوحاته و اما الاسماء الخارجه عن الخلق و النسب فلایعلمها الا هو، لانه لا تعلق لها بالاکوان و الی هذه الاسماء اشار النبی(ص) او استاثرت به فی علم غیبک
[11] มิศบาฮุ้ลฮิดายะฮ์ อิลัล คิลาฟะฮ์ วัลวิลายะฮ์, อิมามโคมัยนี, หน้า 114-115 هذا فان اشرت باطلاق الاسم فی بعض الاحیان علی هذه المرتبه التی هی فی عماء و غیب کما هو احد الاحتمالات فی الاسم المستاثر فی علم غیبه، کما ورد فی الاخبار و اشار الیه فی الاثار الذی یختص بعلمه الله، و هو الحرف الثالث و السبعون من حروف الاسم الاعظم المختص علمه به - تعالی - فهو من باب ان الذات علامة للذات، فانه علم بذاته لذاته
[12] อธิบายหนังสือมิศบาฮุลอุ้นส์,อิมามโคมัยนี, หน้า 218 قال شیخنا العارف الکامل - دام ظله - ان الاسم المستاثر هو الذات الاحدیة المطلقه، فان الذات بما هی متعینه منشا للظهور دون الذات المطلقه، ای بلا تعین، و اطلاق الاسم علیه من المسامحة و الظاهر من کلام الشیخ و تقسیمه، الاسماء الذاتیه الی ما تعین حکمه و ما لم یتعین، انه من الاسماء الذاتیة التی لامظهر لها فی العین