การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9538
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa933 รหัสสำเนา 14974
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?
คำถาม
อะไรคืออุปสรรคของการเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์?`
คำตอบโดยสังเขป
คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์
คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาคำปาฐกถาของท่านอาจารย์ฮาดะวี เตฮะรอนี ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ดังต่อไปนี้:

ในศตวรรษนี้ เราสามารถสัมผัสได้ถึงความกระวีกระวาดที่จะนำศาสนาเข้ามาในชีวิต ทั้งๆที่ในศตวรรษก่อนมีความพยายามที่จะลดบทบาทของศาสนาอย่างเป็นระบบ การถอยร่นของกระแสดังกล่าวกอปรกับการรุกคืบของขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนา(โดยเฉพาะการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านซึ่งปูทางสู่การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม) เป็นเหตุให้ปัจจุบันนี้มนุษย์เริ่มรับรู้และเปลี่ยนแปลงทัศนคติ จากที่ไม่เคยยี่หระต่อศาสนากลับกลายเป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนา อีกทั้งกระหายศีลธรรมและข้อเท็จจริงในวันปรโลก

ด้วยเหตุนี้เอง การจัดประชุมเสวนาระหว่างศาสนาจึงเป็นที่แพร่หลายในไม่กี่ปีที่ผ่านมา อาทิเช่น การประชุมนานาชาติผู้นำศาสนาโลกในปี 2002 ที่ประเทศไทย, การประชุมสภาศาสนาในปี 2003 ที่สเปน, การประชุมศาสนาโลกที่คาซักสถานในปี 2003 และการประชุมศาสนาสายศาสดาอิบรอฮีมเพื่อสันติภาพในปี 2006 ที่อิตาลี.

อย่างไรก็ดี แม้จะมีการสนับสนุนให้มีการเสวนาระหว่างอิสลามและคริสเตียนอย่างเต็มที่ ในฐานะศาสนาลำดับท้ายๆของสายศาสดาอิบรอฮีม แต่ก็ยังมีอุปสรรคเสมอมา อาทิเช่น
1. การไม่ให้ความสำคัญต่อจุดร่วมระหว่างสองศาสนานี้เท่าที่ควร.
จุดร่วมที่กุรอานกล่าวว่าโอ้ชาวคัมภีร์ เชิญมาสู่วาทกรรมอันเท่าเทียมกันระหว่างเรากับพวกท่าน นั่นคือเราจะไม่เคารพภักดีผู้ใดเว้นแต่อัลลอฮ์ และจะไม่ยกใครในหมู่พวกเราให้เทียบเคียงพระเจ้า...”[1]
มีจุดร่วมมากมายระหว่างอิสลามและคริสต์ในด้านความเชื่อและสารธรรม สองศาสนานี้มีศักยภาพพอที่จะผนึกกันบริหารโลกเพื่อสร้างเสริมสันติภาพที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี ความร่วมมือดังกล่าวจำต้องอยู่ภายในกรอบแห่งเอกานุภาพของอัลลอฮ์(เตาฮีด) และจะต้องทำความเข้าใจร่วมกันว่า จะไม่มีการยกผู้ใดให้เทียบเคียงพระองค์เด็ดขาด แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้ไม่อาจพบเห็นสองประการดังกล่าวได้เลย ทั้งนี้ก็เนื่องจากมหาอำนาจแสร้งหลงลืมหลักเอกานุภาพ เห็นได้จากการที่พวกเขาหมั่นกดขี่ชาติที่อ่อนแอกว่า ดังที่ได้ขัดขวางการพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติภาพของอิหร่าน

2. การไม่คำนึงถึงคุณประโยชน์ของการเสวนาระหว่างสองศาสนานี้.
การเสวนาเปรียบเสมือนสะพานที่ทอดยาวสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้งระหว่างสองศาสนา เพราะการศึกษาเปรียบเทียบในแง่ความเชื่อและสารธรรมจะขยายศักยภาพทางวิชาการและแนวปฏิบัติของทั้งสองศาสนา
ผลลัพท์เบื้องต้นที่จะได้รับจากความร่วมมือดังกล่าวก็คือ การได้รับข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ การประสานความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อระงับการเผชิญหน้าทางความคิดและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์

3. การไม่ปรับทัศนคติเชิงลบที่แต่ละศาสนาเคยมีต่อกัน.
ทัศนคติเชิงลบมากมายเกิดจากการศึกษาจากแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือหรือทัศนะอันผิดเพี้ยน  อันจะทำให้เข้าใจฝ่ายตรงข้ามอย่างผิดพลาด ก่อให้เกิดอคติต่อกันและตัดสินด้วยโทสะอย่างไม่รู้จบ

4. การที่ชาติมหาอำนาจคอยเสี้ยมให้ศาสนาต่างๆเผชิญหน้ากัน.
ก่อนสงครามจะเกิดขึ้นจะต้องมีความขัดแย้งเชิงลึกเสียก่อน และความขัดแย้งที่ลึกที่สุดก็คือความขัดแย้งเชิงศรัทธาและความเชื่อ ด้วยเหตุนี้ แกนนำชาติมหาอำนาจจึงพยายามตอกลิ่มความขัดแย้งทางศาสนาให้ลึกที่สุด เพราะถือว่าสงครามจะนำมาซึ่งผลประโยชน์สำหรับพวกตน เห็นได้ชัดเจนจากกรณีการ์ตูนล้อเลียนนบี(..)ในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งไม่อาจจะตีความเป็นอื่นได้นอกจากเหตุผลดังที่กล่าวมา การที่ผู้ไม่หวังดีเลือกใช้ประเทศเดนมาร์กเพื่อหมิ่นประมาทปูชณียบุคคลที่สูงส่งอย่างท่านนบีมุฮัมมัด(..) ก็เนื่องจากธงชาติของประเทศนี้มีรูปกางเขนอยู่ พวกเขารู้ดีว่ามุสลิมจะตอบโต้ด้วยการเผาธงชาติ ซึ่งก็จะถูกนำไปขยายผลว่าเป็นการดูหมิ่นศาสนาคริสต์ อันจะนำไปสู่การเผชิญหน้าระหว่างมุสลิมกับคริสเตียนในที่สุด 

เมื่อหกเดือนก่อน ผมมีโอกาสได้เข้าพบพระสันตปาปาเบเนดิคต์ที่16 ผมได้ชี้แจงให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านช่วยชี้แจงแก่สาวกและสาวิกาของท่านว่า การเผาธงชาติมิไช่การดูหมิ่นสัญลักษณ์ไม้กางเขน แต่เป็นเพียงการประณามประเทศที่ปล่อยให้มีการดูหมิ่นศาสดามุฮัมมัด(..)เท่านั้น
เหตุการณ์ 11 กันยายน ก็ถือเป็นแผนการณ์ที่คล้ายคลึงกัน จากเบาะแสต่างๆเริ่มเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเป็นการจัดฉาก แท้ที่จริงเป็นการทำลายตึกด้วยขีปนาวุธเพื่อฟื้นตะเข็บสงครามครูเสดต่อมุสลิม ดังที่ประธานาธิบดีอเมริกาเคยระบุไว้ชัดเจน

ผมเชื่อว่าท่าทีที่ผ่านมาของพระสันตปาปาถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ต่อต้านศาสนาประเภทหนึ่ง แปดเดือนก่อนหน้านี้[2]ท่านได้กล่าวปาฐกถาโดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการสานเสวนาระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์ และยังได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการประชุมเสวนาธรรมระหว่างอิสลามและศาสนาคริสต์ที่นครเอสซีซี แต่แล้วท่านกลับเปลี่ยนท่าที และกล่าวคำพูดอันไม่เหมาะสมกับฐานะภาพของท่านออกมา

5. การไม่ทำความเข้าใจคำสอนของศาสนาอื่นให้ถ่องแท้.
ข้อบกพร่องดังกล่าวสามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง แต่ที่ถือเป็นกรณีศึกษาที่ชัดเจนที่สุดก็คือบทปาฐกถาของพระสันตปาปาดังต่อไปนี้
. พระคุณท่านเข้าใจผิดว่า คำว่าญิฮาดซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของอิสลามนั้น คล้ายคลึงกับสงครามศักดิ์สิทธิที่เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ของชาวคริสเตียน ท่านกล่าวว่าจักรพรรดิได้เริ่มกล่าวถึงประเด็นญิฮาด ซึ่งก็คือสงครามศักดิ์สิทธินั่นเอง
ต้องทราบว่าญิฮาดคือการพยายามขจัดอุปสรรคของการนำเสนอสัจธรรม และช่วยให้การภักดีต่อพระเจ้าเป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าจะมีสงคราม ก็เป็นสงครามต่อผู้ที่ขัดขวางไม่ให้ประชาชนรู้จักและภักดีต่อพระองค์ และนี่เป็นเพียงญิฮาดระดับล่างเท่านั้น ญิฮาดยังหมายรวมถึงการพยายามรู้จักและขัดเกลาจิตใจ ซึ่งอิสลามถือว่านี่คือญิฮาดระดับสูง ในขณะที่สงครามศักดิ์สิทธิ(ของคริสเตียน)นั้น แฝงไว้ด้วยนัยยะของการพิชิตชัยชนะเหนือคนนอกรีตและขู่บังคับให้เข้ารีตตามคริสตศาสนา

จากคำบอกเล่าของนักวิชาการคริสเตียนชาวอาร์เมเนียทำให้ทราบว่า ประวัติศาสตร์ชาวอาร์เมเนียในอิหร่านและเลบานอนนั้น คราคร่ำไปด้วยการที่คริสเตียนต่างพื้นพยายามจะเปลี่ยนนิกายของคริสเตียนชาวอาร์เมเนีย ในขณะที่มุสลิมไม่เคยแสดงกิริยาเช่นนี้กับพวกเขาเลย

. พระคุณท่านไม่ทราบถึงความเป็นมาของกุรอานและลำดับการประทานซูเราะฮ์ต่างๆ
พระสันตปาปากล่าวว่าแน่นอนว่าจักรพรรดิย่อมรู้ดีว่า โองการที่ 256 ในบทที่สองของกุรอาน(อัลบะเกาะเราะฮ์)กล่าวไว้ว่า ไม่มีการขู่บังคับในเรื่องศาสนา...บท(ซูเราะฮ์)นี้นับเป็นบทแรกๆของกุรอาน ซึ่งประทานในช่วงที่มุฮัมมัดยังถูกข่มขู่และไม่มีอิทธิพลใดๆเลยต้องเรียนให้พระคุณท่านทราบว่า อายะฮ์นี้เป็นอายะฮ์ที่ประทานในนครมะดีนะฮ์ ยุคที่ท่านศาสดาได้สถาปนารัฐและมีอิทธิพลเต็มที่โดยไม่มีภัยคุกคามใดๆจากภายนอก มีฮะดีษที่อธิบายเหตุของการประทานโองการดังกล่าวว่า:
มีชายมุสลิมคนหนึ่งเข้ารีตเป็นคริสเตียนโดยการเชิญชวนของพ่อค้าชาวคริสต์ที่มาค้าขายที่มะดีนะฮ์ พ่อของเขาได้มาขอให้ท่านนบี(..)บีบบังคับให้บุตรชายหวนคืนสู่อิสลาม แต่ท่านนบี(..)ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น  ทันใดนั้นโองการดังกล่าวก็ประทานลงมา
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเนื้อหาโองการดังกล่าวก็จะทราบว่ามิไช่โองการที่ประทานในยุคแรก เพราะส่วนต่อของโองการดังกล่าวมีอยู่ว่าแน่แท้หนทางสู่ความเจริญได้แยกแยะชัดเจนแล้วจากความหลงทางแน่นอนว่าสำนวนนี้ย่อมเหมาะต่อช่วงปลายอายุขัยท่านนบี มิไช่ช่วงเริ่มต้นเผยแผ่อิสลาม

3. พระคุณท่านกล่าวว่าทันใดนั้นจักรพรรดิหันไปยังคู่สนทนา และ... คำถามหลักของเราคือความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและความรุนแรง และจักรพรรดิได้กล่าวต่อไปว่า จงเล่าถึงสิ่งที่มุฮัมมัดริเริ่มนำมาเผยแพร่ซิ พวกท่านจะไม่พบสิ่งใดเลยนอกจากคำสอนอันคราคร่ำไปด้วยความต่ำทรามอมนุษย์ เช่นการสั่งให้เผยแพร่ศาสนาด้วยคมดาบ!
ผู้ที่มีใจเป็นกลางจะไม่พูดเช่นนี้ นักวิชาการคริสเตียนบางท่านได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาระหน้าที่ๆชาวคริสเตียนควรเชื่อฟังศาสดามุฮัมมัด (..) โดยต้องการจะสื่อว่า ชาวคริสเตียนเองก็สามารถได้รับประโยชน์จากคำสอนของศาสดามุฮัมมัด โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งศาสนาคริสต์

เมื่อพิจารณาให้ดีจะพบว่า อิสลามได้เติมเต็มเนื้อหาที่เกี่ยวกับเอกานุภาพของพระเจ้า และได้สถาปนาแนวคิดทางอภิปรัชญาซึ่งไม่อาจหาที่ใดเปรียบเทียบได้ แนวคิดดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนักคิดฮิกมะฮ์ มุตะอาลียะฮ์ของท่านมุลลอ ศ็อดรอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในแวดวงอภิปรัชญาโลก
นอกจากนี้ หลักศีลธรรมมากมายได้รับการต่อยอดโดยอิสลาม และนำสู่จุดสูงสุดโดยวิชาอิรฟานอิสลาม ส่งผลให้กลายเป็นหนทางสูงส่งสำหรับนักจาริกทางจิตวิญญาณต่อไป.

ชะรีอัตเองก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับอิสลาม เนื่องจากเป็นเสมือนประมวลกฏหมายที่อิสลามตราไว้ เพื่อสนองตอบแง่มุมต่างๆของมนุษย์
อิสลามไม่จำแนกกิจทางโลกออกจากกิจทางธรรมออกจากกัน  เห็นได้จากการที่อิสลามแฝงธรรมะขั้นสูงไว้ในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา.
มุสลิมมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างอารยธรรมมนุษย์ เนื่องจากได้ประดิษฐ์เครื่องใช้สอยหลากหลายประเภท ตลอดจนค้นพบสูตรฟิสิกข์และเคมีมากมายอันเป็นรากฐานวิทยาการปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ต่อยอดวิทยาการสำคัญอย่างแพทยศาสตร์ให้ก้าวไกล
ความภาคภูมิใจเหล่านี้มีมากมายเสียจนเรียกกันว่ายุคทองแห่งวิทยาศาสตร์มุสลิมในอดีต เหตุใดพระคุณท่านจึงมองข้ามสิ่งเหล่านี้ แล้วนำคำพูดของบุคคลที่ไม่รู้จริงมาถ่ายทอดแก่สาธารณชน

4. พระคุณท่านกล่าวว่าจักรพรรดิได้อธิบายอย่างละเอียดว่า เพราะเหตุใดการเผยแพร่ศาสนาด้วยความรุนแรงจึงขัดต่อสติปัญญาพระคุณท่านกล่าวย้ำเหมือนจะสื่อให้เข้าใจว่า อิสลามเผยแผ่ด้วยความรุนแรงต่อผู้อื่นกระนั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว หากศึกษาประวัติศาสตร์ของนิกายโรมันคาทอลิกจะพบว่าวิธีนี้น่าจะเป็นกลวิธีของนิกายดังกล่าวมากกว่า ส่วนอิสลามนั้น เป็นศาสนาแห่งความรู้ความเข้าใจ อิสลามเชื่อว่ามนุษย์มีอิสรภาพในการตัดสินใจ อัลลอฮ์ทรงรณรงค์ให้มนุษย์แสวงหาความรู้ ดังที่ได้กล่าวว่าผู้รู้กับผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันได้อย่างไร?”[3] นอกจากนี้ การอ่านยังเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจศาสนทูตของท่านนบีจงอ่าน ด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้าที่ทรงสร้าง...”[4] และจงอ่าน เพราะพระองค์ทรงเกียรติเหนือผู้ใด พระองค์ทรงสอนด้วยปากกา และทรงสอนในสิ่งที่มนุษย์ไม่เคยทราบ[5]
จงแจ้งข่าวดีแก่ผู้ที่สดับฟังคำพูดและเลือกปฏิบัติตามสิ่งที่ดีที่สุด[6]
จงเชิญชวนสู่แนวทางของพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยวิทยปัญญาและคำตักเตือนที่รื่นหู และจงถกปัญหากับพวกเขาด้วยเหตุผลที่ดีที่สุด พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงทราบดีว่าผู้ใดหลงออกจากแนวทางพระองค์และผู้ใดได้รับทางนำ[7]
จึงสามารถสรุปได้ว่า ศาสนาอิสลามคือศาสนาแห่งปัญญา การตักเตือนที่ดี และอุดมไปด้วยตรรกะและเหตุผล

พระสันตปาปายังได้กล่าวอีกว่าความรุนแรงและความก้าวร้าวเช่นนี้ ขัดต่อวิถีของพระเจ้าและวิถีของจิตวิญญาณ พระองค์ย่อมไม่โปรดที่จะเห็นการนองเลือด แน่นอนว่าพฤติกรรมอันไร้สติย่อมไม่สอดคล้องกับวิถีของพระเจ้า ความศรัทธาย่อมผุดขึ้นจากจิตวิญญาณ หาไช่กายหยาบไม่อย่างไรก็ดี คำพูดดังกล่าวควรใช้ตำหนิวิธีปฏิบัติของคริสเตียนในอดีต โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิค

5. พระคุณท่านยังได้กล่าวอีกว่าอิสลามเชื่อว่าพระประสงค์ของพระเจ้าไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล ความเชื่อเช่นนี้ขัดต่อแนวคิดของเรา และขัดต่อสติปัญญาแล้วท่านก็ได้อ้างถึงตำราอธิบายกุรอานของของอิบนิ ฮัซม์ ที่เขากล่าวว่าไม่จำเป็นที่อัลลอฮ์จะต้องยืนยันตามดำรัสของพระองค์เอง ไม่จำเป็นที่พระองค์จะต้องตรัสความจริงกับมนุษย์ หากพระองค์ทรงประสงค์จะบังคับให้มนุษย์กราบไหว้เจว็ดก็ย่อมทำได้
สิ่งที่พระสันตปาปาได้อ้างมาทั้งหมด ชี้ให้เห็นว่าท่านไม่เคยตรวจสอบตำราเกี่ยวกับอภิปรัชญาและเทววิทยาของอิสลามเลย ตำราอภิปรัชญาอิสลามระบุไว้ว่า พระประสงค์ของอัลลอฮ์นั้นขึ้นอยู่กับเหตุและผล ทั้งนี้ก็เพราะพระประสงค์ของพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความรู้ของพระองค์ และเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์
ส่วนพระประสงค์เชิงปฏิบัติก็แสดงออกในรูปของการกระทำต่างๆของพระองค์ ทั้งนี้ การที่พระคุณท่านอ้างอิงคำพูดของอิบนิ ฮัซม์นั้น แสดงถึงความไม่เข้าใจของพระคุณท่าน เนื่องจากสำนักคิดของอิบนิฮัซม์นั้น มิได้รับความนิยมใดๆในหมู่มุสลิมเลย ตรงกันข้าม สำนักคิดแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ซึ่งมีผู้เลื่อมใสไม่น้อยในปัจจุบัน  ยอมรับว่าสติปัญญาและการตัดสินใจมีผลต่อความศรัทธา ดังที่คัมภีร์กุรอานก็กล่าวยืนยันไว้ว่าและพวกเขาดื้อรั้นไม่ยอมรับทั้งที่รู้อยู่เต็มอก[8]
การที่คนเราสามารถปฏิเสธได้ทั้งที่รู้อยู่เต็มอก แสดงว่าการตัดสินใจของแต่ละคนมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเลือกศรัทธา ซึ่งหากจะกล่าวกันในเชิงอภิปรัชญาหรือหลักเทววิทยาแล้ว เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า ความรู้มิได้ก่อให้เกิดศรัทธาเสมอไป 

คำพูดของอิบนิ ฮัซม์ ที่ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถกำหนดพระประสงค์ของพระเจ้าได้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่ปฏิเสธความผิดชอบชั่วดีที่รับรู้ได้โดยสติปัญญาแต่ในทางตรงกันข้าม ปรัชญาเมธีของชีอะฮ์ได้พิสูจน์ประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว แม้ฝ่ายอะชาอิเราะฮ์จะมิได้เชื่อเช่นนี้ก็ตาม

อย่างไรก็ดี การเสวนาจะเป็นไปอย่างราบรื่นต่อเมื่อมีปัจจัยสองประการดังนี้
1. สันนิษฐานว่าคู่เสวนาของเราอาจนำเสนอสิ่งที่ถูกต้อง
2. 
สันนิษฐานว่าข้อมูลของฝ่ายเราอาจจะยังมีข้อบกพร่อง
ส่วนกรอบความเข้าใจที่จำเป็นต่อการเสวนา หรือที่เรียกว่าขอบฟ้า(Horizon)ในวิชาอรรถปริวรรตศาสตร์นั้น หมายถึงปริมนฑลที่ยอมรับร่วมกันในการเสวนานั้นๆ
นั่นหมายความว่า การเสวนาจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่น หากปราศจากปัจจัยและกรอบเสวนาดังที่กล่าวไปแล้ว.

วัสลาม.



[1] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน,64

[2] ขณะเข้าพบพระสันตปาปาระหว่างการประชุมศาสนาสายศาสดาอิบรอฮีมเพื่อสันติ

[3] อัซซุมัร,9

[4] อัลอะลัก,1

[5] อัลอะลัก,3-4

[6] อัซซุมัร,19

[7] อันนะฮ์ลิ,125

[8] อันนัมลิ,14

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สตรีสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในโลกไซเบอร์โดยไม่ขออนุญาตจากสามีหรือไม่?
    5511 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    คำตอบของบรรดามัรยิอ์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีดังนี้อายาตุลลอฮ์คอเมเนอี “หากไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองทรัพย์สินของสามีก็ถือว่าไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตแต่จะต้องคำนึงว่าการติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมส่วนใหญ่จะทำให้เกิด... หรืออาจจะทำให้ตกในการกระทำบาปซึ่งไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ซิซตานี “การติดต่อสื่อสารกับผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอมถือว่าไม่อนุญาต”อายาตุลลอฮ์ศอฟีกุลฟัยกานี “โดยรวมแล้วการติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้แม้ว่าสามีอนุญาติก็ไม่ถือว่าสามารถจะกระทำได้”ฮาดาวีเตหะรานี “หากการติดต่อสื่อสารในโลกไซเบอร์อยู่ในขอบเขตที่อนุญาตและไม่เกรงที่จะเกิดบาปเป็นที่อนุญาตและไม่จำเป็นที่จะต้องขออนุญาติจากสามี” ...
  • คำพูดของอิมามศอดิกที่ว่า “ยี่สิบห้าอักขระแห่งวิชาการจะแพร่หลายในยุคที่อิมามมะฮ์ดีปรากฏกาย” หมายความว่าอย่างไร?
    7663 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/03/04
    ความเจริญรุดหน้าทางวิทยาการทั้งทางโลกและทางธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ปรากฏกาย วิทยาการจะรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคนี้ ดังที่ปรากฏในฮะดีษที่ผู้ถามอ้างอิงไว้ข้างต้น อย่างไรก็ดี ฮะดีษทำนองนี้มิได้ระบุว่ามนุษย์ในยุคดังกล่าวจะสามารถเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างรวดเร็วเหมือนกันหมดทุกคน ทว่าฮะดีษของอิมามศอดิก(อ.)ข้างต้นใช้คำว่า “أخرج”[1] อันหมายถึงการที่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะนำอักขระที่เหลือออกมาเผยแพร่ เพื่อให้มนุษยชาติได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อันเป็นการแผ่ขยายโอกาสอย่างกว้างขวาง แต่การที่ทุกคนสามารถจะเรียนรู้ได้ครบยี่สิบเจ็ดอักขระเท่าเทียมกันได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความไฝ่รู้ของแต่ละคน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีบุคคลจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่บรรลุถึงวิทยฐานะอันสูงส่ง โดยจะเป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาและประสิทธิประสาทวิชาการแก่ผู้ที่สนใจสืบไป ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่า “เสมือนว่าฉันกำลังเห็นเหล่าชีอะฮ์ของฉันกางเต๊นท์ในมัสญิดกูฟะฮ์เพื่อเป็นสถานที่สอนความรู้อันบริสุทธิจากอัลกุรอานแก่ประชาชน”[2] ข้อสรุป: แม้ว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะเปิดศักราชแห่งการศึกษาวิทยาการถึงยี่สิบเจ็ดอักขระภายหลังจากที่ท่านปรากฏกาย อันกล่าวได้ว่าอาจเป็นโอกาสในการก้าวกระโดดทางวิชาการ แต่ก็มีบางคนในยุคนั้นที่ไม่สามารถจะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ การจะบรรลุเป้าหมายทางวิชาการจะต้องอาศัยความพากเพียร เปรียบดั่งเป้าหมายแห่งตักวาที่ทุกคนสามารถไขว่คว้ามาได้ด้วยความบากบั่น ฉะนั้น ในเมื่อการบรรลุถึงจุดสูงสุดของตักวายังต้องอาศัยความอุตสาหะ การบรรลุถึงวิชาการทั้งยี่สิบเจ็ดอักขระก็ต้องอาศัยความพยายามและความมุมานะเช่นกัน
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7769 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • ในกุรอานมีกี่ซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบี?
    20582 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/04
    ในกุรอานมีหกซูเราะฮ์ที่มีชื่อคล้ายบรรดานบี ได้แก่ ซูเราะฮ์นู้ห์, อิบรอฮีม, ยูนุส, ยูซุฟ, ฮู้ด และ มุฮัมมัด อย่างไรก็ดี จากคำบอกเล่าของฮะดีษบางบททำให้นักอรรถาธิบายกุรอานเชื่อว่า ซูเราะฮ์บางซูเราะฮ์อย่างเช่น ฏอฮา[1], ยาซีน[2], มุดดัษษิร[3], มุซซัมมิ้ล[4] หมายถึงท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) จึงอาจจะจัดได้ว่าซูเราะฮ์ต่างๆข้างต้นถือเป็นซูเราะฮ์ที่มีชื่อเหมือนบรรดานบีได้เช่นเดียวกัน คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม ...
  • อัมร์ บิน อ้าศมีอุปนิสัยอย่างไรในประวัติศาสตร์?
    10230 تاريخ بزرگان 2554/08/02
    อัมร์ บิน อ้าศ บิน วาอิ้ล อัสสะฮ์มี โฉมหน้านักฉวยโอกาสที่แฝงด้วยเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว ถือกำเนิดจากหญิงที่ชื่อ“นาบิเฆาะฮ์” บิดาของเขาคืออ้าศ บิน วาอิ้ล เป็นมุชริกที่เคยถากถางเยาะเย้ยท่านนบีด้วยคำว่า“อับตัร”หลังจากกอซิมบุตรของท่านนบีถึงแก่กรรมในวัยแบเบาะ ซึ่งหลังจากนั้น อัลลอฮ์ได้ประทานอายะฮ์ “ان شانئک هو الابتر” เพื่อโต้คำถากถางของอ้าศอัมร์ บิน อ้าศ เป็นที่รู้จักในเรื่องความเจ้าเล่ห์ ในสมัยที่อิมามอลี(อ.)ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ เขากลายเป็นมือขวาของมุอาวิยะฮ์ในสงครามศิฟฟีนเพื่อต่อต้านท่าน และสามารถล่อลวงทหารฝ่ายอิมามเป็นจำนวนมาก ท้ายที่สุดก็ใช้เล่ห์กลหลอกอบูมูซา อัลอัชอะรี เพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่มุอาวิยาะฮ์ ท้ายที่สุดได้รับแต่งตั้งโดยมุอาวิยะฮ์ให้เป็นผู้ปกครองเมืองอิยิปต์ ...
  • เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
    12341 ปรัชญาของศาสนา 2555/08/22
    อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด ...
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
    8139 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า1) คำว่าอิซมัตเป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรมพฤติกรรมชั่วร้ายและความผิดต่างๆโดยสิ้นเชิงอีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาดและการหลงลืมโดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีหรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์2. ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6225 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
    20859 อัล-กุรอาน 2553/10/21
    วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัสหรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ...
  • ทัศนะของอุละมาอฺนักปราชญ์ทั้งหมดถือว่าการสูบบุหรี่ฮะรอมหรือไม่ ?
    7521 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    อิสลามได้ห้ามการกินการดื่มและการใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายและถ้าทุกสิ่งที่มีอันตรายมากการห้ามโดยปัจจัยสาเหตุก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้นจนกระทั่งถึงขึ้นฮะรอมด้วยซ้ำไปท่านอิมามโคมัยนี ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60037 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57402 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42130 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39199 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38862 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33934 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27952 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27867 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27677 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25698 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...