การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9076
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1004 รหัสสำเนา 17848
คำถามอย่างย่อ
จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
คำถาม
เพราะเหตุใดดนตรีจึงฮะรอม?
คำตอบโดยสังเขป

ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์

ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆ

เมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอม

เหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งโองการอัลกุรอานประกอบด้วย โองการที่ 72 บทฟุรกอน, โองการที่ 30 บทฮัจญฺ, โองการที่ 3 บทมุอฺมินูน, และโองการที่ 6 บทลุกมาน, ซึ่งบรรดาอิมาม (อ.) ได้อธิบายความหมายของโองการเหล่านั้นไว้ว่า วัตถุประสงค์ของคำว่า “เกาลุนซุร” “ละฮฺว์” และ “ลัฆวี” ในโองการหมายถึง “ฆินา” เสียงดนตรี

นอกจากนั้นยังมีรายงานฮะดีซที่พิสูจน์ว่า เสียงดนตรีฮะรอม, และรายงานฮะดีซอีกกลุ่มหนึ่งที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ดนตรี และการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นฮะรอม, ซึ่งรายงานเหล่านี้ได้พิสูจน์ให้แล้วว่าเครื่องดนตรีบางประเภทฮะรอม

จากคำกล่าวที่ว่า ฆินา หมายถึงเสียงเพลงหรือเสียงที่ลากให้ยาว หรือใช้กับทุกการเปล่งเสียงร้อง, ด้วยเหตุนี้เองบรรดาฟุเกาะฮาส่วนใหญ่จึงถือว่า ความไร้สาระ นั่นเองทีเป็นเงื่อนไขของการเป็นฮะรอมของเสียงเพลง นอกจากนั้นบางท่านยังได้เสริมว่าแม้แต่ความดึงดูดใจของเสียงเพลงก็เป็นฮะรอมด้วย, และส่วนเสียงดนตรีก็เช่นกัน บรรดานักปราชญ์ส่วนใหญ่ถือว่าเป็นความไร้สาระประเภทหนึ่ง และเป็นฮะรอมด้วยเหมือนกัน นอกจากนั้นเสียงดนตรีที่ดึงดูดใจก็ถือว่าฮะรอมเหมือนกัน

คำตอบเชิงรายละเอียด

1.คำอธิบายความเข้าใจเสียงดนตรี :

คำว่า “มิวสิก” หรือ “มิวสิกิยา” เป็นคำพูดที่มาจากกรีก ซึ่งในสารานุกรมเทียบได้ตรงกับคำว่า ฆินา ส่วนในความเข้าใจด้านศาสนาหรือนิยามทางวิชาฟิกฮฺ,มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา ในคำจำกัดความของชัรอียฺหมายถึง การร้องโดยเปล่งเสียงออกมาจากลำคอ มีการเอื้อน หรือเล่นลูกคอไปตามจังหวะ สร้างความรื่นรมและความหรรษาให้แก่ผู้ฟัง ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมเพื่อคร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์, ส่วนเสียงดนตรีนั้นหมายถึงเสียงที่เกิดจากการดีดสีตีเปล่าเครื่องดนตรี, บนพื้นฐานดังกล่าวนี้, ความสัมพันธ์ระหว่างมิวสิกที่รู้จักกันโดยทั่วไปกับมิวสิกทางฟิกฮฺ, อุมูลวะคุซูซมุฎลัก[1]

2. วิทยปัญญาการฮะรอมของเสียงดนตรีและเพลง

ถ้าหากพิจารณษอัลกุรอาน บางโองการ รายงานบางบท และคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน สามารถกล่าวได้ว่าประเด็นดังต่อไปนี้คือวิทยปัญญาการเป็นฮะรอมของเสียงดนตรีและเพลง :

ก. การโน้มน้าวมนุษย์ไปสู่การทำความชั่วอนาจาร :

รายงานฮะดีซจากท่านนบี (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “เสียงเพลงคือบันใดก้าวไปสู่การซินา”[2] ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนจำนวนมากมายได้ละทิ้งความสำรวมตน ไปสู่การก่อกรรมชั่วเนื่องจากอิทธิพลของเสียงเพลง. ห้องดนตรีส่วนใหญ่คือศูนย์กลางของความชั่วร้ายอนาจาร[3]

ข.เสียงเพลงทำให้มนุษย์ลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ :

อัลกุรอาน กล่าวว่า :“มนุษย์บางกลุ่มซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อหลอกลวงผู้คนที่ปราศจากความรู้ให้หลงออกจากทางของอัลลอฮฺ ถือเอาโองการของพระเจ้าเป็นเรื่องขบขัน พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ”[4]  อัลกุรอาน โองการนี้กล่าวถึงตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์หลงทางไปจากแนวทางของอัลลอฮฺ นั่นคือ “ละฮฺวุลฮะดีซ” คำว่า ละฮฺวุน หมายถึงสิ่งที่โน้มนำมนุษย์ให้หมกมุ่นกับตัวเอง จนเป็นสาเหตุทำให้หลงลืมและต้องละทิ้งการงานที่สำคัญ ซึ่งรายงานฮะดีซอธิบายว่าสิ่งนั้นหมายถึง เสียงเพลง[5]

ค. ผลที่ไม่ดีของเสียงเพลงและดนตรีที่มีต่อสภาพจิตใจและประสาท :

เสียงเพลงและเสียงดนตรีเป็นหนึ่งในยาเสพติดที่มอมเมาและทำลายระบบประสาท “ถ้าพิจารณาชีวประวัติของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงบ่งบอกให้เห็นว่า ในช่วงชีวิตได้รับความทุกข์ทางจิตใจ,ซึ่งระบบประสาทของตนค่อยๆ หายไปที่ละน้อย และบางกลุ่มได้รับความทุกข์ทรมานและมีอาการป่วยทางจิต หรือบางกลุ่มได้สูญมือ, บางกลุ่มเป็นอัม

ง.ดนตรีคือสื่อและเป็นเครื่องมือของนักล่าอาณานิคม

นักล่าอาณานิคม บนโลกนี้ส่วนใหญ่แล้วมีความหวาดกลัวต่อการตื่นตัวของประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน, ด้วยเหตุนี้เองหนึ่งในนโยบายอันกว้างใหญ่ของพวกล่าอาณานิคมคือ การทำให้สังคมจมดิ่งปราศจากข่าวสารและข้อมูล ขณะเดียวกันก็มอมเมให้สังคมหมกมุ่นอยู่กับสิ่งไร้สาระ และเป็นพิษต่อสังคมอาทิเช่น การส่งเสริมเสียงเพลงและดนตรีให้ยิ่งใหญ่, พวกเขาได้จัดทำเครื่องดนตรีที่สำคัญเพื่อมอมเมาความคิดของประชาชนให้หมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้น[6]

3.มีหลายประเด็นที่ถูกกล่าวถึงวิทยปัญญาของการฮะรอมของเสียงเพลงและดนตรี ซึ่งมิใช่เหตุผลสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้เอง,ในบางประเด็นที่ผลของดนตรีไม่ฮะรอม แต่ก็ยังมีกฎเกณฑ์ที่ฮะรอม

4. เหตุผลหลักที่เสียงเพลงและดนตรีฮะรอม (หรือฮะลาลบางประเภท) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการพิจารณาและวิเคราะห์โดยฝ่ายนิติศาสตร์อิสลามแล้ว ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น อาทิเช่น

ก. โองการอัลกุรอาน แม้ว่าจะไม่ได้อธิบายถึงเสียงเพลงและดนตรีโดยตรงก็ตาม เฉกเช่น บทบัญญัติที่ได้กล่าวถึงหลักสำคัญและหลักทั่วไปเอาไว้, แต่บางโองการซึ่งได้รับการตีความไว้โดยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งได้ตีความเทียบตรงกับเพลงและดนตรี,ซึ่งจะขอนำเสนอสักสองสามโองการดังต่อไปนี้ :

1. ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวอธิบายโองการที่กล่าวว่า “และบรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ”[7] “พวกเขาหลีกเลี่ยงคำพูดไร้สาระ”[8] โดยกล่าวว่า “วัตถุประสงค์หมายถึงงานเลื้ยงที่ไร้สาระและเสียงเพลง”[9]

2.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงโองการที่กล่าวว่า “และพวกเขาที่เป็นผู้ผินหลังให้เรื่องไร้สาระต่าง ๆ”[10] โดยกล่าวว่า “วัตถุประสงค์จากเรื่องไร้สาระต่างๆ” ของโองการข้างต้นหมายถึง ดนตรีและสิ่งไร้สาะทั้งหลาย”[11]

3.ท่านอิมามบากิร (อ.) และอิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึงโองการที่กล่าวว่า “มนุษย์บางกลุ่มซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อหลอกลวงผู้คนที่ปราศจากความรู้ให้หลงออกจากทางของอัลลอฮฺ ถือเอาโองการของพระเจ้าเป็นเรื่องขบขัน พวกเขาจะได้รับการลงโทษอันอัปยศ”[12] โดยกล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของคำพูดไร้สาระคือ เพลง”[13]

ประเด็นสำคัญ : แม้ว่ารายงานส่วนใหญ่และโองการที่กล่าวมาจะไม่ได้กล่าวถึงเพลงโดยตรง แต่บางรายงานก็ได้กล่าวถึงเพลงโดยตรงก็มี[14] บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายถือว่าบางโองการเหล่านี้บ่งชี้ถึงเรื่องเพลงและดนตรี[15]

ข) เหตุผลที่สำคัญที่สุดเรื่องดนตรีฮะรอม,คือรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ที่ได้ตกทอดมาถึงเรา และรายงานเหล่านั้นได้บ่งบอกให้เห็นว่า ดนตรีเป็นฮะรอม ซึ่งจะขอหยิบยกบางรายงานมากล่าวในที่นี้ อาทิเช่น :

ท่านอิมามบากิร (อ.) กล่าวว่า : “ดนตรีคือสิ่งหนึ่งซึ่งอัลลอฮฺทรงจุดไฟนรกเตรียมไว้แล้ว”[16] ท่านอิมามมซอดิก (อ.) กล่าวว่า “จงออกห่างจากเสียงดนตรี”[17]

ค) เกี่ยวกับการเป็นฮะรอมของเสียงเพลง มีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ซึ่งจะขอหยิบยกบางรายงานมากล่าวในที่นี้ อาทิเช่น :

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : “ชิ้นส่วนอุปกรณ์และเสียงเป็นการงานของชัยฎอน ดังนั้น ทุกสิ่งบนพื้นดินถ้ามีของประเภทนี้ ถือว่ามาจากชัยฏอนมารร้าย”[18] ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “ฉันขอสั่งห้ามพวกเจ้าจากชิ้นส่วนอุปกรณ์และเสียงเพลง”[19]

ง) จากการอธิบายที่กล่าวถึงคำว่า ฆินา หมายถึง “การลากเสียงยาว” ทว่าหมายถึงทุกเสียงที่เปล่งร้องทำนองออกไป[20] ท่านเชคอันซอรีย์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าไม่มีสิ่งใดเป็นฮะรอม”[21] ด้วยเหตุนี้เองบรรดานักปราชญ์จึงถือว่า “ความไร้สาระ” คือเงื่อนไขสำคัญที่ว่าดนตรีเป็นฮะรอม กล่าวคือ ดนตรีไร้สาระและเป็นฮะรอม.[22]

คำว่า “ละฮฺวุน” ได้ให้ความหมายว่าสื่อที่นำไปสู่การลืมรำลึกถึงพระเจ้า และการจมดิ่งไปสู่ความหยาบคาย[23] กล่าวว่า เสียงเพลงคือการร้องลำนำที่ฮะรอม เหมาะสมกับงานชุมนุมที่ไร้สาระ อนาจาร ปล่อยตัวปล่อยใจเพื่อแสวงความสุขชนิดไร้สาระ[24]

นักปราชญ์บางท่านนอกจากจะถือ ความไร้สาระ แล้วยังได้เพิ่มเรื่อง การประเทืองอารมณ์ เข้าไปอีก[25] ความหรรษาหรือประเทืองอารมณ์ เป็นสภาพหนึ่งที่เกิดจากผลของการได้ยินเสียงขับร้อง หรือเสียงดนตรีที่ฝังเข้าไปในจิตใจ และทำให้เขาออกนอกความสมดุลของตัวเอง ส่วนเรื่องเสียงดนตรี (เสียงที่เกิดจากการดีดสีตีเป่าเครื่องดนตรี) ก็เช่นเดียวกันนักปราชญ์ส่วนใหญ่ถือว่า ถ้าเป็นเรื่องไร้สาระแล้วละก็ เป็นฮะรอมทั้งสิ้น และบางคนยังถือว่า การฟังเสียงดนตรีที่ก่อให้เกิดความหรรษาและประเทืองอารมณ์แล้วเป็น ฮะรอม[26]

ประเด็นสุดท้าย : ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาดังกล่าว เป็นหน้าที่ของนักปราชญ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งบุคคลที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการอิจญฺติฮาด (วินิจฉัย) แล้วละก็ ควรจะปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺตักลีด



[1] ซัยยิด มุจญฺตะบา ฮุซัยนี, (คำถามตอบต่างๆ สำหรับนักศึกษา) หน้า 169, อิมามโคมัยนี, อัลมะกาซิบมุฮัรเราะมะฮฺ, เล่ม 1 หน้า 198 – 224,ฮุซัยนี, อะลี, อัลมิวสิกกี, หน้า 16, 17, ตับรีซีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 10, 46, 47, 1048, ฟาฎิล, ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1, คำถามที่ 974, 978, 979.

[2] الغناء رقیة الزنا؛, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 76, หมวด 99, อัลฆินาอ์

[3] อิทธิพลของเสียงเพลงที่มีต่อระบบประสาทและจิตใจ, หน้า 29, ตัฟซีรรูฮุลมะอานี, เล่ม 21 , หน้า 6, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 17, หน้า 25, 26.

[4] อัลกุรอาน บทลุกมาน, โองการที่ 6 กล่าวว่า :

ومن الناس من یشتری لهو الحدیث لیضل عن سبیل الله بغیرعلم و یتخذها هزوا اولئک لهم عذاب مهین؛

[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 12, หมวดที่ 99, - ابواب ما یکتسب به-

[6] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 17, หน้า 27.

[7] อัลกุรอาน บทฟุรกอน, 72. (والذین لا یشهدون الزور)

[8] อัลกุรอาน บทฮัจญฺ, 30. (واجتنبوا قول الزور)

[9] วะซาอิลุชชิอะฮฺ, เล่ม 12, หมวด 99, ฮะดีซที่ 2, 3, 5, 9, 26.

[10] อัลกุรอาน บทมุอฺมินูน, 3, กล่าวว่า (والذین عن اللغو معرضون)

[11] ตัฟซีรอะลี บินอิบรอฮีม, เล่ม 2 , หน้า 88.

[12] อัลกุรอาน บทลุกมาน, 6.

[13] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 12, หมวด 99, ฮะดีซที่ 6, 7, 11, 16, 25.

[14] อ้างแล้วเล่มเดิม, หมวดที่ 100, ฮะดีซที่ 3.

[15] อัลมะกาซิบ อัลมุฮัรเราะมะฮฺ, อิมามโคมัยนี (รฎ.) เล่ม 1,หน้า 2.

[16] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 12, หมวด 99, ฮะดีซที่ 6.

[17] อ้างแล้วเล่มเดิม, ฮะดีซที่ 23 – 24.

[18] อ้างแล้วเล่มเดิม, หมวดที่ 100, ฮะดีซที่ 5 – 6

[19]อางแล้วเล่มเดิม 

[20] อัลมะกาซิบ อัลมุฮัรเราะมะฮฺ, อิมามโคมัยนี (รฎ.) เล่ม 1,หน้า 229.

[21] อัลมะกาซิบ เชคอันซอรีย์, เล่ม 1, หน้า 292

[22] ริซาละฮฺ ดอเนชญู, หน้า 171.

[23] อะฮฺมัด ชัรมะคอนี, อินซาน, ฆินา, มิวสิก, หน้า 14

[24] ริซาละ ดอเนชญู, หน้า 171, อย่างไรก็ตามข้อห้าม (ฮะรอม) เด็ดขาดของทุกเสียงร้องที่มีความไพเราะ ไม่เข้ากับธรรมชาติและสติปัญญาของมนุษย์ และยังขัดแย้งกับบางรายงานอีกด้วยที่ระบุว่า ให้อ่านอัลกุรอานด้วยท่วงทำนองและเสียงที่ไพเราะ, ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์จึงหมายถึงเป็นบางอย่างอันเฉพาะ ซึ่งสามารถตีความตามมาตรฐานของข้อห้ามที่การกล่าวว่า "เท็จ" หรือ "ไร้สาระ"

[25] อ้างแล้วเล่มเดิม

[26] เตาฎีฮุล มะซาอิล มะรอญิอ์ตักลีด, เล่ม 2, หน้า 813 – 819, มะซาอิลญะดีด, เล่ม 1, หน้า 47.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • คำว่าดวงวิญญาณที่ปรากฏในซิยารัตอาชูรอหมายถึงผู้ใด? اَلسَّلامُ عَلَیْکَ یا اَبا عَبْدِ اللَّهِ وَ عَلَى الْاَرْواحِ الَّتى حَلَّتْ بِفِنائکَ
    6152 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/02
    ارواح التی حلت بفنائک หมายถึงบรรดาชะฮีดที่พลีชีพเคียงข้างท่านอิมามฮุเซนณแผ่นดินกัรบะลาทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:1. ผู้เยี่ยมเยียนที่ยังไม่เสียชีวิตมักไม่เรียกกันว่าดวงวิญญาณ2. บทซิยารัตนี้มักจะอ่านโดยผู้เยี่ยมเยียนและแน่นอนว่าผู้อ่านย่อมมิไช่คนเดียวกันกับผู้เป็นที่ปรารภ3. ไม่มีซิยารัตบทใดที่กล่าวสลามถึงผู้เยี่ยมเยียนเป็นการเฉพาะ4. ซิยารัตอาชูรอรายงานไว้ก่อนที่จะมีสุสานที่รายล้อมกุโบรของอิมามฉะนั้นดวงวิญญาณในที่นี้ย่อมมิได้หมายถึงผู้ที่ฝังอยู่ณบริเวณนั้น5. จากบริบทของซิยารัตทำให้พอจะเข้าใจได้ว่าดวงวิญญาณในที่นี้หมายถึงบรรดาชะฮีดที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามฮุเซนในกัรบะลาอาทิเช่นการสลามผู้ที่อยู่เคียงข้างท่านอิมามเป็นการเฉพาะ السلام علی الحسین و علی علِیّ بن الحسین و علی اولاد الحسین و علی اصحاب الحسین นอกจากที่เนื้อหาของซิยารัตอาชูรอจะสื่อถึงการสลามอิมามฮุเซนลูกหลานและเหล่าสาวกของท่านแล้วยังแสดงถึงการสวามิภักดิ์ต่อท่านและการคัดค้านศัตรูของท่านอีกด้วย6. ซิยารัตอาชูรอในสายรายงานอื่นมีประโยคที่ว่า السلام علیک و علی الارواح التی حلّت بفنائک و اناخت بساحتک و جاهدت فی ...
  • น้ำยาบ้วนปากซึ่งโดยปกติแล้วจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่ จะมีฮุกุ่มอย่างไร?
    7983 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
    แอลกอฮอล์ชนิดที่ยังคลางแคลงใจว่าเป็นน้ำเมา[1]แต่เดิมหรือไม่นั้นให้ถือว่าสะอาดและสามารถค้าขายหรือใช้ผลิตพันธ์ที่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นส่วนผสมได้ตามปกติ[2]
  • อิมามฮุเซน (อ.) เคยเขียนจดหมายถึงฮะบีบบินมะซอฮิรโดยมีความว่า من الغریب الی الحبیب ไช่หรือไม่?
    5586 تاريخ بزرگان 2554/12/10
    เราไม่เจอประโยคที่กล่าวว่าمن الغریب الی الحبیب (จากผู้พลัดถิ่นถึงฮะบีบ)ในหนังสือฮาดีษหรือตำราที่เกี่ยวกับการไว้อาลัยของชีอะฮ์เช่นลุฮูฟของซัยยิดอิบนิฏอวูสแต่อย่างใดจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าอิมามฮุเซน (อ.)กล่าวประโยคดังกล่าวสิ่งที่ยืนยันได้ก็คือฮะบีบบินมะซอฮิรเป็นหนึ่งในสาวกที่มีความซื่อสัตย์ต่ออิมามฮุเซน (อ.) เขาเข้าร่วมในการรบและเป็นชะฮีด[1]
  • ตะวัสสุ้ลทำให้หลงทางหรือไม่ เราพิสูจน์หลักการนี้ด้วยเหตุผลใด?
    7579 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/08
    การตะวัสสุ้ลไม่ไช่ความหลงผิด ในทางตรงกันข้ามยังถือเป็นวิธีแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลอฮ์อีกด้วย ส่วนการที่ท่านอิมามริฎอ(อ.)ช่วยให้คนป่วยหายดีนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นเหตุผลหลักในการยืนยันความถูกต้อง หากแต่เป็นเหตุผลรองที่สนับสนุนเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทศาสนา ทั้งนี้ กลไกของโลกเป็นกลไกแห่งเหตุแลผล บุคคลคนจะต้องขวนขวายหามูลเหตุหรือวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายของตน ในทางจิตวิญญาณก็มีกลไกคล้ายกันนี้ ดังที่กุรอานปรารภแก่เหล่าผู้ศรัทธาว่า “จงยำเกรงต่อคำบัญชาของพระองค์ และจงแสวงหาหนทางสู่ความใกล้ชิดยังพระองค์” ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7238 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    6756 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • บรรดาเชลยแห่งกัรบะลาอฺมุฮัรรอม ได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺไปยังเมืองชามวันอะไร?
    6252 تاريخ کلام 2554/06/22
    ตามรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และมะกอติล, กองคาราวานเชลยแห่งกัรบะลาอฺได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺในวันที่ 11 เดือนมุฮัรรอมและวันที่ 12 เดือนมุฮัรรอมได้มาถึงเมืองกูฟะฮฺและเคลื่อนออกจากเมืองกูฟะฮฺไปยังเมืองชามในวันที่ 19 เดือนมุฮัรรอมและถึงเมืองชามในวันที่ 1 เดือนเซาะฟัร[1]
  • "การซิยารัตอิมามฮุเซนเสมือนการซิยารัตอัลลอฮ์ ณ อะรัช" หมายความว่าอย่างไร?
    8676 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/07
    ท่านฮุเซนบินอลี (อิมามที่สามของชีอะฮ์) ได้รับฐานะภาพอันสูงส่งจากอัลลอฮ์เนื่องจากมีเป้าหมายวัตรปฏิบัติการเสียสละ
  • แต่งงานมา 8 ปีและไม่เคยชำระคุมุสเลย กรุณาให้คำแนะนำด้วย
    5540 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานของท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา ซิซตานี วันแรกของการทำงานถือว่าเป็นต้นปีของการชำระคุมุส และในวันครบรอบวันนั้นของทุก ๆ ปีจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสในสิ่งที่เหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือสิ่งของก็ตาม เช่นข้าวสารอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่เหลือใช้เป็นต้น หากภายในหนึ่งปีไม่ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้น และหากปีก่อน ๆ ไม่ได้คำนวนและชำระคุมุสก็จะต้องทำเช่นนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี จะต้องชำระย้อนหลังในส่วนที่หลงเหลือมาจนทบปีใหม่ซึ่งเผอิญใช้ชำระไปทั้งที่ยังไม่ได้ชำระคุมุสของปีก่อนๆ และหากไม่แน่ใจว่าคุมุสที่ค้างอยู่นั้นมีจำนวนเท่าใด จะต้องชำระในจำนวนที่แน่ใจไว้ก่อน ถึงแม้ว่าจะทยอยชำระก็ตาม และอิฮ์ติยาฏวาญิบจะต้องเจรจากับตัวแทนของมัรญะอ์เกี่ยวกับจำนวนคุมุสที่คลุมเคลือด้วย อย่างเช่น หากสันนิษฐานในระดับ 50 เปอร์เซนต์ว่าต้องชำระคุมุสจำนวนหนึ่ง ก็สามารถชำระครึ่งหนึ่งของคุมุสจำนวนนั้น และหากเป็นบ้าน, ของใช้ในบ้าน, รถ หรือของใช้อื่น ๆ ซึ่งได้ซื้อมาด้วยกับเงินที่ได้มาในตลอดทั้งปี และได้ใช้อยู่เป็นประจำก็จะถือว่าไม่ต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์อุซมา มะการิม ชีรอซี ไม่จำเป็นที่จะต้องชำระเงินคุมุสของบ้านและเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมด อีกทั้งยานพาหนะ (ถ้ามี) ให้คำนวนของใช้ที่เหลือและหักลบหนี้สินที่เกี่ยวข้องออกไป สามารถชำระคุมุสจากเงินที่เหลือทั้งหมดด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนได้
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
    7744 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า1) คำว่าอิซมัตเป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรมพฤติกรรมชั่วร้ายและความผิดต่างๆโดยสิ้นเชิงอีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาดและการหลงลืมโดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีหรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์2. ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59387 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56839 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41668 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38418 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38414 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33447 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27537 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27232 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27131 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25203 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...