การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9270
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
คำถาม
บุคลิกของอบูดัรดาอฺ เป็นเชนไร? อะฮฺลุลบัยตฺมีทัศนะอย่างไรกับเขา? รายงานที่เป็นมันกูลจากเขามีกฎเป็นอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม

อบูดัรดาอฺ คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.), ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน เพื่อสงครามการนองเลือดจะได้สิ้นสุดลง แล้วทั้งสองก็กลับมาหาท่านอิมามอะลี แต่ท่านมาลิกอัชตัรได้พบกับพวกเขาก่อน และได้ประณามพวกเขาอย่างรุนแรง พวกเขาจึงตัดสินใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลีแล้ว, วันที่สองเมื่อความต้องการของพวกเขาได้แจ้งให้ท่านอิมามอะลี ได้รับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน อุสมาน

อย่างไรก็ตาม,สถานภาพของเขากับรัฐอิสลามแห่งสัจธรรมนั้น สามารถกล่าวได้ว่า เขาคือองค์ประกอบแห่งคำปรารภของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวถึงบางคนว่า “พวกเขามิได้ช่วยเหลือความถูกต้อง และมิได้ประณามความต่ำต้อย”

รายงานจากแหล่งอ้างอิงทั้งจากซุนนียฺ และชีอะฮฺ กล่าวว่า อบูดัรดาอฺ ได้รายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)

นักประวัติศาสตร์บางกลุ่ม, กล่าวว่า เขาได้เสียชีวิตหลังจากสงครามซิฟฟีน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า อบูดัรดาอฺ ได้เสียชีวิต 2 ปีก่อนการตายของอุสมาน

คำตอบเชิงรายละเอียด

อุมัรบิน มาลิก เป็นลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเผ่า คัซร็อจญฺ ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกด้วยชื่อเล่นว่า อบูดัรดาอฺ เขาเป็นหนึ่งในเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และอยู่ในฐานะของผู้สืบเชื้อสายมาจากเผ่าคัซร็อจญฺ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในมะดีนะฮฺ แต่หลังจากที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้เดินทางมามะดีนะฮฺได้ไม่นานนัก เขาก็เข้าพบท่านเราะซูล และได้ยอมรับอิสลาม

เขาเป็นคนลักษณะที่ว่าวันหนึ่ง “อับดุลลอฮฺ รุวาฮะฮฺ” พี่บุญธรรมของเขา ได้มาที่บ้านของอบูดัรดาอฺ เขาได้กล่าวเชิญชวนอบูดัรดาอฺ อยู่พักหนึ่งหลังจากนั้นเขาได้เข้าทุบตีเทวรูปของอบูดัรดาอฺ จนแตกละเอียด แล้วได้กล่าวคำรำพันประโยคนี้ว่า “จงออกห่างจากนามของซาตานมารร้ายทั้งหมด ซึ่งใครก็ตามเคารพภักดีอัลลอฮฺ เขาจะปลอดภัย” เมื่ออบูดัรดาอฺ กลับมาบ้าน, ภรรยาของเขาได้แจ้งให้เขาทราบถึงการกระทำของอับดุลลอฮฺ พี่ชายบุญธรรม, อบูดัรดาอฺ ได้คิดใคร่ครวญอยู่นานพอสมควร หลังจากนั้นเขากล่าวว่า ถ้าหากเทวรูปเหล่านี้ดีจริง พวกเขาคงป้องกันตัวเองแล้ว และในที่สุดอบูดัรดาอฺ ได้ออกไปพร้อมกับอับดุลลอฮฺ บินรุวาฮะ และได้เข้าพบท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต่อมาเขาได้ประกาศเข้ารับอิสลาม, อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนแรกทีท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้อพยพมาสู่เมืองมะดีนะฮฺ ขณะนั้นอบูดัรดาอฺ ยังไม่ได้รับฮิดายะฮฺเป็นมุสลิม, แต่หลังจากเวลาผ่านไปหลายเดือน, เขาได้เข้าพบท่านศาสดา (ซ็อล น) และประกาศยอมรับอิสลาม การเข้ารับอิสลามล่าช้าของเขานั้น นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าเขายังเข้าร่วมสงครามค็อนดัก และหลังจากนั้น กล่าวว่าในสงครามก่อนหน้าสงครามค็อนดักเขายังไม่ได้เข้ารับอิสลาม

อะฮฺลิซุนนะฮฺ ได้อ้างรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ที่ได้กล่าวชื่นชมอบูดัรดาอฺเอาไว้ เช่น พวกเขากล่าวพาดพิงถึงท่านศาสดาว่า ท่านได้กล่าวชื่นชมอบูดัรดาอฺว่าเขาคือ ผู้รู้ของประชาชาตินี้

เช่นเดียวกันมีรายงานจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า ท่านได้ให้อบูดัรดาอฺ กับซัลมาน ฟารซียฺ อ่านอักด์เป็นพี่น้องกัน ซึ่งทั้งสองถือเป็นพี่น้องกันทางศาสนา และความสัมพันธ์ของทั้งสองยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แม้หลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากไปแล้วก็ตาม อบูดัรดาอฺ หลังจากเดินทางไปซีเรียแล้ว เขายังได้เขียนจดหมายถึงซัลมาน อัลฟาร์ซี ซึ่งขณะนั้นอยู่ในอีรัก เขาได้เขียนถึงซัลมานว่า : อัลลอฮฺ ทรงประทานทรัพย์สินและบุตรแก่ฉัน และฉันได้สร้างบ้านบนแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว ซัลมานได้เขียนตอบเขาว่า : ท่านได้เขียนบอกฉันว่ามีบ้านและมีบุตรแล้ว, แต่พึงรู้ไว้เถิดว่าความเจริญผาสุกมิได้อยู่ที่ทรัพย์สินหรือลูกหลานจำนวนมากมายดอก

อบูดัรดาอฺ ได้อยู่มะดีนะฮฺจนกระทั่งสิ้นยุคของเคาะลิฟะฮฺที่สอง และเขาได้ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกเมือง ตามคำสั่งของเคาะลิฟะฮฺ โดยมุ่งหน้าไปยังเมืองซีเรีย ซึ่งเคาะลิฟะฮฺที่สองได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้พิพากษาและเป็นอิมามญะมาอะฮฺนำนมาซในเมืองซีเรีย

เมื่ออบูดัรดาอฺ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา ประชาชนต่างกล่าวแสดงความยินดีกับเขา และเขาได้กล่าวว่า : พวกเขากล่าวแสดงความยินกับฉันที่ได้เป็นผู้พิพากษาหรือ แต่ฉันซิเหมือนยืนอยู่บนหน้าผา ความลึกของมันมากกว่าจากที่นี่จนถึงเอเธน ถ้าหากประชาชนรู้ว่า ในการตัดสินความนั้นมีปัญหายุ่งยากเพียงใด และเนื่องด้วยความยากนั้นเขาจะถ่ายโอนจากมือหนึ่งไปสู่อีกมือหนึ่ง (เขาจะขจัดให้ห่างไกลไปจากเขา) ถ้าหากประชาชนรู้ว่าในการอะซาน นั้นมีผลบุญมากเพียงใด เขาก็ทุ่มเทให้แก่มันและแย่งมันจากมือของคนอื่น

อบูดัรดาอฺ ได้กล่าวว่ายืนยันว่า คือผู้ที่ยืนยันว่าท่านอะลี (อ.) มีความดีและประเสริฐยิ่งกว่ามุอาวิยะฮฺมาก,เขาได้เข้าไปหามุอาวิยะฮฺพร้อมกับอบูฮุร็อยเราะฮฺ และเขาได้เชิญชวนมุอาวิยะฮฺให้เชื่อฟังปฏิบัติท่านอิมามอะลี (อ.),ครั้นเมื่อมุอาวิยะฮฺได้นำเอาเรื่องการสังหารอุสมานมาเป็นข้ออ้าง โดยอ้างว่าให้ท่านอิมามอะลีช่วยส่งคนสังหารอุสมานมาให้เขา หลังจากนั้นเขาได้ส่งอบูดัรดาอฺ และอบูฮุร็อยเราะฮฺมาหาท่านอิมาม อะลี (อ.) เพื่อขอตัวคนสังหารอุสมาน และจะทำให้การนองเลือดสิ้นสุดลง ซึ่งทั้งสองก็ได้ทำตามที่มุอาวิยะฮฺขอร้อง และทั้งสองได้มาหาท่านอิมามอะลี (อ.) แต่เผอิญได้พบกับท่านมาลิกอัชตัรเสียก่อน มาลิกได้ต่อว่าเขาทั้งสอง จนกระทั่งว่าเขาได้เปลี่ยนใจไม่ไปพบท่านอิมามอะลี (อ.) วันที่สองพวกเขาได้ขอพบท่านอิมามอะลี และได้แจ้งเจตจำนงให้ท่านรับทราบ พวกเขาจึงได้พบกับผู้จำนวนนับหมื่นคนแล้วประกาศแก่ทั้งสองว่า พวกเขานั่นแหละเป็นคนสังหารอุสมาน, ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั้งสองสิ้นหวังและกลับไปยังเมืองของตน และได้รับการประณามหยามเหยียดจาก อับดุรเราะฮฺมาน บิน อุสมาน, อย่างไรก็ตามเรื่องราวดังกล่าวนี้ วางอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า อบูดัรดาอฺ ได้เสียชีวิตหลังสงครามซิฟฟีน, แต่ถ้าถือตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์บางท่านที่กล่าวว่า อบูดัรดาอฺ ได้เสียชีวิตก่อนการปกครองของท่านอิมามอะลี (อ.) แล้วละก็เรื่องราวที่กล่าวมาทั้งหมดไม่อาจยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม,สถานภาพของเขากับรัฐอิสลามแห่งสัจธรรมนั้น สามารถกล่าวได้ว่า เขาคือองค์ประกอบแห่งคำปรารภของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวถึงบางคนว่า “พวกเขามิได้ช่วยเหลือความถูกต้อง และมิได้ประณามความต่ำต้อย”

ในทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ อบูดัรดาอฺ คือเซาะฮาบะฮฺ ผู้ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา เขามีเกียรติสูงส่ง, ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้มีรายงานฮะดีซจากเขาจำนวนมากมาย

เช่นเดียวกันรายงานฮะดีซจำนวนหนึ่งของอบูดัรดาอฺมีกล่าวไว้ในแหล่งอ้างอิงของชีอะฮฺด้วย, เช่น เชคฏูซียฺได้บันทึกคำวินิจฉัน และรายงานฮะดีซจากเขาไว้ในหนังสือ “อัลคิลาฟ”

ส่วนการเสียชีวิตของอบูดัรดาอฺ มีความเห็นแตกต่างกัน, นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า เขาเสียชีวิตหลังสงครามซิฟฟีน และบางกลุ่มกล่าวว่า อบูดัรดาอฺ เสียชีวิตก่อน 2 ปี ก่อนการเสียชีวิตของอุสมาน

ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • การตัดขาดการใช้ชีวิตร่วมกับสังคม โดยปลีกวิเวกไปสู่ความสันโดษ มีกฎเกณฑ์เป็นเช่นไร
    12615 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/10/22
    การถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร บางครั้งไม่สมบูรณ์และเลยเถิดการถอนตัวหรือปลีกวิเวกโดยสมบูรณ์และถาวร วิธีการนี้มีปัญหาหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ :1.ขัดแย้งกับซุนนะฮฺและการบริบาลของอัลลอฮฺ, เนื่องจากซุนนะฮฺและพระประสงค์ของอัลลอฮฺคือ ต้องการให้มนุษย์ไปถึงยังความสมบูรณ์ ด้วยเจตนารมณ์เสรี และด้วยเครื่องมือและสื่อที่มีอยู่ หมายถึงการผ่านทางหลงผิดและการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั่นเอง2.ประเด็นที่ศาสนาของพระเจ้าได้ห้ามไว้ แต่ก็ยังพบความแปลกปลอมของคนอื่นเกิดขึ้นอีกมากมาย ซึ่งกรณีนี้ยังไม่เคยพบว่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้า และตัวแทนของท่านเหล่านั้นได้ปลีกวิเวกและตัดขาดจากสังคมมนุษย์โดยสิ้นเชิง
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6114 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    6533 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5369 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20155 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • มีฮะดีษกล่าวว่า ใครก็ตามที่ได้ถือศิลอดในสามวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน เขาจะได้รับมรรคผลเท่ากับการถือศิลอดหนึ่งเดือน จากฮะดีษดังกล่าวเราสามารถที่จะถือศิลอดสามวันนี้แทนการถือศิลอดกอฏอ(ชดเชย)สำหรับหนึ่งเดือนรอมฏอนได้หรือไม่?
    6795 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/17
    ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากฮะดีษต่างๆ ที่กล่าวถึงปริมาณและรายละเอียดผลบุญของการนมาซและถือศิลอดในวันต่างๆ และเดือนต่างๆ หรือผลบุญของการนมาซหรือการถือศิลอดในบางสถานที่ เช่นที่มักกะฮ์และมาดีนะฮ์นั้น บ่งชี้ให้ทราบเพียงว่า การกระทำดังกล่าวตามเงื่อนไขของเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้มีผลบุญที่มากมายมหาศาลเท่านั้น แต่หากต้องการที่จะทำอิบาดะฮ์เหล่านี้เพื่อชดเชยหรือทดแทนอิบาดะฮ์ต่างๆ ในอดีตที่เป็นวาญิบ อาทิเช่นนมาซ, การถือศิลอด ฯลฯ ในกรณีที่เนียต(ตั้งเจตนา)ว่าจะกระทำเพื่อชดเชย ก็จะถือว่าได้ชดเชยไปเทียบเท่ากับหนึ่งวัน หาใช่มากกว่านั้นแน่นอนว่าการถือศิลอดดังกล่าวจะถือเป็นการชดเชยศิลอดเดือนเราะมะฎอนก็ต่อเมื่อผู้ถือศิลอดจะต้องเนียตเกาะฎอ(ชดเชย)ศิลอดเดือนรอมฏอนด้วย มิเช่นนั้น หากเขาเนียตว่าจะถือศิลอดมุสตะฮับ การถือศิลอดนั้นจะไม่นับว่าชดเชยการถือศิลอดเดือนรอมฏอนแต่อย่างใด ซึ่งจริงๆแล้ว หากผู้ใดที่ยังมีหน้าที่ต้องถือศิลอดวาญิบชดเชย ย่อมไม่สามารถถือศิลอดมุสตะฮับ(สุหนัต)ได้ กรณีนี้ต่างจากการนมาซ เนื่องจากเราสามารถที่จะทำการนมาซมุสตะฮับได้ทั้งที่ยังมีภาระที่จะต้องกอฏอนมาซที่เคยขาด
  • การรัจญฺอัตหมายถึงอะไร? ครอบคลุมบุคคลใดบ้าง? และจะเกิดขึ้นเมื่อใด?
    6949 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    การรัจญฺอัตเป็นหนึ่งในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามียะฮฺ, หมายถึงการกลับมายังโลกมนุษย์, ภายหลังจากได้ตายไปแล้วและก่อนที่จะถึงวันฟื้นคืนชีพซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังการปรากฎกายของท่านอิมามมะฮฺดียฺ (อ.)
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    16673 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • การบริจาคทรัพย์ฮะรอม กฎเกณฑ์ว่าอย่างไร?
    5823 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การวะกัฟจะถือว่าถูกต้องก็ต่อเมื่อ, ตนเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ต้องการวะกัฟอย่างถูกต้อง[1]ดังนั้นการวะกัฟทรัพย์สินที่ได้ขู่กรรโชก
  • เราจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอ่านซูเราะฮ์ต่าง ๆ ที่มีสุญูดวาญิบในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถทำการสุญูดได้อย่างไร?
    6961 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/08
     มัรญะอ์ตักลีดทุกท่านมีความเห็นว่าเป็นวาญิบสำหรับทุกคนที่จะต้องสุญูดหลังจากการอ่านหรือฟังอายะฮ์ที่วาญิบจะต้องสุญูดท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “ในซูเราะฮ์ “อันนัจม์, อัลอะลัก, อลีฟลามมีมตันซีลและฮามีมซัจดะฮ์” จะมีหนึ่งอายะฮ์ที่หากใครก็ตามได้อ่านหรือฟังอายะฮ์เหล่านี้จะต้องทำการสุญูดทันทีหลังจากที่อายะฮ์ดังกล่าวจบลงและหากหลงลืมจะต้องทำการสุญูดเมื่อนึกขึ้นได้[1]มัรญะอ์บางท่านได้กล่าวว่า “แม้หากได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจหรือได้ยินอายะฮ์ดังกล่าวอย่างผิวเผินเป็นอิฮ์ติญาดวาญิบที่จะต้องทำการสุญูด[2]อนึ่งในการสุญูดวาญิบของกุรอานไม่สามารถสุญูดบนอาหารหรือเครื่องแต่งกายแต่ไม่จำเป็นที่จะทำตามเงื่อนไขข้ออื่นๆ[3]ของการสุญูดในนมาซเช่นไม่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำละหมาดหรือหันหน้าไปทางกิบลัตอีกทั้งไม่วาญิบที่จะต้องอ่านอะไรและหากกระทำเพียงแตะหน้าผากบนพื้นโดยมีเจตนาที่จะสุญูดโดยไม่ได้อ่านอะไรก็ถือว่าเพียงพอแล้ว[4]ดังนั้นหากไม่สามารถสุญูดเช่นนี้ได้จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นเช่นขอร้องไม่ให้นักกอรีอ่านซูเราะฮ์ที่มีสุญูดวาญิบในงานเช่นนี้หรือผู้จัดงานจะต้องหาสถานที่จัดงานที่ผู้เข้าร่วมในงานสามารถทำสุญูดได้เมื่อมีการอันเชิญอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบและหากไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ผู้ฟังจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะได้ยินอายะฮ์ที่จะต้องทำการสุญูดวาญิบเองเช่นเมื่อจะมีการอ่านอายะฮ์หรือซูเราะฮ์ดังกล่าวให้รีบเดินออกจากงานทันทีเพื่อไม่ต้องสุญูด[1]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59353 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56810 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41633 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38382 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38375 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33420 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27513 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27207 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27102 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25170 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...